WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

ดร.ฐณยศ โล่ห์พัฒนานนท์ประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมนุษยชาติ - ซาอุดิอาระเบีย และอิหร่านจะสร้างความสัมพันธ์ทางการทูตครั้งใหม่

ดร.ฐณยศ โล่ห์พัฒนานนท์ นักวิจัยด้านความมั่นคงและวัฒนธรรมสัมพันธ์เอเชีย

สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมนุษยชาติคือหนึ่งในเป้าใหญ่ของจีนนอกเหนือไปจากความมั่นคงภายใน (ความมั่นคงภายในครอบคลุมประเด็นเศรษฐกิจ เทคโนโลยี สภาพแวดล้อม และพลังงาน) เป้าดังกล่าวอาจไม่ได้อยู่ในแผนใด แต่ก็เป็นที่สังเกตได้จากการวางตัวของจีน

จริงๆ แล้ว อนาคตร่วมของมนุษยชาติไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ปรากฏให้เห็นตั้งแต่ปี 1953 นายกรัฐมนตรีโจว เอินไหล ได้ประกาศหลักการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ 5 ข้อระหว่างภารกิจพบปะผู้แทนรัฐบาลอินเดีย ได้แก่ เคารพอำนาจอธิปไตยและอำนาจเหนือเขตแดนของกันและกัน ไม่ใช้ความก้าวร้าวจัดการปัญหา ไม่แทรกแซงกิจการภายใน

ถือผลประโยชน์ร่วมกัน และดำรงตนร่วมกันอย่างสันติสุข อนาคตร่วมกัน ณ เวลานั้นมาจากบริบทในสงครามเย็น ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ชาวจีนมองยุทธวิธีทางการทูตมากกว่าสงคราม

แต่เมื่อสงครามเย็นสิ้นสุด และโลกเข้าสู่ยุคแห่งการหลอมรวมในลักษณะโลกาภิวัตน์ ทำไมอนาคตร่วมกันของมนุษยชาติจึงยังเป็นประเด็นสำหรับจีน?

คำตอบของคำถามนี้ มาจากข้อเท็จจริงที่ว่า ความขัดแย้งต่างๆ ยังคงเกิดขึ้นเป็นระยะ ทั้งยังครอบคลุมมิติที่ยากจะอธิบาย สงครามอ่าว 1990-1991 สงครามกลางเมืองเซียร่าลีโอน 1991-2002 สงครามบอสเนีย 1992-1995 สงครามโคโซโว 1998-1999 สงครามในอัฟกานิสถาน 2001-2014 สงครามอิรัก 2003-2011 ความขัดแย้งในลิเบีย 2011-ปัจจุบัน

และอีกมากมายปรากฏอยู่บนหน้าหนังสือพิมพ์นับตั้งแต่กำแพงเบอร์ลินถูกทำลาย แต่หากพูดถึงความขัดแย้งปี 2023 การสู้รบระหว่างรัสเซีย-ยูเครน อาร์เมเนีย-อาร์เซอร์ไบจานฯลฯ หรือ ปฏิบัติการข่าวสารล้วนเป็นปรากฏการณ์เรื้อรังที่โลกต้องเผชิญ

จีนมองว่า ทุกความขัดแย้งมีแนวโน้มบานปลายเสมอหากไร้ซึ่งการประนีประนอม ความขัดแย้งที่ผ่านมาสามารถชะลอ หรือ กระทั่งขัดขวางความก้าวหน้าของอารยธรรมมนุษย์ไม่ต่างจากสงครามใหญ่ อย่างกรณีสงครามต่อต้านการก่อการร้าย มีการประเมินตัวเลขผู้เสียชีวิตในอัฟกานิสถาน ปากีสถาน ซีเรีย อิรัก และเยเมนที่ประมาณ 897,000-929,000 คนระหว่างปี 2001-2021

และที่ไม่ได้ถูกประเมินคือความสิ้นสูญของมรดกทางวัฒนธรรมหลายแห่ง ความเสียหายในเมืองโบราณ Ashur และ Hatra ในอิรักคือตัวอย่างอันเกิดจากปฏิบัติการปราบผู้ก่อการ

กระนั้นความขัดแย้งแต่ละครั้งไม่เพียงจะมาจากการถืออุดมการณ์ต่างกัน แต่สัมพันธ์กับการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างไม่เป็นธรรม หลายครั้งอาจเข้าข่ายกลั่นแกล้งโดยชาติที่ครองอำนาจเหนือกว่า จีนจึงมุ่งหน้าระดมความร่วมมือเพื่อสร้างเอกภาพให้แก่ประชาคมยุคใหม่ ใช้ความเข้าใจ

รวมไปถึงการแบ่งปันแลกเปลี่ยน นั่นคือ สาเหตุว่า ทำไมจีน ทุกวันนี้ พยายามแก้ปัญหาด้วยสันติวิธีมากกว่าจะใช้กำลังอย่างที่หลายฝ่ายวิเคราะห์ปฏิกิริยาของจีนต่อกรณียูเครน คือเครื่องพิสูจน์คำกล่าวข้างต้น

ความพยายามขยายอิทธิพลของนาโต้ในยูเครนทำให้รัสเซียต้องเปิดฉากโจมตีด้วยมองว่า ยูเครนเป็นด่านหน้าที่จะส่งผลโดยตรงต่ออธิปไตยของรัสเซีย มีความพยายามเจรจาหลายครั้งแต่กลับไม่เป็นผล จีนไม่ได้เลือกประณามฝ่ายใด แต่เรียกร้องให้ทั้งรัสเซียและยูเครนลดระดับการสู้รบเพื่อถางทางไปสู่การหยุดยิงอย่างถาวร

ในแง่นี้ จีนเสนอแผนการ 12 ข้อให้ทั้งสองฝ่ายพิจารณา ได้แก่ เคารพอธิปไตย เลี่ยงมุมมองแบบสงครามเย็น หยุดความเป็นศัตรู จัดการเจรจา แก้วิกฤตมนุษยธรรม ปกป้องพลเรือนและเชลยศึก ป้องกันโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จากการสู้รบ ลดความเสี่ยงที่จะนำไปสู่การใช้อาวุธทำลายล้างสูง อำนวยการส่งออกธัญพืช (เพราะทั้งสองชาติคือผู้ส่งออกธัญพืชรายใหญ่ของโลก โดยส่งออกผ่านทะเลดำ) หยุดการคว่ำบาตรอย่างไม่เป็นธรรม รักษาความมั่นคงให้แก่ภาคการผลิต และส่งเสริมการสร้างระบบสาธารณูปโภคหลังสงคราม

นอกจากการแก้ปัญหาด้วยสันติวิธีแล้ว จีนยังมุ่งส่งเสริมความร่วมมือทางการค้า การศึกษา และการแลกเปลี่ยนทั่วโลกเพื่อให้เกิดความสัมพันธ์แบบยั่งยืน ตัวอย่างสำคัญ ได้แก่ ความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีซึ่งปรากฏว่า จีนได้บรรลุโปรแกรมความร่วมมือไปแล้วกับ 152 ประเทศ ลงนามความร่วมมือระดับรัฐต่อรัฐกับ 96 ประเทศ และผนึกกำลังกับองค์กรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากกว่า 1,000 แห่ง นี่ยังไม่รวมความร่วมมือทางการแพทย์ หลักสูตร สิ่งแวดล้อมฯลฯ อันจะผลักดันให้ประชาคมโลกรวมกันเป็นหนึ่งในภายภาคหน้า

อย่างไรก็ตาม ความน่าสนใจอยู่ที่ท่าทีของชาติต่างๆ ที่ตอบรับแนวทางการอยู่ร่วมกันของจีน เพราะมันช่วยยืนยันว่า ประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมนุษยชาติ ไม่ใช่วาทกรรมทางการเมือง ในแง่นี้ การสานรอยร้าวระหว่างซาอุดีอาระเบียและอิหร่านคือประเด็นที่ควรได้รับการจับตา

เดิมทีทั้งซาอุดีอาระเบียและอิหร่านวางตัวเป็นผู้นำภูมิภาคและพยายามบั่นทอนความน่าเชื่อถือของอีกฝ่าย ความเป็นศัตรูดำเนินไปจนกระทั่งถึงจุดที่ประชาชนทั้งสองประเทศไม่สามารถนับฝั่งตรงข้ามเป็นพวกได้ แต่แล้วในวันศุกร์ที่ 10 มีนาคมโลกกลับได้เห็นภาพการจับมือกันระหว่างซาอุดิอาระเบียโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติ กับอิหร่าน

โดยเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติสูงสุด มีนายหวัง ยี่ เป็นผู้แทนประเทศจีนผู้อยู่เบื้องหลังการรื้อฟื้นความสัมพันธ์ ทั้งหมดการออกแถลงการณ์ร่วม ใจความว่า ซาอุดิอาระเบีย และอิหร่านจะสร้างความสัมพันธ์ทางการทูตครั้งใหม่รวมทั้งตั้งองค์กรเชื่อมโยงระหว่างกัน

กรณีซาอุดีอาระเบียและอิหร่าน เป็นผลมาจากความตั้งใจสร้างสันติภาพในพื้นที่ตะวันออกกลาง โดยมีจีนเป็นผู้ประสานก่อนจะมาสิ้นสุดที่การเจรจา 3 ฝ่ายในกรุงปักกิ่ง ต้องไม่ลืมว่า ซาอุอาระเบีย เป็นส่วนหนึ่งของ GCC (Gulf Cooperation Council) ซึ่งมีจีดีพีปี 2022 รวมกันเกือบสองล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ และอาจแตะหกล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2050

ขณะที่อิหร่านเป็นผู้เล่นทางภูมิรัฐศาสตร์ในตะวันออกกลาง มีความแกร่งทางทหารติด 1 ใน 20 อันดับแรกของโลก มีทรัพยากรพลังงานอย่างแก๊สธรรมชาติและน้ำมันดิบที่อันดับ 2 และ 3 ของโลกตามลำดับ ความพร้อมของแต่ละฝ่ายอาจกลายเป็นหายนะหากไร้ซึ่งการรอมชอม ในทางตรงข้ามจุดแข็งของแต่ละฝ่ายจะช่วยให้โลกพบกับความมั่งคั่งและมั่นคงภายใต้ระเบียบใหม่ที่จีนพยายามผลักดัน เรียกว่า win-win cooperation หรือ ความร่วมมือที่ไม่มีฝ่ายใดเสียเปรียบ

เมื่อเป็นดังนี้ ประชาคมโลกก็จะเกิดความเชื่อมั่นมากขึ้น และจะแสวงหาความร่วมมือระหว่างกันมากขึ้น มิตรสัมพันธ์กับการค้าคือหัวใจของการอยู่รอด ไม่ใช่การแข่งขันเอารัดเอาเปรียบ สำหรับจีนการจัดการปัญหาต่างๆ ต้องไม่ขับเคลื่อนชี้นำโดยประเทศใด แต่ต้องมาจากทุกฝ่ายเพื่อรักษาหลักประกันของการอยู่ร่วมกันและช่วยให้โลกได้พัฒนาอย่างยั่งยืน

 

Click Donate Support Web  

kasat 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100ais 720x100 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!