WORLD7

HOT NEWS

smed ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

เอช เซม ลงนามความร่วมมือ ร่วมผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา

เอช เซม ลงนามความร่วมมือ ร่วมผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา

เอช เซม ลงนามความร่วมมือ ร่วมผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา          ...
More
กรุงศรี คอนซูมเมอร์ คว้ารางวัลยอดเยี่ยมด้านกลยุทธ์การทำงานแบบไฮบริด จาก HR EXCELLENCE AWARDS 2023

กรุงศรี คอนซูมเมอร์ คว้ารางวัลยอดเยี่ยมด้านกลยุทธ์การทำงานแบบไฮบริด จาก HR EXCELLENCE AWARDS 2023

  กรุงศรี คอนซูมเมอร์ คว้ารางวัลยอดเยี่ยมด้านกลยุทธ์การทำงานแบบไฮบริด จาก HR EXCELLENCE...
More
GCAP เปิดบ้านใหม่ ฉลองก้าวสู่ปีที่ 19

GCAP เปิดบ้านใหม่ ฉลองก้าวสู่ปีที่ 19

GCAP เปิดบ้านใหม่ ฉลองก้าวสู่ปีที่ 19           เมื่อวันที่ 17 กันยายน...
More
กรมทรัพยากรน้ำบาดาล จัดงานประชุมวิชาการด้านน้ำบาดาลแห่งชาติ ครั้งที่ 1 ประจำปี 2566 ในหัวข้อ ‘น้ำบาดาลเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน’

กรมทรัพยากรน้ำบาดาล จัดงานประชุมวิชาการด้านน้ำบาดาลแห่งชาติ ครั้งที่ 1 ประจำปี 2566 ในหัวข้อ...

กรมทรัพยากรน้ำบาดาล จัดงานประชุมวิชาการด้านน้ำบาดาลแห่งชาติ ครั้งที่ 1 ประจำปี 2566 ในหัวข้อ...
More
EXIM BANK เข้าพบรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง

EXIM BANK เข้าพบรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง

EXIM BANK เข้าพบรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง           ดร.รักษ์...
More
ไทยคม ร่วมงาน World Satellite Business Week 2023 ณ ประเทศฝรั่งเศส

ไทยคม ร่วมงาน World Satellite Business Week 2023 ณ ประเทศฝรั่งเศส

ไทยคม ร่วมงาน World Satellite Business Week 2023 ณ ประเทศฝรั่งเศส        ...
More
พลัส พร็อพเพอร์ตี้ บรรยายพิเศษ เตรียมพร้อมก้าวแรกให้นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ผลักดันอาชีพการจัดการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

พลัส พร็อพเพอร์ตี้ บรรยายพิเศษ เตรียมพร้อมก้าวแรกให้นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา...

พลัส พร็อพเพอร์ตี้ บรรยายพิเศษ เตรียมพร้อมก้าวแรกให้นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา...
More
วิริยะประกันภัย ถวายหนังสือโรงเรียนพระปริยัติธรรม ในโครงการ ‘ปันอ่าน สานธรรมะ’ ครั้งที่ 1

วิริยะประกันภัย ถวายหนังสือโรงเรียนพระปริยัติธรรม ในโครงการ ‘ปันอ่าน สานธรรมะ’ ครั้งที่ 1

วิริยะประกันภัย ถวายหนังสือโรงเรียนพระปริยัติธรรม ในโครงการ ‘ปันอ่าน สานธรรมะ’ ครั้งที่ 1  ...
More
เดินหน้าลุยโครงการใหม่

เดินหน้าลุยโครงการใหม่

เดินหน้าลุยโครงการใหม่          ...
More
ออมสิน ร่วมงานวันรัฐวิสาหกิจไทย

ออมสิน ร่วมงานวันรัฐวิสาหกิจไทย

ออมสิน ร่วมงานวันรัฐวิสาหกิจไทย           นายวิทัย รัตนากร...
More
iiG ร่วมงาน Dreamforce 2023 งาน AI CRM สุดยิ่งใหญ่ประจำปี

iiG ร่วมงาน Dreamforce 2023 งาน AI CRM สุดยิ่งใหญ่ประจำปี

iiG ร่วมงาน Dreamforce 2023 งาน AI CRM สุดยิ่งใหญ่ประจำปี          ...
More
เปิดรับสมัครแล้ว… ตลาดหลักทรัพย์ฯ ชวนผู้สนใจร่วมแข่งขัน SET Hackathon 2023

เปิดรับสมัครแล้ว… ตลาดหลักทรัพย์ฯ ชวนผู้สนใจร่วมแข่งขัน SET Hackathon 2023

เปิดรับสมัครแล้ว… ตลาดหลักทรัพย์ฯ ชวนผู้สนใจร่วมแข่งขัน SET Hackathon 2023      ...
More
BEM สืบสานความเป็นไทย สอนประดิษฐ์ ‘หุ่นกระบอกจิ๋ว’

BEM สืบสานความเป็นไทย สอนประดิษฐ์ ‘หุ่นกระบอกจิ๋ว’

BEM สืบสานความเป็นไทย สอนประดิษฐ์ ‘หุ่นกระบอกจิ๋ว’        ...
More
กรุงไทย–แอกซ่า ประกันชีวิต เอาใจลูกค้าที่รักสุขภาพ จัดกิจกรรมสุดพิเศษ ‘Cycling Class#2 เบิร์นกันสุดมันส์ ปั่นกันให้สุดใจ ครั้งที่ 2’

กรุงไทย–แอกซ่า ประกันชีวิต เอาใจลูกค้าที่รักสุขภาพ จัดกิจกรรมสุดพิเศษ ‘Cycling Class#2...

กรุงไทย–แอกซ่า ประกันชีวิต เอาใจลูกค้าที่รักสุขภาพ จัดกิจกรรมสุดพิเศษ ‘Cycling Class#2...
More
เด็กซ์ซอนตอกย้ำความเป็นหนึ่งเจาะตลาดโรงไฟฟ้าไทย

เด็กซ์ซอนตอกย้ำความเป็นหนึ่งเจาะตลาดโรงไฟฟ้าไทย

เด็กซ์ซอนตอกย้ำความเป็นหนึ่งเจาะตลาดโรงไฟฟ้าไทย           บริษัท...
More
EVER จัดหนัก! โปรฯทาวน์โฮม ‘อยู่ฟรีมีจริง เอเวอร์ซิตี้’

EVER จัดหนัก! โปรฯทาวน์โฮม ‘อยู่ฟรีมีจริง เอเวอร์ซิตี้’

EVER จัดหนัก! โปรฯทาวน์โฮม ‘อยู่ฟรีมีจริง เอเวอร์ซิตี้’          ...
More
DPAINT จัดประชุมสุดยอดพันธมิตรครั้งยิ่งใหญ่แห่งปี 2023 พร้อมเปิดตัวสินค้านวัตกรรมใหม่ 23 ก.ย.นี้

DPAINT จัดประชุมสุดยอดพันธมิตรครั้งยิ่งใหญ่แห่งปี 2023 พร้อมเปิดตัวสินค้านวัตกรรมใหม่ 23 ก.ย.นี้

DPAINT จัดประชุมสุดยอดพันธมิตรครั้งยิ่งใหญ่แห่งปี 2023 พร้อมเปิดตัวสินค้านวัตกรรมใหม่ 23...
More
SME D Bank ปลื้มความสำเร็จ หลักสูตร ‘Advanced CMF’ เสริมแกร่งเอสเอ็มอี 20 กิจการ พร้อมต่อยอดยกระดับธุรกิจด้วยแฟรนไชส์

SME D Bank ปลื้มความสำเร็จ หลักสูตร ‘Advanced CMF’ เสริมแกร่งเอสเอ็มอี 20 กิจการ...

SME D Bank ปลื้มความสำเร็จ หลักสูตร ‘Advanced CMF’ เสริมแกร่งเอสเอ็มอี 20 กิจการ...
More
ทรู ปั้นนิวเจนประดับวงการผู้ประกอบการยุคใหม่ พร้อมก้าว ‘From Gen Z to Be CEO’ เติบโตอย่างยั่งยืน

ทรู ปั้นนิวเจนประดับวงการผู้ประกอบการยุคใหม่ พร้อมก้าว ‘From Gen Z to Be CEO’ เติบโตอย่างยั่งยืน

ทรู ปั้นนิวเจนประดับวงการผู้ประกอบการยุคใหม่ พร้อมก้าว ‘From Gen Z to Be CEO’...
More
ทิพยประกันภัย เปิดตัวโครงการ TIP Smart Agent Hub เพื่อยกระดับให้กับตัวแทนนายหน้า

ทิพยประกันภัย เปิดตัวโครงการ TIP Smart Agent Hub เพื่อยกระดับให้กับตัวแทนนายหน้า

ทิพยประกันภัย เปิดตัวโครงการ TIP Smart Agent Hub เพื่อยกระดับให้กับตัวแทนนายหน้า    ...
More

tqm720kuangthai 1

ข่าวล่าสุด!

กระทรวงการคลัง

cp 1

1AA1A3A1GDP

สภาพัฒน์ ชี้หนี้ครัวเรือนพุ่งอีก คนว่างงาน-หนี้ครัวเรือนเพิ่ม สถานการณ์สำคัญของสังคมไทยในไตรมาส 3 ประจำปี 2564

ภาวะสังคมไทยไตรมาส 3 ปี 2564 มีผู้ว่างงานชั่วคราวสูงถึงเกือบ 9 แสนคน

        การนำเสนอภาวะสังคมไทยไตรมาสสาม ปี 2564 พบว่า มีความเคลื่อนไหวสำคัญ ได้แก่ มิติคุณภาพคน โดยภาพรวมตลาดแรงงานได้รับผลกระทบรุนแรงจากมาตรการเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่มีความเข้มงวด ส่งผลให้ผู้ว่างงานและอัตราการว่างงานสูงที่สุดตั้งแต่มี COVID-19 หนี้สินครัวเรือนขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

      ขณะที่สัดส่วน NPLs ของสินเชื่อเพื่ออุปโภคบริโภคต่อสินเชื่อรวมทรงตัว แต่ต้องเฝ้าระวังหนี้บัตรเครดิตที่มีหนี้เสียเพิ่มขึ้น คดีอาญาโดยรวมเพิ่มขึ้นแต่ยังคงต้องเฝ้าระวังโดยเฉพาะคดีลักทรัพย์และคดียาเสพติด จึงต้องมีมาตรการในการป้องกันเหตุที่เข้มงวดมากขึ้น

     สำหรับ การเจ็บป่วยด้วยโรคเฝ้าระวังการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ การรับแจ้งอุบัติเหตุ และการร้องเรียนเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคลดลง นอกจากนี้ ยังมีการนำเสนอสถานการณ์ทางสังคมที่น่าสนใจ ได้แก่ มรดกทางวัฒนธรรม โอกาสของ Soft Power กับการยกระดับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของไทย Blockchain กับการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการข้อมูลภาครัฐ และการจัดการปัญหาน้ำท่วมในต่างประเทศ : บทเรียนสำหรับประเทศไทย รวมทั้งการเสนอบทความเรื่อง “COVID-19 ภัยต่อสุขภาพ กับความยากจนและความเหลื่อมล้ำ”

      สถานการณ์ด้านแรงงานไตรมาสสาม ปี 2564 ตลาดแรงงานได้รับผลกระทบรุนแรงจากมาตรการเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่มีความเข้มงวด ส่งผลให้ผู้ว่างงานและอัตราการว่างงานสูงที่สุดตั้งแต่มี COVID-19

      ภาพรวมการจ้างงาน ผู้มีงานทำ มีจำนวนทั้งสิ้น 37.7 ล้านคน ลดลงร้อยละ 0.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการจ้างงานภาคเกษตรกรรมยังคงขยายตัวได้ ซึ่งมีการจ้างงาน 12.7 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 เนื่องจากเป็นช่วงเริ่มฤดูการเพาะปลูกข้าว ขณะที่การจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมลดลงร้อยละ 1.3 โดยสาขาที่มีการจ้างงานลดลงมาก ได้แก่ สาขาก่อสร้าง สาขาโรงแรม/ภัตตาคาร ที่ลดลงถึงร้อยละ 7.3 และ 9.3 ตามลำดับ

      ส่วนหนึ่งเป็นผลของมาตรการควบคุมการเปิดปิดสถานประกอบการ ทั้งการปิดแคมป์คนงาน และจำกัดการขายอาหาร สำหรับสาขาที่ขยายตัวได้ ประกอบด้วย สาขาการผลิต ขายส่ง/ขายปลีก และสาขาขนส่ง/เก็บสินค้า ขยายตัวได้ร้อยละ 2.1 0.2 และ 4.6 ตามลำดับ สาขาการผลิตที่มีการจ้างงานขยายตัวได้ดี อาทิ การผลิตอาหารและเครื่องดื่ม การผลิตรถยนต์ การผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้า และอุปกรณ์ทางการแพทย์ชั่วโมงการทำงาน ชั่วโมงการทำงานหลักโดยเฉลี่ยของภาคเอกชนอยู่ที่ 43.9 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีชั่วโมงการทำงานอยู่ที่ 44.0 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

     และมีผู้ว่างงานชั่วคราวสูงถึงเกือบ 9 แสนคน (ผู้มีงานทำที่ไม่ได้ทำงานในสัปดาห์แห่งการสำรวจ หรือทำงาน 0 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ อาทิ ลาหยุด ลาป่วย ถูกพักงาน หรือสถานประกอบการหยุดกิจการชั่วคราว) เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวนเพียง 4.7 แสนคน เท่านั้น การว่างงาน เพิ่มขึ้นสูงสุดตั้งแต่มีการระบาดของ COVID-19 โดยมีผู้ว่างงาน 8.7 แสนคน คิดเป็นอัตราการว่างงานที่ร้อยละ 2.25

      นอกจากนี้ ยังพบว่า ผู้ที่มีการศึกษาระดับอุดมศึกษามีอัตราการว่างงานสูงสุดร้อยละ 3.63 รองลงมาเป็น ปวส. ร้อยละ 3.16 ซึ่งผู้ว่างงานส่วนใหญ่จบในสาขาทั่วไป (บริหารธุรกิจ การตลาด) จึงมีแนวโน้มประสบปัญหาการว่างงานยาวนานขึ้นเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัวได้อย่างจำกัดและคนกลุ่มนี้ที่มีทักษะไม่ต่างกันจึงหางานได้ยากขึ้น

      ขณะที่แรงงานที่มีอายุ 15-19 ปี มีอัตราการว่างงานสูงสุดร้อยละ 9.74 รองลงมาเป็นอายุ 20-24 ปี ที่ร้อยละ 8.35 สะท้อนว่า COVID-19 ที่ส่งผลกระทบต่อเนื่อง ทำให้ผู้ประกอบการที่เคยชะลอการเลิกจ้างบางส่วนไม่สามารถรับภาระต่อได้และจำเป็นต้องเลิกจ้างแรงงานเพิ่มขึ้น

      ขณะที่เด็กจบใหม่ยังไม่มีตำแหน่งรองรับ เนื่องจากผู้ประกอบการยังได้รับผลกระทบและรอดูสถานการณ์ จึงชะลอการขยายตำแหน่งงาน การว่างงานของแรงงานในระบบ มีสัดส่วนผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานต่อผู้ประกันตนอยู่ที่ร้อยละ 2.47 ลดลงจากช่วงไตรมาสก่อนหน้าและปีก่อน เนื่องจากช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2564 รัฐบาลมีมาตรการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกอบการและผู้ประกันตนในพื้นที่ควบคุมสูงสุด ประกอบกับสถานประกอบการมีการหยุดกิจการชั่วคราวด้วยเหตุสุดวิสัยแทนการเลิกจ้าง ซึ่งมีจำนวนผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานด้วยเหตุสุดวิสัย 2.1 แสนคน ในเดือนกันยายน 2564 เพิ่มขึ้นจาก 0.9 แสนคน ณ สิ้นไตรมาสก่อน

QIC 580x400

ประเด็นที่ต้องติดตามในระยะถัดไป

     1.การผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาด การเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติต่อการจ้างงานในภาคการท่องเที่ยว และการฟื้นฟูเศรษฐกิจ เดือนตุลาคม ศบค. เริ่มผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ในหลายพื้นที่ และมีการเปิดประเทศในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 ซึ่งจะเพิ่มการจ้างงานในภาคการท่องเที่ยวได้บ้าง อย่างไรก็ตาม การเปิดประเทศยังต้องมีมาตรการเพิ่มเติม ดังนี้ 1) การควบคุม และป้องกันการแพร่ระบาดที่ต้องมีความเข้มงวดมากขึ้น

     2) การหามาตรการช่วยเหลือธุรกิจท่องเที่ยวขนาดเล็ก ซึ่งอาจไม่ได้รับประโยชน์จากมาตรการเปิดประเทศดังกล่าว 3) การอำนวยความสะดวกในการจ้างงานให้กับภาคการท่องเที่ยวซึ่งอาจมีปัญหาขาดแคลนแรงงาน เนื่องจากแรงงานกลุ่มเดิมที่ถูกเลิกจ้างในช่วง COVID-19 มีการเปลี่ยนอาชีพ และ 4) การดำเนินมาตรการอื่นควบคู่กันไปเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและการจ้างงาน โดยเฉพาะจากโครงการจาก พ.ร.ก. กู้เงินฯ ฉบับใหม่ ซึ่งต้องเน้นให้เป็นโครงการที่ก่อให้เกิดการจ้างงานมากขึ้น

      2.ผลกระทบของอุทกภัยต่อแรงงานภาคเกษตรและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร ช่วงที่ผ่านมา มีจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยทั้งสิ้น 33 จังหวัด รวม 225 อำเภอ โดยรัฐบาลได้มีมาตรการเยียวยาเบื้องต้นจากความเสียหายของผลผลิตทางการเกษตรแล้ว ทั้งนี้ อาจต้องมีมาตรการสนับสนุนด้านการเงินเพื่อนำไปใช้ในการซ่อมแซมบ้านเรือนและเป็นทุนในการทำการเกษตรอีกทางหนึ่ง

     นอกจากนี้ สถานการณ์ในปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 13 พฤศจิกายน 2564) ที่เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคใต้ และทำให้มีประชาชนได้รับผลกระทบมากกว่า 3,246 ครัวเรือน ซึ่งอาจต้องมีการช่วยเหลือเยียวยาความเสียหายด้วยเช่นกัน

          3.ภาระค่าครองชีพที่อาจปรับเพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้ราคาสินค้าหลายชนิดปรับตัวสูงขึ้นได้ในอนาคต และกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชน โดยเฉพาะผู้ว่างงานชั่วคราวที่ไม่ได้รับค่าจ้าง ซึ่งมีจำนวนสูงถึง 7.8 แสนคน ทำให้แรงงานกลุ่มนี้มีปัญหาในการดำรงชีพ

          4.การจัดการปัญหาการสูญเสียทักษะจากการว่างงานเป็นเวลานานและการยกระดับทักษะให้กับแรงงาน แรงงานมีการว่างงานยาวนานขึ้นและธุรกิจต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบไป ทำให้แรงงานต้องมีการพัฒนาทักษะของตนให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบต่าง ๆ มากขึ้น (รูปแบบการทำงาน และเทคโนโลยี) ในระยะถัดไป ภาครัฐอาจส่งเสริมให้แรงงานโดยเฉพาะกลุ่มผู้ว่างงานเข้ารับการอบรมเพื่อพัฒนาทักษะให้เพิ่มขึ้น

          5.การส่งเสริมให้แรงงานที่ประกอบอาชีพอิสระที่ลงทะเบียนเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40ของสำนักงานประกันสังคม เพื่อรับการช่วยเหลือเยียวยาให้เป็นผู้ประกันตนอย่างต่อเนื่อง

          จากมาตรการช่วยเหลือเยียวยากลุ่มแรงงานนอกระบบในช่วงการระบาดที่ผ่านมา มีแรงงานเกือบ 7 ล้านคนได้สมัครเป็นผู้ประกันตนของมาตรา 40 จึงควรเร่งประชาสัมพันธ์และทำความเข้าใจกับแรงงานกลุ่มดังกล่าวเพื่อให้ทราบถึงสิทธิประโยชน์ของการเป็นผู้ประกันตน และหามาตรการจูงใจเพื่อโน้มน้าวแรงงานให้คงสถานะเป็นผู้ประกันตนอย่างต่อเนื่อง

          หนี้สินครัวเรือนขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่สัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อ GDP แม้ว่าจะปรับลดลงเล็กน้อยแต่ยังคงอยู่ในระดับสูง ด้านคุณภาพสินเชื่อต้องเฝ้าระวังหนี้เสียจากบัตรเครดิตที่เพิ่มขึ้น

          ไตรมาสสอง ปี 2564 หนี้สินครัวเรือนมีมูลค่า 14.27 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 จากร้อยละ 4.7 ในไตรมาสก่อน หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 89.3 ต่อ GDP ลดลงจากร้อยละ 90.6 ในไตรมาสที่ผ่านมา

          จากเศรษฐกิจที่ขยายตัวเร็วกว่าหนี้สินครัวเรือน อย่างไรก็ตาม สัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อ GDP ยังคงอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับช่วงก่อนการแพร่ระบาดของ COVID-19 ด้านคุณภาพสินเชื่อยังต้องเฝ้าระวังหนี้บัตรเครดิตที่มีหนี้เสียเพิ่มขึ้น แม้ว่าสัดส่วน NPLs ของสินเชื่อเพื่ออุปโภคบริโภคต่อสินเชื่อรวมอยู่ที่ร้อยละ 2.92 ทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่สัดส่วน NPLs ของสินเชื่อบัตรเครดิตต่อสินเชื่อรวมเพิ่มขึ้นในอัตราเร่งเป็นไตรมาสที่สองติดต่อกันจากร้อยละ 3.04 ในไตรมาสก่อนมาเป็นร้อยละ 3.51 รวมถึงลูกหนี้ที่มีปัญหาหนี้เสียจากบัตรเครดิต 1 ใน 3 เป็นผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 35 ปี

          หนี้สินครัวเรือนยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยมีสาเหตุจาก 1) ภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่สามารถขยายตัวได้ในระดับปกติ แม้ว่าทั้งปี 2564 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัว แต่เป็นการขยายตัวจากฐานต่ำ สะท้อนว่ารายได้ครัวเรือนยังคงไม่ฟื้นตัวได้อย่างเต็มที่ ซึ่งจะกระทบต่อสภาพคล่องและความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือน และ 2) ผลกระทบของอุทกภัยทำให้ครัวเรือนต้องก่อหนี้เพื่อนำมาซ่อมแซมบ้านเรือนและเครื่องใช้ที่ได้รับความเสียหายเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการก่อหนี้เพื่อการอุปโภคบริโภค

ประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญในระยะถัดไป ได้แก่

          หนี้เสียโดยเฉพาะบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งหากลูกหนี้ผิดนัดชำระจะต้องเสียดอกเบี้ยปรับในอัตราที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับหนี้ประเภทอื่น

           การส่งเสริมให้ลูกหนี้เข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ จากปัจจุบันที่หนี้เสียของครัวเรือนยังอยู่ในระดับสูงแม้ว่าจะมีการดำเนินมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจเกิดจากการไม่รับรู้ถึงมาตรการช่วยเหลือ จึงควรเร่งประชาสัมพันธ์ให้ลูกหนี้เข้ามาปรับโครงสร้างหนี้เพื่อลดภาระและเพิ่มสภาพคล่องให้กับลูกหนี้

          การก่อหนี้นอกระบบเพิ่มขึ้น จากข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนในรอบครึ่งปี 2564 พบว่า มีมูลค่าหนี้นอกระบบรวม 8.5 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2562 ที่มีเพียง 5.6 หมื่นล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นถึง 1.5 เท่าจากปี 2562

          การเจ็บป่วยโดยรวมลดลง แต่ยังคงต้องเฝ้าผลกระทบต่อสุขภาพจิตและการฆ่าตัวตายที่เพิ่มขึ้น รวมถึงอาการหลงเหลือหลังติดเชื้อ COVID-19 หรือ “LONG COVID”

          ไตรมาสสาม ปี 2564 การเจ็บป่วยด้วยโรคเฝ้าระวังลดลงร้อยละ 46.1 เป็นการลดลงในเกือบทุกโรค ยกเว้นโรคปอดอักเสบที่มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.5 จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศในฤดูฝนและการติดเชื้อ COVID-19 ขณะที่ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ผู้ป่วยโรคหัด ผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ และผู้ป่วยโรคมือ เท้า ปาก ลดลงร้อยละ 93.0 89.2 88.0 และ 73.5 ตามลำดับ นอกจากนี้ต้องเฝ้าระวังผลจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตของประชาชน ซึ่งอาจทำให้การฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น รวมทั้งอาการหลงเหลือหลังติดเชื้อ COVID-19 หรือ “LONG COVID” ของผู้ป่วยที่เคยติดเชื้อ COVID-19

sme 580x400

การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ลดลง

          ไตรมาสสาม ปี 2564 การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ลดลงร้อยละ 2.0 โดยการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ลดลงร้อยละ 2.1 และการบริโภคบุหรี่ลดลงร้อยละ 1.7 ทั้งนี้ ยังต้องเฝ้าระวังผลกระทบจากการปรับโครงสร้างภาษีบุหรี่ใหม่ ซึ่งจะส่งผลให้ราคาบุหรี่ปรับตัวสูงขึ้น และทำให้ประชาชนหันไปบริโภคสินค้าทดแทน อาทิ ยาเส้น บุหรี่ไฟฟ้า รวมถึงอาจส่งผลต่อการลับลอบนำเข้าบุหรี่ผิดกฎหมาย ซึ่งการปรับโครงสร้างภาษีฯ อาจไม่ช่วยลดการสูบบุหรี่เท่าที่ควร ดังนั้น ต้องมีการควบคุมสินค้าที่มาทดแทนควบคู่ไปด้วยกันอย่างมีประสิทธิภาพทั้งระบบ เพื่อให้คนไทยมีสุขภาพที่ดีและลดอัตราการเป็นโรคจากการสูบบุหรี่ได้อย่างแท้จริง

          คดีอาญาโดยรวมเพิ่มขึ้น แต่ยังคงต้องเฝ้าระวังโดยเฉพาะคดีลักทรัพย์ที่เป็นการกระทำผิดมากที่สุดของคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ และคดีจับกุมการเสพยาเสพติดซึ่งมากที่สุดของคดียาเสพติดทั้งหมด จึงต้องมีมาตรการป้องกันเหตุที่เข้มงวดมากขึ้น

          ไตรมาสสาม ปี 2564 คดีอาญาโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.3 จากไตรมาสเดียวกันของปี 2563 โดยคดียาเสพติดเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.5 และคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.3 ขณะที่คดีชีวิต ร่างกาย และเพศ รับแจ้ง 3,085 คดี ลดลงร้อยละ 14.7 ซึ่งในช่วงที่มีการควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 อย่างเข้มงวดพบการกระทำผิดในคดีลักทรัพย์มากที่สุด คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 45.4 ของคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ทั้งหมด

       และในส่วนของคดียาเสพติด มีการจับกุมในคดีเสพยาเสพติดมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 52.3 ของคดียาเสพติดทั้งหมด จึงต้องมีมาตรการในการป้องกันเหตุที่เข้มงวดมากขึ้น โดยเจ้าหน้าที่อาจเพิ่มความถี่ในการออกตรวจจุดเสี่ยง ตั้งจุดตรวจสกัด เน้นการตรวจค้นสิ่งผิดกฎหมาย

          การเกิดอุบัติเหตุและผู้เสียชีวิตลดลง การลดความสูญเสียต้องเริ่มต้นด้วยการปลูกฝังตั้งแต่วัยเด็กเล็กให้ได้รับความรู้ความเข้าใจ มีจิตสำนึกในการใช้รถใช้ถนนที่ปลอดภัยเพื่อเป็นภูมิคุ้มกันความเสี่ยงจากอุบัติเหตุ

          ไตรมาสสาม ปี 2564 สถานการณ์การเกิดอุบัติเหตุจราจรทางบกและผู้เสียชีวิตลดลงร้อยละ 24.6 และ 31.3 จากไตรมาสเดียวกันปีก่อน สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุมาจากการขับรถตัดหน้ากระชั้นชิดร้อยละ 19.3 รองลงมาเป็นขับรถเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดร้อยละ 18.1 จากรายงานของศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุ ThaiRSC รายงานสถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนในประเทศไทย ช่วง 9 เดือนของปี 2564 พบว่า 1 ใน 4 ของผู้เสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุเป็นเด็กและเยาวชนรวม 10,959 ราย บาดเจ็บรวม 687,254 ราย

        นับเป็นการสูญเสียโอกาสในการพัฒนาทรัพยากรของประเทศ จึงจำเป็นต้องมีการร่วมมือกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อลดการสูญเสียจากการบาดเจ็บและเสียชีวิตของเด็ก รวมทั้งการปลูกฝังวินัยจราจร พัฒนาทักษะการเรียนรู้ การแก้ปัญหาสร้างจิตสำนึกในการใช้ถนนที่ปลอดภัยตั้งแต่วัยเด็กเล็กเพื่อให้เกิดการตระหนักและนำไปสู่การปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง

ais 580x400

การร้องเรียนผ่าน สคบ. ลดลง ขณะที่การร้องเรียนผ่าน กสทช. เพิ่มขึ้น

          ไตรมาสสาม ปี 2564 สคบ. ได้รับการร้องเรียนสินค้าและบริการลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อนร้อยละ 14.5 โดยเป็นการร้องเรียนในสินค้าและบริการทั่วไปมากที่สุด รองลงมาเป็นอาคารชุด/คอนโดมิเนียม ขณะที่การร้องเรียนผ่าน กสทช. เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.6 จากช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อน โดยส่วนใหญ่เป็นประเด็นถูกคิดค่าบริการผิดพลาด นอกจากนี้ ด้วยผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบต่อลูกหนี้โดยเฉพาะกลุ่มลูกหนี้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานต์ยนต์ เนื่องจากยังมีช่องว่างทางด้านกฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมและสัญญาเช่าซื้อฯ

        ดังนั้น สคบ. จึงได้ออกประกาศคณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้เพื่อปรับลดค่าธรรมเนียมทวงถามหนี้ และกำลังปรับปรุงกฎหมาย (ร่าง) ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญาเรื่องให้ธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถแทรกเตอร์และเครื่องจักรกลการเกษตร เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. ... เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้ครอบคลุมต่อกลุ่มผู้บริโภคที่เป็นลูกหนี้ในสัญญาเช่าซื้อมากขึ้น

มรดกทางวัฒนธรรม โอกาสของ Soft Power กับการยกระดับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของไทย

          จากโมเดลไทยแลนด์ 4.0 และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของไทย พบว่า เป็นการนำวัฒนธรรมมาต่อยอดในการผลิตสินค้าและบริการเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ซึ่งประเทศไทยสามารถผลักดันโมเดลไทยแลนด์ 4.0 ด้วยการยกระดับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ได้จากการใช้ Soft Power ซึ่งเป็นแนวทางที่หลายประเทศนิยมนำมาใช้โดย Soft Power ตามคำนิยามของ โจเซฟ เอส ไนย์ จูเนียร์ หมายถึง ความสามารถในการส่งผลกระทบต่อผู้อื่นเพื่อให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์ที่ต้องการ ด้วยแรงดึงดูดหรือจูงใจ มากกว่าการบีบบังคับ

           โดยมีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ วัฒนธรรม ค่านิยมทางการเมือง และนโยบายต่างประเทศ ซึ่งกรณีการใช้ Soft Power ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ จึงหมายถึงการกระทำสิ่งต่างๆ ที่จะส่งผลต่อความชอบและพฤติกรรมของคนในประเทศและคนต่างชาติ ด้วยการโน้มน้าวและไม่มีการบังคับ ทำให้ Soft Power มีความหลากหลาย และเป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการควบคู่กันในทุกด้าน ซึ่งครอบคลุมทั้งประเด็นทางวัฒนธรรม ธุรกิจและการค้าการปกครอง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สื่อและการสื่อสาร การศึกษาและวิทยาศาสตร์ และบุคคล

        โดยประเทศที่ประสบความสำเร็จในการใช้แนวคิด Soft Power ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ คือ ประเทศเกาหลีใต้ที่นำ Soft Power มาใช้ทั้งในด้านวัฒนธรรม ด้านค่านิยม และนโยบายต่างประเทศ รวมทั้งยังมีการกำหนดเป้าหมายและแผนงานที่ชัดเจน รวมถึงมีหน่วยงานที่รับผิดชอบ และมีนโยบายสนับสนุนที่หลากหลายตลอดห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งช่วยให้กระแสความนิยมต่อสินค้าและบริการของเกาหลีใต้เพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก

        โดยธุรกิจเชิงวัฒนธรรมของเกาหลีใต้ (Content Industry) เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก และมีการส่งออกเนื้อหาทางวัฒนธรรมถึง 1.02 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2562 เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว จากปี 2557 และเกิดกระแสความนิยมเกาหลีที่ส่งผลต่อกิจกรรมอื่น อาทิ การท่องเที่ยว โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นอย่างมากจากจำนวน 5.3 ล้านคน ในปี 2543 เป็น 17.5 ล้านคนในปี 2562 สำหรับประเทศไทย ที่ให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์โดยการนำวัฒนธรรมมาต่อยอดเพื่อยกระดับเศรษฐกิจของประเทศ สามารถนำแนวทางดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ได้

      โดยมีปัจจัยที่ต้องคำนึงถึง ดังนี้ 1) การตั้งเป้าหมายและการมีแผนการดำเนินงานที่ชัดเจนในการขับเคลื่อนด้วย Soft power 2) กำหนดหน่วยงานรับผิดชอบหลักในการขับเคลื่อนแผนการดำเนินงาน และ 3) ต้องมีการส่งเสริมและสนับสนุนทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชนในการขับเคลื่อนการใช้ Soft Power เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและภาพลักษณ์ประเทศ

Blockchain กับการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการข้อมูลภาครัฐ

      ปัจจุบันภาครัฐมีการกำหนดนโยบายและการให้สวัสดิการบนพื้นฐานของการวิเคราะห์ข้อมูลมากขึ้นทำให้ความถูกต้อง ครบถ้วน และการจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบเป็นสิ่งสำคัญ โดยเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทมากในขณะนี้ คือ เทคโนโลยี Blockchain ซึ่งเป็นเทคโนโลยีในการจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์(Distributed Ledger Technology) ทำให้ข้อมูลมีความถูกต้อง แม่นยำ โปร่งใส สามารถตรวจสอบย้อนกลับถึงที่มาที่ไปของข้อมูล ช่วยลดขั้นตอนการทำงานที่ไม่จำเป็น และยังกำหนดระดับการเข้าถึงและการเปิดเผยได้อีกด้วย ทำให้ตอบสนองต่อเงื่อนไขด้านความเป็นส่วนตัว (Privacy) ของข้อมูลบางประเภท

      ซึ่งประเทศไทยได้ให้ความสำคัญในการผลักดันรัฐบาลให้เป็นรัฐบาลดิจิทัล มุ่งเน้นให้เกิดการเชื่อมโยงข้อมูลภาครัฐ และมีความปลอดภัยทางไซเบอร์ ซึ่งหากสามารถนำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้ในการพัฒนาการให้บริการประชาชนและการจัดการข้อมูลของภาครัฐได้มากขึ้น จะมีส่วนสำคัญในการยกระดับประสิทธิภาพการทำงานและสามารถแก้ปัญหาด้านไซเบอร์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้

       โดยการนำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้กับงานบริการภาครัฐสามารถแบ่งได้เป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ การพิสูจน์ตัวตน (Identity Management) การบริหารจัดการการจัดเก็บข้อมูล (Data Record Management) และ 3) การติดตามธุรกรรม (The Transaction Traceability) อย่างไรก็ตาม การนำเทคโนโลยี Blockchain มาปรับใช้กับภาครัฐจะต้องมีการเตรียมความพร้อม ได้แก่

     1) มีการบูรณาการระหว่างหน่วยงานภาครัฐ 2) มีหน่วยงานกำกับดูแล ออกกฎหมาย และกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับการใช้นำเทคโนโลยี Blockchain 3) มีการพัฒนาบุคลากรเพื่อพัฒนาและดูแลระบบ รวมทั้งใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด และ 4) มีการดำเนินการปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการใช้เทคโนโลยี โดยต้องดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นให้มีความครอบคลุมทั่วถึง อาทิ โครงข่ายสัญญาณอินเทอร์เน็ต อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้อง

      โดยเฉพาะในระดับภูมิภาคและพื้นที่ห่างไกล มีการปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบภายในส่วนราชการ/หน่วยงานให้เอื้อต่อการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกัน และจะต้องมีการปรับเปลี่ยนการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ที่เป็นเอกสารให้มีลักษณะเป็นดิจิทัล เพื่อให้สามารถนำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้ได้อย่างแพร่หลายและเป็นรูปธรรมมากขึ้น

การจัดการปัญหาน้ำท่วมในต่างประเทศ : บทเรียนสำหรับประเทศไทย

      ประเทศไทยเผชิญกับปัญหาน้ำท่วมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเป็นอย่างมาก รัฐบาลจึงให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการน้ำท่วม โดยหลังจากวิกฤตน้ำท่วมใหญ่ ปี 2554 การบริหารจัดการน้ำท่วมของไทยมีทิศทางไปในแนวทางที่ดีขึ้นกว่าในอดีต การแก้ไขปัญหามีแผนการดำเนินงานที่ชัดเจนและมีความสอดรับกับบริบทเชิงพื้นที่มากขึ้น รวมทั้งมีการออกพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 ที่มีการจัดองค์กร/โครงสร้าง/ระเบียบการบริหารจัดการน้ำในภาพรวมอย่างเป็นรูปธรรม และมีการจัดทำแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) โดยมีแผนแม่บทด้านการจัดการน้ำท่วมและอุทกภัยเป็นหนึ่งในแผนดังกล่าว

       โดยที่ผ่านมาได้มีการดำเนินการในหลายประเด็น เช่น การปรับปรุงแม่น้ำลำคลองให้ระบายน้ำได้ดีขึ้น การสร้างพนังกั้นน้ำ การปรับปรุงสิ่งกีดขวางทางน้ำ เป็นต้น ซึ่งจะเห็นได้ว่า ประเทศไทยให้ความสำคัญกับปัญหาน้ำท่วมโดยเน้นไปที่การป้องกันเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ดี การจัดการปัญหาน้ำท่วมจำเป็นต้องพิจารณาตั้งแต่การจัดการน้ำไปจนถึงการให้ความช่วยเหลือเมื่อครัวเรือนประสบปัญหา ในการนี้ การดำเนินการเรื่องการจัดการน้ำท่วมในประเทศต่างๆ สามารถนำมาใช้เป็นบทเรียนและประยุกต์ใช้กับประเทศไทยได้ ดังนี้

         1) การป้องกันน้ำท่วมต้องให้ความสำคัญกับลักษณะของพื้นที่ อาทิ เนเธอร์แลนด์มีระบบการบริหารจัดการน้ำที่เรียกว่า Delta Works จีนมีการออกแบบเมืองตามแนวคิดเมืองฟองน้ำ (Sponge City) ญี่ปุ่นมีการสร้างทางผันน้ำใต้ดินขนาดใหญ่ สหรัฐอเมริกามีการเสนอปรับเปลี่ยนพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมให้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำเพื่อทำหน้าที่รองรับน้ำ 2) การแจ้งเตือนมีส่วนสำคัญในการบรรเทาผลกระทบ อาทิ ญี่ปุ่นมีระบบเตือนภัย J-ALERT ฟิลิปปินส์ที่มีระบบป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (NOAH) จีนมีการสร้างสถานีสังเกตการณ์น้ำท่วม

        3) การบริหารจัดการและการเตรียมพร้อมรับมือเมื่อเผชิญเหตุ สหรัฐอเมริกามีสำนักงานบริหารจัดการภาวะฉุกเฉินกลาง จีนมีศูนย์บรรเทาภัยแล้งและควบคุมอุทกภัยแห่งชาติ ญี่ปุ่นมีสำนักงานจัดการภัยพิบัติและอัคคีภัย รวมทั้งมีการกำหนดพื้นที่สำหรับผู้ประสบภัยในช่วงเกิดภัยพิบัติจากบทเรียนในต่างประเทศและการรับมือกับปัญหาน้ำท่วมของประเทศไทยที่ผ่านมา นำมาซึ่งประเด็นที่ควรให้ความสำคัญในการบริหารจัดการน้ำท่วม ดังนี้

          1) ผังเมือง/ผังน้ำ เป็นหลักการพื้นฐานสำคัญของการบริหารจัดการปัญหาน้ำท่วม 2) การคาดการณ์สถานการณ์และเส้นทางการไหลของน้ำต้องมีความชัดเจน 3) ระบบเตือนภัยในพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมต้องทันต่อสถานการณ์และทั่วถึง 4) การพัฒนา/ฟื้นฟู/บำรุงรักษาพื้นที่รองรับน้ำและพื้นที่ชะลอน้ำให้มีมากขึ้นและพร้อมใช้งาน 5) การสนับสนุนให้เกิดการปรับตัวของประชาชนเพื่อพร้อมรับมือกับสถานการณ์น้ำท่วม และ 6) การเตรียมพื้นที่รองรับกรณีมีผู้ประสบภัย 

hino2021

สภาพัฒน์ฯ สศช.

สำนักนายกฯ

ส่งเสริมการลงทุน BOI

ทหาร-กลาโหม

Viriyha620x100

แบงก์ชาติ

บริษัทจดทะเบียน

หุ้นเด่นวันนี้!

180

วางแผงแล้วครับท่านผู้ชม...  

คลิกสมัครสมาชิกได้ที่นี่....

พาณิชย์

อสังหาริมทรัพย์

การตลาด

Insurance ประกัน

บทความการเงิน

Direct Sale ขายตรง

การศึกษา

ศาสนา

ไอที-เทคโนฯ

ข่าว กรุงเทพ

ไฟฟ้า ลม โซล่าร์

แรงงาน

ข่าวสังคม

กีฬา

ท่องเที่ยว

INVESMENTE

FUND

SEC

สภาอุตสาหกรรม

กรมศุลกากร