WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

   ไอเอ็มเอฟ ระบุในรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลก (WEO) รอบครึ่งปีว่า มุมมองดังกล่าวเป็นผลสะท้อนมาจากการขยายตัวเพิ่มขึ้นของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจพัฒนาแล้ว แต่การขยายตัวดังกล่าวถูกหักลบด้วยการขยายตัวที่ลดลงในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่และกำลังพัฒนา

   "ประเทศเศรษฐกิจพัฒนาแล้วหลายประเทศ และตลาดเกิดใหม่บางแห่ง กำลังรับมือกับผลพวงต่างๆของวิกฤต ซึ่งรวมถึงส่วนต่างระหว่างการผลิตในปัจจุบันกับศักยภาพของการผลิต (Output Gap) ที่อยู่ในระดับติดลบอย่างยืดเยื้อ รวมทั้งหนี้ภาคเอกชนหรือสาธารณะที่อยู่ในระดับสูง" ไอเอ็มเอฟระบุในรายงาน

     ในบรรดาประเทศเศรษฐกิจพัฒนาแล้ว คาดว่าการขยายตัวในสหรัฐจะแตะที่ 3.1% ในปี 2558 และ 2559 หลังจากที่ขยายตัว 2.4% ในปี 2557 โดยรายงานชี้ว่าอุปสงค์ภายในประเทศได้แรงหนุนจากราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับต่ำ การการปรับปรุงสถานะทางการคลัง (Fiscal Adjustment) ในระดับที่ไม่รุนแรงเกินไป และแรงสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากจุดยืนทางนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย

     สำหรับ เศรษฐกิจยูโรโซนกำลังส่งสัญญาณฟื้นตัวดีขึ้น เพราะได้ปัจจัยสนับสนุนจากราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับต่ำ อัตราดอกเบี้ยต่ำ และยูโรที่อ่อนค่า โดยคาดว่าจะขยายตัว 1.5% และ 1.6% ในปี 2558 และ 2559 ตามลำดับ หลังจากที่ขยายตัว 0.9% ในปี 2557

    ส่วนเศรษฐกิจญี่ปุ่นนั้น หลังจากปี 2557 ที่น่าผิดหวัง ก็คาดว่าจะกระเตื้องขึ้นเช่นกัน เนื่องจากเยนที่อ่อนค่า และราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลง โดยไอเอ็มเอฟคาดว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นจะขยายตัว 1.0% ในปีนี้ และ 1.2% ในปีหน้า หลังจากที่หดตัว 0.1% ในปีที่แล้ว

    ด้านตลาดเกิดใหม่ ไอเอ็มเอฟคาดว่าเศรษฐกิจจีนจะชะลอตัวลงสู่ระดับ 6.8% ในปี 2558 และ 6.3% ในปี 2559 จากอัตราการขยายตัวที่ 7.4% ในปีที่แล้ว แต่คาดว่าเศรษฐกิจอินเดียจะขยายตัวเร็วขึ้นจาก 7.2% ในปี 2557 เป็น 7.5% ทั้งในปี 2558 และ 2559

    ขณะที่คาดว่า เศรษฐกิจรัสเซียจะหดตัวลง 3.8% ในปี 2558 และ 1.1% ในปี 2559 เนื่องจากราคาน้ำมันที่ร่วงลง และมาตรคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจโดยชาติตะวันตก อันเนื่องมาจากวิกฤตการณ์ในยูเครน

    ไอเอ็มเอฟ เตือนว่า ความเสี่ยงที่มีต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกนั้นมีความสมดุลมากขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงปลายปีที่แล้ว แต่ยังคงโน้มเอียงไปในทิศทางขาลง ส่วนสถานการณ์ตึงเครียดทางการเมืองอาจทวีความรุนแรงขึ้น และการเปลี่ยนแปลงของราคาสินทรัพย์ในตลาดการเงินยังคงเป็นเรื่องน่ากังวล ดอลลาร์ที่แข็งค่าอาจจุดชนวนความตึงเครียดทางการเงินในภูมิภาคอื่นๆ และความเสี่ยงที่เงินเฟ้อต่ำหรือไม่ขยายตัวในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจพัฒนาแล้วก็ยังคงปรากฏอยู่

IMF คาดจีดีพีไทยโต 3.7% พาณิชย์ถกเอกชนหาแนวทางดันส่งออก 21 เม.ย.

    บ้านเมือง : ไอเอ็มเอฟ ประเมินเศรษฐกิจไทยปีนี้มีโอกาสเติบโตได้ถึง 3.7% ระบุมีปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคที่ฟื้นตัวและการลงทุนภาคเอกชน ระบุการใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายเพิ่มเติมได้หากเศรษฐกิจฟื้นตัวช้ากว่าที่คาด ขณะที่พาณิชย์ถกภาคเอกชนดันส่งออก 21 เมษายนนี้

   ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะกรรมการบริหารกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ได้ประชุมร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)สรุปการประเมินภาวะเศรษฐกิจไทยประจำปี 2558 ว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องในปี 2558 และคาดว่าจะกลับมาขยายตัวได้ประมาณ 3.7% ตามการฟื้นตัวของการบริโภคที่ได้รับอานิสงส์จากราคาพลังงานที่ปรับลดลงและการลงทุนของภาคเอกชน ที่จะเพิ่มขึ้นหลังจากทางการได้อนุมัติโครงการลงทุนต่างๆ แต่การขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชนยังมีข้อจำกัด จากอัตราการใช้กำลังการผลิตที่อยู่ในระดับต่ำ คำสั่งซื้อต่างประเทศที่ยังชะลอตัว และความกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนทางการเมือง ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนยังมีข้อจำกัดจากหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง และสถาบันการเงินระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น อีกทั้งการลงทุนของภาครัฐทำได้ล่าช้ากว่าที่คาด ขณะเดียวกัน ความต้องการสินค้าไทยในตลาดโลกยังอ่อนแอ

    ทั้งนี้ เมื่อมองไปข้างหน้า เศรษฐกิจไทยอาจขยายตัวได้ต่ำกว่าคาด โดยปัจจัยเสี่ยงภายในประเทศ ได้แก่ ความล่าช้าของนโยบายภาครัฐ ภาคเอกชนที่อ่อนแอกว่าคาด และความไม่แน่นอนทางการเมือง ขณะที่ความเสี่ยงจากภายนอกประเทศ ได้แก่ ความผันผวนของตลาดการเงินโลก และการชะลอลงของเศรษฐกิจประเทศพัฒนาแล้วและเศรษฐกิจประเทศตลาดเกิดใหม่ อย่างไรก็ดี ปัจจัยบวกจะมาจาก การบริโภคภายในประเทศและการส่งออกที่อาจได้รับผลดีมากกว่าที่คาดไว้จากราคาน้ำมันที่ลดลงมาก

     อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการบริหารไอเอ็มเอฟเห็นด้วยกับมาตรการด้านการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายใต้กรอบนโยบาย การรักษาความยั่งยืนทางการคลังในระยะปานกลาง อีกทั้งเห็นด้วยกับการปฏิรูปมาตรการอุดหนุนต่างๆ โดยเน้นให้ความช่วยเหลือเฉพาะประชาชนกลุ่มที่ได้รับผลกระทบรุนแรง แทนการอุดหนุนในวงกว้างในช่วงที่ผ่านมา เช่นในกรณีโครงการรับจำนำข้าว และการอุดหนุนราคาพลังงาน นอกจากนี้ ยังสนับสนุนการจัดทำร่างกฎหมายว่าด้วยความรับผิดชอบด้านการคลัง ซึ่งเป็นการกำหนดกรอบวินัยทางการคลังในระยะปานกลาง การทบทวน แผนกลยุทธ์ในการบริหารระบบรัฐวิสาหกิจ รวมถึงการจัดทำแผนการลงทุนระยะยาวในโครงสร้างพื้นฐาน ขนาดใหญ่ของภาครัฐ

    สำหรับ นโยบายการเงินมีความเหมาะสม และอาจสามารถพิจารณาผ่อนคลายเพิ่มเติมได้หากเศรษฐกิจฟื้นตัวล่าช้ากว่าที่คาด โดยต้องคำนึงถึงผลกระทบของอัตราดอกเบี้ยต่ำต่อเสถียรภาพการเงินด้วย นอกจากนี้ ไอเอ็มเอฟยังสนับสนุนการเปลี่ยนเป้าหมายเงินเฟ้อไปใช้อัตราเงินเฟ้อทั่วไป และยังไม่มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเงินฝืด

   ทั้งนี้ ความผันผวนของเงินทุนเคลื่อนย้ายจากความไม่แน่นอนในตลาดการเงินโลกเป็นความท้าทาย สำคัญต่อการ ดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาคในระยะข้างหน้า คณะกรรมการฯ เห็นด้วยว่าไทยยังคงมีเครื่องมือต่างๆ ที่สามารถจะนำมาใช้เพื่อดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจ อาทิ ทุนสำรองระหว่างประเทศที่มีจำนวนมาก และนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนที่ยืดหยุ่น ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นเครื่องมือรองรับความผันผวนในตลาดการเงินได้เป็นอย่างดี

   พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า หลังจากหลายฝ่ายปรับลดตัวเลขการส่งออกปีนี้ว่าจะขยายตัวระดับ 0-1% จึงสั่งการให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องหาข้อมูลการส่งออกเพื่อหาแนวทางเร่งรัดการส่งออกปีนี้ให้ขยายตัวดีขึ้น โดยยังเชื่อว่าการส่งออกปีนี้จะขยายตัวเกินกว่า 1% และวันที่ 21 เมษายนนี้ จะนำข้อมูลที่เจ้าหน้าที่รวบรวมมาได้หารือกับภาคเอกชน ประกอบด้วย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกระทรวงอุตสาหกรรมและสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ)

   สำหรับ แนวทางหลักการหารือ คือ มุ่งพัฒนาการผลิตสินค้าให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ ปัจจุบันการส่งออกของไทย 70% เป็นสินค้าอุตสาหกรรม ส่วนอีก 30% เป็นสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูป สินค้าส่งออกที่พบว่าลดลงอยู่ในกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม เช่น ฮาร์ดดิส และรถยนต์ เพราะประเทศนำเข้าเศรษฐกิจชะลอตัว ดังนั้น กระทรวงพาณิชย์จึงต้องเร่งผลักดันให้ภาคการผลิตไทยแปรรูปสินค้าเกษตรมากขึ้น เพราะสินค้าเกษตรแปรรูปยังขยายตัวดีทุกตลาด ขณะเดียวกันจะส่งเสริมการค้าชายแดน ด้วยการขยายพื้นที่ไปจังหวัดใกล้เคียงให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ เช่น เขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด ที่ขยายการค้าไปจังหวัดใกล้เคียงแล้ว

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!