WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

9782 MahidolEG ไฟรั่วไฟดูด2

นักวิชาการวิศวะมหิดลแนะ ไฟรั่ว-ไฟดูดจากน้ำท่วม...ภัยเงียบคร่าชีวิตที่ป้องกันได้

          ในช่วงฤดูฝนและฤดูน้ำหลาก โดยเฉพาะระยะนี้มีน้ำท่วมจากภาวะโลกร้อนและพายุฝนหนักในหลายพื้นที่มากขึ้น ล่าสุดข่าวเหตุร้ายไฟดูดนักเรียนล้มหมดสติที่อุดรธานีและระยอง รวมทั้งผู้เคราะห์ร้ายล้างมอเตอร์ไซค์ข้างเสาไฟฟ้าถูกไฟดูดเสียชีวิตที่ชัยภูมิ นับเป็นความเศร้าสลด ภาพนาทีชีวิตที่สามารถหลีกเลี่ยงได้หากมีความรู้และเพิ่มความระมัดระวัง การจะหุนหันรีบเข้าไปช่วยเหลือผู้ถูกไฟดูด อาจกลายเป็นการเพิ่มผู้ถูกไฟฟ้าดูดขึ้นอีกคน นักวิชาการวิศวะมหิดลมีข้อแนะนำในการปฏิบัติลดความเสี่ยงและป้องกันการสูญเสียชีวิตจากภัยไฟรั่วไฟดูดที่เรามองไม่เห็น

          ดร.สุพรรณ ทิพย์ทิพากร หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ผู้ที่ถูกไฟดูดจากไฟรั่วขณะน้ำท่วมขังหรือ Electric Shock Drowning (ESD) มักรู้สึกชา ขยับร่างช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ จึงอาจเสียชีวิตจากการจมน้ำได้ด้วยนอกเหนือจากเสียชีวิตเพราะกระแสไฟฟ้าโดยตรง ปกติฉนวนที่หุ้มสายไฟอาจเปื่อยจากอายุการใช้งาน การถูกบาดเสียหายชำรุด หรือการต่อสายไฟภายในเสาไฟส่องสว่างที่ใช้เทปพันไม่ได้มาตรฐานแล้วทองแดงเปิด อาจไปถูกน้ำซึ่งเป็นสื่อนำไฟฟ้ารั่วไปยังเสาไฟยิ่งขึ้นโดยเฉพาะเสาไฟที่เป็นโลหะ ถ้ามีไฟเลี้ยงและมือเราไปแตะถูกโดยตรงโดยไม่ใส่สวมรองเท้ากั้นไม่ให้ร่างกายสัมผัสกับพื้น กระแสไฟฟ้าที่รั่วก็สามารถวิ่งเข้าสู่มือผ่านเท้าลงดินหรือเรียกว่าถูกไฟดูดได้ แต่ในกรณีน้ำท่วม แม้น้ำจะไม่ได้เป็นตัวนำไฟฟ้าได้ดีเท่ากับโลหะ แต่น้ำที่ท่วมเปียกขาจะเป็นตัวกลางที่ทำให้กระแสไฟรั่วผ่านร่างกายไหลครบวงจรลงดินได้ลักษณะไฟฟ้าที่รั่วจะคล้ายการช็อตปลาซึ่งกินบริเวณรัศมี Voltage Gradient ที่ส่งผลราว 1 - 2 เมตร อันตรายที่เกิดจากไฟรั่วขึ้นอยู่กับระยะเวลา ปริมาณกระแสไฟฟ้า และตำแหน่งที่ไฟฟ้ารั่วเข้าสู่ร่างกาย หากมือซ้ายสัมผัสจุดที่มีไฟรั่วและขายังแช่น้ำอยู่ ไฟฟ้ารั่วจะไหลผ่านหัวใจซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญ ปริมาณกระแสเพียง 0.1 แอมแปร์เพียง 2 วินาทีก็สามารถทำให้หัวใจหยุดเต้นได้

 

AXA 720 x100

 

          ความแตกต่างของ ไฟรั่ว ไฟดูด ไฟช็อต อย่างแรก ไฟรั่ว ไฟดูด เป็นไฟที่รั่วออกจากสายไฟหรือโครงโลหะของอุปกรณ์ที่มีความชำรุดแล้วดูดเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งต่างจากไฟช็อต หรือที่เรียกว่า ไฟฟ้าลัดวงจร ที่มีสาเหตุจากตัวนำทองแดงภายในฉนวนของสายไฟมีการแตะถึงกัน ซึ่งกระแสไฟฟ้าลัดวงจรนั้นจะช็อตไหลลัดไม่ผ่านเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยมีความรุนแรงและมีปริมาณกระแสที่สูงมาก เป็นเหตุให้เกิดอัคคีภัยได้ เบรกเกอร์หรือฟิวส์จะเป็นอุปกรณ์ป้องกันที่ใช้ตัดไฟฟ้าลัดวงจรที่สูงเกินค่านั้นออกจากวงจรเพื่อความปลอดภัย

          หลักคิดในการปฏิบัติลดความเสี่ยง ต้องเตือนตัวเองเสมอว่า สายไฟฟ้าที่เห็นเบื้องหน้านั้นอาจมีไฟเลี้ยงอยู่ บริเวณโคนเสาไฟฟ้า เสาไฟส่องสว่าง หรือ สายไฟที่แช่น้ำ เป็นบริเวณที่ควรหลีกเลี่ยงที่จะเดินหรือขี่มอเตอร์ไซด์ หรือจักรยานผ่านเข้าไปใกล้โดยเฉพาะช่วงน้ำท่วมขังจะต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะอาจมีสายไฟชำรุด รั่ว หรือสัตว์มีพิษพวกงูหรือตะขาบที่เรามองไม่เห็นอยู่ หากพบผู้ที่ถูกไฟดูดในบ้าน ก่อนอื่นต้องตั้งสติพิจารณาว่าสามารถ ยกเบรกเกอร์ ตัดวงจรไฟเลี้ยงที่ตำแหน่งนั้นได้หรือไม่ แต่ถ้าเป็นไฟดูดนอกบ้าน การแจ้งการไฟฟ้า กฟน. หรือ กฟภ.ที่เกี่ยวข้องเพื่อตัดกระแสไฟอาจใช้เวลานาน ควรสวมรองเท้าบูทยาง หรือ อาจหุ้มด้วยถุงพลาสติกหนาใหญ่ๆ เพื่อไม่ให้เท้าเราสัมผัสเปียกน้ำก่อนเดิน และใช้วัสดุที่ไม่นำไฟฟ้า เช่น ไม้ ผ้า เสื้อ เข็มขัด สายยาง เชือก ไม้กวาด ถุงมือยาง เพื่อเกี่ยวผู้ที่ถูกไฟดูดให้ออกไปจากบริเวณนั้นก่อน ทั้งนี้โดยห้ามสัมผัสกับตัวผู้ถูกไฟดูด หรือ น้ำในบริเวณนั้น แล้วทำการ CPR หากผู้ถูกไฟดูดหัวใจหยุดเต้น แล้วเรียกฉุกเฉิน 1669 เพื่อนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด

 

9782 MahidolEG ไฟรั่วไฟดูด

 

          สำหรับอาคารที่มีความเสี่ยงที่จะถูกน้ำท่วม ควรย้ายตำแหน่งปลั๊กเสียบและย้ายเครื่องใช้ไฟฟ้าให้สูงขึ้นพ้นระดับน้ำ ส่วนคอยล์ร้อนของเครื่องปรับอากาศนอกตัวบ้านที่วางบนระดับพื้นดินควรยกติดผนังให้มีระดับสูงขึ้น และงดเสียบปลั๊กหรือกดสวิตซ์เครื่องใช้ไฟฟ้าหากตัวเปียกหรือเท้าแช่น้ำ ควรเช็ควงจรเบรกเกอร์ว่าจ่ายไฟให้ปลั๊กเสียบตัวไหน โดยแยกเบรกเกอร์ที่คุมวงจรไฟฟ้าของชั้นล่างที่เสี่ยงถูกน้ำท่วม ควรเป็นคนละตัวกับเบรกเกอร์ที่คุมวงจรไฟฟ้าชั้นบน เพื่อสามารถยกเบรกเกอร์ตัดวงจรที่ถูกน้ำท่วมชั้นล่างออก เพื่อความปลอดภัยโดยยังสามารถใช้งานไฟฟ้าของชั้นบนได้ แต่ถ้าเป็นอาคารหรือบ้านชั้นเดียวที่มีน้ำท่วมขังก็ไม่ควรเสี่ยงใช้กระแสไฟฟ้า ออฟฟิศหรือโรงเรียนที่มีน้ำท่วมขัง ซึ่งจะทำให้คนต้องเดินสัญจรลุยน้ำ ก็ควรพิจารณาปิดทำการหรือหยุดเรียนเพื่อความปลอดภัย

 

QIC 720x100

 

          การปล่อยให้เกิดไฟรั่ว นอกจากเป็นอันตรายต่อชีวิตแล้วยังทำให้ต้องสิ้นเปลืองเงินค่าไฟฟ้าไปโดยไม่ได้ใช้ บิลค่าไฟจะสูงกว่าปกติอีกด้วย ข้อแนะนำการป้องกันไฟดูด-ไฟรั่ว ดร.สุพรรณ ทิพย์ทิพากร หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เสริมว่า 

          • ควรติดตั้งอุปกรณ์ตัดไฟรั่ว ประเภทเซฟทีคัทที่ได้มาตรฐานด้วย เพื่อเป็นอุปกรณ์เสริมเพิ่มจากระบบดินและเบรกเกอร์ตัดไฟ การทำงานของอุปกรณ์ตัดไฟรั่วจะวัดกระแสไฟฟ้าที่ไหลเข้าวงจรเทียบกับกระแสไฟฟ้าที่ไหลออกจากวงจร หากมีค่าที่แตกต่างกัน (ตามมาตรฐานวิศวกรรมไฟฟ้า คือเกินกว่า 0.03 แอมแปร์) ซึ่งหมายถึงได้เกิดมีกระแสไฟรั่วไปที่อื่นนอกวงจรปกติ เครื่องตัดไฟรั่วจะทำหน้าที่ตัดไฟฟ้าออกซึ่งจะทำให้ปลอดภัย

          • ในบ้านควรมีไขควงเช็คไฟไว้ประจำเพื่อใช้ตรวจวัดไฟรั่วที่โครงอุปกรณ์ เช่น ฝาตู้เย็น เครื่องซักผ้า หากสงสัยว่าจะเกิดไฟรั่ว ไฟดูด โดยไม่ต้องสัมผัสด้วยมือเราเอง

          • ควรตรวจสอบความชำรุดของสายไฟและจุดต่อสายไฟอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันไฟรั่ว ยิ่งถ้าโดนแดด มีของกระแทก หนูกัดสายไฟ หรือใช้งานเกินพิกัดจนเกิดความร้อน สังเกตุได้จากความร้อน สีเริ่มเปลี่ยน มีกลิ่นไหม้ รอยเขม่าดำ อายุการใช้งานของสายไฟอาจลดน้อยกว่า 20 ปีที่กำหนด

          • หากเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือสายไฟชำรุด ไม่ควรซ่อมด้วยตัวเอง ควรเรียกช่างไฟที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพช่างไฟฟ้าควรศึกษาวิธีการช่วยชีวิต CPR ที่ถูกต้องเผื่อยามฉุกเฉิน

          • ผู้รับเหมาติดตั้งเสาไฟส่องสว่างก็ควรเอาใจใส่ในมาตรฐานการติดตั้ง เชื่อมต่อหรือการใช้เทปพันเก็บสายไฟ การตรวจสอบ ซ่อมบำรุงอุปกรณ์ที่ชำรุดและอยู่ใกล้บริเวณที่น้ำท่วมถึง

          • จัดอบรมให้ความรู้ผู้อยู่ในอาคาร ชุมชนและโรงเรียนถึงวิธีป้องกันไฟดูด และการทำ PCR ช่วยชีวิตยามฉุกเฉิน

 

A9782

Click Donate Support Web  

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

 

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!