WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1.apoll

รายงานผลโพลล์การเลือกตั้ง ครั้งที่ 7 ของ ดร. สังศิต พิริยะรังสรรค์

พปชร. คะแนนรวมสูงสุด พท. ได้ ส.ส. มากสุด ประยุทธ์คะแนนนิยมนำ อภิสิทธิ์พลิกชนะสุดารัตน์ อนุทินพลิกชนะธนาธร

      รศ.ดร. สังศิต พิริยะรังสรรค์ คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต ได้แถลงผลโพลล์ เรื่องคะแนนนิยมประชาชนที่มีต่อผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีและการเลือกตั้ง ส.ส. เขต เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2562 การศึกษาใช้ประชากร 16,000 คน ตามโครงสร้างประชากรของสำนักงานสถิติแห่งชาติ จำแนกตามรายภาค เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ จำนวน 350 เขต ๆ ละ 400 คน ทั่วประเทศ จากจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในวันที่ 24 มีนาคม 2562 ศกนี้ ที่ 51.52 ล้านคน ผู้วิจัยประมาณการจำนวนผู้ที่จะออกมาใช้สิทธิอยู่ที่ 75% หรือ ประมาณ 38.65 ล้านคน ด้วยความเชื่อมั่น 95 % ความคลาดเคลื่อน 5 % การสำรวจปรากฏผลดังต่อไปนี้คือ :

 

ตารางที่ 1 แสดงรายผู้ที่ถูกเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรี 5 อันดับแรกที่มีคะแนนนิยมสูงสุด

ครั้งที่

ผู้ได้รับการสนับสนุนให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังการเลือกตั้ง รวม

พล.อ.

ประยุทธ์

จันทร์โอชา

คุณหญิง

สุดารัตน์

เกยุราพันธุ์

นาย

อภิสิทธิ์

เวชชาชีวะ

นาย

อนุทิน

ชาญวีรกุล

นาย

ธนาธร

จึงรุ่งเรืองกิจ

อื่น ๆ

 
1. (1 พฤษภาคม พ.ศ. 2561) 29.34 26.24 24.74 4.54 0 15.14 100
2. (13 มิถุนายน พ.ศ. 2561) 17.31 8.93 19.34 5.68 4.36 44.38 100
3. (15 ตุลาคม พ.ศ. 2561) 19.62 16.43 16.91 3.52 14.42 29.1 100
4. (24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561) 27.06 18.16 15.55 2.26 9.68 27.3 100
5. (24 ธันวาคม พ.ศ. 2561) 26.04 25.28 22.68 9.23 9.9 6.86 100
6. (5 มีนาคม พ.ศ. 2562) 23.51 14.63 17.67 8.29 7.52 28.38 100

 

 

ตารางที่ 2 ตารางแสดงจำนวน ส.ส. เขต บัญชีรายชื่อจำแนกตามพรรคและคะแนนนิยมพรรคทั่วประเทศ

พรรคการเมือง

ส.ส. เขต

(คน)

ส.ส. บัญชีรายชื่อ

(คน)

รวม ส.ส. ทั้งหมด

(คน)

คะแนน         (ล้านเสียง)
เพื่อไทย 128 - 128 5.870
พลังประชารัฐ 94 6 100 7.876
ประชาธิปัตย์ 86 - 86 6.638
ภูมิใจไทย 19 19 38 3.382
อนาคตใหม่ 4 26 30 2.919
เสรีรวมไทย 3 22 25 2.569
รวมพลังประชาชาติไทย 7 18 25 2.455
ชาติไทยพัฒนา 4 15 19 1.841
เพื่อชาติ 2 13 15 1.485
ชาติพัฒนา 1 12 13 1.337
ประชาชาติ 1 11 12 1.950
อื่น ๆ ที่เหลือ 1 8 9 0.328
ยังไม่ตัดสินใจ (0.7%) - - - 0.270
รวม 350 150 500 38.65

 

1. พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังได้รับคะแนนนิยมสูงสุดคือ 23.51 % อันดับ 2 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 17.67% พลิกขึ้นนำคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ได้เป็นครั้งแรกที่ได้ 14.63% อันดับ 4 นายอนุทิน ชาญวีรกุล พลิกกลับมาชนะธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจโดยอนุทินได้ 8.29% และธนาธร ได้ 7.52% สาเหตุที่คะแนนนิยมของ          5 อันดับแรกลดลงเหมือนกันหมด เพราะคะแนนนิยมของบุคคลอื่นๆ ที่เหลือรวมกันเพิ่มขึ้นมา

2. ตารางที่ 2 แสดงให้เห็นว่าคะแนนรวมของพรรคที่คาดว่าจะได้มากที่สุดตามลำดับคือ 1) พลังประชารัฐ (พปชร.) 7.88 ล้านเสียง (คิดเป็น 20.38 % ของผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง 38.65 ล้านคน) 2) ประชาธิปัตย์ (ปชป.) 6.64 ล้านเสียง (17.18%) 3) เพื่อไทย (พท.) 5.87 ล้านเสียง (15.19%) 4) ภูมิใจไทย (ภท.) 3.38 ล้านเสียง (8.75%)   5) อนาคตใหม่ (อนค.) 2.92 ล้านเสียง (7.55 %) 6) เสรีรวมไทย (สร.) 2.57 ล้านเสียง (6.65 %) 7) รวมพลังประชาชาติไทย (รปช.) 2.46 ล้านเสียง (6.35 %) 8 ) ชาติไทยพัฒนา (ชท.) 1.8 ล้านเสียง (4.77%) 9) เพื่อชาติ(พช.) 1. 49 ล้านเสียง (3.84 %) 10) ชาติพัฒนา (ชพ.) 1.34 ล้านเสียง (3.46 %) 11) ประชาชาติ (ปชช.) 1.20 ล้านเสียง (3.09 %)

3. ในตารางที่ 2 ยังได้แสดงจำนวน ส.ส. เขต ส.ส. บัญชีรายชื่อและจำนวน ส.ส. รวมของ 10 พรรค ตามลำดับและคะแนนดังนี้ คือ 1) พท. 128 ที่นั่ง 2) พปชร. 100 ที่นั่ง 3) ปชป. 86 ที่นั่ง 4) ภท. 38 ที่นั่ง 5) อนค. 29 ที่นั่ง  6) สร. 25 ที่นั่ง 7) รปช. 25 ที่นั่ง 8) ชท. 19 ที่นั่ง 9) พช. 15 ที่นั่ง 10) ชพ. 13 ที่นั่ง 11) ปชช. 12 ที่นั่ง และพรรคอื่น ๆ ที่เหลือรวมกันได้อีก 9 ที่นั่ง

4. ในช่วง 2 สัปดาห์สุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง ผลการเลือกตั้งอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปจากการสำรวจโพลล์คราวนี้ เนื่องจากยังมีปัจจัยและสาเหตุต่างๆ เป็นตัวกำหนด กล่าวคือ

1) จากคะแนนเสียงในเกือบทุกเขตเลือกตั้งยังมีโอกาสพลิกผันได้ เพราะเขตที่ชนะเลือกตั้งราว 75 % ชนะกันไม่เกิน 5 % ของคะแนนเสียง หรือชนะกันไม่เกิน 5,500 เสียง เขตที่ชนะกันเกิน 5 % ( เกิน 5,500 เสียง)     มีราว 25 % เท่านั้น ในเขตเหล่านี้เขตที่ชนะเกิน 10 % ขึ้นไป (เกิน 15,000 เสียง) มีประมาณ 10 % เท่านั้น เพราะฉะนั้นเขตการเลือกตั้งส่วนใหญ่ ประมาณ 260 เขตทั่งประเทศยังมีความไม่แน่นอนค่อนข้างมาก

2) จากการสำรวจพบว่า พปชร. ที่ได้คะแนนลำดับที่ 2 ของเขตต่าง ๆ ทั่วประเทศมี 200 เขต พท. มี 63 เขต และ ปชป. 44 เขต ผู้สมัครของ พปชร. มีโอกาสพลิกกลับมาเป็นอันดับ 1 ได้ เนื่องจากมีคะแนนที่ตามหลัง ผู้สมัคร พท. เป็นส่วนใหญ่ระหว่าง 1 – 3 % (คะแนนตั้งแต่หลักร้อยถึงไม่เกิน 3,500 คะแนน)

3) คะแนนเสียงของ พท.ในเขตเลือกตั้งมีความเป็นไปได้ที่อาจลดความร้อนแรงลงก่อนเลือกตั้ง เนื่องจากหาก   พท. ได้ ส.ส. เขตในระดับปัจจุบัน จะทำให้ ส.ส. บัญชีรายชื่อของ พท. ที่เป็นผู้บริหารพรรคไม่ได้รับการเลือกตั้งเลย กรณีเดียวกันนี้จะเกิดขึ้นกับ ปชป. เช่นเดียวกัน

5. การเลือกตั้งครั้งนี้ที่ภาคอีสานจะเป็นการขับเคี่ยวระหว่าง พท. กับ พปชร. เป็นหลัก 4 พรรคที่จะได้ ส.ส. เขตที่อีสานมากตามลำดับ ในขณะนี้คือ พท. พปชร. ภท. และ ปชป.

   เช่นเดียวกับที่ภาคเหนือจะเป็นการต่อสู้ระหว่าง พท.กับ พปชร. พรรคที่สำรวจว่าน่าจะได้ที่นั่งมากที่สุดตามลำดับ คือ พท. พปชร. ปชป. และ ภท. ในขณะที่ พท. มีคะแนนนำ พปชร. +/- 5 ที่นั่ง

   ภาคกลาง พปชร. จะชนะเด็ดขาด เหนือ พท. ปชป. และ ภท. ที่กรุงเทพฯ และภาคใต้ ปชป. จะได้คะแนนเสียงส่วนใหญ่ ที่กรุงเทพฯ พปชร. กับ พท. จะแย่งลำดับที่ 2 ที่ยังห่างจาก ปชป. ค่อนข้างมาก ส่วนภาคใต้ ปชป. จะได้เสียงข้างมากเกือบเด็ดขาด พปชร. และ รปช. จะได้ที่นั่งส่วนหนึ่ง

   การเลือกตั้งครั้งนี้มีโอกาสสูงที่ อดีต ส.ส. อาวุโสในเขตภาคเหนือและภาคกลางจะสอบตกและอาจต้องประกาศเลิกเล่นการเมืองตลอดไป เนื่องจากมีนักการเมืองหนุ่มสาวที่เติบโตมาจากนักการเมืองท้องถิ่นลุกขึ้นมาท้าทายได้สำเร็จ

6. ผู้วิจัยประเมินว่าผลการเลือกตั้ง ที่ พปชร. น่าจะได้ในวันที่ 24 มีนาคม ศกนี้ จะอยู่ระหว่าง 110 – 130 เสียง ส่วนเพื่อไทยจะได้ราว 100 – 110 เสียง พปชร. จะจับมือกับพรรคพันธมิตรจัดตั้งรัฐบาลที่มีเสียงระหว่าง 285 – 310 เสียง ส่วน พท. กับเครือข่ายพันธมิตรจะมีเสียงราว 180 – 190 เสียง

Click Donate Support Web

ais 790x90

GC 950x120

sme 720x90SIAM790x90

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!