WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Cวษณ เครองามวิษณุ ยันกม.คุมสกุลเงินดิจิทัลไม่ปิดกั้นเทคโนโลยี แต่เน้นป้องกันฉ้อโกง-ฟอกเงิน

       นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงความคืบหน้าแนวทางการการร่างกฏเกณฑ์เกี่ยวกับการทำ ICO และสกุลเงินดิจิทัลว่า ในช่วงวันที่ 12-13 มี.ค.นี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะร่วมหารือเพื่อรายงานความคืบหน้า ซึ่งขณะนี้ทุกหน่วยงานอยู่ระหว่างพิจารณารายละเอียด โดยยืนยันว่า มาตรการที่ออกมาจะมีความยืดหยุ่น ซึ่งไม่ได้เป็นการขัดขวางเทคโนโลยีใหม่ แต่จะเน้นการป้องกันการฉ้อโกง ซึ่งตัวกฎหมายที่ออกมาจะมีมาตรการที่ป้องกันการฟอกเงิน รวมไปถึงการจัดเก็บภาษี และการกำกับดูแลการทำธุรกรรมประเภทนี้

       ในส่วนของบทลงโทษนั้น จะไม่มีการเพิ่มบทลงใหม่ แต่จะอิงกับบทลงโทษตามกฎหมายหลักทรัพย์ฉบับปัจจุบัน

วิษณุ เรียกหารือเกณฑ์คุม ICO-เงินดิจิทัลเย็นนี้ ยันไม่ใช้ ม.44 สมคิดคาดสรุปใน 1 เดือน

     นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ได้เชิญทุกหน่วยงาน ทั้งสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กระทรวงยุติธรรม และกฤษฏีกา มาหารือในเวลา 16.00 น.วันนี้เกี่ยวกับแนวทางการร่างกฏเกณฑ์ควบคุมดูแลการระดมทุนด้วยการออก ICO และสกุลเงินดิจิทัล แต่ไม่มีแนวคิดที่จะออกเป็นกฎหมายมาตรา 44

     ด้านนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี คาดว่าร่างกฏเกณฑ์ควบคุมดูแล ICO และสกุลเงินดิจิทัลน่าจะมีความชัดเจนภายใน 1 เดือน โดยจะเน้นการกำกับดูแลดำเนินการให้ถูกต้องตามกฏหมาย มีประสิทธิภาพ และแก้ปัญหาให้รวดเร็ว ซึ่งก.ล.ต.และธปท.จำเป็นต้องวางระบบให้ทัน

        "ภายในเดือนนี้ออกแน่นอน มันต้องเร็ว เมืองไทยไม่ค่อยมีความรู้เรื่องเหล่านี้ รีเทิร์นมันดีเลยเข้าไปก่อน New Gen เขาเล่นกันแบบนี้ แต่ New Gen ไม่เคยเจอแม่ชม้อย"นายสมคิด กล่าว

       นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง เปิดเผยก่อนเข้าร่วมหารือว่า จะพยายามสรุปแนวทางการกำกับดูแล ICO ให้จบภายในวันนี้ เบื้องต้นคาดว่าจะมีการกำหนดคำนิยามและประเภท ทั้งที่เกี่ยวกับ Cryptocurrency และ ICO ให้เป็น Digital Assets และจะมีการออกกฎหมายใหม่มาควบคุม ซึ่งรวมไปถึงบริการและหลักทรัพย์ที่เกี่ยวเนื่องด้วย

      ส่วนการประชุมคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ที่จะมีขึ้นในวันที่ 8 มี.ค. เพื่อออกกฎระเบียบเกี่ยวกับการออก ICO ที่เป็นหลักทรัพย์ คงต้องเลื่อนออกไปก่อนหรือไม่เพื่อรอกฎหมายใหม่ที่จะออกมา เป็นหน้าที่ของ ก.ล.ต. จะพิจารณาตัดสินใจ

                              อินโฟเควส

บอร์ด ก.ล.ต.วันนี้งดถกเกณฑ์คุม ICO รอร่างกม.สินทรัพย์ดิจิทัล, ผู้ว่า ธปท.แจงหลักการคุม Cryptocurrency

         นายรพี สุจริตกุล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า ในวันนี้คณะกรรมการ ก.ล.ต. จะไม่มีการพิจารณาเรื่องการกำกับดูแลสินทรัพย์ดิจิทัล และไอซีโอ เนื่องจากผลจากการประชุมระหว่างรองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง พร้อมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ มีข้อสรุปให้มีการออกกฎหมายพิเศษขึ้นมาครอบคลุมดูแลในทุกเรื่องที่เกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล โดยจะมอบหมายให้ ก.ล.ต. เป็นผู้กำกับดูแล

      ทั้งนี้ กฎหมายพิเศษที่จะออกนี้จะครอบคลุมการกำกับดูแลสินทรัพย์ดิจิทัลในทุกเรื่อง ทั้งไอซีโอ คริปโตเคอเรนซี รวมทั้งวางหลักเกณฑ์สำหรับผู้เกี่ยวข้อง อาทิ ผู้ที่จะระดมทุนผ่านไอซีโอ ตัวกลางและผู้ที่จะจัดทำแพลทฟอร์มตลาดรอง และคุณสมบัติผู้ลงทุน ซึ่งคณะกรรมการ ก.ล.ต. จะมีการประชุมเพื่อพิจารณารายละเอียดทั้งหมดอีกครั้งเมื่อมีการออกร่างกฎหมายดังกล่าวแล้ว โดยคาดว่าคงใช้เวลาไม่นานเนื่องจากรัฐบาลกำหนดให้เป็นเรื่องเร่งด่วน

      นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวยอมรับว่าการทำธุรกรรมเกี่ยวกับสกุลเงินดิจิทัล หรือ Cryptocurrency ในปัจจุบันเพิ่มสูงขึ้น แต่ไม่ถึงกับสร้างความกังวลความเสี่ยงต่อเสถียรภาพของระบบการเงิน เพราะการทำธุรกรรมดังกล่าวยังอยู่ในวงจำกัดเป็นรายบุคคล ดังนั้น ทุกหน่วยงานจึงจำเป็นจะต้องใช้กฎหมายที่ตัวเองมีอยู่ในการต่อยอดเพื่อควบคุมดูแลการลงทุนใน Cryptocurrency ให้เหมาะสม

       โดยที่ประชุมร่วมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องวานนี้ เป็นการหารือกันเพื่อเตรียมออกหลักเกณฑ์ใหม่ที่จะสามารถดูแลการลงทุนใน Cryptocurrency และทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับ Cryptocurrency ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาข้อกฎหมายของ ก.ล.ต. โดยนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี สั่งการให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน

     สำหรับ กฎหมายที่จะออกมาควบคุม Cryptocurrency จะเน้นการดูแลการฟอกเงิน การชำระเงินที่ไม่ถูกต้อง การคุ้มครองผู้ลงทุน การดูแลกระบวนการซื้อขายเพื่อป้องกันการปั่นราคา รวมถึงการใช้เป็นช่องทางในการหลีกเลี่ยงภาษี และกำกับดูแลเพื่อไม่ให้มีการลงทุนในลักษณะแชร์ลูกโซ่ ยืนยันว่าทุกหน่วยงานมีการร่วมมือกันดำเนินการอย่างเต็มที่

       นายวิรไท ยังกล่าวถึงแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในตลาดโลกที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นว่า ดอกเบี้ยนโยบายของไทยต้องดูภาวะเศรษฐกิจในประเทศเป็นหลัก ไม่ใช่ดอกเบี้ยสหรัฐขึ้นก็ต้องเร่งปรับขึ้นตาม เนื่องจากนโยบายการเงินต้องตอบโจทย์เศรษฐกิจในประเทศ ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีแรงกดดันเรื่องอัตราเงินเฟ้อ เศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัวชัดเจน แต่ก็ยังมีความเปราะบาง ดังนั้นนโยบายการเงินยังจำเป็นต้องอยู่ในระดับผ่อนคลาย

               อินโฟเควสท์

ก.ยุติธรรม จับมือหลายหน่วยงานเตรียมออกมาตรการรองรับบิทคอยน์-คุมการฟอกเงิน

        พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.ยุติธรรม กล่าวในการประชุมเชิงปฏิบัติการ "Bitcoin กับมาตรการกำกับดูแล" ว่า ได้เชิญผู้บริหารกระทรวงการคลัง กระทรวงยุติธรรม ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) สภาทนายความ ระดมความเห็นออกมาตรการรองรับเบื้องต้นก่อนที่จะมีกฎหมายออกมาควบคุมดูแล เพราะการซื้อขายเงินสกุลดิจิทัลจากต่างประเทศ เริ่มแพร่กระจายเข้ามายังในประเทศ ผ่านการระดมทุนในหลายรูปแบบ เพื่อป้องกับความเสี่ยง ความเสียหายเกิดกับนักลงทุนรายย่อย เพราะนักลงทุนรายใหญ่มีความรู้ดูแลตนเองได้ แต่นักลงทุนรายย่อยจะมีความเสี่ยงและเสียประโยชน์ได้ เพราะเทคโนโลยีการเงินแนวใหม่มีทั้งความเสี่ยงและโอกาส

      นอกจากนี้ ยังมีเงินผิดกฎหมายใช้โอกาสในการฟอกเงิน หลายหน่วยงานจึงต้องติดตามเส้นทางการเงินอย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้นักลงทุนได้รับความเสียหาย โดยในวันอังคารที่จะถึงนี้ จะนำผลหารือเสนอแนวคิดในการยกร่างกฎหมายควบคุมดูแล เสนอต่อที่ประชุมหลายหน่วยงานทั้ง คลัง ธปท., สำนักงาน ก.ล.ต.,สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) เพื่อยกร่างกฎหมายควบคุมดูแล

      นายกิตติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์ คณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ กล่าวว่า การระดมทุนผ่าน ICO หากไม่เปิดเวทีให้ซื้อขายถูกต้องจะหลบไปอยู่ใต้ดินและยิ่งเป็นอันตรายต่อระบบเศรษฐกิจเหมือนกับหวยใต้ดินซึ่งยังมีอยู่ในปัจจุบัน เพราะหากห้ามในเมืองไทยผู้ออก ICO จะหนีไปออกในต่างประเทศ ก่อนที่จะมีกฎหมายกำกับดูแล ยังมีช่องทางควบคุมดูแลได้ ผ่านกฎหมาย ปว.58 เพื่อออกกฎหมายลูกมาดูแลเบื้องต้น กำกับผ่านการขึ้นทะเบียน การแลกเปลี่ยนเป็นเงินบาท หรือสกุลต่างๆ เพราะควบคุมผ่านการซื้อขายคงทำได้ยาก โดยเฉพาะการกำหนดให้รายการการรับจ่ายเงิน เพื่อให้ ปปง.ติดตามดูแลเส้นทางการเงินนอกกฎหมาย

        รวมทั้ง กรมสรรพากรต้องเริ่มศึกษาจัดเก็บภาษีจากสกุลดิจิตอลได้ เนื่องจากต่างประเทศจัดเก็บภาษีทั้งภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีอีคอมเมิร์ซ ในอัตราเหมาะสม หากสูงเกินไปอาจหนีไปลงทุนในต่างประเทศ เพราะหากตีความว่า Cryptrocerency มีมูลค่าทางการเงินสกุลเงินบาท จึงควรเริ่มหาช่องจัดเก็บภาษี แม้ ธปท. ยังไม่รับรองว่าเป็นเงินตรา หรือตราสารทางการเงิน และเปลี่ยนไม่ได้ แต่ในช่วงแรก อาจมอบหมายให้ ก.ล.ต.ควบคุมดูแล แต่ในที่สุดคงต้องมีองค์กรควบคุมดูแลเรื่องสกุลจิตอลเพิ่มเติม

      พ.อ.เศรษฐพงษ์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช. กล่าวว่า หลังจากจีน เกาหลี และหลายประเทศพัฒนาเทคโยโลยีก้าวหน้าไปอย่างมาก เมื่อเปลี่ยนเทคโนโลยี่เข้าสู่ระบบ 4G ก้าวสู่ระบบ 5G จึงต้องออกกฎระเบียบดูแล เพราะเทคโนโลยี 5G เปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจ ทั้งภาคการเงิน โทรคมนาคม และภาคต่างๆ นับเป็นการเปลี่ยนแพลทฟอร์มเทคโนโลยีใหม่จาก ATM, Smartphone, Blockchain สู่ Cryptrocurrency การระดมทุน ICO หากถูกปิดกั้นในประเทศ กลุ่มผู้ระดมทุนเหล่านี้จะกระโดดไปประเทศอื่น เช่น สิงคโปร์ เกาหลี จีน หรือประเทศอื่นๆ

       การเปลี่ยนแปลงจะเริ่มในหลายวงการ เทคโนโลยีสมัยใหม่ยังสร้างขึ้นมาใช้โหวตความนิยมของนักการเมือง การเลือกตั้ง ในอีก 5 ปี ข้างหน้า จะมีเอกชนสร้างแอบพลิเคชั่นขึ้นมาใช้ประโยน์ทางการเมือง รวมทั้ง การจำหน่ายเพลงดังของนักร้องที่มีชื่อเสียง ซึ่งได้ร่วมกับบริษัท Blockchain กำหนดจำนวนเพลงเพื่อจำหน่ายในตลาด เช่น กำหนดขายเพียง 1 ล้านเพลงเท่านั้นไม่เพิ่มจำนวนอีกเลย ในราคาที่กำหนดในสกุลดิจิทัลต่างๆ เพื่อขายเพลงโดยตรงกับลูกค้าทั่วโลก หากใครฟังเพลงเบื่อแล้วขายต่อให้กับคนอื่นในราคาเพิ่มขึ้นเพื่อเก็งกำไรอีกต่อหนึ่ง เพราะระบบ Blockchain กำหนดให้เพลงที่ผลิตออกมาไม่สามารถ Copy ได้เหมือนซีดีเพลงปัจจุบัน การออกมาตรการมาควบคุมดูแลจึงต้องตามให้ทันกับกระแสโลก

           อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!