WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aCอรมน ทรัพย์ทวีธรรม

กรมเจรจาฯ ติวเข้ม MSMEs ไทย-ญี่ปุ่น ใช้ประโยชน์ RCEP ขยายการค้า การลงทุน

    กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ‘โอกาส MSMEs ไทยและญี่ปุ่น : เจาะลึกการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าภายใต้ความตกลง RCEP’ ฉลองครบรอบ 135 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ญี่ปุ่น ตั้งเป้าช่วย MSMEs ใช้สิทธิประโยชน์จาก RCEP เพิ่มโอกาสการค้า การลงทุน มีผู้ประกอบการไทย-ญี่ปุ่น เข้าร่วมกว่า 100 คน

       นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้ร่วมกับองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่นประจำกรุงเทพฯ (สำนักงานเจโทร ประจำกรุงเทพฯ) จัดงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “โอกาส MSMEs ไทยและญี่ปุ่น : เจาะลึกการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าภายใต้ความตกลง RCEP” ณ โรงแรมนิกโก้ กรุงเทพฯ ซึ่งถือเป็นกิจกรรมสำคัญ เพื่อร่วมเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบ 135 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับญี่ปุ่น โดยมีผู้ประกอบการไทย-ญี่ปุ่นเข้าร่วมกว่า 100 คน

     “กรมฯ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการใช้ประโยชน์จาก RCEP เพื่อช่วยสร้างโอกาสทางการค้า การลงทุนให้กับผู้ประกอบการ จึงได้ร่วมกับสำนักงานเจโทร ประจำกรุงเทพฯ เร่งส่งเสริมการใช้สิทธิประโยชน์จากความตกลง RCEP โดยติดอาวุธความรู้ด้านการค้าเชิงลึกให้กับผู้ประกอบการ MSMEs เกี่ยวกับเกณฑ์การขอใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้า ขั้นตอนการออกหลักฐานการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าภายใต้ RCEP และระบบการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเอง (Self-Certification)”นางอรมนกล่าว

       ทั้งนี้ การจัดเวิร์กชอป ยังสอดรับกับผลการสำรวจความเห็นภาคเอกชน ประจำปี 2565 ของสภาธุรกิจเอเชียตะวันออก (EABC) ซึ่งภาคเอกชนต้องการให้ภาครัฐถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับพิกัดศุลกากรและกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้าภายใต้ความตกลง RCEP เพื่อนำองค์ความรู้ดังกล่าวไปใช้ประโยชน์กับธุรกิจอย่างเต็มที่ 

      นางอรมน กล่าวว่า ญี่ปุ่นและไทยมีความตกลงการค้าเสรีที่เป็นภาคีร่วมกัน ได้แก่ ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (AJCEP) และความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) โดยในช่วงเดือนม.ค.-พ.ค.2565 ไทยมีการขอใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ RCEP ส่งออกไปญี่ปุ่น มูลค่า 46.47 ล้านเหรียญสหรัฐ สินค้าส่งออกสำคัญ เช่น ปลาทูน่ากระป๋อง ปลาแมคเคอเรลกระป๋อง เสื้อคาร์ดิแกน เสื้อกั๊ก และปลาปรุงแต่ง ขณะที่ไทยขอใช้สิทธิ์ RCEP นำเข้าสินค้าจากญี่ปุ่น มูลค่า 5.9 ล้านเหรียญสหรัฐ สินค้านำเข้าสำคัญ เช่น ไฮโดรควีโนน เชื้อประทุไฟฟ้าสำหรับจุดระเบิด ปลาหมึกยักษ์ ด้ายโพลิยูรีเทน และลูกชิ้นปลา

       นายคุโรดะ จุน ประธานเจโทร กรุงเทพฯ กล่าวว่า ความตกลง RCEP สร้างโอกาสและเป็นประโยชน์ให้กับภาคธุรกิจหลายประการ คือ 1.ช่วยเสริมสร้างซัปพลายเชนที่หลากหลาย ทำให้เกิดความยืดหยุ่นกับห่วงโซ่อุปทานการผลิตในภูมิภาคมากขึ้น 2.ความตกลง RCEP มีกฎถิ่นกำเนิดสินค้าที่เอื้อต่อผู้ประกอบการให้ใช้ประโยชน์จากกฎเกณฑ์ที่ง่ายขึ้น 3.ช่วยให้การค้าราบรื่นยิ่งขึ้น จากการที่มีข้อกำหนดให้ประเทศสมาชิก RCEP ทุกประเทศ ใช้แบบฟอร์มหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าในรูปแบบเดียวกัน 4.มีระบบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเอง และ 5.มีข้อกำหนดด้านพิธีการศุลกากรในการตรวจปล่อยสินค้าที่ช่วยอำนวยความสะดวกทางการค้า เช่น สินค้าเน่าเสียง่ายต้องตรวจปล่อยภายใน 6 ชั่วโมง เป็นต้น

      ปัจจุบันญี่ปุ่นเป็นผู้ลงทุนอันดับ 1 และเป็นคู่ค้าอันดับ 2 ของไทย โดยในช่วงครึ่งปี 2565 (ม.ค.-มิ.ย.) การค้าระหว่างไทยกับญี่ปุ่น มีมูลค่า 30,478.25 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยไทยส่งออกไปญี่ปุ่น มูลค่า 12,714.89 ล้านเหรียญสหรัฐ และนำเข้าจากญี่ปุ่น มูลค่า 17,763.36 ล้านเหรียญสหรัฐ สินค้าส่งออกสำคัญ เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ไก่แปรรูป เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ สินค้านำเข้าสำคัญ เช่น เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์

 

 Click Donate Support Web  

 

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ใจฟู720x100px

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!