WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aงวด7

พาณิชย์ แจงข่าวชาวนาทวงส่วนต่างหอมมะลิ ยันคำนวณถูกต้อง ที่ราคาต่ำ เหตุขายเกี่ยวสด

กรมการค้าภายในชี้แจงข่าวชาวนาที่ปลูกข้าวหอมมะลิ จังหวัดมหาสารคาม ทวงเงินส่วนต่างงวดที่ 7 ไม่ได้ตามที่ขายข้าวได้จริง เผยการคำนวณส่วนต่าง คิดจากข้าวแห้งความชื้อไม่เกิน 15% แต่ข้าวที่ชาวนานำไปขาย เป็นข้าวเกี่ยวสด จึงต้องหักน้ำหนัก และยังขึ้นกับคุณภาพด้วย ทำให้ราคาขายได้ต่ำกว่าที่คำนวณ ถือเป็นเรื่องปกติ

นายอุดม ศรีสมทรง รองอธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยถึงกรณีชาวนาที่ปลูกข้าวหอมมะลิ จังหวัดมหาสารคาม ทวงเงินส่วนต่างงวด 7 ที่ประกาศราคาอ้างอิงข้าวหอมมะลิ ตันละ 14,100 บาท แต่ชาวนาขายได้จริง ตันละ 11,000 บาท ว่า กรมฯ ขอเรียนชี้แจงว่า ราคาประกันรายได้กำหนดราคาข้าวเปลือกหอมมะลิไว้ที่ตันละ 15,000 บาท ซึ่งเป็นมาตรฐานความชื้นไม่เกิน 15% หรือข้าวแห้ง ดังนั้น การกำหนดราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง จึงต้องกำหนดราคาเป็นข้าวแห้งด้วยเช่นกัน โดยการพิจารณาราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงของคณะอนุกรรมการ จะประกอบด้วยผู้เกี่ยวข้อง

ได้แก่ สมาคมชาวนา 3 สมาคม สมาคมโรงสีข้าวไทย สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ใช้ราคาเฉลี่ยการรับซื้อที่แหล่งผลิตสำคัญจากการสำรวจของกรมการค้าภายใน โดยสำนักงานพาณิชย์จังหวัด และสมาคมโรงสีข้าวไทย เป็นราคาย้อนหลัง 7 วันทำการ ซึ่งจะสะท้อนราคาตลาดในช่วงที่เกษตรกรเก็บเกี่ยวในแต่ละงวดมากที่สุด

ส่วนกรณีราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงงวดที่ 7 ข้าวแห้ง ราคาตันละ 14,110 บาท เมื่อเกษตรกรนำข้าวเปลือกเกี่ยวสดมาจำหน่าย จะมีน้ำหนักน้ำเข้ามาเพิ่มอีกประมาณ 225 กก. ซึ่งจะทำให้ข้าวเปลือก 1 ตัน (1,000 กก.) เมื่อตากหรืออบเป็นข้าวแห้งแล้ว จะมีน้ำหนักลดลงเหลือ 775 กก. หรือเป็นราคาข้าวสดที่ราคาตันละประมาณ 10,935.25 บาท (14.11 บาท/กก. x 775 กก.) แต่ข้าวที่เกษตรกรนำมาจำหน่ายแต่ละราย ยังจะขึ้นอยู่กับคุณภาพข้าวเปลือกที่เกษตรกรผลิตได้ด้วย

ทางด้านสถานการณ์การส่งออกข้าวในปีนี้ ปรับตัวดีขึ้น โดยส่งออกได้แล้วกว่า 6 ล้านตัน คาดว่าสิ้นปีจะส่งออกได้ตามเป้าหมาย 7.5 ล้านตัน ส่งผลให้ราคาข้าวหอมมะลิความชื้นไม่เกิน 15% อยู่ที่ตันละ 14,400–15,000 บาท สูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมาตันละประมาณ 4,400 บาท ทำให้ชาวนามีรายได้เพิ่มขึ้นถึง 43%

อย่างไรก็ตาม กรมฯ ได้สั่งการพาณิชย์จังหวัดออกตรวจสอบการซื้อขายข้าวเปลือกในช่วงที่ออกสู่ตลาดมาก เพื่อให้เกษตรกรได้รับความเป็นธรรมจากการจำหน่าย หากพบเห็นการซื้อขายข้าวเปลือกโดยมีการหักความชื้นและสิ่งเจือปนอย่างไม่เป็นธรรม สามารถแจ้งได้ที่ สายด่วนกรมการค้าภายใน 1569

นายอิศเรศ วานิชานนท์ รองเลขาธิการสมาคมโรงสีข้าวไทย และเจ้าของโรงสีขวัญข้าวอินเตอร์เทรด จังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่า ขณะนี้ปริมาณข้าวเปลือกหอมมะลิ เก็บเกี่ยวไปแล้ว 90% โดยออกมากในช่วงกลางเดือนพ.ย.2565 หรือช่วงที่เกษตรกรเก็บเกี่ยวในงวดที่ 7 ซึ่งราคารับซื้อข้าวเปลือกเกี่ยวสดของโรงสีในพื้นที่จังหวัดมหาสารคามและจังหวัดใกล้เคียง ในช่วงดังกล่าวอยู่ที่ราคาประมาณตันละ 10,800–11,200 บาท

และขณะนี้ราคาเริ่มมีการปรับตัวสูงขึ้นเป็นเฉลี่ยตันละ 11,500 บาท หรือคิดเป็นข้าวแห้งที่ตันละประมาณ 14,200–14,400 บาท ขึ้นอยู่กับคุณภาพข้าวเปลือกของเกษตรกร โดยในปีนี้ภาพรวมถือว่าข้าวเปลือกหอมมะลิมีคุณภาพที่ดี และมีราคาสูงกว่าปีที่ผ่านมา ที่มีราคาข้าวสดอยู่ที่ตันละประมาณ 8,000–8,500 บาท จากผลกระทบด้านการส่งออกจากปัญหาโควิด–19 และด้านการขนส่ง

     ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงพาณิชย์ว่า สำหรับการชดเชยส่วนต่างระหว่างราคาประกันรายได้กับราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง สำหรับงวดที่ 7 ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคา 14,110.47 บาทต่อตัน ชดเชยตันละ 889.53 บาทต่อตัน โดยเกษตรกรจะได้รับเงินชดเชยสูงสุด 12,453.42 บาท

 

Click Donate Support Web  

 

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!