WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aaaDไฟฟ้าชุมชน

โครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเป็นหนึ่งในนโยบายเชิงยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการสร้างความยั่งยืนด้านพลังงาน และสร้างรายได้เสริมให้แก่ชุมชน ผ่านการจำหน่ายวัสดุทางการเกษตรเพื่อเป็นเชื้อเพลิง โดยเฉพาะวัสดุทางการเกษตรที่รวบรวมได้จากแปลงเพาะปลูกและยังไม่ได้มีการนำมาใช้ประโยชน์เท่าที่ควร

    ทั้งนี้ ผู้ประกอบการที่สนใจลงทุนในโรงไฟฟ้าชุมชนแบบชีวมวลต้องพิจารณาทางเลือกของการได้มาซึ่งวัตถุดิบชีวมวล ซึ่งมีอยู่ 2 แนวทาง คือ ได้จากโรงงานแปรรูปพืชผล และได้จากพื้นที่เพาะปลูก อีกทั้ง ต้องเลือกโมเดลผู้ร่วมทุน ซึ่งมี 2 รูปแบบ คือ การร่วมทุนระหว่างผู้ประกอบการโรงไฟฟ้าและชุมชน (Model-1) และการร่วมทุนระหว่างผู้ประกอบการโรงไฟฟ้าชุมชน ชุมชน และโรงงานแปรรูปพืชผล (Model-2) โดยหากผู้ประกอบการเลือกใช้ชีวมวลที่รวบรวมจากแปลงเพาะปลูกเพียงอย่างเดียวอาจจะต้องเผชิญข้อจำกัดด้านขนาดของโรงไฟฟ้าที่ไม่ควรเกิน 1 MW ทำให้ผลกำไรที่ได้อาจไม่จูงใจพอและต้องใช้ระยะเวลานานในการคืนทุน

ในขณะที่หากเลือกใช้ชีวมวลที่รวบรวมได้จากโรงงานแปรรูป อาจจะสามารถลงทุนในโรงไฟฟ้าชุมชนได้ถึง 10 MW ซึ่งเป็นขนาดสูงสุดที่โครงการอนุญาต แต่ก็ต้องเผชิญความเสี่ยงจากขาดแคลนวัตถุดิบ เพราะต้องแย่งชิงกับโรงไฟฟ้าชีวมวลที่เกิดขึ้นก่อนหน้า และกับโรงงานอุตสาหกรรมที่นำชีวมวลไปใช้ในวัตถุประสงค์อื่น อาทิ การผลิตความร้อนใช้ในโรงงาน

     ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า แนวทางในการแก้ปัญหาดังกล่าว คือ การใช้แบบผสมผสานชีวมวลทั้งสองแบบ ควบคู่กับการร่วมทุน Model-2 ซึ่งโรงไฟฟ้าชุมชนแบบชีวมวลผสมผสานจะส่งผลให้ผู้ประกอบการได้กำไรต่อปีเพิ่มขึ้น และระยะเวลาคืนทุนมีแนวโน้มลดลง โดยโรงไฟฟ้าชุมชนแบบผสมผสานชีวมวล 3 MW จะก่อให้เกิดกำไรราว 14.6 ล้านบาท และระยะเวลาคืนทุน 8.2 ปี ในขณะที่โรงไฟฟ้าขนาด 10 MW จะมีกำไรราว 57.1 ล้านบาท และระยะเวลาคืนทุน 7 ปี

      หรืออ่านได้ที่: https://kasikornresearch.com/…/Pages/Bio-power-FB160420.aspx

#โรงไฟฟ้าและชุมชน #ชีวมวลผสมผสาน

       อ่านแบบเต็มเรื่องเศรษฐกิจและบทวิเคราะห์เข้มทางธุรกิจที่ไม่มีค่าใช้จ่าย ได้ที่ http://www.kasikornresearch.com

 

ลงทุนภูธรคึกคัก เตรียมยื่นชิงโรงไฟฟ้าชุมชน กลุ่ม Quick Win 17 เม.ย.นี้ มั่นใจกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากได้แน่นอน

            ผู้ประกอบการแดนภูธรเตรียมตัวคึกคัก รอยื่นชิง 'โรงไฟฟ้าชุมชน' กลุ่ม Quick Win ในวันที่ 17 เมษยน 2563 นี้ ตามนโยบาย ‘สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์’ มั่นใจจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ และสร้างรายได้เกษตรกรในสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 ได้ แถมยังเป็นการส่งเสริม EV ช่วยลดปริมาณสำรองไฟฟ้าด้วย เผยเครือข่ายเกษตรกรมีความแล้วที่จะปลูกหญ้าเนเปียรฺ์ และไผ่เกาหลีป้อนให้โรงไฟฟ้า ขณะที่นักลงทุนกลุ่มทั่วไปฟิตจัด แต่งตัวเตรียมพร้อมยื่นตรวจสอบฟีดเดอร์ ตั้งแท่นขอหนังสือรับรองจาก กฟภ. และผังเมืองเพื่อรอยื่นประมูลในรอบถัดไป

               จากนโยบายของนายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้เร่งรัดการขับเคลื่อนโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานรากให้เร็วที่สุด เพื่ออัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ และช่วยเหลือชุมชนให้มีรายได้จากการจำหน่ายเชื้อเพลิงชนิดต่างๆ กระจายสู่ระบบเศรษฐกิจฐานรากเพิ่มขึ้น โดยกำหนดเปิดยื่นข้อเสนอจากผู้สนใจกลุ่ม Quick Win จำนวน 100 เมกะวัตต์ ในวันที่ 17 เมษายน 2563 ก่อนถึงคิวของกลุ่มทั่วไป จำนวน 600 เมกะวัตต์ ซึ่งทางการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ได้เปิดให้นักลงทุนผู้สนใจโครงการยื่นขอตรวจสอบจุดเชื่อมต่อระบบไฟฟ้า ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2563 ที่ผ่านมานั้น ดูเหมือนว่าเป็นที่สนใจของบรรดาผู้ประกอบการในต่างจังหวัดอเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกลุ่ม Quick Win มีนักลงทุนได้มีการเตรียมพร้อมย่างคึกคัก ทั้งเตรียมลงทุน สถานที่ประกอบการ สร้างเครือข่ายเกษตรกรผลิตวัตถุดิบป้อนโรงไฟฟ้าอีกด้วย

     นายผจญ ศรีบุญเรือง นายกสมาคมการค้าก๊าซชีวภาพไทย ก็เป็นหนึ่งงที่ได้เคตรียมตัวในเรื่องนี้ เปิดเผยว่า ขณะนี้สมาชิกแต่ละบริษัทมีความพร้อมในการเตรียมยื่นเสนอโรงไฟฟ้าชุมชนกลุ่ม Quick Win เช่นเดียวกับทางกลุ่มของตนก็พร้อมจะยื่นข้อเสนอในวันที่ 17 เมษายน นี้ เช่นกัน ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าชุมชนอยู่ในพื้นที่ อ.ชุมพวง จ.นครราชสีมา ขนาด 6 เมกะวัตต์ ใช้วัตถุดิบจากหญ้าเนเปียร์ ซึ่งได้วิสาหกิจชุมชนเข้ามาร่วมถือหุ้นตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด รวมถึงมีเกษตรกรที่ปลูกหญ้าเนเปียร์สนใจเข้ามาร่วมจำนวนมาก

      ทั้งนี้ การเปิดให้ยื่นโรงไฟฟ้าชุมชนครั้งนี้เป็นการนำเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก และสร้างรายได้ สร้างอาชีพให้กับชุมชนจากการขายวัตถุดิบหญ้าเนเปียร์ในช่วงที่ได้รับความเดือดร้อนจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ขณะเดียวกันช่วงนี้มีการใช้ไฟฟ้าลดลงมากทำให้มีปริมาณสำรองไฟฟ้าเหลือขึ้นเยอะถึง 40% ซึ่งทางกระทรวงพลังงานกำลังเตรียมจะมีการทบทวนแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศ พ.ศ. 2561-2580 หรือ PDP 2018 อีกครั้ง ซึ่งส่วนตัวมองว่า รัฐบาลควรมีนโยบายชะลอแผนก่อสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่โรงใหม่ๆ ออกไปก่อน แล้วให้โรงไฟฟ้าที่จะหมดอายุปรับปรุงเครื่องจักรใหม่ เพื่อขยายเวลาการผลิตไฟฟ้าออกไปอีกสักระยะหนึ่ง

       ประการสำคัญควรส่งเสริมการลงทุนโรงไฟฟ้าชุมชนให้กระจายไปตามจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศเข้ามาแทน เพื่อรองรับการเติบโตของยานยนต์ไฟฟ้า หรือ EV ซึ่งต่อไปจะมีสถานีชาร์จไฟฟ้าตามจุดต่างๆ มากขึ้น โดยโรงไฟฟ้าชุมชนสามารถจ่ายไฟซัพพอร์ตตรงนี้ได้แทนที่จะส่งจากโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่จะมีความสูญเสียจากระบบส่งจำนวนมากในแต่ละปี

      อย่างไรก็ตาม หลักเกณฑ์การการคัดเลือกโรงไฟฟ้าชุมชนครั้งนี้เข้มข้นมาก ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดใบอนุญาตตั้งโรงงาน หรือด้านผังเมือง ทำให้หลายโครงการไม่สามารถจะยื่นข้อเสนอครั้งนี้ได้ อย่างเช่นโครงการที่จังหวัดสุราษฏร์ธานี ก็ติดปัญหาผังเมืองเช่นกัน

       ด้านนายกิตติ ชีวะเกตุ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ยูเอซี โกลบอล จำกัด (มหาชน) หรือ UAC บริษัทเจ้าของต้นแบบโรงไฟฟ้าชุมชน กำลังผลิต 1.5 เมกะวัตต์ ที่ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ใช้วัตถุดิบจากหญ้าเนเปียร์ กล่าวว่า ในตอนนี้ทางยูเอซีสนใจยื่นเสนอโรงไฟฟ้าชุมชนที่ อ.ภูผาม่าน จ.ขอนแก่น อย่างแน่นอน ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ 2 โรง กำลังการผลิตรวม 3 เมกะวัตต์ ใช้วัตถุดิบจากหญ้าเนเปียร์

      ขณะที่นายนฤพล วันทูล ผู้จัดการเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนธนาคารต้นไม้ บอกว่า  ขณะนี้ทางสมาชิกเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนธนาคารต้นไม้ทั่วประเทศ มีความพร้อมที่จะยื่นเสนอโรงไฟฟ้าชุมชนกลุ่มทั่วไปทันทีเมื่อกระทรวงพลังงานได้กำหนดวันเปิดยื่นที่ชัดเจน โดยได้ตั้งเป้าหมายไว้ 133 โรง จำนวน 499 เมกะวัตต์ ล่าสุดได้ยื่นขอตรวจสอบจุดเชื่อมต่อระบบไฟฟ้ากับทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และ กฟภ. ไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งได้ขอหนังสือรับรองต่อไป เช่นเดียวกับหนังสือรับรองจากผังเมืองด้วย

      “ตอนนี้ มีวิสาหกิจชุมชนทั่วประเทศเข้ามาร่วมและมีความพร้อมพื้นที่เพาะปลูกหญ้าเนเปียร์ส่งให้กับโรงไฟฟ้าชุมชน และมีความหวังโรงไฟฟ้าชุมชนจะมาสร้างรายได้ช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 แต่ก็เป็นห่วงอยู่บ้างตรงที่ถ้าเปิดยื่นข้อเสนอกลุ่มทั่วไปล่าช้าเป็นหลังเดือนพฤษภาคม นี้ จะทำให้กลุ่มเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนไว้แล้วไม่มั่นใจอาจจะเปลี่ยนใจนำพื้นที่ไปปลูกอ้อย มันสำปะหลังแทนหญ้าเนเปียร์ก็เป็นได้ เพราะเข้าสู่ฤดูกาลเพาะปลูกแล้ว” นายนฤพล กล่าว

      ส่วนน ผศ.ดร.ไกรเลิศ ทวีกุล อาจารย์ประจำคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในฐานะที่ปรึกษาโครงการโรงไฟฟ้าชุมชน กล่าวว่า วิสาหกิจุชมชนในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นเตรียมยื่นเสนอโรงไฟฟ้าชุมชนกลุ่มทั่วไปในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น จำนวน 6 โรง ในพื้นที่ อ.หนองสองห้อง อ.ชนบท อ.บ้านฝาง อ.หนองนาคำ อ.ศรีชมพู และ อ.หนองเรือ โดยการร่วมมือกับ บมจ. บี.กริม เพาเวอร์ ส่วนใหญ่จะใช้วัตถุดิบจากไม้ไผ่สายพันธุ์เกาหลี เพราะศักยภาพพื้นที่การเพาะปลูก 1 ไร่ สามารถปลูกได้ถึง 63 ตัน ซึ่งนอกจากจะได้ไผ่เป็นวัตถุดิบป้อนโรงไฟฟ้าแล้วยังได้ป่าเกิดขึ้นในชุมชนด้วย

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!