WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

กฟผ.ผลิตไฟฟ้าเพื่อความสุขของคนไทย: จับชีพจร...พลังงานไฟฟ้าเอเชีย Energy Outlook for Asia and the Pacific

  บ้านเมือง : Energy Outlook for Asia and the Pacific Report of Asian  Development Bank (ADB: ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย) พบว่า ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2553-2578 ทวีปเอเชีย-แปซิฟิก มีอัตราความต้องการใช้ไฟฟ้าเติบโต ร้อยละ 2.1 ต่อปี คาดการณ์ได้ว่าในปี 2578 ประชากรในภูมิภาคแห่งนี้ จะมีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงถึง 16 ล้านล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง ในขณะที่การเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างต่อเนื่อง โจทย์ที่ต้องทำควบคู่ไปกับการพัฒนาและเติบโต คือจะบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้า ซึ่งเป็นปัจจัยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้พอเพียงได้อย่างไร???นโยบายกระจายสัดส่วนเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า เป็นแนวทางที่หลายๆ ประเทศนำมาใช้ในการบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้า เนื่องจากแต่ละประเทศล้วนตระหนักถึงข้อจำกัดในประเทศของตนเอง อาทิ สภาพภูมิประเทศ ทรัพยากรที่มีอยู่ จากรายงาน ฉบับดังกล่าวพบว่า 2 ประเทศ ที่มีการเลือกใช้เชื้อเพลิงที่หลากหลายในการผลิตไฟฟ้า คือ ประเทศญี่ปุ่นและมาเลเซีย

    ญี่ปุ่นมีสภาพภูมิประเทศเป็นเกาะ จึงมีเชื้อเพลิงที่สามารถนำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้าของตนเองน้อยมาก ทำให้ต้องพึ่งพาการนำเข้าเชื้อเพลิงในขณะที่นโยบายพลังงานของญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับความมั่นคงและราคาที่สมเหตุสมผลเป็นหลัก ญี่ปุ่นจึงเลือกผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าฐานที่ใช้พลังงานนิวเคลียร์ ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก และใช้พลังงานหมุนเวียน และน้ำมันเป็นโรงไฟฟ้าเสริมสำหรับแนวโน้มในอนาคต ก๊าซธรรมชาติและแอลเอ็นจีจะมีราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ ประกอบกับรัฐบาลยังไม่ชัดเจนว่าจะกลับมาเดินหน้าพลังงานนิวเคลียร์อีกหรือไม่ จึงมีความเป็นไปได้สูงว่า ในปี 2578 ถ่านหินจะกลายเป็นแหล่งพลังงานสำคัญของญี่ปุ่น ระหว่างนี้ ภาครัฐและเอกชนจึงได้ร่วมกันคิดค้นนวัตกรรมที่จะทำให้การนำถ่านหินมาเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าเชิงพาณิชย์มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงการพัฒนาโรงไฟฟ้าเทคโนโลยีถ่านหินสะอาดแบบ Ultra-Supercritical ด้วยเทคโนโลยีที่สูงขึ้นด้วย

  ด้านประเทศมาเลเซียมีนโยบายกระจายสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงตั้งแต่ปี 2524 ภายใต้ชื่อ Four-Fuel Policy นั่นคือ ลดการพึ่งพาน้ำมันเป็นส่วนใหญ่และหันมากระจายใช้เชื้อเพลิงอื่นร่วมด้วย รวม 4 ชนิด ได้แก่ น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ พลังน้ำ และถ่านหิน และตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นมา มาเลเซียปรับมาใช้นโยบาย Five-Fuel Policy คือ เพิ่มพลังงานหมุนเวียนเข้ามาช่วยผลิตไฟฟ้าเสริมในระบบ ด้านการคาดการณ์ในอนาคตนั้น ในปี 2578 มาเลเซียจะยังคงใช้ก๊าซธรรมชาติผลิตไฟฟ้ามากที่สุดอยู่เช่นเดียวกับปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะมีก๊าซธรรมชาติสำรองเป็นของตนเอง มาเลเซียจึงเป็นตัวอย่างของการใช้เชื้อเพลิงให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศ

  จะเห็นว่า ประเทศที่ได้ชื่อว่ามีการบริหารเชื้อเพลิงอย่างเหมาะสมยังยอมรับว่าพลังงานหมุนเวียนเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ ที่จะตอบสนองความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศไทย แม้จะมีการคาดการณ์ว่า ปี 2578 พลังงานหมุนเวียนจะมีบทบาทมากขึ้น ในเอเชีย-แปซิฟิก เพื่อตอบโจทย์พลังงานสีเขียว แต่การพัฒนาประเทศและสิ่งแวดล้อมก็มีความจำเป็นต้องพบกันครึ่งทาง

   หากวันนี้ ทุกประเทศในกลุ่มเอเชีย-แปซิฟิก มีแนวคิดด้านพลังงานไฟฟ้า เฉกเช่น ประเทศญี่ปุ่น และมาเลเซีย ในอนาคตข้างหน้าระบบพลังงานไฟฟ้าของภูมิภาคแห่งนี้ก็จะมีเสถียรภาพ เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายพลังงานไฟฟ้าที่มีความแข็งแกร่ง อันเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับนานาประเทศทั่วโลก

ที่มาของข้อมูล

http://www.adb.org/sites/default/files/adb-infographic-energy-outlook-2013.jpg http://www.adb.org/sites/default/files/pub/2013/energy-outlook.pdf

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!