WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

กฟผ.ลงนาม 4 บริษัทก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทับสะแก มูลค่า 372 ลบ.

      การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ลงนามสัญญาซื้อและจ้างก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ อ.ทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์ ขนาดกำลังผลิตติดตั้ง 5 เมกะวัตต์ ร่วมกับบริษัทคู่สัญญา มูลค่ากว่า 372 ล้านบาท เป็นศูนย์วิจัยและพัฒนาด้านพลังงานทดแทนหรือชุมชน

     นายสุนชัย คำนูณเศรษฐ์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) เป็นประธานในพิธีลงนามสัญญาซื้อและจ้างก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ร่วมกับ Consortium of Hydrochina International Engineering Co.,Ltd. Yingli Energy (Beijing) Co.,Ltd. Hebei Electric Power Design & Research Institute and Wattanasuk Engineering Co.,Ltd. โดยมีนางอัญชลี ชวนิชย์ ประธานกรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พร้อมด้วย Mr.Gao Wenkuan ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจและการพาณิชย์ สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำประเทศไทย ร่วมแสดงความยินดี ณ ห้องประชุม201 อาคาร ท.100การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

    ผู้ว่าการ กฟผ. เปิดเผยว่า โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ กำลังผลิต 5 เมกะวัตต์ ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้โครงการดังกล่าวเป็นศูนย์วิจัยและพัฒนาด้านพลังงานทดแทน จึงออกแบบให้โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์ทั้งหมด 4 ชนิด เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า ได้แก่ เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดผลึกซิลิคอน (c-Si) ติดตั้งพร้อมระบบติดตามดวงอาทิตย์แบบถ่วงน้ำหนัก (Solar Weight Tracking System) โดยใช้น้ำเป็นตัวกลางในการถ่ายน้ำหนัก ซึ่งพัฒนาโดย กฟผ. กำลังผลิตติดตั้ง 1 เมกะวัตต์ เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดอะมอร์ฟัสซิลิคอน (a-Si) ติดตั้งแบบคงที่ กำลังผลิตติดตั้ง 2 เมกะวัตต์ เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดไมโครคริสตอลไลน์อะมอร์ฟัสซิลิคอน (Micro Crystalline Amorphous Silicon) ติดตั้งแบบคงที่ ขนาดกำลังผลิตติดตั้ง 1 เมกะวัตต์ และเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดสารประกอบของคอปเปอร์อินเดียมไดเซเลไนด์ (Copper Indium (Gallium) Di-selenide) ติดตั้งแบบคงที่ กำลังผลิตติดตั้ง ๑ เมกะวัตต์

   ทั้งนี้ กฟผ. ได้รับอนุมัติโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์จากคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม2556 ถือเป็นหนึ่งในโครงการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของ กฟผ. เพื่อสนองนโยบายด้านการนำพลังงานหมุนเวียนมาผลิตไฟฟ้า ตามแผนการพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก ร้อยละ 25 ใน 10 ปี (2555-2564) ของประเทศ โดยมีมูลค่างานก่อสร้างกว่า 372ล้านบาท และคาดว่าจะนำเข้าใช้งานในระบบได้ประมาณเดือนมิถุนายน 2558

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!