WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

11770 AEESEAP2022 01

วิศวศึกษาเอเชียแปซิฟิก มุ่งยกระดับหลักสูตร...สร้างวิศวกรให้ตรงความต้องการพัฒนาประเทศ และการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชากรทุกช่วงวัย

          คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สภาคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย และสมาคมวิศวศึกษาในเอเชียตะวันออก-ตะวันออกเฉียงใต้และเอเซียแปซิฟิก (Association for Engineering Education in Southeast and East Asia and the Pacific: AEESEAP) จัดงานประชุมซัมมิทผู้นำวิศวศึกษา และงานประชุมวิศวศึกษาแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (AEESEAP Annual Summit 2022 and Asia Pacific Engineering Education Symposium 2022) โรงแรมแมริออท กรุงเทพฯ สุขุมวิท และผ่านระบบออนไลน์ เดินหน้ายกระดับคุณภาพวิศวศึกษาสู่ระดับโลก สร้างวิศวกรที่ตรงความต้องการของผู้ใช้และผู้เรียน ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชากรทุกช่วงวัย

 

11770 AEESEAP2022 02

 

          ดร. สุวิทย์ เมษินทรีย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. ประธานเปิดงาน กล่าวว่า ประเทศไทยพัฒนาเศรษฐกิจสู่ Thailand 4.0 โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ วิศวกรรม เทคโนโลยี นวัตกรรม และการวิจัย มุ่งเน้น 12 อุตสาหกรรมเป้าหมายของไทยบนแนวทาง Bio-Circular-Green Economy ได้แก่ ยานยนต์สมัยใหม่, อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ, การแพทย์และการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ, การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ, อาหารเพื่ออนาคต, วิทยาการหุ่นยนต์, การบินและการขนส่ง, เชื้อเพลิงชีวภาพและชีวเคมี, อุตสาหกรรมดิจิทัล, ศูนย์การแพทย์ครบวงจร, อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ และอุตสาหกรรมการพัฒนาบุคลากร-การศึกษา

          ปัจจุบันประเทศไทยต้องการวิศวกรและบุคลากรจำนวนมากเพื่อสนับสนุนการคิดค้นนวัตกรรมและรองรับความเติบโตของอุตสาหกรรมเป้าหมาย วิศวศึกษา (Engineering Education) จึงต้องปรับเปลี่ยนบทบาทและภารกิจเพื่อสร้างทักษะความสามารถและความพร้อมให้กับเยาวชนคนรุ่นใหม่และคนทำงาน ดังนั้นงานประชุม AEESEAP 2022 นับเป็นการผนึกกำลังของไทยและประชาคมเอเชียแปซิฟิก ซึ่งจะเป็นโยชน์ต่อการยกระดับการศึกษาระดับอุดมศึกษาของประเทศไทยและภูมิภาคเอเซีย ตัวอย่างความสำเร็จของมหาวิทยาลัยมหิดล โดยคณะวิศวะมหิดล ที่ได้รับการรับรองระดับสากลจาก ABET สหรัฐอเมริกา ถึง 6 หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ จะเป็นโมเดลถ่ายทอดประสบการณ์นำพามหาวิทยาลัยอื่นๆ ของไทยได้ก้าวไปด้วยกัน

 

11770 MahidolEG รศดร จักรกฤษณ์

 

          รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ ประธานสมาคมวิศวศึกษาในเอเชียตะวันออก-ตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียแปซิฟิก (AEESEAP) และ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ .มหิดล ในฐานะประธานจัดงาน กล่าวว่า ประชาคมภูมิภาคเอเชียครอบคลุมกว่า 30 ประเทศ สมาคม AEESEAP ซึ่งก่อตั้งในปี 1973 จากการประชุม UNESCO ที่ให้ความสำคัญต่อบทบาทของวิศวศึกษา (Engineering Education) ในการสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าและความยั่งยืน บทบาทของสมาคมฯ ตลอดระยะเวลา 49 ปี มุ่งส่งเสริมการพัฒนาวิศวศึกษาของเอเชียให้ก้าวทันโลกและตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม วัตถุประสงค์การจัดประชุม AEESEAP 2022 นี้ เพื่อส่งเสริมการศึกษาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ เป็นเวทีแลกเปลี่ยน ถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ และศาสตร์ทางด้านวิศวกรรม รวมถึงประมวลองค์ความรู้ใหม่ๆ ตอบโจทย์การบ่มเพาะบุคคลากรที่ตรงตามความต้องการด้านความสามารถทางวิศวกรรมศาสตร์ในการพัฒนาประเทศและภูมิภาคโลกร่วมกัน ตลอดจนสร้างเสริมเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการในระดับภูมิภาคเอเชีย โดยมีวิทยากรจากนานาประเทศ พร้อมด้วยคณะกรรมการ AEESEAP จากออสเตรเลีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลี มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย เข้าร่วมงาน

          ในงานประชุม AEESEAP 2022 ทางประเทศออสเตรเลีย เกาหลี ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และประเทศไทย ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ให้เห็นถึงตัวอย่างของความร่วมมือระหว่างภาควิชาการกับภาคอุตสาหกรรม ปัจจัยสู่ความสำเร็จที่ทำให้การพัฒนาวิศวศึกษาและบ่มเพาะวิศวกรก้าวหน้าและมีประสิทธิภาพ หลังวิกฤติโควิด-19 โลกยุคใหม่ที่เทคโนโลยีพลิกผันรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการใช้ Ai, บล็อคเชน, Big Data, IoT, หุ่นยนต์และระบบออโตเมชั่น, โดรน, VR/AR เชื่อมต่อกัน เราจึงต้องโฟกัสที่ ผู้ใช้คือ ภาคอุตสาหกรรม และ ผู้เรียน คือ นักศึกษาใหม่และคนทำงาน ความท้าทายของวิศวศึกษา คือ เทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปเร็ว ธุรกิจอุตสาหกรรมต่างๆ จึงต้องการวิศวกรที่มีคุณภาพ ความสามารถในทักษะทั้งด้านวิศวกรรมและ Soft Skills ความคิดสร้างสรรค์ การแก้ปัญหา ผ่าฟันอุปสรรค นับเป็นคุณค่าแก่การเรียนรู้และเรียนลัดของประเทศต่างๆ ในการพัฒนาบุคคลากรสร้างวิศวกรคนรุ่นใหม่

 

11770 AEESEAP2022 03

 

          แนวโน้มของวิศวศึกษาในอนาคต จะมุ่งการเปลี่ยนผ่านสู่ Digital Transformation คนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญกับปริญญาน้อยลง โลกคือห้องเรียน ผสมผสานการเรียนการสอนที่ยืดหยุ่นทั้งแพลตฟอร์ม Tele-Education และห้องเรียน เนื่องจากวิศวศึกษาต้องการการฝึกฝน ทักษะปฏิบัติและมีการทดลองในห้องปฏิบัติการ ด้านการพัฒนาหลักสูตรจะเน้นการต่อยอดนวัตกรรม ความเป็นผู้นำ การประยุกต์ใช้ได้จริง จริยธรรมของวิศวกร บนพื้นฐานวิศวศึกษาที่ยั่งยืน (Sustainibility) หลายประเทศและไทยให้ความสำคัญยิ่งในการยกระดับวิศวศึกษาสู่มาตรฐานโลก เช่น ประเทศไทยใช้มาตรฐาน ABET จากสหรัฐอเมริกา ขณะที่อีกหลายประเทศใช้มาตรฐาน Washington Accord ทั้งมีการศึกษาและนำร่อง ธนาคารหน่วยกิต หรือระบบ “Micro Credential” เพื่อการศึกษาตลอดชีวิตของประชากรทุกช่วงวัย (Lifelong Learning) ส่วนเทคโนโลยีการศึกษาเป็นโครงสร้างพื้นฐานของการเรียนรู้ยุคใหม่ อาทิ การจำลองภาพเพื่อการเรียนรู้ (Immersive Education) การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง (Practise- Based Learning) ควบคู่กับการจัดพื้นที่ให้เมคเกอร์ คนรุ่นใหม่และสตาร์ทอัพได้คิดค้นต่อยอดนวัตกรรม รวมทั้งความร่วมมือด้านห้องปฏิบัติการข้ามมหาวิทยาลัยและข้ามประเทศ ตลอดจนพัฒนาเอสเอ็มอีโลกาภิวัฒน์

          สำหรับประเทศไทย การลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายหลั่งไหลเข้ามาสู่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก EEC” ทำให้ความต้องการแรงงานทักษะสูงในระดับต่างๆของ ช่วง 5 ปี (2021 - 2025) ทั้งวิศวกรและบุคคลากรพุ่งสูงถึง 564,176 คน และ EEC จะเป็นกลไกขับเคลื่อนสำคัญต่อการเติบโตของประเทศไทย การผนึกกำลังของสมาคม AEEASEAP และสภาคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย ซึ่งมีสมาชิก 64 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ จะทำให้หลักสูตรวิศวศึกษาและการผลิตบุคลากรทุกระดับตอบโจทย์ความเป็นจริง เป็นไปในทิศทางสอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ และภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

 

11770 MahidolEG รศดร ธนภัทร์

 

          รศ.ดร.ธนภัทร์ วานิชานนท์ รองคณบดีฝ่ายการจัดการทุนมนุษย์และองค์กรสัมพันธ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึง ความสำเร็จที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ยกระดับ 6 หลักสูตรสู่มาตรฐานโลกโดยได้รับการรับรองจาก ABET สหรัฐอเมริกา (Accreditation Board for Engineering and Technology) นั้น ใช้เวลาเตรียมการ 4 ปีเศษ นับเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกที่ได้รับการรับรองมากที่สุดถึง 6 หลักสูตร .ตรี คือ วิศวกรรมเคมี วิศกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมชีวการแพทย์ วิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม วิศวกรรมไฟฟ้า ซึ่งเป็นผลดีต่อผู้เรียนและการเคลื่อนย้ายแรงงาน วิศวกรไทยเป็นที่ยอมรับในตลาดโลกสามารถไปศึกษาต่อหรือทำงานได้ทั่วโลก อีกทั้งส่งผลดีต่อความน่าเชื่อถือในสถาบันการศึกษา ประเทศชาติ และประชาคมโลก

          ระบบ ABET ให้การรับรองคุณภาพการศึกษาโดยพิจารณาจาก 1.หลักสูตร มีการบริหารจัดการและบรรลุวัตถุประสงค์ 2.วัตถุประสงค์หลักสูตร ตามแนวทาง Outcome Based Education 3.ผลสัมฤทธิ์ต่อผู้เรียนและผลลัพธ์อย่างมีหลักฐานเชิงประจักษ์ 4.หลักสูตรมีการพัฒนาต่อเนื่อง 5.ข้อกำหนดหลักสูตร การวัดผลและการขอรับการประเมิน

          ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยของไทยหลายแห่ง อาทิ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้มาเยี่ยมชมคณะวิศวะมหิดล และหารือถึงวิธีการเตรียมความพร้อมเพื่อความสำเร็จในการขอรับรองมาตรฐาน ABET เรายินดีถ่ายทอดประสบการณ์และให้คำแนะนำอย่างเต็มที่

 

A11770

Click Donate Support Web  

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!