WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

 

 

MTI 720x100

 

 

สสส.ยก เทศบาลนครอุดรธานี ต้นแบบองค์กรปลอดบุหรี่ 100% เผยปัจจัยความสำเร็จ จากการบังคับใช้กฏหมาย-เครือข่ายเข้มแข็ง
          ผลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2564 พบคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป ที่ยังสูบบุหรี่ในบ้าน ร้อยละ 23.7 ในจำนวนนี้ร้อยละ 67.5 มีพฤติกรรมสูบบุหรี่ในบ้านทุกวัน นอกจากนี้ ในทุก 10 ครัวเรือน ที่มีเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ จะมี 5 ครัวเรือน ที่มีคนสูบบุหรี่ ในจำนวนนี้มี 3 ครัวเรือน มีการสูบในบ้าน ควันบุหรี่ไม่เพียงแต่มีผลเสียต่อสุขภาพของคนที่สูบบุหรี่เท่านั้น ผลต่อคนที่ได้รับบุหรี่มือสอง นิโคตินที่อยู่ในบุหรี่ยังเข้าสู่กระแสเลือดถึงแม้ว่าไม่ได้เป็นผู้สูบบุหรี่เองก็ตาม

 

121024 การบังคับใช้กฎหมายยอดเยี่ยม


          ดังกล่าวข้างต้น เทศบาลนครอุดรธานี เล็งเห็นความสำคัญต่อการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีในการทำงานและผลดีต่อสุขภาพจึงรณรงค์ให้พื้นที่เทศบาลนครอุดรธานีเป็นเขตปลอดบุหรี่ 100% และจากการร่วมมือของทุกฝ่ายอย่างเข้มแข็ง ไม่ว่าจะเป็นผู้นำองค์กรที่ผลักดันนโยบายสู่การปฏิบัติและเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการฯ รวมถึงเครือข่าย ชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน (อสม.) โดยใช้เวลาดำเนินการไม่ถึง 2 ปี สามารถประกาศเป็นเทศบาลนครอุดรธานีปลอดบุหรี่ 100% และได้รับการประกาศเกียรติคุณเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นปลอดบุหรี่ ปี 2564 ด้านการบังคับใช้กฎหมายยอดเยี่ยม จาก มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ภายใต้การสนับสนุนของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

 

121024 ดร ธนดร นายกเทศมนตรี


          ดร. ธนดร พุทธรักษ์ นายกเทศมนตรีนครอุดรธานี ผู้มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนให้เทศบาลนครอุดรธานีเป็นเขตปลอดบุหรี่ 100% กล่าวว่า เทศบาลนครอุดรธานีให้ความสำคัญกับการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อการทำงาน ดังนั้น สำนักงานของเราจะไม่เปิดพื้นที่ให้สำหรับคนที่สูบบุหรี่เลย การสร้างสภาพแวดล้อมในสำนักงานให้ปลอดจากบุหรี่ จะเป็นการปฏิเสธคนสูบบุหรี่แบบสุภาพ เขาจะรู้ได้เองว่าที่นี่ไม่ต้อนรับคนสูบบุหรี่ ในส่วนของรางวัลที่ได้รับนั้นเป็นการยืนยันว่า สิ่งที่เราทำเป็นเรื่องที่มาถูกทางแล้ว สำหรับจุดแข็งของเรา คือ การสร้างจิตสำนึกที่ดี โดยเฉพาะกับเยาวชนซึ่งเป็นอนาคตของชาติ
         “อุดรธานีเป็นเมือง Sport City ผมเองในฐานะนายกสมาคมกีฬาจังหวัด ได้เน้นย้ำกับผู้ฝึกสอนนักกีฬาทุกคนเลยว่า ต้องสื่อสารกับเด็กๆเยาวชนของเราว่า หากต้องการเป็นนักกีฬาที่ดี ปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เหล้า บุหรี่ การพนัน และยาเสพติด ต้องละเว้นเรื่องพวกนี้หมด เราสร้างสภาพแวดล้อมให้เด็กๆ ได้เรียนรู้และหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ตั้งแต่เขายังเด็กๆ เลย
          อีกบุคคลสำคัญ คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หรือ อสม. ซึ่งเป็นคนทำงานในแต่ละพื้นที่ จะเดินเคาะประตูบ้านเพื่อรณรงค์เรื่องนี้กันเลย โดยในการทำงานได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก สำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ตั้งเป็นกองทุนประกันสุขภาพท้องถิ่น จำนวน 6 ล้านบาท ขณะเดียวกันเทศบาลก็สนับสนุนงบสมทบอีก 3-4 บ้านบาท ปีหนึ่งเราจะมีงบประมาณรวม 10 ล้านบาท สำหรับการดำเนินการในเรื่องเหล่านี้ โดยเราได้เน้นการอบรมให้ความรู้และส่งเสริมการออกกำลังกาย พร้อมสอดแทรกความรู้เรื่องอันตรายจาก เหล้า บุหรี่ การพนัน ยาเสพติด อบายมุขต่างๆ เข้าไปด้วย ซึ่งดำเนินการอย่างต่อเนื่องแบบนี้ไปตลอด ผมเชื่อว่าการสร้างกิจกรรมที่ดี สภาพแวดล้อมที่ปลอดจากอบายมุขต่างๆ จะทำให้เด็กๆ ห่างจากสิ่งปัจจัยเสี่ยงไปเองโดยปริยาย” นายกเทศบาลนครอุดรธานี กล่าว

 

121024 จุราภัส


          นางจุราภัส รูปดี ผู้อำนวยการสพนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครอุดรธานี กล่าวเสริมว่า ในพื้นที่สำนักงาน เราประกาศเจตนารมณ์ชัดเจนว่า เป็นพื้นที่ปลอดบุหรี่ โดยจะมีป้ายประกาศ ณ ทางเข้า-ออก สำหรับบุคลากรที่ติดบุหรี่แล้วเขายังเลิกไม่ได้ เราดูแลบุคลากรเหล่านี้โดยแนะนำเรื่องการบำบัดหรือส่งเข้าไปบำบัดโรงพยาบาล และมีการดูแลอย่างต่อเนื่องโดยติดตามผ่านผู้บริหารของแต่ละหน่วยงาน ส่วนเรื่องของเยาวชนเรามีการผลักดันให้โรงเรียนในเขตเทศบาลเข้าสู่โรงเรียนปลอดบุหรี่ 100% เทศบาลนครอุดรธานีมีโรงเรียนในสังกัด 12 แห่ง เราตั้งเป้า 1 แห่งเข้าสู่โรงเรียนปลอดบุหรี่ 100% แต่เป็นเรื่องที่น่ายินดีมากๆ ที่ผู้บริหารแต่ละโรงเรียนสมัครเข้าร่วมโครงการฯ ทั้ง 12 แห่งเลย ซึ่งปีนี้จะมีการขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปประธรรมที่ชัดเจน ทั้งนี้ การรณรงค์ในกลุ่มเยาวชน เรานำทักษะการปฏิเสธมาสอนให้เยาวชนมีความแข็งแรงในการปฏิเสธสิ่งอบายมุขต่างๆ ส่วนในพื้นที่ชุมชน กลุ่มอสม. ซึ่งเป็นกลุ่ม พ่อๆ แม่ๆ เป็นอีกกำลังสำคัญในการทำให้เทศบาลนครอุดรธานีปลอดบุหรี่ พื้นที่เรามี 105 ชุมชน โดยแต่ละชุมชนจะมีมาตรการควบคุมดูแลซึ่งกันและกัน

 

121024 สุเชาวน์


          นายสุเชาวน์ พรหมพิมพ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ เทศบาลนครอุดรธานี ผู้รับผิดชอบโครงการฯ กล่าวว่า ปัจจัยที่ทำให้ประสบความสำเร็จ ส่วนหนึ่งเพราะผู้บริหารไปร่วมลงพื้นที่ด้วย จึงมองเห็นภาพการทำงานและให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ นอกจากนี้ ความสำเร็จยังมาจากเครือข่ายภายในองค์กร เช่น นิติกร การประชาสัมพันธ์ รวมถึงเครือข่ายนอกองค์กรสำนักงานเทศบาล โดยมีทั้งเครือข่ายที่เป็นหน่วยงานภาครัฐ อสม. ภาคประชาชน สภาเด็กและเยาวชน สื่อมวลชน ฯลฯ ซึ่ง อสม. เป็นกลุ่มหลักในการเฝ้าระวังและแจ้งข่าวการทำผิดกฎหมายมาที่ผู้รับผิดชอบโครงการ เช่น เมื่อพบการสูบบุหรี่ในสถานที่ห้ามสูบ การจำหน่ายบุหรี่ผิดกฎหมาย ฯลฯ และยังมีช่องทางไลน์ให้ประชาชนสามารถส่งข้อมูลแจ้งเหตุ แจ้งเรื่องเข้ามาได้ หรือใครที่มีความต้องการอยากจะเลิกบุหรี่ก็สามารถแจ้งมาทางไลน์และทางเฟสบุคได้เช่นกัน รวมไปถึงผู้ที่อยากได้ความรู้ในการที่จะเลิกบุหรี่ หรือ การพัฒนาสุขภาพตนเองให้ดีขึ้นได้อย่างไรโดยที่ไม่ยุ่งกับปัจจัยเสี่ยง ยังสามารถโทร.มาที่ หมายเลข 1600 ได้อีกหนึ่งช่องทางด้วย
          “เทศบาลนครอุดรธานี ต้นแบบองค์กรปลอดบุหรี่ 100%” นับเป็นอีกหนึ่งแนวทาง หรือต้นแบบที่น่าสนใจให้พื้นที่หรือชุมชนต่างๆ ได้ลุกขึ้นมาสร้างสังคมปลอดบุหรี่ไปด้วยกัน


A121024

Click Donate Support Web  

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100ais 720x100BANPU 720x100TU720x100sme 720x100

QIC 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!