WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

 

Artificial intelligence, Blockchain & Robotics จากงาน ‘Digital Transformation Summit 2022’

          ในปัจจุบัน ผู้คนส่วนใหญ่มีชีวิตที่สะดวกสบายมากขึ้นจากการผลิตและพัฒนาอย่างต่อเนื่องของเทคโนโลยี หากยกตัวอย่างให้เห็นภาพที่ชัดเจน คงจะเป็นการเดินทางในยามเช้าหากเราต้องการเดินทางไปโรงเรียนหรือทำงาน เราสามารถตรวจสอบเส้นทางและหลีกเลี่ยงปัญหาด้านการจราจรได้ผ่านทาง application บนโทรศัพท์มือถือ ซึ่งทั้งสะดวกและประหยัดเวลา นอกเหนือจากโทรศัพท์มือถือ ยังมีเทคโนโลยีที่ถูกสร้างขึ้นด้วย Artificial Intelligence (AI) และ วิทยาการหุ่นยนต์ (Robotics) อีกมากมาย ซึ่งวันนี้ OPEN-TEC ศูนย์รวมองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยี (Tech Knowledge Sharing Platform) ภายใต้การดูแลของ TCC TECHNOLOGY GROUP ได้หยิบยกมุมมองและประสบการณ์ในการพัฒนา Artificial intelligence (AI) และวิทยาการหุ่นยนต์ (Robotics) จากภายในงาน “Digital Transformation Summit 2022” มาแบ่งปันภายใต้หัวข้อHow artificial intelligence and robotics change our liveโดยตัวแทนของภาครัฐ รศ.ดร. สยาม เจริญเสียง (ผู้อำนวยการสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี) และ ดร. เทพชัย ทรัพย์นิธิ (อุปนายกสมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ดังนี้

 

11022 FIBO รศดร สยาม

          รศ.ดร.สยาม ได้กล่าวไว้ว่า ในปัจจุบันเด็กรุ่นใหม่คุ้นชินกับหุ่นยนต์ในรูปแบบต่างๆ จากการพบเห็นในชีวิตประจำวัน และเทรนด์ของโลกกำลังให้ความสนใจเกี่ยวกับด้านหุ่นยนต์มากขึ้น เนื่องจากหุ่นยนต์สามารถเพิ่มผลผลิต และเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นได้ หากมองย้อนกลับไปเราจะพบว่า ความท้าทายและโอกาส (Challenges and opportunities) ของการพัฒนาหุ่นยนต์ เกิดจากปัจจัยที่เด็กรุ่นใหม่ให้ความสนใจงานที่ต้องใช้แรงงานน้อยลง (Aging Society) ถึงแม้ว่าองค์กรจะพร้อมในด้านการเงินก็อาจจะยังไม่สามารถจ้างงานได้ ซึ่งส่งผลกระทบก่อให้เกิดการขาดแคลนแรงงาน (Labor Shortage) และการว่างงานของเด็กรุ่นใหม่ (Jobless growth) เนื่องจากสิ่งที่เรียนมาไม่ตรงตามความต้องการของเทรนด์โลก นอกจากนี้ปัจจัยด้านค่าแรงที่มีแนวโน้มจะสูงขึ้นเรื่อยๆ (minimum wage) ก็มีส่วนทำให้องค์กรต่างๆ เริ่มพิจารณาถึงการนำหุ่นยนต์มาใช้ ส่งผลให้ในปัจจุบัน ความต้องการทางด้านหุ่นยนต์มีสูงขึ้น (Big demands on automation and robot) เพื่อทดแทนปัญหาการขาดแคลนแรงงาน

          นอกจากนี้ รศ.ดร. สยาม ยังได้กล่าวเพิ่มเติมว่า หลังจากการแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19 นั้น ที่มีข้อจำกัดในการทำงานร่วมกัน ทั่วโลกหันมาให้ความสนใจในการนำหุ่นยนต์เข้ามาใช้งานเป็นจำนวนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในด้านการศึกษา การแพทย์ งานบริการ งานบันเทิง อุตสาหกรรม และรวมไปถึงการใช้งานส่วนบุคคล ซึ่งการนำหุ่นยนต์มาใช้ช่วยส่งเสริมให้เกิดแนวโน้มในการเพิ่มการผลิต เช่น การนำหุ่นยนต์มาใช้ในการผลิตสินค้าทดแทนแรงงานของคน และแนวโน้มการพัฒนาคุณภาพชีวิต เช่น การนำหุ่นยนต์มาใช้ในการแพทย์สำหรับการให้คีโมมะเร็ง เพื่อป้องกันความเสียหายของเซลล์ เป็นต้น

 

11022 NECTEC ดร เทพชัย

 

          ในขณะที่ทางด้าน ดร.เทพชัย (คนที่ 4 จากซ้าย) ได้กล่าวถึง การเปลี่ยนผ่านของยุคต่างๆ ก่อนที่ Artificial Intelligence (AI) จะเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น โดยเริ่มจากยุคไอที (IT) ที่เน้นไปในทิศทางของการช่วยเราจดจำหรือคำนวณสิ่งต่างๆ เช่น การใช้โทรศัพท์มือถือจดจำเบอร์โทรศัพท์แทนการจดจำด้วยตนเอง ก่อนจะเปลี่ยนผ่านมาถึงยุคดิจิทัล (Digital) ที่มีการรวบรวมจัดเก็บข้อมูลเพื่อง่ายต่อการสืบค้น ซึ่งยุคดิจิทัล (digital) นั้น ข้อมูลที่รวบรวมไว้ล้วนสัมพันธ์กับยุคของ Artificial Intelligence (AI) ที่ต้องการข้อมูลในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

          นอกจากนี้ ดร.เทพชัย ยังได้เน้นย้ำอีกว่า ยุค Artificial Intelligence (AI) เป็นยุคที่ช่วยชัพพอร์ตและช่วยตัดสินใจบางอย่างให้กับเราสังเกตได้จากผลิตภัณฑ์รอบตัวของเรา เช่น รถยนต์ ที่มีการสั่งงานด้วยเสียง ช่วยวิเคราะห์และหาเส้นทาง (navigate), บ้าน ที่มีการนำ smart home เข้ามาใช้ในการเพิ่มความสะดวกสบายและคำนวณค่าใช้จ่ายในบางส่วน และ โทรศัพท์มือถือ ที่ปัจจุบันสามารถปรับโหมดต่างๆได้อัตโนมัติ เป็นต้น เพื่อให้มองเห็นภาพการทำงานของ Artificial Intelligence (AI) ที่ชัดเจนขึ้น ดร.เทพชัย ได้มีการกล่าวถึง AI ในภาคต่างๆ ที่นอกเหนือจากภาคอุตสาหกรรม ดังนี้

          AI กับ ด้านการศึกษา

          1. บริษัท ไทยกูลิโกะ จำกัด ได้ออกแบบกล่องขนม ป๊อกกี้โดยการใส่ QR CODE บนกล่อง โดยผู้บริโภคสามารถสแกน QR CODE ผ่านโทรศัพท์มือถือ และสามารถเล่นกิจกรรมโดยการนำขนมป๊อกกี้ที่มีลักษณะเป็นแท่ง มาจัดเรียงเป็นรูปแบบต่างๆ ตามที่ปรากฏบน mobile application หากเด็กและเยาวชนได้ทดลองเล่นกิจกรรมนี้ก็จะได้รับประโยชน์ในการฝึกทักษะ logic และ sequence ซึ่งทักษะเหล่านี้สามารถนำไปต่อยอดการเรียนรู้ด้าน AI ได้ในอนาคต

          2. ประเทศญี่ปุ่นได้มีการทดลองโดยการนำเทคโนโลยี AI เข้ามาช่วยวิเคราะห์บทเรียนและสรุปเนื้อหาสำคัญ เพื่อให้เด็กได้อ่านคร่าวๆ ก่อนจะเข้าสู่บทเรียน เมื่อเข้าสู่บทเรียนเด็กจะสามารถจดจ่อกับเรื่องสำคัญได้มากขึ้น

          AI กับ ด้านภาษา

          1. ในปัจจุบัน AI มีส่วนช่วยให้การทำงานด้านภาษาสะดวกยิ่งขึ้น เช่น ในสายงานเกี่ยวกับข่าว สามารถนำ AI เข้ามาช่วยสรุปข่าว และวิเคราะห์ภาษาไทย มากไปกว่านั้น AI ยังสามารถถอดบทความในที่ประชุมได้ ขณะที่ทุกคนนั่งในที่ประชุม AI สามารถแยกเนื้อหาและคำพูดของแต่ละบุคคลได้

          AI กับ ด้านวัฒนธรรม

          1. ประเทศไทย มีข้อมูลเกี่ยวกับด้านวัฒนธรรมมากมาย หากนำ AI เข้ามาใช้ จะช่วยให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลที่หลากหลายเข้าด้วยกัน เช่น จังหวัดน่านและจังหวัดสุโขทัย มีจุดเชื่อมโยงกันในเรื่องเครื่องสังคโลก เป็นต้น

          ในตอนท้าย รศ.ดร. สยาม และ ดร.เทพชัย ได้ฝากแง่คิดที่คล้ายคลึงกันไว้ในด้าน Artificial Intelligence และ Robotics ไว้ว่า ในอนาคตความต้องการทางด้าน AI และหุ่นยนต์จะมีมากขึ้น เพื่อจุดประสงค์ในการช่วยพัฒนาและส่งเสริมชีวิตให้ดีขึ้นยิ่งขึ้น

          จากที่กล่าวไปข้างต้นนั้นเป็นเพียงแค่เนื้อหาบางส่วนที่ OPEN-TEC ได้รวบรวมไว้ จากภายในงาน “Digital Transformation Summit 2022” ภายใต้หัวข้อArtificial intelligence, Blockchain & Roboticsที่จัดขึ้นโดย สมาคมซีไอโอไทย (Thai Chief Information Officer Association: TCIOA) เท่านั้น หากท่านต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถเข้าไปฟังได้ที่เว็บไซต์ https://www.youtube.com/watch?v=TZ5-Yj-UyzE 

 

บทความโดย OPEN-TEC

Read More: Digital Transformation Governance & Leadership

 

A11022

Click Donate Support Web  

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!