WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aaa2Aไร่พัฒน

อบต.ไร่พัฒนา คุมเข้มป้องกันโควิด ดึงกลไก กปท. ขับเคลื่อน

      “เราพยายามบอกชาวบ้านว่า การติดเชื้อจากการเดินทางกลับมาภูมิลำเนา หรือกลับมาบ้านตัวเอง ยังรับได้ แต่ต้องมีการแจ้ง เพื่อเข้าสู่ระบบการควบคุมป้องกันโรค แต่หากมีการระบาดจากคนที่กลับมา และนำเชื้อไปแพร่ระบาดต่อที่บ้าน ต่อชุมชน แบบนี้ไม่ควรเกิดขึ้น ซึ่งทุกคนต้องช่วยกันเข้มงวดมาตรการป้องกันโรคอย่างเคร่งครัด โดย อบต. ออกรณรงค์ตลอด ตระเวนไปทุกหมู่บ้าน”

        ถ้อยคำของ จ.อ.โกศล ภาคศิริ ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล ปฏิบัติหน้าที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลไร่พัฒนา จ.ชัยนาท กล่าวถึงการสื่อสารกับชุมชนเพื่อสกัดการระบาดของโรคโควิด19 องค์การบริหารส่วนตำบลไร่พัฒนา (อบต.) จ.ชัยนาท เป็นอีกพื้นที่ที่มีการทำงานควบคุมป้องกันโรคโควิด19 ที่อาศัยความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการทำงานสกัดโควิดระบาดในชุมชน โดยงบประมาณส่วนหนึ่งมาจากกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น

       จ.อ.โกศล อธิบายว่า การทำงานโควิดเป็นความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในพื้นที่ ทั้งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล (รพ.สต.) อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ร่วมกันทำงานเพื่อควบคุมและป้องกันโรคโควิดตั้งแต่เกิดการระบาดช่วงแรกๆ จนถึงปัจจุบันที่เกิดการระบาดอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการคัดกรองคนเข้ามาพื้นที่ การขอความร่วมมือครัวเรือนให้แจ้งญาติที่ทำงานนอกพื้นที่ ยิ่งอยู่ในพื้นที่เสี่ยง ขออย่าเพิ่งกลับมา หรือถ้ามาให้แจ้งผ่านระบบอย่างถูกต้อง เพื่อจะได้ควบคุมโรค นอกจากนี้การให้ความรู้เรื่องโควิด ไม่ใช่แค่ในครัวเรือนเท่านั้น เรายังทำงานผ่านศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน เน้นความเคร่งครัดปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและควบคุมโควิด โดยรวมถึงการดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงในพื้นที่

      “อบต. เรายังมีนักบริบาลเข้าไปช่วยงานทำงานคล้ายๆ กับผู้ช่วยดูแลผู้ป่วยภาวะพึ่งพิงหรือที่เรียกว่า CG (Care Giver)  ซึ่งเป็นการทำงานในโครงการดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิงระยะยาว (LTC) โดยทาง อบต. ก็มีงบประมาณสนับสนุนอุปกรณ์ เครื่องไม้เครื่องมือให้กับนักบริบาล เพื่อเข้าไปช่วยดูแลผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงในหมู่บ้าน ทำงานช่วยอีกทางกับทาง CG” จ.อ.โกศล กล่าว

          อย่างไรก็ตาม เมื่อโควิดระบาดหนักขึ้นเรื่อยๆ แน่นอนว่า ย่อมส่งผลให้เกิดอุปสรรคต่อการทำงาน จ.อ.โกศล เล่าว่า  ในการลงพื้นที่ไปดูแลผู้ป่วยนั้น อบต. กับ รพ.สต. ทำงานร่วมกันตลอด ตั้งแต่มีการระบาดของโควิด19 ปัญหาหลักๆ คือ ทั้ง CG และนักบริบาล มีความวิตกกังวลในการเข้าไปดูแลผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง เนื่องจากต้องยอมรับว่ากังวลติดเชื้อจากคนในครอบครัวผู้ป่วยเช่นกัน ยิ่งบางบ้านมีคนจำนวนมาก ขณะเดียวกันบ้านของผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงเขาก็กลัวเช่นกัน เรียกว่าต่างคนต่างกลัว

          บางบ้านเหมือนจะให้เข้าไปได้ แต่ส่วนใหญ่ก็ไม่อยากให้เข้าไป เพราะกลัวการติดเชื้อ ซึ่งเราก็กำลังจัดรูปแบบบริการในส่วนของนักบริบาล ส่วน CG ก็จะมีปัญหาคล้ายๆ กัน จริงๆ ทั้งนักบริบาล และ CG ก็เข้าใจมาตรการและปฏิบัติอย่างเคร่งครัด สวมหน้ากากอนามัย มีเจลแอลกอฮอล์ เว้นระยะห่างในการทำงาน ทาง อบต.ก็สนับสนุนเครื่องมือป้องกันโรคตลอด แต่บางทีบางครอบครัวก็ไม่ยอม ตอนนี้เรากำลังศึกษาว่า หากหันมาใช้วิดีโอคอล หรือสอบถามอาการผ่านโทรศัพท์จะเรียกว่าจัดบริการได้เลยหรือไม่ เพราะถ้าเป็นนักบริบาลจะชัดเจนว่าผลงานต้อง 20 วัน และจัดบริการวันละ 8 ชั่วโมงจึงจะเบิกได้ หากใช้วิธีการแชท โทรสอบถามอาการ วิดีโอคอล หากเข้ากับการจัดบริการได้ก็จะเป็นเรื่องที่ดีมาก ตอนนี้กำลังพิจารณาแนวทางดังกล่าวให้เป็นระบบอยู่

           “เดิมตอนแรกมี 4 บ้าน ไม่ยอมให้เข้าเพียง 1 บ้าน แต่ตอนนี้กลายเป็น 4 บ้านไม่ยอมทั้งหมด จึงต้องมีการหารือร่วมกันทั้งตัวญาติและผู้ป่วยด้วย อย่างการจัดบริการลงไปดูแลจำเป็นต้องมีเครื่องวัดความดัน ทำกายภาพบำบัด จะเป็นการให้บริการผ่านญาติพี่น้องได้หรือไม่ เพราะบางบ้านไม่มีอินเทอร์เน็ต ไม่มีโทรศัพท์ ทั้งบางบ้านมีแต่ผู้สูงอายุ ยิ่งผู้ป่วยติดเตียง จำเป็นต้องลงไปช่วยเหลือ ขณะนี้อยู่ระหว่างหาทางออกให้ดีที่สุด” จ.อ.โกศล กล่าว

          ส่วนการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด ช่วงที่มีข่าวลือมากๆ พวกเราทั้ง อบต. ทั้ง รพ.สต. อสม. ผู้นำชุมชน กำนันผู้ใหญ่บ้านทั้ง 5 หมู่ต่างช่วยกันลงไปสื่อสารข้อมูลให้ ซึ่งส่วนใหญ่ฉีดวัคซีนป้องกันโควิดแล้วก็ไม่พบอาการอะไร แต่การสื่อสารยอมรับว่าค่อนข้างยากเพราะชาวบ้านเชื่อข่าวลือมากกว่า อย่างตนไปร้านค้า ไปบอก “น้า ไปฉีดวัคซีนนะ” น้าก็จะตอบว่า “ไม่เอา..กลัวตาย”

       ปลัด อบต.ฯ กล่าวว่า ตอนนั้นเรานำคลิปวิดีโอจากศิริราชพยาบาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไปเปิดให้ดูเลย มีคนฟังส่วนหนึ่ง คนเชื่อส่วนหนึ่ง ไม่เชื่อส่วนหนึ่ง ซึ่งเมื่อสัปดาห์ก่อนได้พูดคุยกับหมออนามัยพบว่า มีคนทั้งอำเภอไม่ไปฉีดวัคซีน 40-50 คนได้ มีวัคซีนเหลืออีก เรียกว่าทั้งอำเภอมีไปฉีดวัคซีนเข็มแรกไม่น่าเกิน 15-20% ส่วนกรณีการฉีดวัคซีนสลับชนิด ชาวบ้านที่ได้รับข่าวจากสื่อโซเชียลฯ ทำให้เกิดความกังวล ดังนั้นเวลาลงไปให้ความรู้จึงเป็นเรื่องยาก

       “มีอยู่ครั้งหนึ่งลงพื้นที่ไปร่วมกับหมอ ที่หมู่หนึ่งในตำบล โดยนำคลิปวิดีโอจากอาจารย์แพทย์มาให้ความรู้ด้านวัคซีนป้องกันโควิด จากนั้นหมอบอกว่า ใครจะฉีดมาลงชื่อ ปรากฏว่าหายกันหมด ซึ่งสถานการณ์จากวันนั้นถึงวันนี้ ความรู้สึกของชาวบ้านไม่ค่อยเปลี่ยนเท่าไหร่ แต่เข้าใจว่า กรุงเทพฯ จะเปลี่ยนไปเยอะ น่าจะอยากฉีดวัคซีนมากกว่า” จ.อ.โกศล กล่าว

        ส่วนปัญหาติดเชื้อโควิดในพื้นที่นั้น จ.อ.โกศล เล่าว่า ส่วนใหญ่เดินทางกลับมาจากพื้นที่เสี่ยงเข้ามาในตำบล เพราะเจ้าตัวก็คิดว่าไม่เป็นอะไร กลับมาก็อยู่บ้าน ทางบ้านครัวเรือนเดียวกันก็ไม่ได้ระวังตัว ปรากฏว่าติดเชื้อทั้งบ้าน มีกรณีหนึ่งที่สามีเดินทางกลับมาบ้านได้ 2 วัน และได้รับแจ้งข่าวว่ามีเพื่อนร่วมงานติดเชื้อ จึงไปขอตรวจเชื้อ ปรากฎผลเป็นบวก เราจึงต้องกักตัวและดูแลรักษาทั้งครอบครัว ซึ่งในช่วงที่มาเจ้าตัวไม่มีอาการอะไรเลยแต่ก็ติดเชื้อ ดังนั้นจึงต้องระวังให้มาก และทางบ้านเขาก็รู้สึกเสียใจ นอกจากนี้ยังมีอีก 1 ราย ตอนนี้รักษาแบบที่บ้าน Home Isolation (HI) เขามีบ้านสองหลังจึงแยกจากครอบครัวได้ ทำให้คนในครอบครัวไม่ติดเชื้อ

       จ.อ.โกศล กล่าวทิ้งท้ายว่า ส่วนของการเตรียมระบบรักษาแบบที่บ้าน หรือ Home Isolation (HI) เราก็มีการเตรียมความพร้อมอยู่เช่นกัน จะดำเนินการเรื่องนี้อย่างไรให้เป็นระบบ จริงๆ ในพื้นที่ยังไม่มีการระบาด ยกเว้น 1 ครัวเรือนจากการเดินทางมาจากนอกพื้นที่ แต่เพื่อการเตรียมพร้อมก็อยู่ระหว่างหารือว่า จะดำเนินการอย่างไร

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C J

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

smed banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!