WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ผลการสำรวจความเดือดร้อนและความต้องการของประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน พ.ศ. 2565

GOV 5

ผลการสำรวจความเดือดร้อนและความต้องการของประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน .. 2565

        คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอ รายงานผลการสำรวจความเดือดร้อนและความต้องการของประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน .. 2565 [คณะรัฐมนตรีมีมติ (17 มิถุนายน 2545) ให้สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) จัดเก็บข้อมูลและสถิติตัวเลข รวมทั้งสำรวจและสอบถามประชาชนเกี่ยวกับนโยบายหลักๆ ของรัฐบาลแล้วรายงานคณะรัฐมนตรีทราบ] ทั้งนี้ ดศ. โดย สสช. ได้ดำเนินการจัดทำโครงการสำรวจความเดือดร้อนและความต้องการของประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน .. 2565 โดยจัดเก็บข้อมูลจากผู้นำหมู่บ้าน/ชุมชน และบันทึกข้อมูลผ่านเว็บไซต์ http://tns.nso.go.th ระหว่างวันที่ 15 กุมภาพันธ์-15 มีนาคม 2565 ซึ่งใช้กรอบบัญชีหมู่บ้าน/ชุมชนของกระทรวงมหาดไทย 87,573 หมู่บ้าน/ชุมชน (หมู่บ้าน 55,827 แห่ง และชุมชน 31,746 แห่ง) โดย 5 อันดับแรกของปัญหาความเดือดร้อน คือ ผลผลิตทางการเกษตรราคาตกต่ำ ร้อยละ 42.7 รายได้ไม่พอกับรายจ่าย ร้อยละ 26.8 ว่างงาน/ตกงาน ร้อยละ 23.9 สินค้าราคาแพง ร้อยละ 23.3 และค่าครองชีพสูง ร้อยละ 15.8 สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

        1. สรุปผลการสำรวจความเดือดร้อนและความต้องการของประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน .. 2565

             1.1 ความเดือดร้อนของคนในหมู่บ้าน/ชุมชน

 

ประเด็น

 

สรุปผลสำรวจ

(1) ผลผลิตทางการเกษตรราคาตกต่ำ

 

พบว่า 5 อันดับแรกของจังหวัดที่ได้รับความเดือดร้อนสูงสุด ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี ร้อยละ 72.4 บึงกาฬ ร้อยละ 71.0 บุรีรัมย์ ร้อยละ 68.4 ลำพูน ร้อยละ 68.3 และพิษณุโลก ร้อยละ 68.1

(2) รายได้ไม่พอกับรายจ่าย

 

พบว่า 5 อันดับแรกของจังหวัดที่ได้รับความเดือดร้อนสูงสุด ได้แก่ จังหวัดตรัง ร้อยละ 62.4 ภูเก็ต ร้อยละ 53.3 ราชบุรี ร้อยละ 48.4 นราธิวาส ร้อยละ 43.4 และตราด ร้อยละ 46.7

(3) ว่างงาน/ตกงาน

 

พบว่า 5 อันดับแรกของจังหวัดที่ได้รับความเดือดร้อนสูงสุด ได้แก่ จังหวัดภูเก็ต ร้อยละ 72.5 นราธิวาส ร้อยละ 46.2 ปัตตานี ร้อยละ 45.3 อุดรธานี ร้อยละ 44.4 และกระบี่ ร้อยละ 39.4

(4) น้ำใช้ทำการเกษตรไม่เพียงพอ

 

พบว่า 5 อันดับแรกของจังหวัดที่ได้รับความเดือดร้อนสูงสุด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย ร้อยละ 42.8 แพร่ ร้อยละ 32.5 สิงห์บุรี ร้อยละ 29.7 ลำปาง ร้อยละ 28.6 และอุตรดิตถ์ ร้อยละ 24.3

(5) น้ำสำหรับอุปโภค-ลริโภคในครัวเรือนไม่

เพียงพอ

 

พบว่า 5 อันดับแรกของจังหวัดที่ได้รับความเดือดร้อนสูงสุด ได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ร้อยละ 21.5 เชียงราย ร้อยละ 21.3 น่าน ร้อยละ 9.2 อุตรดิตถ์ ร้อยละ 8.7 และกระบี่ ร้อยละ 8.5

(6) ยาเสพติดแพร่ระบาด

 

พบว่า 5 อันดับแรกของจังหวัดที่ได้รับความเดือดร้อนสูงสุด ได้แก่ จังหวัดกระบี่ ร้อยละ 17.7 ประจวบคีรีขันธ์ ร้อยละ 10.6 สตูล ร้อยละ 9.6 นราธิวาส ร้อยละ 7.7 และบึงกาฬกับกาพสินธุ์มีสัดส่วนเท่ากัน ร้อยละ 7.5

(7) ถนนเป็นลูกรัง/เส้นทางสัญจรไม่สะดวก

 

พบว่า 5 อันดับแรกของจังหวัดที่ได้รับความเดือดร้อนสูงสุด ได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ร้อยละ 19.7 เชียงราย ร้อยละ 6.5 ตาก ร้อยละ 6.3 กระบี่ ร้อยละ 6.0 และนครราชสีมา ร้อยละ 5.6

(8) ไม่มีเอกสารสิทธิ์ในที่ดินทำกิน

 

พบว่า 5 อันดับแรกของจังหวัดที่ได้รับความเดือดร้อนสูงสุด ได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ร้อยละ 16.5 น่าน ร้อยละ 15.3 ตาก ร้อยละ 5.7 อุตรดิตถ์ ร้อยละ 4.5 และแพร่ ร้อยละ 4.0

 

TU720x100sme 720x100

 

              1.2 มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีประโยชน์ต่อคนในหมู่บ้าน/ชุมชน โดยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีประโยชน์ต่อคนในหมู่บ้าน/ชุมชนมากที่สุด คือ โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ร้อยละ 97.6 รองลงมา ได้แก่ โครงการคนละครึ่ง ร้อยละ 96.5 โครงการ . 33 เรารักกัน ร้อยละ 74.8 โครงการเราเที่ยวด้วยกัน ร้อยละ 38.3 โครงการยิ่งใช้ ยิ่งได้ ร้อยละ 31.1 ทัวร์เที่ยวไทย ร้อยละ 31.0 และช้อปดีมีคืน ร้อยละ 30.1

             1.3 แนวทาง/มาตรการป้องกันให้ปลอดภัยจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ได้มากที่สุด 5 อันดับแรก คือ ฉีดวัคซีนเข็มแรก ร้อยละ 81.4 ปฏิบัติตัวตามมาตรการของสาธารณสุข ร้อยละ 80.3 ขอความร่วมมือประชาชนงดเดินทางหากไม่จำเป็น ร้อยละ 61.7 ปิดสถานบริการ/ร้านค้าที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ร้อยละ 40.0 และแจก ATK ให้ทุกครัวเรือน ร้อยละ 38.0

        2. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย จากผลการสำรวจความเดือดร้อนและความต้องการของประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน .. 2565 เพื่อให้รัฐบาลและหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องใช้ติดตาม ประเมินผลโครงการต่างๆ ที่ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาให้ประชาชนได้อยู่ดีมีสุข มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่สำคัญ เช่น

             2.1 ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรทำการเกษตรแบบผสมผสานตามแนวพระราชดำริ เพื่อให้สามารถพึ่งตัวเองได้

             2.2 ควรมีการสนับสนุนวิธีการแก้ปัญหาการขาดแคลนแหล่งน้ำในพื้นที่การเกษตร เช่น การทำฝนเทียม ขุดลอกหนอง บึง สระเก็บน้ำ และอุโมงค์ผันน้ำ

             2.3 ควรส่งเสริมและสนับสนุนประชาชนในพื้นที่ขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภคให้รู้ถึงวิธีการนำน้ำที่ใช้แล้วกลับมาใช้ประโยชน์อย่างรู้คุณค่า

             2.4 ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรใช้เทคโนโลยี เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงเทคโนโลยีที่ทันสมัย ซึ่งโครงการของภาครัฐ (โครงการเน็ตประชารัฐ) ได้ดำเนินการให้สิทธิ์เกษตรกรเข้าไปใช้งานอินเทอร์เน็ตนานกว่ากลุ่มอาชีพอื่นๆ

             2.5 ควรมีการติดตาม ตรวจสอบ และแก้ไขความเดือดร้อนของประชาชนในระดับพื้นที่ได้อย่างรวดเร็ว และทั่วถึงครอบคลุมทุกพื้นที่

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 16 สิงหาคม 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A8629

 Click Donate Support Web  

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!