WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ขออนุมัติจัดสรรเงินจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรโครงการเสริมสภาพคล่องเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเล ปี 2565 ระยะที่ 1 ของกรมประมง

GOV4

ขออนุมัติจัดสรรเงินจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรโครงการเสริมสภาพคล่องเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเล ปี 2565 ระยะที่ 1 ของกรมประมง

        คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอจัดสรรเงินจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรให้กรมประมงยืมเพื่อไปดำเนินการตามโครงการเสริมสภาพคล่องเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเล ปี 2565 ระยะที่ 1 ของกรมประมง มีกำหนดชำระคืนภายใน 3 ปี ระยะเวลาโครงการ .. 2565 ถึง .. 2567 โดยอนุมัติวงเงิน จำนวน 510 ล้านบาท เป็นเงินยืม (เงินหมุนเวียน) จำนวน 500 ล้านบาท และเงินจ่ายขาด จำนวน 10 ล้านบาท สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารโครงการเสริมสภาพคล่องเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเล ปี 2565 ระยะที่ 1 ของกรมประมงเพื่อเสริมสภาพคล่องในด้านปัจจัยการผลิต (ค่าอาหารและค่าลูกพันธุ์กุ้ง) ให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเลและสร้างความมั่นคงทางอาชีพ อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0 ต่อปี

        สาระสำคัญของเรื่อง

        กษ. รายงานว่า

        1. สถานการณ์ผลผลิตกุ้งทะเลของประเทศไทยมีแนวโน้มลดลงในช่วงที่ผ่านมา โดยปัจจุบันมีปริมาณผลผลิตกุ้งทะเลไม่เกิน 300,000 ตันต่อปี ทำให้มีผลผลิตไม่เพียงพอต่อการผลิตและการส่งออก ห้องเย็นไม่สามารถรับคำสั่งซื้อล่วงหน้าได้ ส่งผลให้ประเทศไทยสูญเสียความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกให้กับประเทศผู้ผลิตคู่แข่ง หากปัญหาดังกล่าวไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วนจะส่งผลกระทบต่อเนื่องและขยายเป็นวงกว้างสู่ทุกภาคส่วนในอุตสาหกรรมกุ้งทะเล ซึ่งเป็นธุรกิจหลักของภาคการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของประเทศไทย กษ. จึงมีนโยบายฟื้นฟูผลผลิตกุ้งทะเลของประเทศไทยให้กลับมาอยู่ในระดับ 320,000 ตัน ในปี .. 2565 และเป้าหมาย 400,000 ตัน ภายในปี .. 2566 กรมประมงจึงได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานเชิงพื้นที่ในการฟื้นฟูผลผลิตกุ้งทะเลของประเทศไทย ซึ่งรวมถึงแนวทางการจัดหาแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำเพื่อเกษตรกร ผ่านโครงการเสริมสภาพคล่องเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเล ปี 2565 ระยะที่ 1 ที่ กษ. เสนอมาในครั้งนี้เพื่อให้เกษตรกรที่ประสบความสำเร็จในการเลี้ยงกุ้งทะเลแต่ขาดสภาพคล่องมีแหล่งทุนหมุนเวียนในการประกอบอาชีพ เป็นแรงจูงใจและสนับสนุนให้เกษตรกรลงกุ้งและบริหารจัดการการเลี้ยงกุ้งให้ประสบความสำเร็จ รวมถึงรักษาความมั่นคงทางอาชีพเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลของคนไทยและอุตสาหกรรมกุ้งทะเลให้คงอยู่ต่อไป อีกทั้งยังเป็นการช่วยเหลือผู้เกี่ยวข้องในธุรกิจเกี่ยวเนื่องตลอดห่วงโซ่การผลิต โดยโครงการฯ ที่เสนอมาครั้งนี้เป็นโครงการนำร่องในการแก้ไขปัญหาสภาพคล่องให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเลในระยะเร่งด่วน หากโครงการฯ ระยะที่ 1 บรรลุตามวัตถุประสงค์ กษ. จะเสนอโครงการฯ ระยะที่ 2 เพื่อขยายผลการช่วยเกษตรกรด้านสภาพคล่องในการประกอบอาชีพเลี้ยงกุ้งทะเลต่อไป

        2. โครงการเสริมสภาพคล่องเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเล ปี 2565 ระยะที่ 1 มีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้

 

หัวข้อ

รายละเอียด

วัตถุประสงค์

1. เพื่อเสริมสภาพคล่องในด้านปัจจัยการผลิตให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเล

2. เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาชีพให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเล

เป้าหมาย

เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเล จำนวน 1,000 ราย ในพื้นที่ที่มีการเลี้ยงกุ้งทะเล รวม 33 จังหวัด

หน่วยงานรับผิดชอบ

กรมประมง กษ.

1. กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เป็นผู้รับผิดชอบโครงการฯ ภาพรวม

2. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง (ระดับจังหวัด) ในพื้นที่ เป็นหน่วยงานในพื้นที่ที่รับผิดชอบในการแนะนำให้ความรู้ และติดตามผลการเลี้ยงกุ้งของเกษตรกร

3. สำนักงานประมงจังหวัด เป็นหน่วยงานในพื้นที่ที่รับผิดชอบในการรับสมัครเกษตรกรและผู้ประกอบการโรงเพาะฟักลูกกุ้งทะเลเข้าร่วมโครงการฯ รวมทั้งบริหารสินเชื่อของโครงการฯ

แนวทางการดำเนินการ

ที่สำคัญ

1. สำนักงานประมงจังหวัดในพื้นที่เปิดรับสมัครเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเล และผู้ประกอบการโรงเพาะฟักลูกกุ้งทะเล ตามคุณสมบัติที่กำหนด เพื่อคัดเลือกเข้าร่วมโครงการฯ

2. กรมประมงจัดส่งรายชื่อพร้อมเอกสารหลักฐานของเกษตรกรที่สมัครเข้าร่วมโครงการไปยังสถาบันการเงิน [ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (...)] เพื่อใช้ในการวิเคราะห์วงเงินกู้ของเกษตรกร และสถาบันการเงินส่งข้อมูลการวิเคราะห์กลับมายังกรมประมง เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในการอนุมัติรายชื่อเกษตรกรเข้าร่วมโครงการฯ

3. คณะกรรมการบริหารโครงการฯ ระดับพื้นที่ (มีประมงจังหวัดเป็นประธานกรรมการ) ประเมินคุณสมบัติเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเล และผู้ประกอบการโรงเพาะฟักลูกกุ้งทะเล และพิจารณาอนุมัติรายชื่อเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเล และผู้ประกอบการโรงเพาะฟักลูกกุ้งทะเลที่มีคุณสมบัติและพร้อมปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด (ตามข้อ 4) เข้าร่วมโครงการฯ

4. กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งจัดอบรมเพิ่มประสิทธิภาพและทักษะการจัดการฟาร์มเลี้ยงกุ้งให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานโครงการฯ และเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ

5. ในการขอกู้เงิน ให้เกษตรกรที่ผ่านการอนุมัติเข้าร่วมโครงการฯ จัดทำเอกสารประกอบแผนการขอกู้เงินตามแบบฟอร์มที่กรมประมงกำหนด จัดทำสัญญากู้ยืมเงิน และหนังสือค้ำประกันเงินกู้ (ถ้ามี)

6. การจัดหาปัจจัยการผลิต (ลูกพันธุ์กุ้งทะเล และอาหารกุ้งทะเล)

     6.1 เกษตรกรเลือกซื้อลูกพันธุ์กุ้งทะเลจากผู้ประกอบการโรงเพาะฟักลูกกุ้งทะเลที่ผ่านการอนุมัติเข้าร่วมโครงการฯ และเลือกซื้ออาหารกุ้งทะเลที่มีการขึ้นทะเบียนถูกต้องโดยเกษตรกรทำการตกลงซื้อขายกับผู้จำหน่ายอาหารกุ้งทะเล และต้องจัดทำเอกสารสัญญาซื้อขายระหว่างผู้จำหน่ายและเกษตรกร

     6.2 เมื่อเลือกซื้อปัจจัยการผลิตได้แล้ว เกษตรกรขอเบิกเงินจากคณะกรรมการบริหารโครงการฯ ระดับพื้นที่

7. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งในพื้นที่ ติดตามตรวจเยี่ยมให้คำแนะนำการเลี้ยงกุ้งแก่เกษตรกรในโครงการฯ โดยกำหนดการติดตามผลการดำเนินโครงการฯ ไม่น้อยกว่า 2 ครั้งต่อรอบการผลิต เพื่อเป็นหลักประกันความสำเร็จของโครงการฯ ว่าเกษตรกรสามารถเลี้ยงกุ้งได้ประสบความสำเร็จ หรือสามารถใช้เงินกู้ได้ตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯ

8. เกษตรกรส่งคืนเงินกู้ยืมมายังกรมประมงตามวงเงินและระยะเวลาที่โครงการฯ กำหนด

9. กรมประมงนำเงินกู้ยืมพร้อมดอกผลที่เกิดขึ้นส่งคืนกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร (ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารที่อาจเกิดขึ้นจากเงินต้นที่กรมประมงยืมมาจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร)

ระยะเวลาดำเนินการ

1. ระยะเวลาโครงการ 3 ปี นับจากวันที่ได้รับเงินกู้จากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร

2. ระยะเวลากู้ยืมเงินของเกษตรกร ไม่เกิน 2 ปี นับจากวันที่เริ่มทำสัญญาเงินกู้

กับกรมประมง

งบประมาณ

รวมทั้งสิ้น 510 ล้านบาท แบ่งเป็น

1. เงินกู้ยืมจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร จำนวน 500 ล้านบาท กรมประมงยืมจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรเพื่อให้นำไปให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเลที่เข้าร่วมโครงการฯ กู้ยืมเพื่อจัดหาปัจจัยการผลิต จำนวน 1,000 ราย รายละไม่เกิน 500,000 บาท

2. เงินจ่ายขาด จำนวน 10 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 2 ของวงเงินกู้) ให้กรมประมงเป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง (ค่าฝึกอบรม ค่าใช้จ่ายในการจัดจ้างสถาบันการเงินวิเคราะห์วงเงินกู้และจัดทำสัญญา ค่าประชาสัมพันธ์และติดตามการดำเนินงาน โดยมีรายละเอียดตามข้อ 3

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. ตัวชี้วัดผลผลิต : เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเลมีสภาพคล่องในการประกอบอาชีพ

2. ตัวชี้วัดผลลัพธ์ : อาชีพการเลี้ยงกุ้งทะเลและธุรกิจเกี่ยวเนื่องมีความมั่นคงสามารถดำรงอยู่ต่อไปได้

 

TU720x100

 

        3. รายละเอียดงบประมาณ

             งบประมาณรวม 510 ล้านบาท จำแนกเป็นกู้ยืม 500 ล้านบาท และเงินจ่ายขาด 10 ล้านบาท ดังนี้

             3.1 เงินกู้ยืมจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร จำนวน 500 ล้านบาท ให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเลที่เข้าร่วมโครงการฯ กู้ยืมเพื่อจัดหาปัจจัยการผลิต จำนวน 1,000 ราย รายละไม่เกิน 500,000 บาท เป็นค่าใช้จ่ายดังนี้

 

รายการ

ราคาต่อราย (บาท)

จำนวน (ราย)

งบประมาณ (บาท)

1. ค่าลูกพันธุ์กุ้ง

85,000

1,000

85,000,000

2. ค่าอาหารกุ้ง

415,000

1,000

415,000,000

รวมเงินกู้

500,000

1,000

500,000,000

 

              3.2 เงินจ่ายขาด จำนวน 10 ล้านบาท (คิดเป็นรอยละ 2 ของวงเงินกู้) ให้แก่กรมประมง เป็นค่าใช้จ่ายดังนี้

 

รายการ

งบประมาณ (บาท)

1. ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมเพิ่มประสิทธิภาพและทักษะการจัดการฟาร์มเลี้ยงกุ้งแก่เกษตรกร

(แบบออนไลน์) วิทยากร 4 ราย (จำนวน 2 วัน) จำนวน 2 ครั้ง

21,600

2. ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมเพิ่มประสิทธิภาพและทักษะการจัดการฟาร์มเลี้ยงกุ้งแก่เกษตรกร

(แบบออนไลน์) วิทยากร 4 ราย (จำนวน 2 วัน) จำนวน 10 ครั้ง (5 ภูมิภาค ภูมิภาคละ 2 ครั้ง)

108,000

3. ค่าใช้จ่ายในการจัดจ้างนักวิชาการส่งเสริมและเจ้าหน้าที่ผู้ประสานงานโครงการฯ

     3.1 นักวิชาการส่งเสริมการเลี้ยงกุ้งทะเล

          12 ราย ค่าใช้จ่าย 18,000 บาทต่อเดือน เป็นเวลา 24 เดือนรวม 5,184,000 บาท

     3.2 ผู้ประสานงานส่วนกลาง

          1 ราย ค่าใช้จ่าย 15,000 บาทต่อเดือน เป็นเวลา 36 เดือน รวม 540,000

5,724,000

4. ค่าใช้จ่ายในการจัดจ้างสถาบันการเงิน

     วิเคราะห์วงเงินกู้ (2,040 บาทต่อสัญญา) และจัดทำนิติกรรมสัญญาเงินกู้ (1,000 บาทต่อสัญญา)

3,040,000

5. ค่าใช้จ่ายในการบริหารโครงการฯ

     ได้แก่ การประชาสัมพันธ์โครงการ การประชุมคณะกรรมการและคณะทำงานระดับต่างๆ วัสดุสำนักงานและค่าใช้จ่ายอื่นๆ

1,106,400

รวมเงินจ่ายขาด

10,000,000

 

หมายเหตุ : หน่วยงานสามารถถัวจ่ายค่าใช้จ่ายได้ทุกกิจกรรม

 

        4. คุณสมบัติและเงื่อนไขของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเล และผู้ประกอบการโรงเพาะฟักลูกกุ้งทะเลที่เข้าร่วมโครงการ

             4.1 เกษตรผู้เลี้ยงกุ้งทะเล

                    4.1.1 คุณสมบัติ

                        (1) เป็นผู้เลี้ยงกุ้งทะเลที่จดแจ้งประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภทกิจการการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล (จสค.)

                        (2) ฟาร์มต้องได้รับการรับรองมาตรฐานฟาร์ม [ได้แก่ (1) มาตรฐานการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี (Good Aquaculture Practice: GAP) หรือ (2) มาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้ง โค้ด ออฟ คอนดัค (Code of Conduct: CoC) หรือ (3) มาตรฐานสินค้าเกษตรที่เกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานสินค้าเกษตร (มกษ.) จากกรมประมงหรือหน่วยรับรองเอกชนที่ได้รับการรับรองระบบงานจากสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.)] หรืออยู่ในระหว่างการต่ออายุการรับรองมาตรฐาน หรืออยู่ในระหว่างการยื่นขอการรับรองมาตรฐานที่ตรวจรับรองโดยกรมประมง หรือหน่วยรับรองเอกชนที่ได้รับการรับรองระบบงานจาก มกอช. หรือได้รับการรับรองมาตรฐานฟาร์มอื่นใดที่สากลยอมรับ เช่น Best Aquaculture Practices (BAP) หรือ Aquaculture Stewardship Council (ASC) เป็นต้น และไม่อยู่ระหว่างถูกพักใช้ใบรับรองมาตรฐานฟาร์ม

                         (3) เป็นผู้เลี้ยงกุ้งทะเลที่เข้าใช้งานระบบโปรแกรมประยุกต์การออกหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ (Application for Aquatic Animal Purchasing Document: APD ในกิจกรรมการเลี้ยงกุ้งทะเล

                         (4) เกษตรกรต้องเสนอรูปแบบการเลี้ยงกุ้งทะเลที่ประสบความสำเร็จสำหรับเป็นแนวทางการเลี้ยงกุ้งภายหลังจากได้รับการอนุมัติให้เข้าร่วมโครงการฯ

                         (5) เป็นเกษตรกรที่มีขนาดพื้นที่บ่อเลี้ยงกุ้งรวมทั้งหมดอยู่ระหว่าง 4 - 10 ไร่

                    4.1.2 เงื่อนไข

                         (1) เกษตรกรต้องยินยอมให้เจ้าหน้าที่กรมประมงเข้าไปตรวจสอบกิจกรรมในฟาร์ม

                         (2) สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโครงการฯ ได้

                         (3) หลักประกันการกู้ โดย

                               (3.1) ใช้หลักทรัพย์ค้ำประกันตามวงเงินกู้ หรือ

                               (3.2) ใช้หลักทรัพย์ร่วมกับใช้บุคคลค้ำประกัน หรือ   (3.3) ใช้บุคคลตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปค้ำประกันหนี้ โดยให้กู้ได้สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท/ราย และสามารถจับกลุ่มค้ำประกันเองได้

 

sme 720x100

 

                   4.1.3 แผนการคืนเงินของเกษตรกร

                         เกษตรกร 1 ราย สามารถเบิกเงินกู้ยืมในแต่ละรอบการผลิตได้ไม่เกินค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อลูกพันธุ์กุ้ง (ตามใบจองลูกพันธุ์กุ้ง) และการจัดซื้ออาหารกุ้งตามความต้องการใช้จริง โดยมีวงเงินกู้ได้สูงสุดรายละไม่เกิน 500,000 บาทต่อรอบการผลิต โดยสามารถยื่นกู้กับกรมประมงได้รายละไม่เกิน 3 รอบการผลิต ภายในระยะเวลา 2 ปี นับจากวันที่เริ่มทำสัญญาเงินกู้กับกรมประมง โดยมีเงื่อนไข คือ เกษตรกรต้องชำระหนี้เงินกู้ทั้งหมด (ปลอดดอกเบี้ย) ในแต่ละรอบการผลิต คืนกรมประมงให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับจากวันที่จับกุ้งจำหน่าย จึงได้รับสิทธิ์ในการขอรับเงินกู้ในรอบถัดไปได้ (1 รอบการผลิต ใช้ระยะเวลาการเลี้ยงประมาณ 3 - 4 เดือน)

             4.2 ผู้ประกอบการโรงเพาะฟักลูกกุ้งทะเล

                   มีคุณสมบัติ ดังนี้

                   4.2.1 เป็นผู้ประกอบการโรงเพาะฟักลูกกุ้งทะเล ที่จดแจ้งประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภทกิจการการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล (จสค.)

                   4.2.2 โรงเพาะฟักลูกกุ้งทะเล ต้องได้รับการรับรองมาตรฐานฟาร์ม (GAP หรือ CoC หรือ มกษ.) หรืออยู่ในระหว่างการต่ออายุการรับรองมาตรฐานที่ตรวจรับรองโดยกรมประมง หรือหน่วยรับรองเอกชนที่ได้รับการรับรองระบบงานจาก มกอช. หรือได้รับการรับรองมาตรฐานฟาร์มอื่นใดที่สากลยอมรับ เช่น BAP เป็นต้น และไม่อยู่ระหว่างถูกพักใช้ใบรับรองมาตรฐานฟาร์ม

                   4.2.3 เป็นผู้ประกอบการโรงเพาะฟักฯ ที่เข้าใช้งานระบบโปรแกรมประยุกต์การออกหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ (APD) ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา นับจากวันสมัคร

                   4.2.4 ต้องอยู่ในบัญชี White List Hatchery ของกรมประมง (คือ บัญชีรายชื่อผู้ประกอบการโรงเพาะฟักลูกกุ้งทะเลที่ผ่านการตรวจโรคลูกกุ้งทะเลจากกรมประมง)

                   4.2.5 สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโครงการฯ ได้

        5. ประมาณการต้นทุนและรายได้ของเกษตรกร 1 ราย

             เนื้อที่ 5 ไร่ โดยโครงการฯ สนับสนุนเงินกู้ยืมเป็นค่าอาหารและค่าลูกพันธุ์ ส่วนค่าเบ็ดเตล็ด (ค่าน้ำมัน ไฟฟ้า ยา สารเคมี แรงงานจับ ค่าปรับปรุงบ่อ) เป็นรายจ่ายที่เกษตรกรต้องจัดหาเอง

 

ปีที่

รุ่นที่

ต้นทุนค่าใช้จ่าย (บาท)

รายได้จาก

การขาย (บาท)

รายได้

หลังหักค่าใช้จ่าย

(บาท)

ค่าลูกพันธุ์

ค่าอาหาร

ค่าเบ็ดเตล็ด

รวมค่าใช้จ่าย

0

 

85,000.00

415,000.00

315,265.00

815,265.00

-

815,265.00

1

1

85,850.00

427,450.00

321,570.30

834,870.30

1,240,000.00

405,129.70

2

85,850.00

427,450.00

321,570.30

834,870.30

1,240,000.00

405,129.70

2

1

86,700.00

440,315.00

328,001.70

855,016.70

1,200,000.00

344,983.30

2

86,700.00

440,315.00

328,001.70

855,016.70

1,200,000.00

344,983.30

รวม

430,100.00

2,150,530.00

1,614,409.00

4,195,039.00

4,880,000.00

684,961.00

 

        6. การวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ (ทั้งโครงการ)

             กษ. แจ้งว่าโครงการมีความคุ้มค่า โดยได้เสนอผลการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการ ดังนี้

             6.1 มูลค่าปัจจุบันของผลตอบแทนสุทธิ (Net Present Value: NPV) เท่ากับ 490,410,537.79 บาท

             6.2 อัตราผลตอบแทนภายใน (Internal Rate of Return: IRR) เท่ากับ ร้อยละ 23.63

             6.3 อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน [Benefit-to-cost (B/C) ratio] เท่ากับ 1.13

        7. คณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร [ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีคำสั่งมอบหมายให้หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายอภัย สุทธิสังข์) เป็นประธานกรรมการ] ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2565 มีมติเห็นชอบโครงการฯ และให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติการจัดสรรเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรให้กรมประมง วงเงินกู้ยืม 500 ล้านบาท โดยจัดเก็บดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 0 ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 ปี (.. 2565 – 2567) และขออนุมัติเงินจ่ายขาด 10 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารโครงการเสริมสภาพคล่องเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเล ปี 2565 ระยะที่ของกรมประมง

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 16 สิงหาคม 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A8634

 Click Donate Support Web  

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!