WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ผลการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (JTC) ไทย-มองโกเลีย ครั้งที่ 1 รวมทั้งดำเนินกิจกรรมส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง

GOV 28

ผลการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (JTC) ไทย-มองโกเลีย ครั้งที่ 1 รวมทั้งดำเนินกิจกรรมส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง

          คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (JTC) ไทย-มองโกเลีย ครั้งที่ 1 รวมทั้งการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง ในวันที่ 5 - 6 กันยายน 2565 พร้อมทั้งมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามผลการประชุมฯ เพื่อให้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับมองโกเลียเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งดำเนินกิจกรรมส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ

          สาระสำคัญของเรื่อง

          พณ. รายงานว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมองโกเลียได้เป็นประธานร่วมในการประชุมฯ เมื่อวันที่ 5 - 6 กันยายน 2565 กรุงอูลานบาตาร์ ประเทศมองโกเลีย สรุปได้ ดังนี้

          1. สรุปผลการประชุมฯ

                 1.1 ภาพรวมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การค้าระหว่างประเทศไทยและมองโกเลียมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องจาก 35.58 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2560 เป็น 53.94 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2564 เพิ่มขึ้นร้อยละ 51.60 ซึ่งทั้งสองประเทศได้ตั้งเป้าหมายการค้าระหว่างกันที่ 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2570 โดยขณะนี้มองโกเลียดำเนินนโยบายการพัฒนาและฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และสถานการณ์การเมืองระหว่างประเทศ โดยเฉพาะการส่งเสริมการส่งออกสินแร่และวัตถุดิบธรรมชาติ ซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของมองโกเลีย และการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น

                 1.2 การส่งเสริมการค้าและการลงทุน ไทยยินดีสนับสนุนและส่งเสริมให้มองโกเลียส่งออกสินค้ามายังไทยและได้เชิญชวนผู้ประกอบการมองโกเลียเข้าร่วมงานแสดงสินค้านานาชาติที่ พณ. จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เช่น งาน THAIFEX-ANUGA Asia (สินค้าอาหาร) และงาน Bangkok Gems and Jewelry Fair (สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ) อีกทั้งได้เสนอให้มีการจัดกิจกรรมจับคู่นักลงทุนระหว่างไทยกับมองโกเลียในสาขาที่ทั้งสองฝ่ายมีศักยภาพร่วมกัน นอกจากนี้ ไทยได้ขอให้มองโกเลียอำนวยความสะดวกให้แก่นักลงทุนที่เข้าไปดำเนินธุรกิจในมองโกเลียด้วย

                 1.3 การจัดทำความตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน ไทยขอให้มองโกเลียเร่งพิจารณาร่างความตกลงว่าด้วยการส่งเสริมฯ กับมองโกเลียเพื่อส่งเสริมการลงทุนระหว่างกันเพิ่มขึ้น

                 1.4 การทบทวนอนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้ ไทยขอให้มองโกเลียเร่งพิจารณาช่วงเวลาในการทบทวนร่างอนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนฯ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลและสอดคล้องกับกฎระเบียบภายใต้ความตกลงที่ทั้งสองฝ่ายเป็นภาคีสมาชิก โดยทั้งสองฝ่ายพร้อมทบทวนร่างอนุสัญญาดังกล่าวในช่วงต้นปี 2566

                 1.5 ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องในการดำเนินความร่วมมือด้านต่างๆ ดังนี้

 

ด้าน

ความร่วมมือ

(1) เกษตร

มองโกเลียมีความประสงค์ ดังนี้

- ส่งออกสินค้าปศุสัตว์ เนื้อสัตว์ดิบ และผลิตภัณฑ์นมมายังไทย ซึ่งสินค้าดังกล่าวจัดอยู่ในสินค้าควบคุมตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ .. 2558 โดยมองโกเลียจะต้องส่งหนังสือให้กับกรมปศุสัตว์ของไทยพิจารณา

- จัดทำบันทึกความเข้าใจ (MoU) ว่าด้วยความร่วมมือด้านการเกษตรระหว่างไทยกับมองโกเลีย ซึ่งไทยยินดีสนับสนุนเนื่องจากเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญระหว่างกัน

(2) การท่องเที่ยว

ทั้งสองฝ่ายสนับสนุนและผลักดันการท่องเที่ยวระหว่างกัน โดยมองโกเลียต้องการให้ไทยไปท่องเที่ยวในมองโกเลียเพิ่มขึ้นในช่วงเดือนมิถุนายน - กันยายน ส่วนมองโกเลียต้องการมาท่องเที่ยวในไทยช่วงเดือนตุลาคม - มีนาคม โดยเฉพาะการท่องเที่ยวทางทะเลและชายหาด

(3) การขนส่งและโลจิสติกส์

สายการบินมองโกเลียน แอร์ไลน์ได้ยื่นเอกสารขอเปิดเส้นทางการบินตรงระหว่างกรุงอูลานบาตาร์ - ภูเก็ตเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ซึ่งไทยอยู่ระหว่างพิจารณาและพร้อมให้การสนับสนุนเรื่องดังกล่าว รวมทั้งพร้อมที่จะส่งเสริมการขนส่งสินค้าทางอากาศระหว่างกันผ่านเส้นทางดังกล่าวด้วย

(4) ความร่วมมือทางวิชาการ

ไทยยินดีให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนทางวิชาการแก่มองโกเลีย เช่น การจัดฝึกอบรมบุคลากรด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ ด้านสาธารณสุข และด้านการเกษตร

 

                  1.6 ความร่วมมือด้านอื่นๆ มองโกเลียเสนอให้ไทยจัดตั้งสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ กรุงอูลานบาตาร์ เพื่อเป็นช่องทางส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่างกัน ซึ่งไทยแจ้งว่าอาจพิจารณาแต่งตั้งที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ด้านการค้าระหว่างประเทศของ พณ. ประจำกรุงอูลานบาตาร์

 

EXIM One 720x90 C J

TU720x100

 

          2. การดำเนินกิจกรรมส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ไทยได้จัดกิจกรรมสร้างเครือข่ายธุรกิจระหว่างนักธุรกิจมองโกเลียกับภาครัฐและเอกชนไทย รวมถึงนักธุรกิจไทยที่ลงทุนในมองโกเลียเพื่อหารือเกี่ยวกับการขยายการค้าและการลงทุนระหว่างกัน อีกทั้งได้สำรวจและหารือกับผู้บริหารห้างค้าปลีก 2 แห่ง ซึ่งให้ความสนใจในการนำเข้าสินค้าไทยเพิ่มเติม เนื่องจากเห็นว่าสินค้าไทยมีศักยภาพและสัดส่วนการจำหน่ายสินค้าไทยในมองโกเลียยังมีจำนวนน้อย

          3. การติดตามการดำเนินการตามผลการประชุมฯ สรุปได้ ดังนี้

 

ประเด็น

 

ผลการประชุม/ประเด็นที่ต้องติดตาม

 

หน่วยงานรับผิดชอบ

(1) ด้านการส่งเสริมการค้าและการลงทุน

(1.1) การส่งเสริมการค้าและการลงทุน

 

เช่น

- เป้าหมายมูลค่าการค้าที่ 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเป้าหมายมูลค่าการลงทุนที่ 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2570 

- การส่งเสริมการค้าของทั้งสองฝ่ายและอำนวยความสะดวกในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการค้า

- กิจกรรมจับคู่นักลงทุนระหว่างไทยกับมองโกเลีย ในสาขาที่ทั้งสองฝ่ายมีศักยภาพร่วมกัน

 

- พณ

- สำนักงาน

คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.)

(1.2) ความตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน

 

การจัดทำความตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนระหว่างไทยกับมองโกเลีย

 

กระทรวงการต่างประเทศ (กต.)

(1.3) อนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงภาษีรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้

 

การกำหนดช่วงเวลาและการติดตามการทบทวนร่างอนุสัญญาฯ ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ระหว่างไทยกับมองโกเลีย

 

กระทรวงการคลัง

(2) ด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจ

(2.1) ด้านการเกษตร

 

- การอำนวยความสะดวกในการนำเข้าสินค้าปศุสัตว์ (เนื้อสัตว์ดิบ หนังสัตว์ดิบ และผลิตภัณฑ์นม) และพืชตระกูลเบอร์รี่ของมองโกเลีย

- การจัดทำ MoU ว่าด้วยความร่วมมือด้านเกษตรระหว่างไทยกับมองโกเลีย

 

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.)

(2.2) ด้านการท่องเที่ยว

 

สนับสนุนและผลักดันการท่องเที่ยวระหว่างไทยกับมองโกเลีย เช่น จัดกิจกรรมให้ผู้ประกอบการนำเที่ยวมองโกเลียเรียนรู้การท่องเที่ยวของไทย

 

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

(2.3) ด้านการขนส่งและโลจิสติกส์

 

การอนุญาตเส้นทางการบินตรงระหว่างกรุงอูลานบาตาร์-ภูเก็ตเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและการขนส่งสินค้าทางอากาศระหว่างไทย กับมองโกเลีย

 

กระทรวงคมนาคม (คค.)

(2.4) ความร่วมมือทางวิชาการ

 

การพิจารณาความเป็นไปได้ในการจัดฝึกอบรมบุคลากรในด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ สาธารณสุข และการเกษตร

 

กต.

 

          4. พณ. เห็นว่า มองโกเลียเป็นประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ เช่น ถ่านหิน ทองแดง ทองคำ เงิน และแร่เหล็ก แต่ไม่มีทางออกทะเลและมีพื้นที่เกษตรกรรมเพียงร้อยละ 1 ของพื้นที่ทั้งหมด ทำให้มองโกเลียต้องพึ่งพาการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคและมีนโยบายเปิดรับการลงทุนจากต่างประเทศ ทั้งนี้ การประชุมฯ จะช่วยกำหนดแนวทางในการขยายการค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับมองโกเลีย รวมทั้งการดำเนินความร่วมมือทางเศรษฐกิจในสาขาที่ทั้งสองฝ่ายมีศักยภาพเพื่อให้มูลค่าการค้าสองฝ่ายขยายตัวได้ 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมูลค่าการลงทุนขยายตัวได้ 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2570

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 1 พฤศจิกายน 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A11112

Click Donate Support Web  

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!