WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ขอความเห็นชอบต่อการแก้ไขเพิ่มเติมอนุสัญญาว่าด้วยองค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (Convention on the International Maritime Organization : IMO Convention)

GOV 11

ขอความเห็นชอบต่อการแก้ไขเพิ่มเติมอนุสัญญาว่าด้วยองค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (Convention on the International Maritime Organization : IMO Convention)

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการแก้ไขเพิ่มเติมอนุสัญญาว่าด้วยองค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (Convention on the International Maritime Organization : IMO Convention) (อนุสัญญาฯ) รวมทั้งมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) จัดทำตราสารยอมรับการแก้ไขเพิ่มเติมอนุสัญญาดังกล่าวตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ

          สาระสำคัญของเรื่อง

          1. เรื่องนี้เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมอนุสัญญาว่าด้วยองค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (Convention on the International Maritime Organization: IMO Convention) มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบทเกี่ยวกับองค์ประกอบ วาระการดำรงตำแหน่ง องค์ประชุมของคณะมนตรี และภาษาที่ใช้ในการจัดทำอนุสัญญาดังกล่าว ซึ่งที่ประชุมสมัชชาองค์การทางทะเลระหว่างประเทศได้มีมติเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2564 รับรองการแก้ไขเพิ่มติมอนุสัญญาดังกล่าวแล้ว โดยจะมีผลบังคับใช้ภายใน 12 เดือนกับสมาชิกทั้งหมด หลังจากที่สมาชิกขององค์การทางทะเลระหว่างประเทศไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ยอมรับการแก้ไขเพิ่มเติมอนุสัญญาดังกล่าวด้วยการนำส่งตราสารยอมรับต่อเลขาธิการองค์การทางทะเลระหว่างประเทศ โดยประเทศไทยในฐานะรัฐภาคีอนุสัญญาฯ จะต้องส่งตราสารยอมรับการแก้ไขซึ่งเป็นการแสดงเจตนาให้การแก้ไขเพิ่มเติมมีผลผูกพันรัฐภาคีตามเนื้อหาที่แก้ไข

          2. ประเทศไทยได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (International Maritime Organization : IMO) เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2561 (.. 1973) ซึ่งเป็นทบวงการชำนัญพิเศษ1 (Specialized agency) แห่งสหประชาชาติ ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2502 (.. 1959) มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกในการกำหนดมาตรฐานและแนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในการเดินเรือและการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมทางทะเล ตลอดจนเป็นกลไกเพื่อให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่ประเทศสมาชิก ปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน 175 ประเทศ และสมาชิกสมทบ ได้แก่ หมู่เกาะฟาโร มาเก๊า และฮ่องกง มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร

          ทั้งนี้ ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญา IMO ซึ่งเปรียบเสมือนอนุสัญญาที่กำหนดโครงสร้างและกรอบการทำงานของ IMO เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2561 โดยโครงสร้างการดำเนินงานของ IMO ประกอบด้วย สมัชชา (Assembly) คณะมนตรี (Council) คณะกรรมการ และสำนักงานเลขาธิการ IMO 

 

PTG 720x100TU720x100

 

          3. ในการประชุมคณะมนตรีสมัยวิสามัญ ครั้งที่ 33 เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2564 (.. 2021) ได้มีการพิจารณาและรับรองร่างแก้ไขเพิ่มเติมข้อบทที่ 16, 17, 18, 19 (b) และ 81 ของอนุสัญญา IMO และร่างข้อมติสมัชชาที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการแก้ไขเพิ่มเติมถ้อยคำตามความเห็นของที่ประชุม โดยร่างแก้ไขเพิ่มเติมอนุสัญญา IMO มีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้

 

ประเด็น

รายละเอียด

 

การแก้ไข

 

ข้อบท

ถ้อยคำตามร่างฉบับเดิม

 

ถ้อยคำตามร่างฉบับแก้ไข

16

คณะมนตรีประกอบไปด้วยทั้งหมด 40 ประเทศสมาชิกที่ได้รับเลือกโดยสมัชชา

 

คณะมนตรีประกอบไปด้วยทั้งหมด 52 ประเทศสมาชิกที่ได้รับเลือกโดยสมัชชา

17

(a) ประเทศที่มีผลประโยชน์มากที่สุดในการให้บริการการขนส่งระหว่างประเทศ จำนวน 10 ประเทศ

 

(a) ประเทศที่มีผลประโยชน์มากที่สุดในการให้บริการการขนส่งระหว่างประเทศ จำนวน 12 ประเทศ

 

(b) ประเทศที่มีผลประโยชน์ด้านการค้าทางทะเลระหว่างประเทศมากที่สุด จำนวน 10 ประเทศ

 

(b) ประเทศที่มีผลประโยชน์ด้านการค้าทางทะเลระหว่างประเทศมากที่สุด จำนวน 12 ประเทศ

 

(c) ประเทศที่ไม่ได้รับเลือกตั้งภายใต้ข้อ (a) หรือ (b) ข้างต้น ซึ่งมีผลประโยชน์เป็นพิเศษในด้านการขนส่งทางทะเลหรือการเดินเรือและเป็นตัวแทนจากภูมิภาคต่างๆ ของโลกในคณะมนตรี จำนวน 20 ประเทศ

 

(c) ประเทศที่ไม่ได้รับเลือกตั้งภายใต้ข้อ (a) หรือ (b) ข้างต้น ซึ่งมีผลประโยชน์เป็นพิเศษในด้านการขนส่งทางทะเลหรือการเดินเรือและเป็นตัวแทนจากภูมิภาคต่างๆ ของโลกในคณะมนตรี จำนวน 28 ประเทศ

18

สมาชิกคณะมนตรีตามข้อบทที่ 16 จะดำรงตำแหน่งไปจนสิ้นสุดวาระการดำรงตำแหน่งปกติของสมัชชาโดยสมาชิกสามารถได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่อเนื่องได้

 

สมาชิกคณะมนตรีตามข้อบทที่ 16 จะดำรงตำแหน่งไปจนสิ้นสุดวาระตามวาระการดำรงตำแหน่งปกติของสมัชชา 2 วาระ ต่อเนื่องกันโดยสมาชิกสามารถได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่อเนื่องได้

19(b)

องค์ประชุมของคณะมนตรีประกอบด้วยสมาชิกของคณะมนตรี จำนวน 26 ประเทศสมาชิก

 

องค์ประชุมของคณะมนตรีประกอบด้วยสมาชิกของคณะมนตรี จำนวน 34 ประเทศสมาชิก

81

ภาษาที่ใช้ในการจัดทำอนุสัญญาฯ เป็นตัวบทภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส และสเปน มีความถูกต้องเท่าเทียมกัน

 

เพิ่มเติมภาษาที่ใช้ในการจัดทำอนุสัญญาฯ เป็นตัวบทภาษาอาหรับ ภาษาจีน ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเชีย และภาษาสเปน มีความถูกต้องเท่าเทียมกัน

 

การมีผลใช้บังคับ

ภายใน 12 เดือน หลังจากที่ภาคือนุสัญญาไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ยอมรับการแก้ไขด้วยการนำส่งตราสารรับรองต่อเลขาธิการ IMO เพื่อแสดงการยอมรับการแก้ไขเพิ่มเติมอนุสัญญาฯ

ประโยชน์ที่ได้รับ

- การเพิ่มจำนวนประเทศสมาชิกคณะมนตรี IMO โดยเฉพาะกลุ่ม C ทำให้ประเทศไทยมีโอกาสได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกคณะมนตรี IMO มากขึ้น อันจะเป็นการขับเคลื่อนบทบาททางทะเลของไทยในเวทีระหว่างประเทศ

- การขยายเวลาการดำรงตำแหน่งของคณะมนตรีจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยโดยเป็นโอกาสในการขับเคลื่อนบทบาททางทะเลในเวทีระหว่างประเทศของไทยอย่างต่อเนื่องมากขึ้นในฐานะสมาชิกคณะมนตรีจากเดิมต้องดำเนินการทุก 2 ปี เป็นดำเนินการทุก 4 ปี ซึ่งจะเป็นการลดภาระงบประมาณที่ต้องใช้คราวละ 3 ล้านบาทโดยประมาณ ตลอดจนภาระงานและทรัพยากรบุคคลของฝ่ายไทยในการจัดกิจกรรมเพื่อรณรงค์หาเสียง

- การจัดทำอนุสัญญาว่าด้วยองค์การทางทะเลระหว่างประเทศเป็น 6 ภาษา จะเป็นโอกาสในการทำความเข้าใจอนุสัญญา IMO และการมีส่วนร่วมของสมาชิกในกระบวนการการตัดสินใจและการพิจารณาประเด็นต่างๆ ของ IMO มากยิ่งขึ้น รวมไปถึงส่งเสริมคุณลักษณะความเป็นองค์การระหว่างประเทศของ IMO อีกด้วย

 

          3. คณะผู้แทนไทย (คค. กรมเจ้าท่า การท่าเรือแห่งประเทศไทย กต. และสถานเอกอัครราชทูต กรุงลอนดอน) ซึ่งเป็นสมาชิกคณะมนตรี IMO ในกลุ่ม C ได้เข้าร่วมการประชุมสมัชชาสมัยสามัญ ครั้งที่ 32 ระหว่างวันที่ 6 - 15 ธันวาคม 2564 (.. 2021) โดยที่ประชุมดังกล่าวได้มีการพิจารณาการแก้ไขเพิ่มเติมอนุสัญญา IMO ในข้อบทที่ 16, 17, 18, 19 (b) และ 81 ซึ่งคณะผู้แทนไทยไม่มีข้อขัดข้องเนื่องจากการแก้ไขดังกล่าวจะเป็นประโยชน์แก่ประเทศไทยที่เป็นสมาชิกคณะมนตรีประเภท C และที่ประชุมได้รับรองการแก้ไขอนุสัญญา IMO ตามข้อมติสมัชชา IMO ที่ A. 1152 (32) โดยรับรองเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2564 (.. 2021)

          4. คค. (กรมเจ้าท่า) ได้มีหนังสือถึง กต. เพื่อสอบถามความเห็นในการยอมรับการแก้ไขเพิ่มเติมอนุสัญญาฯ ซึ่ง กต. (กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ) พิจารณาแล้วไม่มีข้อขัดข้องต่อสารัตถะและถ้อยคำโดยรวมของการแก้ไขเพิ่มเติมอนุสัญญาฯ

___________________

1ทบวงการชำนัญพิเศษ หมายถึง องค์การปฏิบัติงานเฉพาะสาขา ได้รับการจัดตั้งโดยความตกลงระหว่างประเทศ และมีความสัมพันธ์กับสหประชาชาติตามความตกลงพิเศษ เช่น องค์การการบินเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) องค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (IMO) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) องค์การอนามัยโลก (WHO) องค์การท่องเที่ยวโลก (UNWTO) และองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และนวัตกรรมแห่งสหประชาชาติ (NUESCO) 

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 1 พฤศจิกายน 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A11113

Click Donate Support Web  

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!