WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

รายงานผลการเดินทางเยือนราชอาณาจักรของซาอุดีอาระเบีย ของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

GOV 27

รายงานผลการเดินทางเยือนราชอาณาจักรของซาอุดีอาระเบีย ของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

          คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอผลการเดินทางเยือนราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และมอบหมายให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามผลการเดินทางเยือนฯ ต่อไป

          สาระสำคัญของเรื่อง

          1. พณ. รายงานว่า รองนายกรัฐมนตรี (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารระดับสูง พณ. และคณะผู้แทนภาคเอกชนไทยเดินทางเยือนซาอุดีอาระเบีย เมื่อวันที่ 27 - 31 สิงหาคม 2565 เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลในการเร่งรัดการส่งออกสินค้าของไทยให้เห็นผลเป็นรูปธรรม รวมถึงเพื่อกระชับและสร้างเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจและความร่วมมือด้านการค้าระหว่างกันโดยรองนายกรัฐมนตรี (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพณิชย์ได้พบหารือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนของซาอุดีอาระเบีย จำนวน 4 แห่ง รวมถึงได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการค้าไทยกับซาอุดีอาระเบีย และได้สำรวจสินค้าไทยในซาอุดีอาระเบีย ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

 

ประเด็น

 

ผลการหารือ

1) การหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างๆ ของซาอุดีอาระเบีย (ได้แก่ กระทรวงสื่อสารมวลชน กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการลงทุน กระทรวงอุตสาหกรรมและทรัพยากรแร่ธาตุ กระทรวงแรงงานและการพัฒนาสังคม และกระทรวงการท่องเที่ยว)

     (1) การจัดทำเขตการค้าเสรี (Free Trade Area: FTA) กับกลุ่มประเทศความร่วมมือแห่งอ่าวอาหรับ (Gulf Cooperation Council: GCC)

 

ไทยขอรับการสนับสนุนจากซาอุดีอาระเบียในการจัดทำ FTA กับกลุ่ม GCC ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์แห่งซาอุดีอาระเบียยินดีที่จะให้การสนับสนุน และจะช่วยประสานงานกับประเทศสมาชิกเพื่อผลักดันให้เกิดการจัดทำ FTA ไทย-GCC

     (2) การจัดตั้งคณะกรรมการร่วมทางการค้าไทย-ซาอุดีอาระเบีย (Joint Trade Committee: JTC)

 

ไทยเสนอการจัดตั้ง JTC ไทย-ซาอุดีอาระเบีย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์แห่งซาอุดีอาระเบียตอบรับข้อเสนอดังกล่าวและได้สั่งการให้ฝ่ายซาอุดีอาระเบียเริ่มหารือกับกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศโดยเร็วเพื่อเร่งจัดทำบันทึกความร่วมมือในการจัดตั้ง JTC ไทย-ซาอุดีอาระเบีย โดยคาดว่าการจัดตั้ง JTC ไทย-ซาอุดีอาระเบีย จะแล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2565

     (3) การส่งเสริมการค้าระหว่างไทย-ซาอุดีอาระเบียภายใต้ Saudi Vision 2030

 

- ไทยยินดีให้การสนับสนุนซาอุดีอาระเบียทั้งด้านการค้าและการลงทุน โดยเฉพาะการให้บริการก่อสร้างและวัสดุก่อสร้าง เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เพื่อให้ซาอุดีอาระเบียสามารถบรรลุเป้าหมายพัฒนาประเทศภายใต้ Saudi Vision 2030

- ไทยขอให้ฝ่ายซาอุดีอาระเบียเป็นแหล่งความมั่นคงด้านพลังงานให้กับไทย และไทยจะเป็นแหล่งความมั่นคงด้านอาหารให้กับซาอุดีอาระเบีย

     (4) การขอวีซ่าให้กับภาคเอกชนไทย

 

ปัจจุบันเอกชนไทยจำเป็นต้องใช้หนังสือเชิญจากบริษัทคู่ค้าของซาอุดีอาระเบียเพื่อเป็นหลักฐานประกอบการพิจารณาวีซ่า ส่งผลให้การเดินทางไปเจรจาธุรกิจที่ซาอุดีอาระเบียมีความล่าช้า ดังนั้น ไทยได้เสนอให้ซาอุดีอาระเบียพิจารณาวีซ่าของนักธุรกิจไทยจากหนังสือรับรองของหอการค้าไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์แห่งซาอุดีอาระเบียได้สั่งการให้ฝ่ายซาอุดีอาระเบียรีบดำเนินการตามที่ฝ่ายไทยเสนอโดยเร็ว

2) การหารือกับประธานองค์การอาหารและยาซาอุดีอาระเบีย (Saudi Food and Drug Authority: SFDA)

     (1) การแก้ไขปัญหาการส่งออกไก่แปรรูปและการทำความเข้าใจกับโรงงานไทย

 

ปัจจุบันโรงงานไทยที่ผ่านการรับรองจาก SFDA จำนวน 11 แห่ง เข้าใจว่า สามารถส่งออกได้เพียงแค่ไก่ดิบเท่านั้น ซึ่ง SFDA ชี้แจงว่าอนุญาตให้โรงงานไทยดังกล่าวสามารถส่งออกไก่แปรรูปและไก่ปรุงสุกมายังซาอุดีอาระเบียได้แล้ว ซึ่งไทยจะประสานกับโรงงานไทยดังกล่าวต่อไป

     (2) การเร่งรัดการขึ้นทะเบียนโรงงานไก่เพิ่มเติมอีก 28 โรงงาน

 

กรมปศุสัตว์อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลจากโรงงานที่ขอขึ้นทะเบียนตามที่ SFDA ขอเพิ่มเติม โดยไทยจะขอให้กรมปศุสัตว์เร่งรวบรวมและจัดส่งข้อมูลให้กับ SFDA และขอให้ SFDA เร่งตรวจสอบโรงงานหลังจากที่ได้รับข้อมูลจากกรมปศุสัตว์แล้ว

     (3) การสนับสนุนให้ซาอุดีอาระเบียนำเข้าสินค้าเนื้อสัตว์ เช่น โค และผลิตภัณฑ์เนื้อแพะจากไทย

 

SFDA พร้อมที่จะอำนวยความสะดวกให้กับฝ่ายไทย โดยจะมีการหารือร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชนของไทยโดยเร็ว นอกจากนี้ ไทยมีแผนเชิญนักธุรกิจซาอุดีอาระเบียร่วมลงทุนโรงงานผลิตเนื้อสัตว์ที่ไทยเพื่อให้การส่งออกเนื้อสัตว์ไปซาอุดีอาระเบีย มีความสะดวกมากยิ่งขึ้น

     (4) ความร่วมมือทางวิชาการในการพัฒนาสินค้าฮาลาล

 

SFDA แจ้งว่า Islamic University of Madinah ประสงค์ร่วมมือทางวิชาการกับไทยเพื่อพัฒนาสินค้าฮาลาลของไทยให้ตรมาตรฐานของซาอุดีอาระเบีย โดยฝ่ายไทยจะประสานศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการดำเนินการต่อไป

3) การหารือกับประธานสภาหอการค้าซาอุดีอาระเบีย พร้อมผู้แทนภาคเอกชนไทย ซาอุดีอาระเบียกำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาประเทศตาม Saudi Vision 2030 ซาอุดีอาระเบียจึงต้องการนักธุรกิจจากทั่วโลกเข้ามาลงทุน และได้เชิญนักธุรกิจไทยให้เข้าร่วมการลงทุนดังกล่าว ในขณะเดียวกัน ฝ่ายไทยได้เชิญนักธุรกิจจากซาอุดีอาระเบียเข้ามาลงทุนในไทยเช่นเดียวกัน

4) การหารือกับประธานคณะกรรมการบริหารบริษัท Saudi Basic Industries Corporation (SABIC) ซาอุดีอาระเบียประสงค์ให้ความช่วยเหลือไทยไม่ให้ขาดแคลนปุ๋ย ซึ่งบริษัท SABIC เป็นบริษัทผลิตปุ๋ยของซาอุดีอาระเบียยินดีช่วยเหลือในประเด็นดังกล่าว โดยรัฐบาลซาอุดีอาระเบียได้ให้โควตาบริษัท SABIC ส่งออกปุ๋ยมายังไทยเพิ่มขึ้น และอนุญาตให้บริษัท MA’ADEN (มาเดน) เจรจาขายปุ๋ยกับไทยด้วย

 

EXIM One 720x90 C J

BANPU 720x100

 

          2. กิจกรรมส่งเสริมการค้าไทยกับซาอุดีอาระเบีย

                 2.1 กิจกรรมส่งเสริมการขายสินค้าไทย Manuel Market สาขา Park Avenue กรุงริยาด โดยภายในงานได้มีการจัดแสดงสินค้าไทย จำนวน 30 รายการ เช่น อาหารทะเลกระป๋อง ผลไม้กระป๋อง และข้าว ซึ่งจะผลักดันให้ Manuel Market นำเข้าสินค้าไทยเพิ่มขึ้นจาก 22 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2564 เป็น 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2565

                 2.2 การลงนามความร่วมมือและการเจรจาธุรกิจระหว่างนักธุรกิจไทยกับนักธุรกิจซาอุดีอาระเบีย ดังนี้

                          (1) การลงนามความตกลงจัดตั้งสภาธุรกิจไทย-ซาอุดีอาระเบียระหว่างคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน กับสภาหอการค้าซาอุดีอาระเบีย เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนให้เกิดมูลค่าการค้าระหว่างกัน 10,000 ล้านบาท ภายใน 1 ปี

                          (2) การลงนามความร่วมมือระหว่างนักธุรกิจไทยกับนักธุรกิจซาอุดีอาระเบีย จำนวน 10 คู่ จากหลากหลายกลุ่มสินค้า เช่น อาหาร อาหารสัตว์เลี้ยง และชิ้นส่วนยานยนต์ ทำให้มีมูลค่ารวมกันประมาณ 1,000 ล้านบาท

                          (3) การเจรจาธุรกิจระหว่างนักธุรกิจไทยและนักธุรกิจซาอุดีอาระเบียทำให้สร้างมูลค่าการสั่งซื้อทันทีประมาณ 440 ล้านบาท และมีมูลค่าการสั่งซื้อ ภายใน 1 ปี ประมาณ 2,070 ล้านบาท สำหรับสินค้าที่ได้รับความสนใจ เช่น อาหารกระป๋อง เครื่องดื่ม และข้าว

                 2.3 กิจกรรมอื่นๆ ได้แก่ การมอบใบประกาศนียบัตรให้กับที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ด้านการค้าระหว่างประเทศประจำซาอุดีอาระเบีย และ พณ. ได้แต่งตั้งให้ ดร. ยูเซฟ อับดุลลาห์ อัลฮูมูดี เป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ด้านการค้าระหว่างประเทศประจำซาอุดีอาระเบียเพื่อเป็นตัวแทนของไทยในการดูแลและปกป้องผลประโยชน์ทางการค้าของไทย

          3. การสำรวจสินค้าไทยในซาอุดีอาระเบีย รองนายกรัฐมนตรี (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) และรัฐมนตรีว่าการกระทวงพาณิชย์ ได้สำรวจสินค้าไทยใน Lulu Hypermarket ซึ่งเป็นไฮเปอร์มาร์เก็ตที่วางจำหน่ายสินค้าไทยมากที่สุดในซาอุดีอาระเบีย โดยสินค้าไทยส่วนใหญ่เป็นสินค้าอาหาร เช่น ข้าว ผัก และผลไม้ อีกทั้งได้หารือกับผู้อำนวยการของ Lulu Hypermarket เพื่อผลักดันให้มีการวางจำหน่ายสินค้าไทยเพิ่มขึ้นและร่วมมือกับฝ่ายไทยจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายระหว่างกันต่อไปในอนาคต

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 1 พฤศจิกายน 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A11115

Click Donate Support Web  

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

QIC 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!