WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

โครงการสินเชื่อแก้หนี้เพิ่มทุน

GOV 14

โครงการสินเชื่อแก้หนี้เพิ่มทุน

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบโครงการสินเชื่อแก้หนี้เพิ่มทุน และอนุมัติงบประมาณวงเงินรวม 600 ล้านบาท จากงบประมาณรายจ่ายประจำปี เพื่อดำเนินโครงการสินเชื่อแก้หนี้เพิ่มทุน พร้อมทั้งมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ

          สาระสำคัญของเรื่อง 

          กค. รายงานว่า

          1. หนี้ครัวเรือนเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างของเศรษฐกิจไทยมาตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา โดยเฉพาะในช่วงที่เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบเป็นวงกว้างจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (โรคโควิด 19) แม้ว่าในปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 จะคลี่คลายลงส่งผลให้เศรษฐกิจไทยเริ่มกลับมาทยอยฟื้นตัว แต่การฟื้นตัวยังคงเป็นไปแบบไม่ทั่วถึง โดยเฉพาะในกลุ่มเปราะบางที่ยังฟื้นตัวได้ไม่เต็มที่ ประกอบกับปัญหาค่าครองชีพและอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ดังนั้น เพื่อให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจเป็นไปอย่างยั่งยืน รัฐบาลจำเป็นต้องเร่งแก้ไขปัญหาหนี้สินครัวเรือน เพื่อลดภาระหนี้สินและดูแลให้ประชาชนมีชีวิตที่มีคุณภาพ ด้วยการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมในกลุ่มของลูกหนี้ที่เป็นประชาชนรายย่อย กค. และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จึงได้ร่วมกันจัดงานมหกรรมร่วมใจแก้หนี้ (กค. แจ้งว่า จะจัดงานมหกรรมครั้งแรกระหว่างวันที่ 4 - 6 พฤศจิกายน 2565 ที่กรุงเทพมหานคร) เพื่อช่วยเหลือให้ประชาชนผู้เข้าร่วมงานมหกรรมร่วมใจแก้หนี้มีสภาพคล่องทางการเงินที่เพียงพอในการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพต่อไป โดยผ่อนปรนภาระหนี้สินให้สอดคล้องกับรายได้ รวมถึงเพิ่มทุนใหม่เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนระยะสั้นและเป็นแหล่งเงินทุนเพื่อสร้างรายได้เพิ่ม กค. จึงขอเสนอโครงการสินเชื่อแก้หนี้เพิ่มทุน โดยมีกรอบหลักเกณฑ์และเงื่อนไขโครงการสรุปได้ ดังนี้

 

หลักเกณฑ์และเงื่อนไข

 

รายละเอียด

1. วัตถุประสงค์

 

ประชาชนผู้เข้าร่วมงานมหกรรมร่วมใจแก้หนี้ได้รับความช่วยเหลือให้มีสภาพคล่องทางการเงินในการดำรงชีวิตและลงทุนประกอบอาชีพได้ไม่น้อยกว่า 100,000 ราย

2. วงเงินรวม

 

2,000 ล้านบาท โดยธนาคารออมสินจะจัดสรรวงเงินการให้ความช่วยเหลือให้เหมาะสมกับระยะเวลางานมหกรรมร่วมใจแก้หนี้

3. วงเงินสินเชื่อ/ราย

 

ไม่เกินรายละ 20,000 บาท

4. กลุ่มเป้าหมาย

 

4.1 เป็นผู้มีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้

     4.1.1 ผู้มีรายได้ประจำ

     4.1.2 ผู้ประกอบอาชีพอิสระ เช่น ผู้ประกอบการรายย่อย พ่อค้า แม่ค้า หาบเร่แผงลอย เป็นต้น

4.2 เป็นผู้มีสัญชาติไทย อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป

4.3 เป็นผู้ที่เข้าร่วมงานมหกรรมร่วมใจแก้หนี้

4.4 ต้องไม่เป็นลูกจ้าง พนักงาน ผู้บริหาร หรือกรรมการของธนาคารออมสิน

5. ระยะเวลาการยื่นขอสินเชื่อ

 

ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบถึงวันที่ 31 มกราคม 2566 หรือจนกว่าจะครบวงเงินโครงการ

6. ระยะเวลาการกู้ยืม

 

6.1 ปลอดชำระหนี้เงินต้น 6 งวดแรก ชำระดอกเบี้ยปกติ หรือเป็นไปตามเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด

6.2 ระยะเวลาชำระคืนเงินงวดสูงสุดไม่เกิน 2 ปี

7. อัตราดอกเบี้ย

 

อัตราดอกเบี้ยคงที่ ร้อยละ 0.35 ต่อเดือน (Flat Rate)

8. หลักประกัน

 

ไม่มีหลักประกัน (Clean Loan)

9. ช่องทางการให้บริการ

 

ให้บริการผ่านช่องทางที่ธนาคารกำหนด

10. เงื่อนไขการพิจารณาสินเชื่อ

 

พิจารณาการให้สินเชื่อที่ผ่อนปรนกว่าสินเชื่อปกติของธนาคารและเป็นไปตามเงื่อนไขที่ธนาคารออมสินกำหนดเพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้เข้าร่วมงานมหกรรมร่วมใจแก้ไขหนี้มีสภาพคล่องในการดำรงชีพหรือประกอบอาชีพ

11. เงื่อนไขการชดเชยจากรัฐบาล

 

11.1 รัฐบาลชดเชยความเสียหายที่เกิดจากหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loan : NPLs) ร้อยละ 100 สำหรับ NPLs ไม่เกินร้อยละ 30 ของวงเงินสินเชื่อที่อนุมัติทั้งหมด รวมทั้งสิ้น ไม่เกิน 600 ล้านบาท (2,000 ล้านบาท*ร้อยละ 30*ร้อยละ100) โดยธนาคารออมสินจะทำความตกลงกับสำนักงบประมาณ เพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณเป็นรายปีตามความเหมาะสมและความจำเป็นต่อไป

11.2 แยกบัญชีโครงการเป็นบัญชีธุรกรรมนโยบายภาครัฐ (Public Service Account : PSA) 

11.3 ไม่นับรวม NPLs ที่เกิดจากการดำเนินงานของโครงการไปกำหนดเป็นตัวชี้วัดผลการดำเนินงานของธนาคารออมสิน

11.4 ขอนำผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นจากโครงการนับรวมเป็นผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดการให้สินเชื่อบุคคลรายย่อยวงเงินไม่เกิน 200,000 บาท

 

          2. กค. ได้ จัดทำรายละเอียดข้อมูลที่หน่วยงานของรัฐต้องเสนอพร้อมกับการขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรีตามบทบัญญัติในมาตรา 27 และ 28 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ .. 2561 เรียบร้อยแล้ว โดยในส่วนของการดำเนินการตามมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ .. 2561 กค. แจ้งว่า สิ้นวันที่ 3 ตุลาคม 2565 ภาระที่รัฐต้องรับชดเชยตามมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว มียอดคงค้างจำนวน 970,710.435 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราร้อยละ 30.48 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ .. 2566 (วงเงิน 3,185,000 ล้านบาท) ดังนั้น หากคณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ธนาคารออมสินดำเนินโครงการสินเชื่อแก้หนี้เพิ่มทุน จำนวน 600 ล้านบาท จะส่งผลให้ภาระที่รัฐต้องรับชดเชย ซึ่งเมื่อรวมโครงการที่อยู่ระหว่างการดำเนินการเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีด้วยแล้ว จะมียอดคงค้างเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 985,760.524 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราร้อยละ 30.95 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ .. 2566 ซึ่งยังคงไม่เกินอัตราร้อยละ 32 ที่คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐได้ประกาศกำหนดไว้

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 1 พฤศจิกายน 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A11124

Click Donate Support Web  

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!