WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

การขอความเห็นชอบให้ไทยร่วมรับรองข้อมติเรื่อง ‘Investing in the Core Structure of IOM’ ขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐานและการยืนยันข้อสั่งการของคณะรัฐมนตรีเรื่องการจ่ายค่าบำรุงสมาชิกองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน

GOV 11

การขอความเห็นชอบให้ไทยร่วมรับรองข้อมติเรื่อง ‘Investing in the Core Structure of IOM’ ขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐานและการยืนยันข้อสั่งการของคณะรัฐมนตรีเรื่องการจ่ายค่าบำรุงสมาชิกองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ประเทศไทยร่วมให้ความเห็นชอบต่อข้อมติเรื่อง “Investing in the Core Structure of IOM1” (ข้อมติฯ IOM) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นและมีการเสนอปรับแก้เอกสารดังกล่าวในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ดำเนินการโดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก รวมทั้งอนุมัติในหลักการให้กระทรวงมหาดไทย (มท.) ทำความตกลงกับสำนักงบประมาณ (สงป.) ในส่วนของงบประมาณสำหรับจ่ายค่าบำรุงสมาชิก IOM ที่เพิ่มขึ้นตามอัตราที่ได้รับแจ้งจาก IOM เป็นรายปี ซึ่งประเทศไทยในฐานะรัฐสมาชิกยังคงต้องปฏิบัติตามพันธกรณีเรื่องการจ่ายเงินค่าบำรุงสมาชิกต่อไปเช่นเดียวกับแนวปฏิบัติที่ผ่านมาตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ

          สาระสำคัญของเรื่อง

          1. IOM หรือ องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐานมีชื่อเดิมว่าคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลเกี่ยวกับการโยกย้ายถิ่นฐาน (ICM)” ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี .. 2494 (.. 1951) ซึ่งต่อมาได้ทำความตกลงเข้าเป็นส่วนหนึ่งในระบบขององค์การสหประชาชาติและปัจจุบัน IOM มีสมาชิก 174 ประเทศ ซึ่งรวมถึงประเทศไทยและประเทศผู้สังเกตการณ์ 8 ประเทศ โดยมีอาณัติในการส่งเสริมและอำนวยความสะดวกให้การโยกย้ายถิ่นฐานเป็นไปอย่างปลอดภัย เป็นระเบียบ มีศักดิ์ศรีสอดคล้องกับหลักมนุษยธรรม รวมถึงส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของผู้โยกย้าย ถิ่นฐาน

          2. กระทรวงการต่างประเทศนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบให้ประเทศไทยร่วมให้ความเห็นชอบต่อข้อมติเรื่อง “Investing in the Core Structure of IOM” (ข้อมติ IOM) เนื่องจาก IOM (International Organization for Migration) หรือองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐานได้มีมติให้ปรับนิยามของโครงสร้างหลักของ IOM ที่เป็นภารกิจที่จำเป็นสำหรับการดำเนินการ จึงทำให้ IOM ประสบปัญหาขาดงบประมาณในการสนับสนุนโครงสร้างหลัก (Core Structure) ดังกล่าว ดังนั้น IOM จึงได้จัดทำข้อมติฯ IOM เพื่อให้ประเทศสมาชิกซึ่งรวมถึงประเทศไทยร่วมสนับสนุนการจ่ายเงินค่าบำรุงสมาชิกเพิ่มเติมโดยเป็นการเพิ่มแบบขั้นบันไดระหว่างปี .. 2566 - 2570 ดังนี้

 

ปี ..

เงินค่าบำรุงสมาชิกที่จะต้องจ่าย

เงินค่าบำรุงสมาชิกส่วนที่

จ่ายเพิ่มในแต่ละปี (ฟรังก์สวิส)

ฟรังก์สวิส

บาท

2566

248,609

9,278,834

77,024

2567

291,498

10,879,580

42,889

2568

334,388

12,480,363

42,889

2569

377,277

14,081,109

42,889

2570

420,166

15,681,856

42,889

 

โดยขออนุมัติในหลักการให้กระทรวงมหาดไทยทำความตกลงกับสำนักงบประมาณในส่วนของงบประมาณสำหรับจ่ายค่าบำรุงสมาชิก IOM ที่เพิ่มขึ้นข้างต้น ซึ่ง IOM มีกำหนดการที่จะเสนอข้อมติฯ IOM ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี IOM สมัยที่ 113 เพื่อให้รัฐสมาชิกรับรองระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน - 2 ธันวาคม 2565 นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ทั้งนี้ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณาแล้วเห็นควรให้ความเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ

 

EXIM One 720x90 C J

 

        3. ประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับจากการสนับสนุนข้อมติฯ IOM รวมถึงการจ่ายค่าบำรุงสมาชิก IOM ได้แก่

                 1) การคงบทบาทที่สร้างสรรค์และการรักษาภาพลักษณ์ของประเทศไทยในฐานะหนึ่งในรัฐสมาชิกที่ให้การสนับสนุนความร่วมมือพหุภาคีและองค์การระหว่างประเทศด้านการโยกย้ายถิ่นฐานภายใต้สหประชาชาติอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงเวลาสำคัญที่ IOM กำลังพยายามปรับโครงสร้างทางการเงินขององค์กรเข้าสู่ระบบการเงินตามมาตรฐานของสหประชาชาติ

                 2) ความร่วมมือพหุภาคีและการสนับสนุน IOM ข้างต้น รวมถึงเครือข่ายระหว่างประเทศด้านการโยกย้ายถิ่นฐานที่ผ่านมาได้นำมาซึ่งประโยชน์ในการยกระดับมาตรฐานการบริหารจัดการและการแก้ไขปัญหาหรือความท้าทายที่เกี่ยวข้องกับการโยกย้ายถิ่นฐานในประเทศไทยได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยประเทศไทยในฐานะประเทศที่มีผู้โยกย้ายถิ่นฐานจำนวนมากและหลากหลายกลุ่ม จัดเป็นหนึ่งในประเทศที่จะมีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงจากการดำเนินงานที่ต่อเนื่องและการรักษาความเข้มแข็งของ IOM ดังนั้น ประเทศไทยจึงควรให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ IOM ตามพันธกรณีที่เป็นที่เห็นชอบร่วมกันอย่างต่อเนื่องต่อไป

                 3) การร่วมสนับสนุนข้อมติฯ IOM และจ่ายค่าบำรุงสมาชิกจะส่งเสริมและรักษาสถานะของประเทศไทยในการร่วมกำหนดทิศทางของวาระที่สำคัญด้านการโยกย้ายถิ่นฐานในเวทีระหว่างประเทศอย่างต่อเนื่องต่อไปโดยไม่หยุดชะงัก โดยเฉพาะเมื่อคำนึงถึงการตัดสิทธิการลงคะแนนเสียงใน IOM หากรัฐสมาชิกค้างชำระค่าบำรุงสมาชิกหลังปี .. 2570 (.. 2027) นอกจากนี้ หน่วยงานของประเทศไทยยังสามารถมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการจัดทำโครงการของ IOM ในประเทศเพื่อให้สอดรับกับประโยชน์ของประเทศตนเองได้ และลำดับความสำคัญของเรื่องต่างๆ ที่ประเทศไทยประสงค์จะได้รับการสนับสนุนจาก IOM ได้ต่อไปด้วย

____________________________________________

1 IOM (International Organization for Migration) คือ องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน มีสถานะเป็นองค์การเฉพาะทางของสหประชาชาติด้านการโยกย้ายถิ่นฐาน ซึ่งประเทศไทยเข้าร่วมเป็นรัฐสมาชิกขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐานในปี .. 2529 ปัจจุบัน IOM ประเทศไทย ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานครและมีสำนักงานย่อย 8 แห่ง ในพื้นที่รอบกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน แม่สะเรียง และแม่สอด การดำเนินการที่สำคัญของ IOM ประเทศไทย ได้แก่ โครงการที่เกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติ การทำงานร่วมกับภาคเอกชน งานวิจัยด้านการย้ายถิ่น การให้ความช่วยเหลือผู้ย้ายถิ่น การต่อต้านการค้ามนุษย์ การรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินและวิกฤตการณ์ การตรวจคนเข้าเมืองและบริหารจัดการพรมแดน สุขภาพของผู้ย้ายถิ่น และการจัดส่งผู้ย้ายถิ่นในประเทศที่สาม

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 22 พฤศจิกายน 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A11965

Click Donate Support Web  

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!