WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

การปรับลดปริมาณงานภายใต้โครงการพัฒนาระบบสายส่งและสถานีไฟฟ้า ระยะที่ 9 ส่วนที่ 3 (คพส.9.3) และโครงการพัฒนาระบบส่งและจำหน่ายระยะที่ 1 (คพจ.1)

GOV 8

การปรับลดปริมาณงานภายใต้โครงการพัฒนาระบบสายส่งและสถานีไฟฟ้า ระยะที่ 9 ส่วนที่ 3 (คพส.9.3) และโครงการพัฒนาระบบส่งและจำหน่ายระยะที่ 1 (คพจ.1)

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอการปรับลดปริมาณงานภายใต้โครงการพัฒนาระบบสายส่งและสถานีไฟฟ้า ระยะที่ 9 ส่วนที่ 3 (คพส.9.3) และโครงการพัฒนาระบบส่งและจำหน่าย ระยะที่ 1 (คพจ.1) ในวงเงินลงทุนรวม 1,829.60 ล้านบาท ดังนี้

          1. ปรับลดแผนงานก่อสร้างสถานีไฟฟ้าและสายส่ง 115 เควี จำนวน 5 แห่ง วงเงินลงทุนรวม 1,697.71 ล้านบาท (ภายใต้ คพส.9.3 และ คพจ.1) 

          2. ปรับลดปริมาณงานจัดซื้อที่ดินล่วงหน้าที่มีการอนุมัติยกเลิกจัดซื้อแล้วจำนวน 10 แห่ง วงเงินลงทุนรวม 131.89 ล้านบาท (ภายใต้ คพจ.1)

          เรื่องเดิม

          1. คณะรัฐมนตรีมีมติ (3 พฤษภาคม 2554) อนุมัติในหลักการให้ มท. [การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)] ดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบสายส่งและสถานีไฟฟ้า ระยะที่ 9 แบ่งออกเป็น 4 ส่วน1 วงเงินลงทุน 31,170 ล้านบาท โดยใช้จากเงินกู้ในประเทศ 23,374 ล้านบาท และเงินรายได้ของ กฟภ. 7,796 ล้านบาท และเห็นชอบการ กู้ เงินในประเทศของโครงการดังกล่าว (ระยะเวลาดำเนินโครงการ ปี 2553 - 2558 มีวัตถุประสงค์เพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกิจการอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดใหญ่ เพิ่มประสิทธิภาพและความมั่นคงของระบบไฟฟ้า และลดปัญหาด้านการปฏิบัติการ บำรุงรักษา และลดหน่วยสูญเสียของระบบไฟฟ้า)

          2. คณะรัฐมนตรีมีมติ (1 พฤศจิกายน 2559) อนุมัติให้ กฟภ. ดำเนินโครงการพัฒนาระบบส่งและจำหน่าย ระยะที่ 12 วงเงินลงทุน 62,678.71 ล้านบาท โดยให้ใช้เงินกู้ภายในประเทศ 47,009 ล้านบาท และเงินรายได้ กฟภ. 15,669.71 ล้านบาท และเห็นชอบให้ กฟภ. กู้เงินในประเทศภายในกรอบวงเงิน 47,009 ล้านบาท เพื่อเป็นเงินลงทุนของโครงการดังกล่าว โดย กฟภ. จะทยอยดำเนินการกู้เงินตามความจำเป็นจนกว่าโครงการจะแล้วเสร็จ (ระยะเวลาดำเนินโครงการ ปี 2559-2564 มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบไฟฟ้าและก่อสร้างสถานีไฟฟ้าให้สามารถรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นได้อย่างเพียงพอ และเพิ่มขีดความสามารถและประสิทธิภาพของระบบส่ง และระบบจำหน่ายให้สามารถจ่ายไฟได้อย่างมีสิทธิภาพ ปลอดภัยสอดคล้องมาตรฐานสากล ปรับปรุงและเชื่อมโยงระบบจำหน่ายไฟฟ้าในพื้นที่ธุรกิจอุตสาหกรรม นิคมอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว แหล่งชุมชนต่างๆ ทั้งผู้ใช้ไฟฟ้ารายเดิม ผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหม่ และพื้นที่สำคัญให้มีความมั่นคงของระบบไฟฟ้าสูงขึ้น)

 

วิริยะ 720x100

 

          สาระสำคัญของเรื่อง

          มท. รายงานว่า

          1. กฟภ. ได้ดำเนินโครงการพัฒนาระบบสายส่งและสถานีไฟฟ้า ระยะที่ 9 และโครงการพัฒนาระบบส่งและจำหน่าย ระยะที่ 1 ตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 3 พฤษภาคม 2554 และ 2 พฤศจิกายน 2559 และต่อมาคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ในการประชุมครั้งที่ 9/2564 เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2564 มีมติเห็นชอบให้ยกเลิกแผนงานก่อสร้างสถานีไฟฟ้าและสายส่ง 115 เควี 5 แห่ง ที่ไม่จำเป็นต้องดำเนินการภายในปี 2570 และยังไม่มีการผูกพันสัญญา (ภายใต้ คพส.9.3 และ คพจ.1) และงานจัดซื้อที่ดินล่วงหน้าที่มีการอนุมัติยกเลิกจัดซื้อแล้ว 10 แห่ง (ภายใต้ คพจ.1) วงเงินลงทุนรวม 1,829.60 ล้านบาท เนื่องจากได้พิจารณาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) พบว่า ค่าพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าในหลายพื้นที่มีความต้องการไฟฟ้าลดลง ทำให้พื้นที่นั้นเกิดปัญหาการจ่ายไฟฟ้า3 และความคุ้มค่าในการลงทุนจะเกิดขึ้นหลังปี 2570 สรุปได้ ดังนี้

                 1.1 ยกเลิกแผนงานก่อสร้างสถานีไฟฟ้าและสายส่ง 115 เควี 5 แห่ง

 

เขต

โครงการ

ชื่อสถานีไฟฟ้า

ชนิด

รูปแบบ

เงินลงทุนรวม

(ล้านบาท)

กฟก.1

คพส.9.3

นวนคร 5

AIS4

H-Config (Outdoor)

241.47*

กฟก.2

บางกะดี 2

GIS5

Double Bus Single Breaker

379.93*

หมายเหตุ : * เงินลงทุนก่อสร้างสถานีไฟฟ้าและสายส่ง

 

เขต

โครงการ

ชื่อสถานีไฟฟ้า

ชนิด

รูปแบบ

เงินลงทุนรวม

(ล้านบาท)

กฟก.1

คพจ.1

บ้านเลน 3

 

 

440.59*

กฟต.2

ป่าตอง 2

   

431.87*

กฟก.3

สมุทรสาคร 14

MTS6

H-Config (Outdoor)

203.85*

หมายเหตุ : * เงินลงทุนก่อสร้างสถานีไฟฟ้าและสายส่ง

 

                 1.2 ยกเลิกงานจัดซื้อที่ดินล่วงหน้า 10 แห่ง

 

เขต

โครงการ

ชื่อสถานีไฟฟ้า

ชนิด

เงินลงทุนรวม (ล้านบาท)

กฟก.1

คพจ.1

รังสิต 3

ซื้อที่ดินล่วงหน้า

17.56

กฟก.1

หนองปลิง 2

19.21

กฟก.2

ชลบุรี 6

17.56

กฟก.2

บางแสน 3

11.17

กฟก.2

พัทยาเหนือ 3

17.56

กฟก.2

ระยอง 5

11.17

กฟก.2

แหลมสิงห์

11.17

กฟก.3

นครปฐม 4

17.56

กฟต.2

ดอกสัก

6.21

กฟฉ.1

สุวรรณคูหา

2.72

 

 

BANPU 720x100

 

          2. ความคืบหน้าและผลการเบิกจ่ายงบประมาณโครงการฯ เดือนมีนาคม 25657 สรุปได้ ดังนี้

 

โครงการ

ร้อยละการเบิกจ่าย

และเงินลงทุน

ระยะเวลาดำเนินการ

ร้อยละของการดำเนินงาน

ทั้งโครงการ

โครงการพัฒนาระบบสายส่ง

และสถานีไฟฟ้า ระยะที่ 9 ส่วนที่ 1

89.82

(6,341.40 ล้านบาท)

ปี 2554 - 2566 

(ตามปีงบประมาณ

90.03

โครงการพัฒนาระบบสายส่ง

และสถานีไฟฟ้า ระยะที่ 9 ส่วนที่ 2

82.16

(3,730.07 ล้านบาท)

ปี 2554 - 2566 

(ตามปีงบประมาณ)

81.51

โครงการพัฒนาระบบสายส่ง

และสถานีไฟฟ้า ระยะที่ 9 ส่วนที่ 3

83.44

(12,587.18 ล้านบาท)

ปี 2554 - 2567

(ตามปีงบประมาณ)

84.83

โครงการพัฒนาระบบสายส่ง

และสถานีไฟฟ้า ระยะที่ 9 ส่วนที่ 4

86.66

(3,886.74 ล้านบาท)

ปี 2554 - 2567

(ตามปีงบประมาณ)

80.32

โครงการพัฒนาระบบส่ง

และจำหน่าย ระยะที่ 1

66.78

(41,856.02 ล้านบาท)

ปี 2559 - 2567 

(ตามปีงบประมาณ)

47.85

__________________________________

1 ส่วนที่ 3 (คพส.9.3) : ภาคกลาง โดยการไฟฟ้าภาคกลาง เขต 1 (กฟก.1) จะมีการก่อสร้างสถานีไฟฟ้า จำนวน 18 แห่ง ซึ่งรวมถึงสถานีไฟฟ้าบางกะดี 2 จังหวัดปทุมธานี และสถานีไฟฟ้านวนคร 5 จังหวัดปทุมธานีด้วย

2 ปริมาณงานก่อสร้างสถานีไฟฟ้าและระบบสายส่ง (คพจ.1) รวม 61 แห่ง ซึ่งรวมถึงการก่อสร้างสถานีไฟฟ้าบ้านเลน 3 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สถานีไฟฟ้าป่าตอง 2 จังหวัดภูเก็ต และสถานีไฟฟ้าสมุทรสาคร 14 จังหวัดสมุทรสาคร และงานจัดซื้อที่ดินล่วงหน้าในโครงการ คจพ.1 จำนวน 54 แห่ง

3 เมื่อความต้องการใช้ไฟฟ้าลดลง หมายความว่าสถานีไฟฟ้าที่ กฟภ. มีอยู่ในปัจจุบันมีความเพียงพอที่จะจ่ายไฟให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าจนสิ้นสุดปีพยากรณ์ที่ปี 2580 (ตามยุทธศาสตร์ชาติ) จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องก่อสร้างสถานีไฟฟ้าเพิ่มในพื้นที่นั้น

4 Air Insulated Switchgear (AIS) เป็น Switchgear ที่มีอากาศเป็นฉนวนระหว่างอุปกรณ์กับอุปกรณ์และอุปกรณ์กับ Ground ใช้พื้นที่ติดตั้งมาก นิยมติดตั้งเป็นแบบ Outdoor 

5 Gas Insulated Switchgear (GIS) เป็น Switchgear ที่มี Gas SF6 เป็นฉนวนระหว่างอุปกรณ์กับอุปกรณ์และอุปกรณ์กับ Ground ใช้พื้นที่ติดตั้งน้อย นิยมติดตั้งเป็นแบบ Indoor 

6 Mixed Technology Switchgear (MTS) เป็น Switchgear ที่รวมประโยชน์ของแบบ AIS และ GIS เข้าด้วยกัน โดยใช้อากาศและก๊าซ SF6 เป็นฉนวน ระหว่างอุปกรณ์กับอุปกรณ์และอุปกรณ์กับ Ground

7 เป็นข้อมูลจากรายงานความก้าวหน้าโครงการฯ ฉบับที่ 44 สถานะเดือนมีนาคม 2565 ทั้งนี้ มท. โดย กฟภ. ได้ปรับปรุงข้อมูล เดือนกันยายน 2565 เป็นข้อมูลที่ได้รับจากการประสานงานอย่างไม่เป็นทางการ (ซึ่งมิได้ระบุในเอกสารรายงานที่เสนอคณะรัฐมนตรี)

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 22 พฤศจิกายน 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A11973

Click Donate Support Web  

EXIM One 720x90 C J

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

QIC 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!