WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ECTlogoกกต.ประกาศผลการเลือกตั้ง ส.ส.เขตจำนวน 350 เขตอย่างไม่เป็นทางการแล้ว

     คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ประกาศรายชื่อผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดรายจังหวัด/เขตอย่างไม่เป็นทางการ 350 เขต รวม 77 จังหวัด ข้อมูล ณ วันที่ 25 มีนาคม

- พรรคเพื่อไทย (พท.)                     มีจำนวน ส.ส. 137 คน

- พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.)           มีจำนวน ส.ส. 97 คน

- พรรคภูมิใจไทย (ภท.)                   มีจำนวน ส.ส. 39 คน

- พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.)             มีจำนวน ส.ส. 33 คน

- พรรคอนาคตใหม่ (อนค.)               มีจำนวน ส.ส. 30 คน

- พรรคประชาชาติ (ปชช.)               มีจำนวน ส.ส.   6 คน

- พรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.)         มีจำนวน ส.ส. 6 คน

- พรรคชาติพัฒนา (ชพ.)                 มีจำนวน ส.ส. 1 คน

- พรรครวมพลังประชาชาติไทย (รปช.) มีจำนวน ส.ส. 1 คน

 

กรุงเทพมหานคร มีจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งสิ้น 4,498,058 คน ผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง จำนวน 3,025,757 คน คิดเป็นร้อยละ 72.20 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เป็นบัตรดี จำนวน 3,095,275 บัตร คิดเป็นร้อยละ 95.30 ของจำนวนผู้ใช้สิทธิ บัตรเสีย จำนวน 91,196 บัตร คิดเป็นร้อยละ 2.81 ของจำนวนผู้ใช้สิทธิ บัตรไม่ประสงค์ลงคะแนนเลือกผู้สมัครใดเลย จำนวน 61,341 บัตร คิดเป็นร้อยละ 1.89 ของจำนวนผู้ใช้สิทธิ

                สำหรับ ผลการลงคะแนนเลือกตั้ง ส.ส. กทม. แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง อย่างไม่เป็นทางการ ผู้สมัครที่ได้รับคะแนนสูงสุดของแต่ละเขตเลือกตั้ง มีดังนี้

                เขตเลือกตั้งที่ 1 (พระนคร ป้อมปราบศัตรูพ่าย สัมพันธวงศ์ ดุสิต (ยกเว้นแขวงถนนนครไชยศรี) ได้แก่ น.ส.กานต์กนิษฐ์ แห้วสันตติ พรรคพลังประชารัฐ

                เขตเลือกตั้งที่ 2 (ปทุมวัน บางรัก สาทร) ได้แก่ น.ส.พัชรินทร์ ชำศิริพงษ์ พรรคพลังประชารัฐ

                เขตเลือกตั้งที่ 3 (บางคอแหลม ยานนาวา) ได้แก่ น.ส.วรรณวรี ตะล่อมสิน พรรคอนาคตใหม่

                เขตเลือกตั้งที่ 4 (คลองเตย วัฒนา) ได้แก่ นางกรณิศ งามสุคนธ์รัตนา พรรคพลังประชารัฐ

                เขตเลือกตั้งที่ 5 (ดินแดง ห้วยขวาง) ได้แก่ นายประเดิมชัย บุญช่วยเหลือ พรรคเพื่อไทย

                เขตเลือกตั้งที่ 6 (พญาไท ราชเทวี จตุจักร (เฉพาะแขวงจตุจักรและแขวงจอมพล)) ได้แก่ น.ส.ภาดาท์ วรกานนท์ พรรคพลังประชารัฐ

                เขตเลือกตั้งที่ 7 (บางซื่อ ดุสิต (เฉพาะแขวงถนนนครไชยศรี)) ได้แก่ น.ส.ธณิกานต์ พรพงษาโรจน์ พรรคพลังประชารัฐ

                เขตเลือกตั้งที่ 8 (ลาดพร้าว วังทองหลาง (ยกเว้นแขวงพลับพลา)) ได้แก่ นายกษิดิ์เดช ชุติมันต์ พรรคพลังประชารัฐ

                เขตเลือกตั้งที่ 9 (หลักสี่ จตุจักร (ยกเว้นแขวงจตุจักร และแขวงจอมพล)) ได้แก่ นายสิระ เจนจาคะ พรรคพลังประชารัฐ

                เขตเลือกตั้งที่ 10 (ดอนเมือง) ได้แก่ นายการุณ โหสกุล พรรคเพื่อไทย

                เขตเลือกตั้งที่ 11 (สายไหม) ได้แก่ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ พรรคเพื่อไทย

                เขตเลือกตั้งที่ 12 (บางเขน) ได้แก่ นายอนุสรณ์ ปั้นทอง พรรคเพื่อไทย

                เขตเลือกตั้งที่ 13 (บางกะปิ วังทองหลาง (เฉพาะแขวงพลับพลา)) ได้แก่ น.ส.ฐิติภัสร์ โชติเดชาชัยนันต์ พรรคพลังประชารัฐ

                เขตเลือกตั้งที่ 14 บึงกุ่ม (คันนายาว (เฉพาะแขวงรามอินทรา)) ได้แก่ นายพลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ พรรคเพื่อไทย

                เขตเลือกตั้งที่ 16 (คลองสามวา) ได้แก่ นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ พรรคเพื่อไทย

                เขตเลือกตั้งที่ 17 (หนองจอก)ได้แก่ นายศิริพงษ์ รัสมี พรรคพลังประชารัฐ

                เขตเลือกตั้งที่ 18 (ลาดกระบัง) ได้แก่ น.ส.ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ พรรคเพื่อไทย

                เขตเลือกตั้งที่ 19 (สะพานสูง ประเวศ (เฉพาะแขวงหนองบอนและแขวงดอกไม้)) ได้แก่ นายประสิทธิ์ มะหะหมัด พรรคพลังประชารัฐ

                เขตเลือกตั้งที่ 20 (สวนหลวง ประเวศ (ยกเว้นแขวงหนองบอนและแขวงดอกไม้)) ได้แก่ นายมณฑล โพธิ์คาย พรรคอนาคตใหม่

                เขตเลือกตั้งที่ 21 (บางนา พระโขนง) ได้แก่ นายสมเกียรติ ถนอมสินธุ์ พรรคอนาคตใหม่

                เขตเลือกตั้งที่ 22 (คลองสาน บางกอกใหญ่ ธนบุรี (ยกเว้นแขวงดาวคะนอง แขวงบุคคโล และแขวงสำเหร่)) ได้แก่ นายเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร พรรคอนาคตใหม่

                เขตเลือกตั้งที่ 23 (จอมทอง ธนบุรี (เฉพาะแขวงดาวคะนอง แขวงบุคคโลและแขวงสำเหร่)) ได้แก่ นายโชติพิพัฒน์ เตชะ โสภณมณี พรรคอนาคตใหม่

                เขตเลือกตั้งที่ 24 (ราษฎร์บูรณะ ทุ่งครุ) ได้แก่ นายทศพร ทองศิริ พรรคอนาคตใหม่

                เขตเลือกตั้งที่ 25 (บางขุนเทียน) ได้แก่ นายณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ พรรคอนาคตใหม่

                เขตเลือกตั้งที่ 26 (บางบอน หนองแขม (เฉพาะแขวงหนองแขม)) ได้แก่ นายวัน อยู่บำรุง พรรคเพื่อไทย

                เขตเลือกตั้งที่ 27 (ทวีวัฒนา ตลิ่งชัน (เฉพาะแขวงตลิ่งชันและแขวงฉิมพลี) หนองแขม (ยกเว้นแขวงหนองแขม)) ได้แก่ นายจิรวัฒน์ อรัณยกานนท์ พรรคอนาคตใหม่

                เขตเลือกตั้งที่ 28 (บางแค) ได้แก่ นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ พรรคอนาคตใหม่

                เขตเลือกตั้งที่ 29 (ภาษีเจริญ ตลิ่งชัน (ยกเว้นแขวงตลิ่งชันและแขวงฉิมพลี)) ได้แก่ น.ส.สุภาภรณ์ คงวุฒิปัญญา พรรคเพื่อไทย

                เขตเลือกตั้งที่ 30 (บางพลัด บางกอกน้อย) ได้แก่ นายจักรพันธ์ พรนิมิต พรรคพลังประชารัฐ

                สำหรับผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ ทาง กกต.จะประกาศให้ทราบต่อไป

เพื่อไทย แถลงชนะเลือกตั้ง ส.ส.เขต 137 ที่นั่ง ประสานงานพรรคร่วมอุดมการณ์ตั้งรัฐบาลมากกว่า 300 เสียง

        คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ ประธานยุทธศาสตร์เลือกตั้งพรรคเพื่อไทย พร้อมด้วยแกนนำพรรค เปิดแถลงข่าวภายหลังคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ออกมาระบุว่าจะมีการประกาศผลการเลือกตั้ง ส.ส.350 เขตอย่างไม่เป็นทางการในเวลา 16.00 น.ของวันนี้ โดยพรรคเพื่อไทยระบุว่าชนะการเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขตที่ได้เสียงราว 137 ที่นั่ง มากกว่าอันดับ 2 ที่คาดว่าจะได้ที่นั่ง ส.ส.ในสภารวมทั้งแบบแบ่งเขตและบัญชีรายชื่อ 112 ที่นั่ง จึงยืนยันว่ามีความชอบธรรมที่จะรวบรวมเสียงเพื่อจัดตั้งรัฐบาล

      สำหรับ พรรคพันธมิตรที่พรรคเพื่อไทยจะเชิญชวนให้เข้ามาร่วมจัดตั้งรัฐบาลนั้นจะต้องมีอุดมการณ์และเจตนารมย์ทางการเมืองเดียวกันที่ไม่สนับสนุนการสืบทอดอำนาจ และไม่สนับสนุนเผด็จการ โดยพบว่ามีหลายพรรค ทั้งนี้ การจัดตั้งบัฐบาลของพรรคเพื่อไทยในครั้งนี้มีความมุ่งมั่นในการทำงานเพื่อแก้ปัญหาความทุกข์และความยากจนของประชาชนไทยให้หมดไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นสิ่งที่พรรคเพื่อไทยต้องใจที่จะเข้ามาทำงานรับไช้ประชาชนในครั้งนี้

      นายภูมิธรรม เวชยชัย เลขาธิการพรรค ระบุว่า จากนี้จะประสานกับพรรคการเมืองร่วมอุดมการณ์เพื่อร่วมกันจัดตั้งรัฐบาล โดยหากรวมกับเสียงของพรรคเพื่อไทยแล้ว พรรคในกลุ่มนี้คาดว่าจะได้รับการเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งแขตเข้ามามากกว่า 300 เสียง ซึ่งไม่นับรวมเสียงของพรรคพลังประชารัฐ และพรรครวมพลังประชาชาติไทย

      พร้อมทั้งยืนยันว่า พรรคที่มีเสียง ส.ส.ในสภาผู้แทนราษฎรมากที่สุดมีสิทธิที่จะจัดตั้งรัฐบาลมากกว่าจำนวนคะแนนที่ได้รับสูงสุด

     "พรรคเพื่อไทยต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในประเทศไทยและการเมืองไทย พร้อมกับไม่ต้องการเห็นการสืบทอดอำนาจ และเดินหน้าทำตามกติกา ทำตามหน้าที่ที่ประชาชนเลือกพรรคเพื่อไทยให้มีที่นั่ง ส.ส.มากที่สุดเข้ามาทำหน้าที่บริหารงานประเทศให้ก้าวไปข้างหน้า"นายภูมิธรรม กล่าว

      นายภูมิธรรม ย้ำว่า พรรคเพื่อไทยยังคงยึดหลักตามกติกาว่าพรรคที่ได้ผลรวมที่นั่งของ ส.ส.ในสภาเป็นอันดับ 1 ควรได้สิทธิในการจัดตั้งรัฐบาลก่อน ไม่ใช่ดูจากผลรวมที่มาจากคะแนนโหวตของประชาชนที่มาวัดความเป็นอันดับ 1 เพราะการมีที่นั่งในสภาฯจำนวนมากกว่า ซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชนที่เลือกมา และเป็นไปตามกติกาทางการเมืองที่ถูกต้อง

      ส่วนการรวบรวมพรรคในการจัดตั้งรัฐบาลของพรรคพลังประชารัฐ ก็คงต้องติดตามพรรคที่จะมีอุดมการณ์ทางการเมืองที่สนับสนุนพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ว่าจะมีกี่พรรค เพราะเท่าที่เห็นพรรคการเมืองที่ร่วมอุดมการณ์เดียวกับพรรคพลังประชารัฐมีเพียงพรรครวมพลังประชาชาติไทยของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ทำให้พรรคเพื่อไทยมั่นใจว่าจะสามารถจัดตั้งรัฐบาลและมีคะแนนเสียงรวมกับพรรคร่วมรัฐบาลได้ไม่ต่ำกว่า 300 ที่นั่ง

       ด้านการเลือกแคนดิเดทนายกรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทยนั้น นายภูมิธรรม กล่าวว่า จะต้องหารือกันในเรื่องนี้อีกครั้ง หลังจากที่พรรคเพื่อไทยไม่ได้ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อเข้าไปในสภาฯ ซึ่งประเด็นดังกล่าวพรรคเพื่อไทยต้องหารือกับคนในพรรค และพรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาลพร้อมกับการเชิญชวนพรรคที่มีอุดมการณ์และเจตนารมย์เดียวกับพรรคเพื่อไทยเข้ามาร่วมจัดตั้งรัฐบาลตั้งแต่ตอนนี้เป็นต้นไป โดยจะขอดูท่าทีทางการเมืองของพรรคต่างๆ และจะมาแถลงให้ประชาชนทุกคนได้ทราบอีกครั้ง

     คุณหญิงสุดารัตน์ กล่าวเสริมว่า ไม่อยากให้ทุกคนต้องกังวลในเรื่องของแคนดิเดทนายกรัฐมนตรี แม้ว่าผู้สมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อของพรรคที่กำหนดให้เป็นแคนดิเดทนายกรัฐมนตรี ซึ่งรวมถึงตนเองจะไม่ได้เข้าไปเป็น ส.ส.ในสภา เพราะพรรคจะหารือกับพรรคที่เข้ามาร่วมจัดตั้งรัฐบาลเพื่อหาทางออกที่เหมาะสม

      ส่วนความผิดปกติของการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นนั้น ทางพรรคเพื่อไทยก็จะดำเนินการในทางกฏหมายเพื่อให้ได้รับความชอบธรรม

อนาคตใหม่ ยอมรับได้สุดารัตน์เป็นนายกฯ งดเสนอชื่อธนาธรพร้อมยื่น 3 เงื่อนไขร่วมรัฐบาล

        นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ แถลงจุดยืนทางการเมืองภายหลังการเลือกตั้ง ส.ส. ซึ่งคาดว่าพรรคจะได้เสียง ส.ส.ทั้งแบบแบ่งเขตและบัญชีรายชื่อมากกว่า 80 ที่นั่ง โดยยืนยันความพร้อมที่จะเป็นนายกรัฐมนตรี แต่พรรคอนาคตใหม่จะไม่เสนอชื่อตนเองให้เป็นนายกรัฐมนตรี เนื่องจากต้องการรักษาประเพณีการปกครองที่จะให้โอกาสพรรคอันดับหนึ่งมีสิทธิเสนอชื่อบุคคลเป็นนายกรัฐมนตรี และเพื่อไม่ให้เป็นประเด็นต่อรองทางการเมือง

       จากคะแนนเสียงของประชาชนที่เลือกให้พรรคอนาคตใหม่จนถึงล่าสุดที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ประกาศออกมาอย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งพรรคอนาคตใหม่อยู่ในอันดับที่ 3 โดยคาดว่าจะมีจำนวนส.ส.แบบแบ่งเขต และส.ส.แบบบัญชีรายชื่อรวมกันจำนวยเกิน 80 ที่นั่ง จากคะแนนเสียงที่ประชาชนเลือกให้พรรคอนาคตใหม่ทั้งหมด 5.8 ล้านคะแนนเสียง

       และพร้อมเดินหน้าเป็นพรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคที่มีคะแนนเสียงในสภาผู้แทนราษฎรเป็นอันดับ 1 ซึ่งจะต้องเป็นพรรคที่มีจุดยืนทางการเมืองเดียวกับพรรคอนาคตใหม่คือหยุดยั้งการสืบทอดอำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และไม่สนับสนุนพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี และต้องการสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับการเมืองและประเทศไทย

      พร้อมกันนั้น นายธนาธร ได้ประกาศเชิญชวน ส.ส.ทุกคน และพรรคการเมืองทุกพรรคที่ไม่สนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี ให้เข้ามาร่วมกันจัดตั้งรัฐบาล

       "พรรคอนาคตใหม่ยินดีตอบรับคำเชิญจากพรรคการเมืองที่มีคะแนนเสียงในสภาฯอันดับ 1 ที่มีจุดยืนทางการเมืองเดียวกันในการร่วมกันจัดตั้งรัฐบาล และจะเชิญชวนพรรคการเมืองอื่นๆที่มีจุดยืนทางการเมืองเดียวกันเข้ามาร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลด้วย พร้อมกับเปิดทางให้พรรคการเมืองที่มีคะแนนเสียงในสภาฯอันดับ 1 เลือกแคนดิเดทนายกรัฐมนตรีก่อนตามกติกาและธรรมเนียมมารยาทของรัฐสภา แม้ว่าผมจะพร้อมที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีก็ตาม แต่จะไม่ให้พรรคอนาคตใหม่เสนอชื่อเพื่อมาแข่งขัน เพราะต้องการปล่อยให้เป็นไปตามกฏกติกาที่ประชาชนได้เลือก ส.ส.เข้ามานั่งในสภาฯ ซึ่งพรรคที่มีจำนวนที่นั่งส.ส.ในสภาฯมากที่สุดซึ่งประชาชนได้เลือกมาควรได้จัดตั้งรัฐบาลและเลือกแคนดิเดทนายกรัฐมนตรีของพรรคนั้นก่อน"

      นายธนาธร กล่าวอีกว่า พรรคการเมืองที่ได้อันดับ 1 ของจำนวนส.ส.มากที่สุด คือ พรรคเพื่อไทย แม้ว่าจะเป็นส.ส.ที่มาจากส.ส.แบบแบ่งเขตทั้งหมด ทำให้ไม่มี ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อได้ที่นั่งในสภาฯ ซึ่งกระทบไปถึงแคนดิเดทนายกรัฐมนตรี และส.ส.แบบบัญชีรายชื่ออันดับ 2 ของพรรคเพื่อไทย คือ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์

      ตนและพรรคอนาคตใหม่ยอมรับการตัดสินใจของพรรคเพื่อไทยที่จะเสนอชื่อคุณหญิงสุดารัตน์เป็นแคนดิเดทนายกรัฐมนตรี เพราะการเลือกตั้งในครั้งนี้แม้ว่าคุณหญิงสุดารัตน์ จะไม่ได้เป็นส.ส.แบบบัญชีรายชื่อที่อยู่ในสภาฯ แต่ได้เห็นการปฏิบัติตามกฏกติกาการเลือกตั้งตามที่ กกต.กำหนดมาตลอด ซึ่งเป็นการตัดสินใจของพรรคเพื่อไทยที่เป็นพรรคการเมืองที่มีคะแนนเสียงอันดับ 1 ในสภาฯจะเลือกคุณหญิงสุดารัตน์ มาเป็นแคนดิเดทนายกรัฐมนตรีได้ และยังยินดีที่จะร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคเพื่อไทย และพรรคอื่นๆที่มีจุดยืนทางการเมืองเดียวกัน

     "เมื่อคืนนี้ก็ได้มีการโทรหารือกับทางพรรคเพื่อไทยเกี่ยวกับจุดยืนทางการเมืองและการร่วมกันจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งยังไม่ได้มีการพูดไปถึงเก้าอี้นายกฯ ตำแหน่งทางการเมือง และเงื่อนไขใดๆเลย ส่วนใหญ่คุยกันถึงการร่วมกันหยุดยั้งอำนาจคสช."นายธนาธร กล่าว

      ทั้งนี้ นายธนาธร คาดว่าการจัดตั้งรัฐบาลในครั้งนี้จะมีพรรคที่มีจุดยืนทางการเมืองเดียวกันร่วมจัดตั้งรัฐบาลและมีจำนวนที่นั่ง ส.ส.ในสภาฯ ราว 376 ที่นั่ง ซึ่งสามารถช่วยกันปิดสวิทช์ ส.ว.250 เสียงที่จะเข้ามาสนับสนุนพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี โดยที่พรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาลที่จุดยืนทางการเมืองเดียวกันที่ต้องหาหยุดยั้งการสืบทอดอำนาจและไม่สนับสนุนพล.อ.ประยุทธ์ เป็นายกรัฐมนตรี มีจำนวนมากกว่าพรรคที่ต้องการสืบทอดอำนาจและสนับสนุนพล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งปัจจุบันผลอย่างไม่เป็นทางการมีจำนวนรวมกัน 122 ที่นั่ง ซึ่งต่ำกว่า 124 ที่นั่ง แบ่งเป็น พรรคพลังประชารัฐ 116 ที่นั่ง พรรครวมพลังประชาชาติไทย 5 ที่นั่ง และพรรคประชาชนปฏิรูป 1 ที่นั่ง

      "วันนี้ เราก็ขอขอบคุณคะแนนเสียงจากประชาชนอีกครั้งที่มอบให้แก่พรรคอนาคตใหม่ให้เข้ามาเป็นตัวแทนของประชาชนเข้ามาทำงาน แม้ว่าเราจะไม่ได้มีส.ส.ครบทุกภาค ขาดแค่เพียงภาคใต้ที่เราไม่ได้ แต่ก็เป็นสิ่งที่ให้เรากลับมาทบทวนในการทำงานครั้งหน้าให้หนักมากขึ้น และเสียงของประชาชนที่ให้แก่พรรคอนาคตใหม่ 5.8 ล้านคะแนนเสียง ขึ้นมาเป็นอันดับ 3 และเป็น Popular Vote อันดับ 1 ในกรุงเทพฯ ทำให้เราก้าวข้ามผ่านการเป็นพรรคระดับภูมิภาค มาสู่การเป็นพรรคระดับประเทศ จากการจัดตั้งพรรคเป็นระยะเวลา 1 ปี ซึ่งเราจะเดินหน้าทำงานสร้างการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีให้แก่ประเทศ ซึ่งเป็นเหตุผลหลักของเราที่เข้ามาในการเมือง และเราก็ไม่ได้ต้องการอำนาจหรือตำแหน่งทางการเมืองแต่อย่างใด"นายธนาธร กล่าว

        นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการพรรคอนาคตใหม กล่าวว่า เงื่อนไขของพรรคอนาคตใหม่ที่จะร่วมจัดตั้งรัฐบาล 3 ข้อ ได้แก่ จะต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปี 60 ทั้งฉบับด้วยการจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมา และจะต้องยกเลิกมาตรา 279 ที่ออกมาเพื่อรองรับการใช้อำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) รวมทั้งจะต้องปฏิรูปกองทัพ

       "หากพรรคการเมืองที่เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลมีจุดยืนเดียวกันกับพรรคอนาคตใหม่ทั้ง 3 ข้อ ทางพรรคอนาคตใหม่ยินดีที่จะเข้าร่วมจัดตั้งรัฐบาลด้วย"

        นายปิยบุตร กล่าวต่อว่า การที่พรรคพลังประชารัฐที่ไม่ได้จำนวนที่นั่งส.ส.ในสภาเป็นอันดับ 1 ซึ่งเป็นอันดับ 2 ในปัจจุบัน มีความพยายามจัดตั้งรัฐบาล เพราะพรรคประชารัฐได้คะแนนเสียงจากประชาชนที่โหวตให้มากที่สุด มองว่าเป็นสิ่งที่ผิดธรรมเนียมมารยาทในสภาฯ เพราะจำนวนที่นั่งของ ส.ส.ในสภาฯที่ประชาชนเลือกเข้ามาเป็นตัวแทนในการทำงานบริหารประเทศนั้นเป็นสิ่งที่ประชาชนได้เลือกแล้ว และเป็นมารยาททางการเมืองที่เคยปฏิบัติกันมาในอดีตที่แม้ว่าพรรคการเมืองที่แพ้จำนวนที่นั่งส.ส.ในสภาฯซึ่งเป็นพรรคใหญ่ มีคะแนนแพ้เพียง 2-3 ที่นั่ง ต้องหลีกทางใหมพรรคที่มีจำนวนที่นั่งส.ส.ในสภาฯมากที่สุดจัดตั้งรัฐบาลก่อน

       ขณะที่ ในวันพรุ่งนี้ (26 มี.ค. 62) หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่และผู้สมัครส.ส.พรรคอนาคตใหม่ 3 คนจะเดินทางไปที่ กกต.เพื่อส่งเรื่องเรียกร้องให้ กกต.เปิดเผยข้อมูลการเลือกตั้งทุกอย่างให้แก่สาธรณชนได้ทราบทั้งหมด เพื่อเป็นการแสดงความโปร่งใสของการเลือกตั้งในครั้งนี้ ซึ่งมีการพบความผิดปกติของการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นจำนวนมาก จึงอยากให้ กกต.เปิดเผยข้อมูลเพื่อสร้างความโปร่งใสในการเลือกตั้งครั้งนี้

สมศักดิ์ ชี้ตั้งรัฐบาลรอบนี้งานหิน อาจต้องพึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ไม่ท้อผู้สมัครสุโขทัยพลาดส.ส.

     นายสมศักดิ์ เทพสุทิน ประธานคณะกรรมการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวถึงการเตรียมตัวจัดตั้งรัฐบาลว่า ขณะนี้ผลการนับคะแนนยังไม่เป็นทางการ แต่เมื่อดูคร่าว ๆ แล้วการรวบรวมเสียงเพื่อจัดตั้งรัฐบาลอาจจะเป็นเรื่องยาก และคงต้องใช้ศิลปะในการเจรจาอย่างเต็มที่

        "พรรคจะต้องใช้ความสามารถที่มีในการรวบรวมเสียง และคงจะเหนื่อยหน่อยในการจัดตั้งรัฐบาล ในช่วงนี้ คงต้องจับตาดูกันต่อไป บางทีเราอาจจะต้องพึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ก็เป็นได้" นายสมศักดิ์ระบุ

      สำหรับ ผลการเลือกตั้งในส่วนของ จ.สุโขทัย ที่พรรคไม่ได้ยกทั้งจังหวัดนั้น ตนไม่ได้ผิดหวัง เพราะในภาพรวมของภาคเหนือถือว่าพรรคทำได้ตามเป้าหมาย สามารถพาว่าที่ส.ส.รุ่นใหม่เข้ามาได้ โดยเฉพาะในกลุ่มภาคเหนือตอนล่างที่ได้ส.ส.เป็นกอบเป็นกำ เช่น ตาก กำแพงเพชร พิจิตร นครสวรรค์ และเพชรบูรณ์ ซึ่งต้องขอบคุณประชาชนที่ไว้วางใจ และให้การสนับสนุนพรรคพลังประชารัฐ

       "ภาพรวมของผลการเลือกตั้งที่ออกมาถือว่าน่าพอใจ ตรงกับความรู้สึกและกระแสของพรรคพลังประชารัฐที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องก่อนการลงคะแนน และเป็นไปตามเป้าหมายที่พรรควางไว้"

     ส่วนเสียงวิจารณ์และข้อกล่าวหาบัตรเลือกตั้งและคะแนนปริศนานั้น นายสมศักดิ์ กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นหน้าที่ของ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องที่ต้องเร่งชี้แจงและคลายข้อสงสัยในส่วนนี้ ซึ่งถ้าดูจากกระแสที่ได้ลงพื้นที่พบปะชาวบ้าน การที่พรรคได้คะแนนขนาดนี้ไม่ใช่เรื่องแปลก กระแสในโลกโชลเชียลของพรรคอาจจะไม่ดีเหมือนพรรคอื่น แต่อย่าลืมว่ายังมีคนอีกจำนวนมากที่ไม่ได้เล่นโซเซียลหรือไม่ได้แสดงความเห็น โดยเฉพาะชาวบ้านต่างจังหวัด เกษตรกร หรือผู้สูงอายุ ซึ่งนโยบายของพรรคตอบโจทย์คนกลุ่มนี้เป็นอย่างมาก

       อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!