WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช เชิญสื่อไทย-เทศ เกาะติดยกร่าง

คอลัมน์ เกาะติดปฏิรูป

หมายเหตุ - พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช โฆษกคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ ในฐานะประธานคณะอนุ กมธ.ประสานงานเพื่อรับฟังความเห็นและข้อเสนอแนะจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และองค์กรต่างๆ

ภาพรวมกระบวนการพิจารณารัฐธรรมนูญรายมาตราจะออกมาเป็นอย่างไร

      ตั้งเป้าหมายไว้ว่าการพิจารณารายมาตราเสร็จสิ้นภายในวันที่ 3 เมษายนนี้ ทั้ง 4 ภาคส่วน โดยภาคที่ 1 พระมหากษัตริย์และประชาชน ใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ จากเวลาที่มีทั้งหมด 12 สัปดาห์ เมื่อจบภาคที่ 1 แล้วก็ต่อด้วยภาคที่ 3 นิติธรรม ศาลและองค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ โดยจะพูดถึงหมวดที่ 1 ศาลและกระบวนการยุติธรรม หมวด 2 การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ คงใช้เวลาประมาณสัปดาห์ครึ่ง ทั้งนี้จะเหลือภาค 2 และ 4 ซึ่งยังไม่มีการกำหนดว่าจะเป็นช่วงเวลาใด แต่อาจจะนำภาค 2 ผู้นำการเมืองที่ดีและสถาบันการเมือง หมวด 1 ระบบผู้แทนที่ดี และผู้นำการเมืองที่ดีหมวด 2 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มาพิจารณาในที่ประชุมในสัปดาห์หน้าด้วย อย่างไรในระหว่างการพิจารณารายมาตราก็จะนำความเห็นของสาธารณชนที่ส่งเข้ามาและที่กำลังจะออกไปรับฟังเสนอเข้าที่ประชุมหรือช่องทางต่างๆ รวมทั้งข้อมูลที่มีอยู่แล้วจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และพรรคการเมืองที่เสนอมา ซึ่งจะทำให้เห็นว่าการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ให้ความสำคัญกับข้อมูลทั้งหมด และมีความชัดเจนมากขึ้นว่าทาง กมธ. ให้ความสำคัญกับทุกภาคส่วนที่แสดงความคิดเห็น

     เป้าหมายสุดท้าย คือ ต้องยื่นให้กับประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในวันที่17 เมษายน แต่หากดำเนินการเสร็จภายในวันที่ 3 เมษายน คงเหลือเวลาไว้ตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง 

ในเรื่องที่สื่อมวลชนเข้าฟังการพิจารณาจะมีกฎกติกาตรงนี้อย่างไร

    ตรงนี้ต้องมีกติกาเนื่องจากจะมีการเชิญสื่อทั้งไทย สื่อต่างประเทศ และสถานทูตต่างประเทศมารับฟังการพิจารณา ยกร่างฯ รายมาตรา โดยจะขอร้องว่าอย่าส่งเสียงดังรบกวนการทำงานของคณะ กมธ.ยกร่างฯ อาจจะมีที่นั่งสำรองประมาณ 15-20 ที่นั่ง ส่วนการถ่ายภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวจะอนุญาตให้เก็บภาพในช่วงแรกของการประชุมเท่านั้น จากนั้นก็ขอให้นั่งฟังและจดรายละเอียดและที่สำคัญ ?ห้ามถ่ายทอดสดออกโทรทัศน์?

ผู้ที่เข้าร่วมรับฟังการพิจารณารายมาตราสามารถแสดงความคิดเห็นได้หรือไม่

     ไม่ได้ เพราะเชิญมารับฟัง ทุกฝ่าย ทุกภาคส่วนจะไม่สามารถแสดงความคิดเห็นต่อการพิจารณาได้ ส่วนในเรื่องมติที่ออกไปแล้วสื่อสามารถนำไปเขียน นำเสนอได้ตามปกติ เพียงแต่ไม่ให้แสดงความคิดไม่ว่าจะเป็น สนช. สปช. หรือฝ่ายใด

มีการกำหนดออกมาหรือยังว่าเรื่องไหนสงวนไว้ไม่ให้สื่อเข้าร่วมรับฟัง

    ยังไม่มีข้อกำหนดในเรื่องนี้ คือ ส่วนที่ยังไม่ได้ข้อยุติและมีการพิจารณาเยอะมีการแสดงความเห็นกันมาก 

    การที่สื่ออยู่ด้วยหรือคนนอกอยู่ด้วย ความเป็นอิสระในการให้ความคิดเห็นจะลดลง ข้อนี้เป็นเหตุผลเดียวที่จะทำให้เกิดการประชุมลับ เพราะต้องการให้ทุกคนใช้เหตุใช้ผลได้เต็มที่ หรือบางส่วนอาจจะพูดพาดพิงถึงบุคคลภายนอก พาดพิงถึงรัฐธรรมนูญฉบับเก่าๆ เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน คนที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับเก่าก็มานั่งอยู่ด้วย จึงไม่อยากให้ไปปิดกั้นความคิดเห็น หากมีคนเข้ามาฟังเยอะๆ ก็จะทำให้เขาไม่กล้าพูด ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น หรือพอพูดไปสื่ออาจนำไปพาดพิงถึงบุคคลที่ 3 ซึ่งอันนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ฉะนั้นจะเกิดความเสียหายถึงบุคคลนั้นได้เนื่องจากเขาไม่มีโอกาสได้ชี้แจง จะห้ามไม่ให้สื่อนำไปเขียน

    ก็ไม่ได้เพราะได้พูดออกไปแล้ว ในบางประเด็นที่มีการแสดงความคิดเห็นเยอะๆ อาจมีการพาดพิงที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลเหล่านั้นได้ มันเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะ

พอจะบอกได้หรือไม่ร่างรัฐธรรมนูญคร่าวๆ ภาคที่ใกล้เสร็จ มีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง

    อย่างภาคที่ 1 มีการเพิ่มมาตราใหม่ๆ ในส่วนของภาคประชาชน ส่วนในหมวดพระมหากษัตริย์มี 18 มาตราและบททั่วไป 7 มาตรา ส่วนบทอื่นๆ ก็มีเขียนบ้างแล้ว ส่วนภาค 2 หมวด 2 แนวนโยบายพื้นฐานของรัฐและเรื่องของเยาวชน มีการแก้ไขในเรื่องภาคของประชาชนและเรื่องของสิทธิของเยาวชนซึ่งในหมวดนี้จะให้ความสำคัญเกี่ยวกับสิทธิของเด็กและเยาวชนค่อนข้างสูง จะให้การคุ้มครองแนวทางการช่วยเหลือจากภาครัฐให้อยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขเพียงพอและมีมาตรฐานการครองชีพที่เหมาะสม ส่วนมารดาที่ให้กำเนิดบุตรควรได้รับสิทธิความคุ้มครองเป็นพิเศษ ได้รับสวัสดิการตามควรจากรัฐและนายจ้าง ทั้งก่อนและหลังการกำเนิดบุตร ที่สำคัญอีกอันหนึ่ง คือ เด็ก เยาวชน สตรี และบุคคลซึ่งมีอายุเกิน 60 ปี และไม่มีรายได้

     เพียงพอต่อการยังชีพและบุคคลคนที่พิการหรือทุพพลภาพย่อมมีสิทธิได้รับสวัสดิการ ความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ เรื่องการศึกษารัฐต้องจัดให้การส่งเสริมการอบรมการศึกษาทุกระดับ ทุกรูปแบบ ตลอดจนให้จัดให้มีการศึกษาอบรมความรู้ ศีลธรรม ความรู้ การพัฒนาจิตใจ และปัญญาที่เหมาะสม รวมถึงรัฐต้องดูแลเด็กให้มีความแข็งแรง สมบูรณ์ทั้งจิตใจและปัญญา คุณธรรมและจริยธรรม

    เกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพของประชาชนของบุคคล เป็นเรื่องที่มีความสำคัญ เป็นเรื่องพื้นฐาน เกี่ยวข้องกับประชาชนโดยตรง ซึ่งมีความต่างจากรัฐธรรมนูญฉบับก่อนๆ คือ เพิ่มสิทธิของประชาชนและหน้าที่ของรัฐบาลมากขึ้น ต้องดูแลในด้านสวัสดิการให้กับเด็ก สตรี คนที่อายุเกิน 60 ปีขึ้นไป เป็นข้อที่ทำให้ทุกคนมีสิทธิเรียกร้องได้ว่าไม่มีบ้านจะอยู่ครอบคลุมได้มากขึ้น เพราะตรงนี้คือหน้าที่ของรัฐ มีความชัดเจนในหน้าที่พลเมือง และชัดเจนมากยิ่งขึ้น ในด้านสิทธิมนุษยชน สิทธิของบุคคล สิทธิของพลเมือง ซึ่งแยกแยะได้ชัดเจนกว่าในอดีตก็ยังบอกไม่ได้ 

อย่างที่บอกมาว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ต้องมีหลายอย่างเพิ่มมากขึ้น แสดงว่าที่เคยบอกรัฐธรรมนูญจะสั้นจะเป็นไปได้หรือไม่ แล้วเช่นนี้จะมีกี่มาตรา

    ยังบอกไม่ได้ แต่ถ้ามากกว่าเดิมก็เสียฟอร์ม อย่างตอนนี้ ภาค 1 มี 64 มาตรา แต่ก็ยังไม่แน่นอนอาจจะเพิ่มหรือลดลงก็ได้ แต่ทั้งนี้ที่ผมคาดเดาไม่น่าจะเกิน 300 มาตรา ต้องคุมตรงนี้ให้อยู่ 

หากร่างรัฐธรรมนูญเสร็จทันในเวลา สุดท้ายแล้วจะมีการทำประชามติหรือไม่

   อย่าเพิ่งคิดถึงเรื่องการทำประชามติ คือเรื่องนี้ถ้าทำต้องแก้รัฐธรรมนูญเพราะต้องเพิ่มเวลา และเรื่องนี้ก็ไม่ใช่หน้าที่ อย่าเพิ่งพูดเลย 

คิดว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้จะใช้ได้จริงและนานหรือไม่เพราะเมื่อไหร่มีรัฐประหารก็ถูกฉีกอีก แม้จะทำมาดีอย่างไร

    ไม่มีแล้วมั้งรัฐประหาร ต้องมองโลกในแง่ดีดีกว่าว่า การรัฐประหารครั้งนี้ต่างจากครั้งก่อนๆ เพราะครั้งนี้เป็นการพัฒนาประเทศโดยการปฏิรูป ซึ่งครั้งก่อนๆ รัฐธรรมนูญใช้แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า แต่ฉบับนี้เป็นฉบับปฏิรูป ทำให้สังคม ประชาชนได้มีชีวิตที่ดีขึ้น มีความปรองดองกันมากขึ้น ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เสริมสร้างความปรองดองและการปฏิรูป ทำให้จับต้องได้ ทุกคนจะมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น คนยากไร้ก็จะมีถิ่นที่พักอาศัย ทั้งหมดเป็นหน้าที่ของรัฐ รัฐเป็นฝ่ายที่รับผิดชอบ นับเป็นมิติใหม่ของการรัฐประหาร 

เรื่องอำนาจถอดถอนที่นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธาน กมธ.ยกร่างฯแถลงหากสภาถอดถอนไม่สำเร็จจะให้ประชาชนเป็นผู้ถอดถอนมองอย่างไรและจะมีการบรรจุลงในรัฐธรรมนูญแน่นอนหรือไม่

    อาจจะมีการบรรจุในรัฐธรรมนูญ เนื่องจากมีคนมานำเสนอนายบวรศักดิ์และมีโอกาสที่จะนำเข้ามาบรรจุสูง แต่อย่างไรการมอบอำนาจให้ประชาชนเป็นผู้ถอดถอน ทาง กมธ.ยังไม่ได้บรรจุในรายมาตราและจะต้องมีกฎกติกาในการนำเข้าสู่การยกร่างเป็นรายมาตรา หลังจากนั้นก็นำเข้าที่ประชุมและต้องแสดงความคิดเห็นว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ซึ่งเรื่องยังอีกนานเพราะจะไปอยู่ในส่วนการถอดถอนการใช้อำนาจรัฐ น่าจะเป็นช่วงสิ้นเดือนนี้หรือก่อนสิ้นเดือน 1 สัปดาห์ โดยเรื่องนี้หากได้บรรจุลงในรัฐธรรมนูญประชาชนที่มีสิทธิในการถอดถอนจะต้องเป็นผู้ที่มีสิทธิและต้องไปใช้สิทธิ ต้องมีการกำหนดจำนวนไปเลยว่าต้องได้เสียงกี่คน ส่วนรูปแบบจะเหมือนการเลือกตั้งหรือไม่ยังไม่ทราบ เนื่องจากยังไม่ได้เข้าที่ประชุม หากเข้าที่ประชุมแล้วจะมีการยกร่างและให้ความเห็นชอบ ต้องดูก่อนว่าข้อเสนอเป็นอย่างไร อย่างไรตนยังบอกไม่ได้เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอนี้เพราะยังไม่ทราบรายละเอียด 

   การตรวจสอบนักการเมืองในรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะมีในรูปแบบต่างจากที่เคยมีมา จะมีการเข้าชื่อกันสามารถตรวจสอบได้ รวมถึงตรวจสอบผู้มีอำนาจรัฐในท้องถิ่นด้วย อย่างแนวคิดที่จะตั้งเป็นสมัชชาท้องถิ่นขึ้นมา ส่วนนี้ก็จะตรวจสอบนักการเมือง ตรวจสอบการเลือกตั้ง ตรวจสอบผู้ที่มีอำนาจในองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นต่างๆ ได้ 

   ฉะนั้นสิ่งเหล่านี้ก็จะเข้มข้นขึ้นในการตรวจสอบผู้ที่อยู่ในองค์กรของรัฐ รวมถึงต้องหากลไกป้องกันไม่ให้คนที่ไม่ดีและมีประวัติในการทุจริตต่างๆ เข้ามามีบทบาทกับการเมืองได้อีก การเข้าชื่อของประชาชนก็เป็นมาตรการหรือกลไกหนึ่งในการที่อยากจะป้องกัน ไม่ให้คนที่มีประวัติไม่ดี คนมีจริยธรรมไม่ดีกลับมาเล่นการเมืองได้อีก

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!