WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

DGT1 

DGA เร่งยกระดับนวัตกรรมภาครัฐโกอินเตอร์ อวดโฉมงานวิจัยสู่เวทีสากลผ่านงาน DGTi-Con 2022

      สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล จัดงานประชุมวิชาการนานาชาติ ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมภาครัฐ DGTI-Con 2022 อย่างยิ่งใหญ่ เพื่อโชว์ผลงานวิจัยด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล สำหรับภาครัฐ เล็งปล่อยผลงานสู่สายตาระดับโลก ลงฐานข้อมูลนานาชาติของ Institute of Electrical and Electronics Engineers (IEEE) และตีพิมพ์ใน Journal of Intelligent Informatics and Smart Technology โดยได้รับเกียรติจาก นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี มาเป็นประธานเปิดงาน และปาฐกถาพิเศษ

       นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวเปิดงานพร้อมปาฐกถาพิเศษภายใต้การเปลี่ยนแปลงและความจำเป็นเร่งด่วนของสถานการณ์ปัจจุบัน ภาครัฐจึงต้องเร่งขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัลในเชิงรุกมากขึ้น ตามแนวทางการพัฒนา 4 ประการ คือ 1. การบูรณาการการทำงานและเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐ เพื่อเปิดทางสู่การใช้ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ในการพัฒนาประเทศด้านต่างๆ

TU720x100

       ยกระดับทักษะด้านดิจิทัลและการพัฒนาทัศนคติของบุคลากรให้พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง 3. พัฒนาบริการออนไลน์ครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่ม พร้อมสร้างความรู้ความเข้าใจและพัฒนาทักษะดิจิทัล (Digital Literacy) และ 4. การตระหนักถึงความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลและเคารพความเป็นส่วนตัวของข้อมูลประชาชน รวมถึงการเดินหน้าขับเคลื่อนเศรษฐกิจชีวภาพหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG Economy) ที่เป็นวาระแห่งชาติ

      ด้วยการเชื่อมโยง BCG เข้ากับการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล โดยส่งเสริมด้านเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ความปลอดภัย (Safety) และความยั่งยืน (Sustainability) เพื่อเป็นทางเลือกหนึ่งของยุทธศาสตร์อาเซียนในยุคหลังโควิด-19

      ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมที่กล่าวมา ทำให้ภาครัฐเล็งเห็นความจำเป็นที่จะต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้หน่วยงานภาครัฐ ซึ่งรวมทั้งการให้บริการและกระบวนการทำงานให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล (Digital Transformation) เพื่อรองรับกับพฤติกรรมและสถานการณ์ในความต้องการรับบริการผ่านช่องทางออนไลน์ของประชาชน และภาคธุรกิจมากยิ่งขึ้น

GC 720x100

     จึงได้เกิด (ร่าง) แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2566 – 2570 ขึ้น โดยมุ่งหวังให้ภาคประชาชน ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม และภาครัฐได้ประโยชน์จากการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล บรรลุผลลัพธ์ในปี 2570

     “(ร่าง) แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2566-2570 นี้ นอกจากจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางสิทธิสวัสดิการประชาชน ส่งเสริมศักยภาพการให้บริการด้านการศึกษา การเกษตร การมีส่วนร่วม โปร่งใส และตรวจสอบได้ของประชาชน ยังมุ่งเน้นการให้บริการดิจิทัลที่ครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่ม ทุกท้องถิ่นมากขึ้น รวมถึงการเพิ่มขีดความสามารถของหน่วยงานภาครัฐด้วยการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในการพัฒนาประเทศ ทั้งเทคโนโลยี AI, Blockchainฯลฯ มาช่วยให้เกิดประโยชน์มหาศาลกับการพัฒนาประเทศอย่างก้าวกระโดด

     ซึ่งการจัดงานประชุมวิชาการนานาชาติ ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมภาครัฐ The International Conference on Digital Government Technology and Innovation (DGTI-Con 2022) นับเป็นงานที่สำคัญ และตอบวัตถุประสงค์ของแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทยอย่างแท้จริง และในวันนี้ ก็จะได้เห็นผลงานที่ผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งไทยและต่างประเทศ มานำเสนอในการประชุมนานาชาติครั้งนี้ด้วย”นายอนุชา กล่าว

DGT2

      ด้าน ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล หรือ DGA เปิดเผยว่า ในฐานะหน่วยงานกลางในการขับเคลื่อนการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล และมีหน้าที่ในการส่งเสริมสนับสนุนให้บริการโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อการค้นคว้าและการวิจัยนวัตกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล

       โดยได้จัดตั้งศูนย์ปัญญาประดิษฐ์ภาครัฐ ในการพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI : Artificial  Intelligence) ให้สามารถประยุกต์ใช้กับระบบการบริหารและการทำงานภาครัฐ เพื่ออำนวยความสะดวก รวดเร็ว และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน (productivity)ให้กับประชาชน เพื่อมุ่งสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล ซึ่งที่ผ่านมาได้ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน

BANPU 720x100

      โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคการศึกษา ในการนำ AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์ เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยในการจัดการข้อมูลจำนวนมหาศาล วิเคราะห์ข้อมูล อันนำไปสู่การเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจ และตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคในอุตสาหกรรมต่างๆ เร็วกว่า

      และแม่นยำยิ่งขึ้น ที่ผ่านมา ได้มีการพัฒนาระบบแพลตฟอร์มหุ่นยนต์สนทนาอัตโนมัติ หรือ แชทบอท (Chatbot) สำหรับหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ถูกสร้างมาเพื่ออำนวยความสะดวกในการช่วยถามตอบกึ่งอัตโนมัติแบบเรียนรู้เชิงบูรณาการระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์ ที่สามารถสื่อสารผ่านข้อความได้แบบ Real Time มีการพัฒนาระบบต้นแบบปัญญาประดิษฐ์เพื่อการตรวจสอบ (Artificial Intelligence for Performance Audit: AI for PA) เครื่องมือช่วยสืบค้นและวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างแม่นยำรวดเร็วอันนำไปสู่ระบบนิเวศสำหรับนวัตกรรมดิจิทัลภาครัฐ (GovTech) อย่างเป็นรูปธรรม และต้นแบบนวัตกรรมที่หลากหลายตามความต้องการของหน่วยงานรัฐ สำหรับงานบริการประชาชนให้ครอบคลุมในมิติต่างๆ มากขึ้น

QIC 720x100

      นอกจากนี้ มีการพัฒนาระบบ Auto Tag และโปรแกรมจำเสียงอัตโนมัติ (Automatic Speech Recognition หรือ ASR) ที่นำเอานวัตกรรมเทคโนโลยี Big Data Analytics ผนวกกับเทคโนโลยีเครื่องจักรเรียนรู้ (machine learning) เพื่อพัฒนาต้นแบบระบบที่สามารถอำนวยความสะดวกในการจัดหมวดหมู่ ข้อความเรื่องร้องเรียนต่างๆ ของหน่วยงานภาครัฐแบบได้อย่างอัตโนมัติแบบ Real-time รวมทั้งการจัดทำหนังสือ Digital innovation in Local Government ที่เป็นเหมือนไกด์ไลน์ในการเข้าสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล อีกด้วย      

     สำหรับ การประชุมวิชาการนานาชาติในครั้งนี้ เป็นเวทีสากลในการนำเสนอผลงานวิชาการและผลงานวิจัย ซึ่งเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่างนักวิจัยในประเทศและต่างประเทศ โดยมุ่งเน้นผลงานวิจัยทางด้านเทคโนโลยี ได้แก่ เทคโนโลยีเพื่อสาธารณะประโยชน์ (Technology for Public Sector), การเกษตรและความยั่งยืน (Agricultural and Sustainability) การบริการและสวัสดิการสังคม (Services and Welfare) วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium-sized Enterprises SME)  และการศึกษายุคดิจิทัล (Smart Education) โดยมีงานวิจัยที่ส่งเข้าร่วมงานทั้งหมด จำนวน 63 ผลงาน อาทิ ประเทศไทย บราซิล ญี่ปุ่น อินเดีย เป็นต้น

sme 720x100

       ส่วนใหญ่เป็นการนำเสนอในหัวข้อ E-Government , Innovations & Technology for Public Sector และ Education & Other ทั้งหมดนี้ เพื่อผลักดันให้เกิดการต่อยอดผลงานวิจัย และนำไปสู่การใช้ประโยชน์ในงานบริการของภาครัฐ โดยมีเป้าหมายในการให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการบริการภาครัฐที่มีประสิทธิภาพครบวงจร และรวดเร็วยิ่งขึ้น

      ทั้งนี้ ผลงานวิจัยหรือบทความวิชาการ จำนวน 26 ผลงาน ที่ผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จะถูกนำเสนอในการประชุมนานาชาติ ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมภาครัฐ The International Conference on Digital Government Technology and Innovation (DGTI-Con 2022) ครั้งนี้ และนำไปเผยแพร่ลงในฐานข้อมูลนานาชาติของ Institute of Electrical and Electronics Engineers (IEEE)

      รวมทั้งผลงานที่ผ่านการคัดเลือกบางส่วนจะได้รับโอกาสในการเผยแพร่และตีพิมพ์ใน Journal of Intelligent Informatics and Smart Technology อีกด้วย โดยงานครั้งนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 24-25 มีนาคม 2565 ณ ห้องประชุมเบญจสิริ แกรนด์ บอลรูม โรงแรมโนโวเทล สุขุมวิท 20 และ LIVE ผ่านทางเพจ Facebook: DGA Thailand , Youtube : DGA Thailand

DGT3 

คำกล่าวรายงาน

ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ

ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล

ในงานประชุมวิชาการนานาชาติ ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมภาครัฐ DGTi-Con 2022

วันที่ 24 มีนาคม 2565  ณ ห้องประชุมเบญจสิริ แกรนด์ บอลรูม โรงแรมโนโวเทล สุขุมวิท 20

พร้อม LIVE ผ่านทางเพจ Facebook : DGA Thailand , และ Youtube : DGA Thailand

 

เรียน   ท่านรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

          ท่านผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ดร.ชาญกฤช เดชวิทักษ์

ท่านผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐ

          ท่านผู้บริหารหน่วยงานภาคเอกชน

          ท่านผู้มีเกียรติ และสื่อมวลชนทุกท่าน

       กระผม ในนามของสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ DGA ต้องขอขอบพระคุณท่านอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ได้ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิดประชุมวิชาการนานาชาติ ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมภาครัฐ DGTi-CON 2022 และกล่าวปาฐกถาพิเศษ

       พร้อมทั้งขอบคุณ ท่านผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐและเอกชน นักวิชาการ นักวิจัย สื่อมวลชน และแขก ผู้มีเกียรติทุกท่าน รวมถึงผู้รับชมทางออนไลน์ที่ให้เกียรติเข้าร่วมงานประชุมวิชาการนานาชาติ ในวันนี้

      สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ DGA ในฐานะหน่วยงานกลางในการขับเคลื่อนการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล และมีหน้าที่ในการส่งเสริมสนับสนุนให้บริการโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อการค้นคว้าและการวิจัยนวัตกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล โดยที่ผ่านมาได้จัดตั้งศูนย์ปัญญาประดิษฐ์ภาครัฐ ในการพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI : Artificial  Intelligence) ให้สามารถประยุกต์ใช้กับระบบการบริหารและการทำงานภาครัฐ เพื่ออำนวยความสะดวก รวดเร็ว

วิริยะ 720x100

    และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน (productivity) ให้กับประชาชนและมุ่งสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล ซึ่งที่ผ่านมาได้ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคการศึกษา ในการนำ AI เข้ามาช่วยในการจัดการข้อมูลจำนวนมหาศาล วิเคราะห์ข้อมูล อันนำไปสู่การเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจ และตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคในอุตสาหกรรมต่างๆ เร็วกว่า และแม่นยำยิ่งขึ้น โดยทาง DGA ได้ดำเนินโครงการดังนี้

       - การพัฒนาระบบแพลตฟอร์มหุ่นยนต์สนทนาอัตโนมัติ หรือ แชทบอท (Chatbot) สำหรับหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ถูกสร้างมาเพื่ออำนวยความสะดวกในการช่วยถามตอบกึ่งอัตโนมัติแบบเรียนรู้เชิงบูรณาการระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์ ที่สามารถสื่อสารผ่านข้อความได้แบบ Real Time 

      - การพัฒนาระบบต้นแบบปัญญาประดิษฐ์เพื่อการตรวจสอบ (Artificial Intelligence for Performance Audit: AI for PA) เครื่องมือช่วยสืบค้นและวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างแม่นยำรวดเร็วอันนำไปสู่ระบบนิเวศสำหรับนวัตกรรมดิจิทัลภาครัฐ (GovTech) อย่างเป็นรูปธรรม

     - การพัฒนาระบบ Auto Tag และโปรแกรมจำเสียงอัตโนมัติ (Automatic Speech Recognition หรือ ASR) ที่นำเอานวัตกรรมเทคโนโลยี Big Data Analytics ผนวกกับเทคโนโลยีเครื่องจักรเรียนรู้ (machine learning) เพื่อพัฒนาต้นแบบระบบที่สามารถอำนวยความสะดวกในการจัดหมวดหมู่ ข้อความเรื่องร้องเรียนต่าง ๆ ของหน่วยงานภาครัฐได้อย่างอัตโนมัติแบบ Real-time รวมทั้งการจัดทำหนังสือ Digital innovation in Local Government ที่เป็นเหมือนไกด์ไลน์ในการเข้าสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล อีกด้วย      

ais 720x100

      นอกจากนี้ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ DGA โดยศูนย์เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลภาครัฐ ยังได้จัดให้มีการจัดประชุมวิชาการนานาชาติ ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมภาครัฐ The International Conference on Digital Government Technology and Innovation (DGTI-Con 2022) เพื่อสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัย

      ผลงานวิชาการให้เป็นที่รู้จักสามารถนำไปต่อยอดให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ความรู้ด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรมดิจิทัล ในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมของประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน รวมทั้งเป็นเวทีสำหรับการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลภาครัฐ ระหว่างนักวิจัย หรือนักวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศ ได้มีโอกาสนำเสนอผลงานวิจัย บทความทางวิชาการด้านต่างๆ

EXIM One 720x90 C J

     การประชุมวิชาการนานาชาติในครั้งนี้ จึงถือเป็นเวทีสากลในการนำเสนอผลงานวิชาการและผลงานวิจัย อันเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่างนักวิจัยในประเทศและต่างประเทศ โดยมุ่งเน้นผลงานวิจัยทางด้านเทคโนโลยีเป็นหลัก ได้แก่ เทคโนโลยีเพื่อสาธารณะประโยชน์ (Technology for Public Sector), การเกษตรและความยั่งยืน (Agricultural and Sustainability)  การบริการและสวัสดิการสังคม (Services and Welfare)  วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium-sized Enterprises SME) 

      และการศึกษายุคดิจิทัล (Smart Education) โดยมีงานวิจัยที่ส่งเข้าร่วมงานทั้งหมด จำนวน 63 ผลงาน อาทิ ประเทศไทย บราซิล ญี่ปุ่น อินเดียเป็นต้น ส่วนใหญ่เป็นในหัวข้อ E-Government , Innovations & Technology for Public Sector และ Education & Other ทั้งหมดนี้ เพื่อผลักดันให้เกิดการต่อยอดผลงานวิจัย และนำไปสู่การใช้ประโยชน์ในงานบริการของภาครัฐ โดยมีเป้าหมายในการให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการบริการภาครัฐที่มีประสิทธิภาพครบวงจร และรวดเร็วยิ่งขึ้น

     โดยมีผลงานวิจัยหรือบทความวิชาการ จำนวน 26 ผลงาน ที่ผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จะถูกนำเสนอในการประชุมครั้งนี้ และนำไปเผยแพร่ลงในฐานข้อมูลนานาชาติของ Institute of Electrical and Electronics Engineers (IEEE) รวมทั้งผลงานที่ผ่านการคัดเลือกบางส่วนจะได้รับโอกาสในการเผยแพร่และตีพิมพ์ใน Journal of Intelligent Informatics and Smart Technology อีกด้วย

       ผมขอใช้โอกาสนี้ ร่วมเป็นกำลังใจให้ทุกท่านสร้างสรรค์ผลงานที่มีประโยชน์ต่อประเทศชาติ และประชาชนคนไทยทุกคน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมของคนในชาติ ได้อย่างมั่นคง มั่นคั่ง ยั่งยืน ต่อไปครับ

       ขอบคุณครับ

 

 Click Donate Support Web 

 

hino2021

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!