WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

SEC news

Utility Token: พัฒนาการและการกำกับดูแล
โดย ฝ่ายส่งเสริมเทคโนโลยีทางการเงิน
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)

 

          ในช่วงที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่า “สินทรัพย์ดิจิทัล” มีพัฒนาการและการใช้งานที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยนอกจากคริปโทเคอร์เรนซี และโทเคนดิจิทัลที่ให้สิทธิในการใช้งานบนบล็อกเชน (blockchain) หรือโครงการต่างๆ แล้ว ปัจจุบันภาคเอกชนยังสนใจนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้ในการออกโทเคนดิจิทัลในหลากหลายรูปแบบ เช่น การแปลงคูปอง voucher คะแนนสะสม บัตรเข้างานต่างๆ ให้อยู่ในรูปโทเคนดิจิทัล เพื่ออำนวยความสะดวกในการซื้อขายแลกเปลี่ยน หรือเป็นการนำเทคโนโลยีมาใช้แทนใบรับรองหรือการแสดงสิทธิต่างๆ เช่น คาร์บอนเครดิต (carbon credit) ใบรับรองพลังงานทดแทน (renewable energy certificate) เป็นต้น
          ขณะที่พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 (พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ) ได้แบ่งสินทรัพย์ดิจิทัลออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ คริปโทเคอร์เรนซี และโทเคนดิจิทัล ซึ่งมีลักษณะและการกำกับดูแลที่แตกต่างกัน โดยโทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์ หรือ utility token เป็นเหรียญดิจิทัลที่ให้สิทธิแก่ผู้ถือในการได้มาซึ่งสินค้า บริการ หรือสิทธิอื่นใดที่เฉพาะเจาะจง ทั้งนี้ utility token ยังแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ “utility token พร้อมใช้” และ “utility token ไม่พร้อมใช้”
          utility token พร้อมใช้ เป็นเหรียญที่ผู้ถือสามารถใช้สิทธิแลกหรือใช้บริการตามที่กำหนดได้ทันทีตั้งแต่วันที่เสนอขายเหรียญครั้งแรก ซึ่ง ก.ล.ต. ไม่ได้กำกับดูแลการออกเสนอขายเหรียญประเภทนี้ แต่จะกำกับดูแลการทำหน้าที่ของผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวกับ utility token พร้อมใช้ตามที่กำหนด เช่น ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล นายหน้าสินทรัพย์ดิจิทัล ผู้ค้าสินทรัพย์ดิจิทัล ที่ปรึกษาสินทรัพย์ดิจิทัล ผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัล และผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล
          utility token ไม่พร้อมใช้ เป็นเหรียญที่ผู้ถือยังไม่สามารถใช้สิทธิแลกหรือใช้ประโยชน์สินค้าหรือบริการนั้นได้ทันทีในวันเสนอขาย แต่ต้องรอใช้สิทธิในอนาคต ซึ่ง ก.ล.ต. กำกับดูแลการออกเสนอขาย utility token ไม่พร้อมใช้ โดยผู้ออกเสนอขายโทเคนดิจิทัล (Issuer) จะต้องได้รับอนุญาตจาก ก.ล.ต. มีการเปิดเผยข้อมูลตามที่กำหนด และต้องเสนอขายผ่านผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล (ICO Portal) ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. นอกจากนี้ ก.ล.ต. ยังกำกับดูแลการทำหน้าที่ของผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องเช่นเดียวกับ utility token พร้อมใช้
          ต่อมาเมื่อมีผู้ให้ความสนใจซื้อขาย utility token มากขึ้น และมีความประสงค์จะนำมาซื้อขายแลกเปลี่ยน (list) ในศูนย์ซื้อขายฯ ก.ล.ต. จึงได้มีการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการกำกับดูแล utility token โดยเฉพาะ utility token พร้อมใช้ ที่ list ในศูนย์ซื้อขายฯ โดยกำหนดให้ต้องได้รับอนุญาตก่อนการเสนอขาย เปิดเผยข้อมูลตามที่กำหนด และต้องเสนอขายผ่าน ICO Portal เพื่อให้ผู้ซื้อขายมีข้อมูลครบถ้วนถูกต้องเพียงพอในการตัดสินใจ
          หลังจากการเปิดรับฟังความคิดเห็นดังกล่าว ก.ล.ต. ได้นำผลการรับฟังความคิดเห็นมาพิจารณา และเห็นว่า utility token ดังกล่าวอาจแบ่งได้เป็น utility token ที่มีลักษณะของการอุปโภคบริโภค เช่น การแปลงคูปอง บัตร ใบรับรองต่างๆ เป็นโทเคนดิจิทัล และ utility token ที่ให้สิทธิในการใช้งาน Distributed Ledger Technology (DLT) โครงการ Decentralized Finance (DeFi) และ Centralized Finance (CeFi) หรือเป็นเหรียญประจำศูนย์ซื้อขายฯ ซึ่ง utility token พร้อมใช้แต่ละประเภทจะมีลักษณะ วัตถุประสงค์การใช้งาน และความเสี่ยงที่แตกต่างกันไป และการกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องก็ควรสอดคล้องกับ utility token พร้อมใช้แต่ละประเภท เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจตามปกติ (business as usual) และไม่เป็นการเพิ่มขั้นตอน ระยะเวลา และต้นทุนสำหรับผู้ประกอบธุรกิจเกินสมควร และในขณะเดียวกันผู้ลงทุน/ผู้ซื้อขายได้รับความคุ้มครองอย่างเพียงพอเหมาะสม
          ดังนั้น ก.ล.ต. จึงอยู่ระหว่างทบทวนกฎเกณฑ์ในการกำกับดูแล “utility token พร้อมใช้” ดังกล่าว เพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะ ความเสี่ยง และการใช้งาน utility token พร้อมใช้แต่ละประเภท โดยมีกลไกคุ้มครองผู้ซื้อขายที่เพียงพอเหมาะสม ในขณะที่ไม่เป็นอุปสรรคต่อการนำเทคโนโลยีมาใช้ในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม การพัฒนานวัตกรรม และการส่งเสริมนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ


A121171

Click Donate Support Web  

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100ais 720x100BANPU 720x100TU720x100sme 720x100

QIC 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!