WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

CBธนวรรธน พลวชยม.หอการค้าเผย ดัชนีคอรัปชั่นปี 59 อยู่ที่ 55 ดีสุดในรอบ 6 ปี ชี้อัตราจ่ายเงินใต้โต๊ะลดลง 25-35% ช่วยรัฐฯ ประหยัดงบกว่า 3 แสนลบ.

         มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผย ดัชนีคอรัปชั่นไทยปี 59 อยู่ที่ 55 ทรงตัวจากปี 58 หลัง ดีที่สุดในรอบ 6 ปี พบอัตราการจ่ายเงินใต้โต๊ะลดลง 25-35% คิดเป็นมูลค่ากว่า 400,000 ลบ. เหลือเพียง 15% หรือ 120,000 ลบ. ช่วยรัฐบาลประหยัดงบกว่า 300,000 ลบ.

 นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า สถานการณ์ทุจริตคอร์รัปชั่นไทยปี 59 ที่ผ่านมา ยังทรงตัวต่อเนื่องจากปี 58 แต่โดยภาพรวมแล้วถือว่าดีขึ้น และดีที่สุดในรอบ 6 ปีที่ผ่านมา โดยมีพบว่ามีอัตราการจ่ายเงินใต้โต๊ะลดลงจากเดิมที่เคยจ่าย 25-35% คิดเป็นมูลค่ากว่า 400,000 ล้านบาท เหลือเพียง 15% หรือ 120,000 ล้านบาท ทำให้รัฐบาลประหยัดงบประมาณรายจ่ายไปได้กว่า 300,000 ล้านบาท โดยการลดเรียกเงินสินบนทุก ๆ 1% ส่งผลให้ลดการคอร์รัปชั่นลง 10,000 ล้านบาท

 โดยดัชนีสถานการณ์คอร์รัปชันไทย เดือนธ.ค. 59 ที่ผ่านมา อยู่ที่ 55 เท่ากับปี 58 ที่ผ่านมา แต่โดยภาพรวมแล้ว มีแนวโน้มที่ดีขึ้น และถือเป็นคะแนนที่ดีที่สุดในรอบ 6 ปี ส่วนดัชนีแนวโน้มสถานการณ์คอร์รัปชั่นไทยอยู่ที่ 57 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าที่อยู่ 56 ขณะที่ดัชนีการป้องกันการคอร์รัปชั่นอยู่ที่ 55 ลดลงจากปีก่อนหน้าที่ 53 แต่ดัชนีปัญหาและความรุนแรงอยู่ที่ 49 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าที่ 48 ถือว่ายังไม่ผ่าน เท่ากับว่า ปัญหาคอร์รัปชั่นนั้น ประเทศไทยมีการสร้างจริยธรรมที่ดีขึ้น มีการป้องกันที่ดีขึ้น มีการปราบปรามที่ดีขึ้น แต่ในแง่สถานการณ์นั้นยังไม่ดีขึ้น และมีสัญญาณว่ามีความรุนแรงมากขึ้น

 “จากการสอบถามผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจกับภาครัฐ ที่ต้องจ่ายเงินเพิ่มพิเศษแก่ข้าราชการ นักการเมืองที่ทุจริตเพื่อให้ได้สัญญาทำงาน พบว่า มีอัตราการจ่ายที่ลดลง โดย ผู้ประกอบการ 90% ยอมรับว่าจ่าย แต่ในอัตรา 1-15% ของงบประมาณ ซึ่งลดลงต่อเนื่อง จาก ปี 53-56 ที่จ่ายเฉลี่ย 25-35% ปี 57 เหลือ 15-25% ปี 58 เหลือ 1-15% หรือจ่ายในอัตราเฉลี่ยที่ลดลง

  รัฐบาลชุดปัจจุบันนี้ให้ความสำคัญกับการต่อต้านทุจริต และทำได้ดี แต่ทั้งนี้ยอมรับว่า จากนี้ไป เป็นห่วงสถานการณ์ต่อจากนี้ เนื่องจากมีสัญญาณว่า ปัญหาและแนวโน้มการคอร์รัปชั่นในปี 60 นี้จะรุนแรงขึ้นกว่าปีก่อนหน้า ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์ที่รัฐบาลกำลังจะลงทุนก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ต่าง ๆ ที่ต้องเริ่มเบิกจ่ายและใช้เงินงบประมาณจำนวนมาก จึงต้องการให้รัฐบาลให้ความสำคัญ ต่อการตรวจสอบและป้องกันจุดที่จะทำให้เกิดปัญหาคอร์รัปชั่นขึ้น ขอให้มุ่งมั่นที่จะปราบปราบ และต่อต้านให้เต็มที่ยิ่งขึ้น

 “ตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 57 ที่รัฐบาลชุดปัจจุบันนี้เข้ามาบริหารประเทศ ความเสียหายจากปัญหาคอร์รัปชั่นเฉลี่ย 120,000 ล้านบาท สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจไทย (จีดีพี) 0.8% ต่างจากอดีตที่ผ่านมา ที่เคยเสียหายถึง 300,000-400,000 ล้านบาท กระทบจีดีพี 2.5% ซึ่งเมื่อดูสถานการณ์แล้ว ถือว่าสอดคล้องกัน โดยปี 58 รัฐบาลยังไม่ได้มีโครงการขนาดใหญ่ออกมา ขณะเดียวกันได้เริ่มต้นมีโครงการปราบปราบทุจริตต่าง ๆ ก็เหมือนหมูกลัวน้ำร้อน จึงหยุดพฤติกรรมทุจริตไปก่อน ต่อมาปี 59 รัฐบาลเริ่มมีโครงการต่าง ๆ ออกมา ขณะที่หมูเริ่มคุ้นกับน้ำอุ่นแล้ว แต่ปี 60 นี้ ดูเหมือนว่าหมูจะวิ่งสู้ฟัด เพื่อให้ได้งานต่าง ๆ ที่รัฐบาลกำลังทยอยออกมาในปีนี้นายธนวรรธน์ กล่าว

 ทั้งนี้ โครงสร้างปัญหาคอร์รัปชั่นไทยเปลี่ยนไป โดยมีปัญหาทุจริตลดลง ไม่ได้เกิดจากระบบเป็นหลักเหมือนอดีตแล้ว แต่ปรับเปลี่ยนไปสู่การเกิดปัญหาเฉพาะจุด เฉพาะที่ตัวบุคคล ปัจเจกบุคคลแทน เนื่องจากกฎหมายยังมีช่องโหว่ให้ใช้ดุลยพินิจ ซึ่งเอื้อต่อการทุจริต รวมทั้งเจ้าหน้าที่รัฐก็ยังขาดคุณธรรม และไม่ปฏิบัติตามจรรยาบรรณ ขณะที่กระบวนการทางการเมืองยังขาดความโปร่งใส และตรวจสอบได้ยาก เป็น 3 สาเหตุหลักที่ยังทำให้เกิดคอร์รัปชั่นในปัจจุบันนี้ โดยเฉพาะการให้สินบน ของกำนัล หรือรางวัลต่าง ๆ

 พร้อมกันนี้ ภาคประชาชน และเอกชน ต้องการให้รัฐบาลบังคับใช้กฎหมายให้เข้มงวดมากขึ้น มีมาตรการลงโทษอย่างเด็ดขาด รวมทั้งทำให้การเมืองโปรงใส และสนับสนุนให้ใช้เครือข่าย หรือภาคประชาชนในการตรวจสอบการดำเนินโครงการต่าง ๆ ของรัฐบาลมากขึ้น และเห็นว่า ภาครัฐต้องบังคับใช้กฎหมายกับผู้กระทำผิดในระดับมหภาค เพื่อให้เป็นตัวอย่างในการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง นอกจากนั้นต้องให้ความรู้ และสร้างการรับรู้เกี่ยวกับการทุจริตโดยภาคประชาชนให้มากขึ้น รวมทั้งสร้างแนวร่วมปฏิบัติการภาคเอกชนไทยในการต่อต้านทุจริต อาทิ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น (ประเทศไทย)

 นายธนวรรธน์ กล่าวว่า ปลายเดือนม.ค.นี้ องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (ซีพีไอ) จะประกาศผลการจัดอันดับดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชั่นประจำปี 59 คาดว่าหวังว่า ซีพีไอจะประกาศคะแนนของประเทศไทยดีขึ้น หรือเกิน 50 คะแนน จากปี 58 ที่ผ่านมา ซีพีไอให้คะแนนประเทศไทยไว้ที่ 38 คะแนน จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน ถือว่าต่ำกว่าค่ากลาง 50 คะแนน แสดงให้เห็นว่าไทยสอบไม่ผ่านเรื่องการคอร์รัปชัน และไทยอยู่ในอันดับที่ 76 จาก 168 ประเทศทั่วโลก ปรับขึ้นจากอันดับที่ 85 จาก 175 ประเทศเมื่อปี 57 หรือไทย เป็นอันดับ 3 ของอาเซียน มีคะแนนรองจากสิงคโปร์ และมาเลเซีย ทั้งนี้เนื่องจากสังคมไทย ทั้งภาครัฐบาล ผู้ประกอบการ และประชาชนต่างตระหนักรู้ และร่วมมือกันแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!