WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aaa2Agdp64

GDP ไตรมาส 4 ปี 2563 -4.2% รวมทั้งปี 2563 -6.1% คาดว่าปี 2564 โต 2.5-3.5%

เศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สี่ ทั้งปี 2563 และแนวโน้มปี 2564

            เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้แถลงตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในไตรมาสที่สี่ ทั้งปี 2563 และแนวโน้มปี 2564 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สี่ของปี 2563

            เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สี่ของปี2563 ลดลงร้อยละ 4.2 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการลดลงร้อยละ 6.4 ในไตรมาสที่สาม (%YoY) และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สี่ของปี 2563 ขยายตัวจากไตรมาสที่สามของปี 2563 ร้อยละ 1.3 (QoQ_SA) รวมทั้งปี 2563 เศรษฐกิจไทยปรับตัวลดลงร้อยละ 6.1 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 2.3 ในปี 2562

            ด้านการใช้จ่าย การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนกลับมาขยายตัว การลงทุนภาคเอกชนและการส่งออกสินค้าลดลงในอัตราที่ชะลอลง ขณะที่การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐขยายตัว ส่วนการส่งออกบริการลดลงต่อเนื่องการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 0.9 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 6.7 และร้อยละ 0.6 ในไตรมาสที่สองและที่สาม ตามล าดับ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ โดยการใช้จ่ายในหมวดบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 ตามการเพิ่มขึ้นของการใช้จ่ายในกลุ่มบริการสุขภาพ และกลุ่มบริการ

            ด้านการศึกษา ร้อยละ 4.9 และร้อยละ 1.7 ตามล าดับ ขณะที่กลุ่มการเช่าที่อยู่อาศัย กลุ่มการใช้น้ าประปา ไฟฟ้าและพลังงาน ขยายตัวร้อยละ 1.5 ส่วนการใช้จ่ายกลุ่มโรงแรมและภัตตาคารลดลงต่อเนื่องร้อยละ 58.7 การใช้จ่ายในหมวดสินค้าไม่คงทนขยายตัวร้อยละ 1.1 สอดคล้องกับการขยายตัวของการใช้จ่ายเพื่อซื้ออาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ร้อยละ 1.8 ขณะที่การใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทนลดลงร้อยละ 9.2 น้อยกว่าการลดลงร้อยละ 19.6 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการลดลงของการซื้อยานพาหนะร้อยละ 0.1 เทียบกับการลดลงร้อยละ 17.5 ในไตรมาสก่อนหน้า และการใช้จ่ายในหมวดสินค้ากึ่งคงทนลดลงต่อเนื่องร้อยละ 12.4 การปรับตัวดีขึ้นของการบริโภคภาคเอกชนในไตรมาสนี้สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับ

            ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม ซึ่งอยู่ที่ระดับ 44.3 เทียบกับ 43.0 ในไตรมาสก่อนหน้า การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาลขยายตัวร้อยละ 1.9 ต่อเนื่องจากการขยายตัวร้อยละ 2.5 ในไตรมาสก่อนหน้าตามรายจ่ายค่าซื้อสินค้าและบริการ และค่าตอบแทนแรงงาน (ค่าจ้าง เงินเดือน) ที่ขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 4.4 และร้อยละ 3.0 ตามล าดับ

โดยอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายรวมในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 28.6 (สูงกว่าร้อยละ 22.8 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน) การลงทุนรวม ลดลงร้อยละ 2.5 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 2.6 ในไตรมาสที่สาม โดยการลงทุน

ภาคเอกชนลดลงร้อยละ 3.3 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 10.6 ในไตรมาสก่อนหน้า ประกอบด้วยการลงทุน

ในเครื่องมือเครื่องจักรลดลงร้อยละ 3.2 และการลงทุนในสิ่งก่อสร้างลดลงร้อยละ 3.8 ส่วนการลงทุนภาครัฐ

ขยายตัวร้อยละ 0.6 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 17.6 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการลงทุนรัฐบาลขยายตัว

ร้อยละ 20.0 ขณะที่การลงทุนรัฐวิสาหกิจลดลงร้อยละ 21.8 ส าหรับอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุน

ในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 11.2 เทียบกับร้อยละ 4.7 ในไตรมาสเดียวกันของปีงบประมาณก่อน

ในด้านภาคการค้าต่างประเทศ การส่งออกสินค้า มีมูลค่า 58,095 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 1.5

ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 8.2 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 1.6 ขณะที่ราคา

ส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 กลุ่มสินค้าที่มีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ยางพารา (ขยายตัวร้อยละ 25.4) มันส าปะหลัง

(ขยายตัวร้อยละ 30.2) ผลิตภัณฑ์ยาง (ขยายตัวร้อยละ 29.8) คอมพิวเตอร์(ขยายตัวร้อยละ 2.6) รถยนต์นั่ง

(ขยายตัวร้อยละ 0.5) และชิ้นส่วนและอุปกรณ์ยานยนต์(ขยายตัวร้อยละ 6.1) กลุ่มสินค้าที่มีมูลค่าส่งออกลดลง

ได้แก่ น้ าตาล (ลดลงร้อยละ 67.4)ชิ้นส่วนและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์(ลดลงร้อยละ 11.4) รถกระบะและรถบรรทุก

(ลดลงร้อยละ 10.9)และเคมีภัณฑ์(ลดลงร้อยละ 0.6)การส่งออกสินค้าไปยังตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย

ขยายตัว ขณะที่การส่งออกไปยังตลาดจีน อาเซียน (9) สหภาพยุโรป (27) ไม่รวมสหราชอาณาจักร และตะวันออกกลาง

(15) ลดลง เมื่อหักการส่งออกทองค าที่ยังไม่ขึ้นรูปออกแล้ว มูลค่าการส่งออกสินค้าลดลงร้อยละ 0.9 และเมื่อคิดในรูปของเงินบาท มูลค่าการส่งออกสินค้าลดลงร้อยละ 0.4

การขยายตัวของเศรษฐกิจและมูลค่าการส่งออกของประเทศสำคัญ

%YoY

GDP มูลค่าการส่งออกสินค้า

2561 2562 2563 2561 2562 2563

ทั้งปี ทั้งปี Q3 Q4 ทั้งปี ทั้งปี ทั้งปี Q3 Q4 ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี

สหรัฐฯ 3.0 2.2 -2.8 -2.5 -3.5 7.9 -1.5 -13.5 -5.7 -7.2 -7.6 -2.3 -13.2

ยูโรโซน 1.9 1.3 -4.3 -5.1 -6.8 8.7 -2.5 -4.0 1.2* -3.2 6.0 - -8.9*

สหราชอาณาจักร 1.3 1.4 -8.7 -7.8 -9.9 10.2 -3.4 -12.6 -7.6* -14.7 0.5 - -14.7*

ออสเตรเลีย 2.9 1.9 -4.1 - - 11.3 5.3 -13.1 4.3 0.4 0.4 11.4 -7.7

ญี่ปุ่น 0.6 0.3 -5.7 -1.2 -4.8 5.7 -4.4 -12.0 3.3 2.6 -0.1 7.2 -9.1

จีน 6.7 6.0 4.9 6.5 2.3 9.7 -0.1 8.9 17.0 11.4 21.1 18.3 4.0

อินเดีย 6.8 4.9 -7.5 - - 8.8 -0.1 -5.3 -4.3 -4.7 -8.6 0.1 -14.8

เกาหลีใต้ 2.9 2.0 -1.1 -1.4 -1.0 5.4 -10.4 -3.5 4.1 -3.9 3.9 12.4 -5.5

ไต้หวัน 2.8 3.0 3.9 4.9 3.0 5.9 -1.5 6.0 11.7 11.2 12.0 12.0 4.9

ฮ่องกง 2.8 -1.2 -3.6 -3.0 -6.1 6.8 -4.1 2.3 6.4 0.1 6.7 12.4 -0.5

สิงคโปร์ 3.4 0.7 -5.6 -3.8 -5.8 10.3 -5.2 -2.1 -1.7 -5.1 -4.4 4.5 -4.1

อินโดนีเซีย 5.2 5.0 -3.5 -2.2 -2.1 6.6 -6.8 -6.5 6.7 -3.5 9.4 14.6 -2.6

มาเลเซีย 4.8 4.3 -2.6 -3.4 -5.6 14.2 -3.4 3.5 6.6 1.1 5.7 13.3 -2.6

ฟิลิปปินส์ 6.3 6.0 -11.4 -8.3 -9.5 0.9 2.3 -6.5 0.8 -1.2 4.0 -0.2 -10.1

เวียดนาม 7.1 7.0 2.7 4.5 2.9 13.3 8.4 10.6 15.1 12.2 10.7 22.7 7.0

ที่มา: CEIC รวบรวมโดยส านักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติหมายเหตุ *ข้อมูลถึงเดือนพฤศจิกายน 2563

ด้านการผลิต การผลิตสาขาเกษตรกรรมกลับมาขยายตัว การผลิตสาขาอุตสาหกรรม สาขาที่พักแรมและ

บริการด้านอาหาร สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า และสาขาการขายส่งการขายปลีกและการซ่อมแซมฯ

ลดลงในอัตราที่ชะลอลง ขณะที่การผลิตสาขาไฟฟ้าและก๊าซฯ ลดลงต่อเนื่อง สาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และ

การประมงกลับมาขยายตัวครั้งแรกในรอบ 5 ไตรมาสร้อยละ 0.9 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 1.1 ในไตรมาส

ก่อนหน้า สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของผลผลิตหมวดพืชผลส าคัญที่ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากสภาพอากาศ

ที่เอื้ออ านวยและปริมาณน้ าที่เพียงพอต่อการเพาะปลูกเช่น ข้าวเปลือก(เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9) ไก่เนื้อ(เพิ่มขึ้นร้อยละ

6.7) และไข่ไก่ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.6) เป็นต้น ส่วนผลผลิตพืชเกษตรส าคัญที่ลดลง เช่น กลุ่มไม้ผล (ลดลงร้อยละ 22.0)อ้อย (ลดลงร้อยละ 10.8)และยางพารา (ลดลงร้อยละ 0.8) เป็นต้น ในขณะที่หมวดปศุสัตว์ขยายตัวต่อเนื่อง

เป็นไตรมาสที่ 12 ร้อยละ 4.5 และหมวดประมงลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4 ร้อยละ 5.6 ส่วนดัชนีราคาสินค้า

เกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.0 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 6.3 ในไตรมาสก่อนหน้า และเป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกัน

เป็นไตรมาสที่ 2โดยสินค้าส าคัญที่ราคาเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยางพารา (เพิ่มขึ้นร้อยละ 50.2) ปาล์มน้ ามัน (เพิ่มขึ้นร้อยละ

71.4) และสุกร (เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.9) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ดัชนีราคาสินค้าเกษตรส าคัญบางรายการลดลง ได้แก่

ข้าวเปลือก (ลดลงร้อยละ 10.8) และ ไก่เนื้อ (ลดลงร้อยละ 9.4) เป็นต้น การเพิ่มขึ้นของทั้งดัชนีผลผลิตสินค้า

เกษตร และดัชนีราคาสินค้าเกษตร ส่งผลให้ดัชนีรายได้เกษตรกรโดยรวมเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 ร้อยละ

12.1 สาขาการผลิตอุตสาหกรรม ลดลงร้อยละ 0.7 น้อยกว่าการลดลงร้อยละ 5.3 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้อง

กับการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่เริ่มปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมกลุ่มการ

ผลิตเพื่อส่งออก (สัดส่วนส่งออกมากกว่าร้อยละ 60) ลดลงร้อยละ 3.0 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการลดลงร้อยละ

5.7 ในไตรมาสก่อนหน้า และดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมกลุ่มการผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศ (สัดส่วนส่งออก

น้อยกว่าร้อยละ 30) ลดลงร้อยละ 0.5 น้อยกว่าการลดลงร้อยละ 1.6 ในไตรมาสก่อนหน้า ในขณะที่ดัชนีผลผลิต

อุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนการส่งออกในช่วงร้อยละ 30 – 60 ขยายตัวร้อยละ 0.4 ปรับตัวดีขึ้นมากจากการลดลง

ร้อยละ 23.3 ในไตรมาสก่อนหน้า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมส าคัญ ๆ ที่ลดลง เช่น การผลิตน้ าตาล (ลดลงร้อยละ

43.9) การผลิตเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย (ลดลงร้อยละ 17.2) และการผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ (ลดลงร้อยละ 7.7)

เป็นต้น ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมส าคัญ ๆ ที่เพิ่มขึ้น เช่น การผลิตยานยนต์(ร้อยละ 3.7) การผลิตชิ้นส่วนและ

แผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์(ร้อยละ 6.8) และการผลิตมอเตอร์ไฟฟ้า เครื่องก าเนิดไฟฟ้า (ร้อยละ 32.5) เป็นต้น

ส าหรับอัตราการใช้ก าลังการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 64.22 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 60.63 ในไตรมาสก่อนหน้า และ

เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 63.33ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร ลดลงร้อยละ 35.2

ตามการลดลงของจ านวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ แต่ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการลดลงร้อยละ 39.3 ในไตรมาส

ก่อนหน้า สอดคล้องกับการปรับตัวดีขึ้นของการท่องเที่ยวภายในประเทศ โดยในไตรมาสนี้มีรายรับจาก

นักท่องเที่ยวชาวไทยอยู่ที่0.159 ล้านล้านบาท ลดลงร้อยละ 45.1 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 57.1

ในไตรมาสก่อนหน้า นอกจากนั้น การด าเนินมาตรการเปิดประเทศส าหรับนักท่องเที่ยวประเภทพิเศษ (Special

Tourist VISA : STV) ส่งผลให้ในไตรมาสนี้มีนักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย

เป็นครั้งแรกในรอบ 3 ไตรมาส 10,822 คน (รวมนักท่องเที่ยวกลุ่ม Thailand Privilege Card) อัตราการเข้าพัก

เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 32.49 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 26.69 ในไตรมาสก่อนหน้า แต่ต่ ากว่าร้อยละ 70.71 ในไตรมาส

เดียวกันของปีก่อน และสาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า ลดลงร้อยละ 21.1 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ

22.2 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยบริการขนส่งทางอากาศลดลงร้อยละ 68.1 ปรับตัวดีขึ้นอย่างช้า ๆ จากการลดลง

ร้อยละ 71.0 ในไตรมาสก่อนหน้า บริการขนส่งทางบกและท่อล าเลียงลดลงร้อยละ 12.7 น้อยกว่าการลดลงร้อยละ

17.7 ในไตรมาสก่อนหน้า และบริการขนส่งทางน้ าลดลงร้อยละ 4.3 ส่วนบริการสนับสนุนการขนส่งลดลงร้อยละ

22.1 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 22.8 ในไตรมาสก่อนหน้า และบริการไปรษณีย์ขยายตัวร้อยละ 27.2 เร่งขึ้นจาก

การขยายตัวร้อยละ 12.8 ไตรมาสก่อนหน้า

เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.86ลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 1.90 ในไตรมาส

ก่อนหน้า แต่สูงกว่าอัตราการว่างงานร้อยละ 1.0 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ที่

ร้อยละ -0.4 ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 1.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (3.45 หมื่นล้านบาท) หรือคิดเป็นร้อยละ 0.8

ของ GDP เงินทุนส ารองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2563 อยู่ที่ 2.58 แสนล้านดอลลาร์ สรอ. และ

หนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2563 มีมูลค่าทั้งสิ้น 8,136,114.6 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 52.1 ของ GDP

เศรษฐกิจไทยปี 2563

เศรษฐกิจไทยปี 2563 ลดลงร้อยละ 6.1 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 2.3 ในปี 2562 ด้านการใช้จ่ายมูลค่าการส่งออกสินค้า การบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนรวมลดลงร้อยละ 6.6 ร้อยละ 1.0 และร้อยละ 4.8 ตามล าดับ ส่วนการใช้จ่ายของรัฐบาล และการลงทุนภาครัฐ ขยายตัวร้อยละ 0.8 และร้อยละ 5.7 ตามล าดับ

            ด้านการผลิต การผลิตสาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมง สาขาอุตสาหกรรม สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร และสาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้าลดลงร้อยละ 3.4 ร้อยละ 5.7 ร้อยละ 36.6 และร้อยละ 21.0 ตามล าดับ รวมทั้งปี 2563 ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) อยู่ที่ 15.7 ล้านล้านบาท (5.02 แสนล้านดอลลาร์ สรอ.) ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัวเฉลี่ยของคนไทยอยู่ที่ 225,913.8 บาทต่อคนต่อปี (7,219.2 ดอลลาร์ สรอ. ต่อคนต่อปี)

เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ -0.8 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล ร้อยละ 3.3 ของ GDP

แนวโน้มเศรษฐกิจไทย ปี 2564

เศรษฐกิจไทยปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.5 – 3.5 โดยมีปัจจัยสนับสนุนส าคัญ ประกอบด้วย

(1) แนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก(2) แรงขับเคลื่อนจากการใช้จ่ายภาครัฐ (3) การกลับมา

ขยายตัวของอุปสงค์ภาคเอกชนในประเทศ และ (4) การปรับตัวตามฐานการขยายตัวที่ต่ าผิดปกติในปี2563

            ทั้งนี้ คาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ.จะขยายตัวร้อยละ 5.8 การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน

และการลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 2.0 และร้อยละ 5.7 ตามล าดับ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ

1.0 – 2.0 และบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 2.3 ของ GDP

รายละเอียดของการประมาณการเศรษฐกิจในปี2564 ในด้านต่าง ๆ มีดังนี้

  1. การใช้จ่ายเพื่ออุปโภคบริโภค (1) การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน คาดว่าจะขยายตัว

ร้อยละ 2.0 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 1.0 ในปี 2563 ซึ่งเป็นการปรับลดจากการขยายตัวร้อยละ 2.4

ในการประมาณการครั้งก่อน เนื่องจากผลกระทบของการแพร่ระบาดระลอกใหม่ที่เริ่มตั้งแต่ช่วงเดือนธันวาคม

2563 ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและท าให้ต้องมีการด าเนินมาตรการควบคุมในบางพื้นที่ อย่างไรก็

ตาม ในกรณีฐานคาดว่าจะสามารถควบคุมการระบาดให้อยู่ในวงจ ากัดได้ภายในไตรมาสแรก และการอุปโภคบริโภค

ภาคเอกชนในช่วงที่เหลือของปีจะได้รับปัจจัยสนับสนุนจากแนวโน้มการฟื้นตัวของฐานรายได้จากภาคการส่งออก

รายได้เกษตรกร และมาตรการเยียวยาผลกระทบและกระตุ้นอุปสงค์ภายในประเทศของภาครัฐ และ (2) การใช้จ่าย

เพื่อการอุปโภคภาครัฐบาล คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.1 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 0.8 ในปี 2563 ซึ่งเป็น

การปรับเพิ่มจากการขยายตัวร้อยละ 4.7 ในการประมาณการครั้งที่ผ่านมาตามการปรับเพิ่มสมมติฐานการเบิกจ่าย

สะสมภายใต้พระราชก าหนดเงินกู้ฯ 1 ล้านล้านบาท ณ สิ้นปีงบประมาณ 2564 จากร้อยละ 70 ของวงเงินกู้

ในการประมาณการครั้งก่อนเป็นร้อยละ 80 ในการประมาณการครั้งนี้และสอดคล้องกับสมมติฐานอัตรา

การเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจ าปีงบประมาณ 2564 ร้อยละ 98.0 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 97.4 ในปี 2563

  1. การลงทุนรวม คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 เทียบกับการลดลงร้อยละ 4.8 ในปี 2563 การลงทุน

ภาครัฐ คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 10.7 เร่งขึ้นจากร้อยละ 5.7 ในปี 2563 แต่เป็นการปรับลดจากการขยายตัว

ร้อยละ 12.4 ในการประมาณการครั้งก่อน ตามการปรับลดสมมติฐานอัตราการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุน

ภายใต้งบประมาณรายจ่ายประจ าปีงบประมาณ 2564 ซึ่งคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 75 ของวงเงินงบประมาณ ต่ ากว่า

ร้อยละ 80 ในสมมติฐานการประมาณครั้งที่ผ่านมา ส่วนการลงทุนภาคเอกชน คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.8

เทียบกับการลดลงร้อยละ 8.4 ในปี 2563 และเป็นการปรับลดจากการขยายตัวร้อยละ 4.2 ในการประมาณการครั้ง

ก่อน เนื่องจากผลกระทบจากการระบาดระลอกใหม่ภายในประเทศ อย่างไรก็ตาม การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้ม

ปรับตัวดีขึ้นจากปีก่อน สอดคล้องกับแนวโน้มการปรับตัวดีขึ้นของการผลิตภาคอุตสาหกรรมและการส่งออกในช่วง

การฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการค้าโลก

  1. มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.8 เทียบกับการลดลงร้อยละ 6.6 ในปี 2563 และเป็นการปรับเพิ่มจากการขยายตัวร้อยละ 4.2 ในการประมาณการครั้งที่ผ่านมา โดยคาดว่าปริมาณการส่งออกสินค้าจะขยายตัวร้อยละ 3.8 สูงกว่าการขยายตัวร้อยละ 3.2 ในการประมาณการครั้งก่อน สอดคล้องกับการปรับเพิ่มสมมติฐานการขยายตัวของเศรษฐกิจและการค้าโลกจากร้อยละ 4.9 และร้อยละ 5.0 ในการประมาณการครั้งที่ผ่านมา เป็นร้อยละ 5.2 และร้อยละ 6.7 ตามล าดับ รวมทั้งการปรับเพิ่มสมมติฐานราคาสินค้าส่งออกจากการเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 เป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 อย่างไรก็ตาม การปรับลดสมมติฐานรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติให้สอดคล้องกับแนวโน้มการฟื้นตัวของจ านวนนักท่องเที่ยวที่ยังมีความล่าช้าท าให้การส่งออกบริการอยู่ในระดับต่ ากว่าประมาณการครั้งที่ผ่านมา เมื่อรวมกับการส่งออกสินค้าท าให้ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการรวมลดลงร้อยละ 0.2 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 0.1 ในการประมาณการครั้งก่อนและการลดลงร้อยละ 19.4 ในปี 2563

ประเด็นการบริหารเศรษฐกิจในปี 2564

การบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาคในช่วงปี 2564 ควรให้ความส าคัญกับ (1) การควบคุมการแพร่ระบาดและการป้องกันการกลับมาระบาดรุนแรงภายในประเทศ โดย (i) การด าเนินการตามมาตรการควบคุมและป้องกันการระบาดของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง และ (ii) การจัดหาและบริหารจัดการวัคซีนให้ครอบคลุมทั่วถึงและเพียงพอต่อการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่อย่างรวดเร็วและจัดล าดับความส าคัญ โดยค านึงถึงความจ าเป็นเร่งด่วน

ในการฟื้นฟูกิจกรรมทางเศรษฐกิจในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวส าคัญและการรักษาความต่อเนื่องของการผลิตในพื้นที่อุตสาหกรรมส าคัญของประเทศ ควบคู่ไปกับการจัดล าดับความส าคัญตามหลักการทางสาธารณสุข (2) การรักษา

บรรยากาศทางการเมืองภายในประเทศ (3) การดูแลภาคเศรษฐกิจที่ยังมีข้อจ ากัดในการฟื้นตัว โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวเนื่องซึ่งการฟื้นตัวยังมีข้อจ ากัดจากมาตรการควบคุมการเดินทางระหว่างประเทศ รวมทั้งการพิจารณามาตรการช่วยเหลือภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพิ่มเติม (4) การรักษาแรงขับเคลื่อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจจากการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ (5) การขับเคลื่อนการส่งออกสินค้าเพื่อสร้างรายได้เงินตราต่างประเทศ โดย (i) การขับเคลื่อนการส่งออกสินค้าที่ได้รับประโยชน์จากการระบาดของโรค (ii) การสร้างความเชื่อมั่นในความปลอดภัยของสินค้าไทยควบคู่ไปกับการด าเนินมาตรการป้องกันการระบาดของโรคในพื้นที่ฐานการผลิตส าคัญอย่างเข้มงวด (iii) การขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าภายใต้กรอบความร่วมมือที่ส าคัญ (iv) การให้ความส าคัญกับข้อตกลงระหว่างประเทศที่ส าคัญ ๆ ที่อาจถูกหยิบยกเป็นเครื่องมือส าหรับการด าเนินมาตรการกีดกันทางการค้า (v) การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานสินค้า

(vi) การลดต้นทุนการผลิตสินค้าที่ส าคัญ ๆ เพื่อลดแรงกดดันจากการแข็งค่าของเงินบาท และ (vii) การป้องกัน

ความเสี่ยงจากความผันผวนของค่าเงิน (6) การส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน โดยให้ความส าคัญกับ

(i) การเร่งรัดให้ผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติและออกบัตรส่งเสริมการลงทุนในช่วงปี 2561 – 2563 ให้เกิด

การลงทุนจริง (ii) การแก้ไขปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการลงทุนและการประกอบธุรกิจ (iii) การด าเนินมาตรการส่งเสริมการลงทุนเชิงรุกและอ านวยความสะดวกส าหรับนักลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย(iv) การขับเคลื่อนการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ และ (v) การขับเคลื่อนมาตรการสร้างศักยภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะยาวอย่างต่อเนื่อง (7) การเตรียมความพร้อมส าหรับการเปดดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ(8) การเตรียมมาตรการรองรับความเสี่ยงจากสถานการณ์ภัยแล้งและการดูแลรายได้เกษตรกร และ(9) การติดตามและเตรียมการรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนในระบบเศรษฐกิจและการเงินโลกที่ยังมีแนวโน้มอยู่ในเกณฑ์สูงและอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยเพิ่มเติมควบคู่ไปกับการให้ความส าคัญกับการดูแลเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

ตารางที่ 1 GDP ด้านการผลิต

หน่วย: ร้อยละ 2562 2563 2562 2563

ทั้งปี H1 H2 ทั้งปี H1 H2 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 Q4

ภาคเกษตร -0.6 -0.1 -1.2 -3.4 -6.8 0.1 1.5 -2.0 2.1 -3.1 -9.9 -3.1 -1.1 0.9

ภาคนอกเกษตร 2.5 2.8 2.2 -6.3 -6.9 -5.7 2.9 2.7 2.6 1.8 -1.3 -12.9 -6.7 -4.7

การผลิตอุตสาหกรรม -0.7 0.0 -1.4 -5.7 -8.3 -2.9 -0.0 0.1 -0.6 -2.2 -2.4 -14.7 -5.3 -0.7

ภาคบริการ 3.9 3.9 3.9 -6.5 -6.5 -6.6 4.2 3.5 4.0 3.8 -1.2 -12.1 -7.2 -5.9

การก่อสร้าง 1.6 3.1 -0.1 2.3 -0.9 5.9 2.9 3.3 2.5 -3.1 -9.3 7.5 10.8 -0.3

การขายส่ง การขายปลีกฯ 4.5 5.0 3.9 -3.7 -2.9 -4.5 5.8 4.1 4.0 3.9 3.6 -10.9 -6.1 -3.1

การขนส่ง และสถานที่เก็บสินค้า 3.0 2.9 3.1 -21.0 -20.4 -21.6 3.3 2.5 2.7 3.4 -5.5 -36.6 -22.2 -21.1

ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร 7.8 6.5 9.2 -36.6 -36.1 -37.1 7.1 5.9 9.0 9.3 -23.3 -49.9 -39.3 -35.2

ข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร 12.3 11.3 13.2 4.7 4.3 5.1 10.1 12.6 12.0 14.2 4.4 4.1 4.5 5.7

การเงิน 2.2 1.5 2.8 2.7 2.9 2.4 1.8 1.3 3.1 2.5 4.3 1.7 1.6 3.3

GDP 2.3 2.6 1.9 -6.1 -6.9 -5.2 2.8 2.4 2.7 1.3 -2.1 -12.1 -6.4 -4.2

GDP_SA (QoQ) 1.4 0.8 -0.2 -1.0 -1.7 -9.4 6.2 1.3

ที่มา: ส านักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ตารางที่ 2 ด้านการใช้จ่าย

หน่วย: ร้อยละ 2562 2563 2562 2563

ทั้งปี H1 H2 ทั้งปี H1 H2 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 Q4

การบริโภคภาคเอกชน 4.0 4.2 3.7 -1.0 -2.1 0.2 4.4 4.0 3.9 3.6 2.7 -6.7 -0.6 0.9

การอุปโภคภาครัฐบาล 1.7 2.4 1.0 0.8 -0.7 2.2 3.2 1.6 2.7 -0.8 -2.5 1.0 2.5 1.9

การลงทุนรวม 2.0 2.4 1.6 -4.8 -7.1 -2.6 3.1 1.8 2.6 0.6 -6.3 -7.9 -2.6 -2.5

ภาคเอกชน 2.7 3.0 2.3 -8.4 -10.1 -6.7 4.2 1.9 2.1 2.5 -5.3 -14.9 -10.6 -3.3

ภาครัฐ 0.1 0.7 -0.5 5.7 1.3 10.2 0.1 1.4 3.8 -5.7 -9.1 12.6 17.6 0.6

การส่งออก -3.0 -4.5 -1.3 -19.4 -16.4 -22.3 -4.6 -4.5 0.3 -3.0 -5.8 -27.5 -23.3 -21.4

สินค้า -3.7 -4.4 -3.0 -5.8 -7.1 -4.6 -4.3 -4.6 -0.4 -5.5 1.7 -15.8 -7.5 -1.5

บริการ -0.5 -4.9 3.9 -60.0 -45.0 -74.0 -5.8 -3.7 2.9 4.9 -26.8 -67.7 -73.1 -74.8

การน าเข้า -5.2 -1.9 -8.2 -13.3 -13.3 -13.2 -0.3 -3.5 -7.0 -9.5 -3.0 -23.6 -19.3 -7.0

สินค้า -5.8 -3.2 -8.2 -11.9 -11.8 -12.0 -2.7 -3.7 -7.3 -9.1 -2.2 -21.2 -18.1 -5.6

บริการ -2.7 3.3 -8.5 -18.6 -19.3 -17.9 10.1 -2.7 -5.8 -11.0 -6.2 -32.4 -23.9 -11.9

GDP 2.3 2.6 1.9 -6.1 -6.9 -5.2 2.8 2.4 2.7 1.3 -2.1 -12.1 -6.4 -4.2

ที่มา: ส านักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ตารางที่ 3 ประมาณการเศรษฐกิจ ปี25641

ข้อมูลจริง ประมาณการ ปี 2564

ปี 2561 ปี 2562 ปี 256316 พ.ย. 6315 ก.พ. 64

GDP (ณ ราคาประจ าปี: พันล้านบาท) 1/ 16,368.7 16,898.1 15,703.0 16,528.5 16,174.1

รายได้ต่อหัว (บาทต่อคนต่อปี) 236,861.1 243,787.1 225,913.8 237,178.6 232,094.0

GDP (ณ ราคาประจ าปี: พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 506.4 544.3 501.8 536.6 539.1

รายได้ต่อหัว (ดอลลาร์ สรอ. ต่อหัวต่อปี) 7,328.2 7,852.7 7,219.2 7,700.6 7,736.5

อัตราการขยายตัวของ GDP (CVM, %) 4.2 2.3 -6.1 3.5 - 4.5 2.5 - 3.5

การลงทุนรวม (CVM, %)2/ 3.8 2.0 -4.8 6.6 5.7

ภาคเอกชน (CVM, %) 4.1 2.7 -8.4 4.2 3.8

ภาครัฐ (CVM, %) 2.8 0.1 5.7 12.4 10.7

การบริโภคภาคเอกชน (CVM, %) 4.6 4.0 -1.0 2.4 2.0

การอุปโภคภาครัฐบาล (CVM, %) 2.6 1.7 0.8 4.7 5.1

ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการ (ปริมาณ, %) 3.4 -3.0 -19.4 0.1 -0.2

มูลค่าการส่งออกสินค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 251.1 242.7 226.7 233.9 239.9

อัตราการขยายตัว (มูลค่า, %)3/ 7.5 -3.3 -6.6 4.2 5.8

อัตราการขยายตัว (ปริมาณ, %)3/ 3.9 -3.7 -5.9 3.2 3.8

ปริมาณการน าเข้าสินค้าและบริการ (ปริมาณ, %) 8.3 -5.2 -13.3 0.3 -0.5

มูลค่าการน าเข้าสินค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 228.7 216.0 186.9 196.0 199.0

อัตราการขยายตัว (มูลค่า, %)3/

13.7 -5.6 -13.5 5.3 6.5

อัตราการขยายตัว (ปริมาณ, %)3/ 7.7 -5.7 -11.8 3.8 4.0

ดุลการค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 22.4 26.7 39.8 37.9 40.8

ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 28.4 38.2 16.5 13.9 12.4

ดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP (%) 5.6 7.0 3.3 2.6 2.3

เงินเฟ้อ (%)

ดัชนีราคาผู้บริโภค 1.1 0.7 -0.8 0.7 - 1.7 1.0 - 2.0

GDP Deflator 1.4 0.9 -1.0 0.7 - 1.7 1.0 - 2.0

ที่มา: ส านักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติณ วันที่ 15กุมภาพันธ์ 2564

หมายเหตุ:

1/เป็นข้อมูลที่ค านวณบนฐานบัญชีประชาชาติอนุกรมใหม่ ซึ่ง สศช. เผยแพร่ทาง www.nesdc.go.th

2/การลงทุนรวม หมายถึง การสะสมทุนถาวรเบื้องต้น

ตัวเลขการส่งออกและการน าเข้าตามฐานของธนาคารแห่งประเทศไทย

 

 

เศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สี่ ทั้งปี 2563 และแนวโน้มปี 2564

 

Gross Domestic Product : Q4/2020

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!