WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1a 1Pสตง

สตง. เผยผลการตรวจสอบโครงการมาตรการชดเชยรายได้แก่ลูกจ้างของสถานประกอบการได้รับผลกระทบ(COVID - 19)

     สตง. เผยผลการตรวจสอบโครงการมาตรการชดเชยรายได้แก่ลูกจ้างของสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID - 19) ซึ่งยังไม่ได้รับการช่วยเหลือเยียวยา พบการดำเนินโครงการบางส่วนไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด ในขณะเดียวกันผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้รับเงินเยียวยาตามโครงการบางส่วนไม่ได้รับเงินเยียวยา ส่งผลให้ผู้ประกันตนซึ่งได้รับผลกระทบจากการว่างงานไม่ได้รับการบรรเทาความเดือดร้อน จึงมีข้อเสนอแนะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการปรับปรุงแก้ไขต่อไป

     สตง. เผยผลการตรวจสอบโครงการมาตรการชดเชยรายได้แก่ลูกจ้างของสถานประกอบการ ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID - 19) ซึ่งยังไม่ได้รับการช่วยเหลือเยียวยา  พบการดำเนินโครงการบางส่วนไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด ในขณะเดียวกันผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้รับเงินเยียวยาตามโครงการบางส่วนไม่ได้รับเงินเยียวยา ส่งผลให้ผู้ประกันตนซึ่งได้รับผลกระทบจากการว่างงานไม่ได้รับการบรรเทาความเดือดร้อน จึงมีข้อเสนอแนะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการปรับปรุงแก้ไขต่อไป

     ทั้งนี้ โครงการมาตรการชดเชยรายได้แก่ลูกจ้างของสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID - 19) ซึ่งยังไม่ได้รับการช่วยเหลือเยียวยา ดำเนินการโดยใช้เงินกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  พ.ศ. 2563 เพื่อจ่ายเงินเยียวยาให้กับผู้ประกันตนตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ที่สำนักงานประกันสังคมปฏิเสธการจ่ายเงินตามกฎกระทรวงการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยอันเกิดจากการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ พ.ศ. 2563 เนื่องจากไม่มีคุณสมบัติครบตามเงื่อนไขที่กำหนด (จ่ายเงินสมทบไม่ครบ 6 เดือน) โดยจ่ายเงินให้แก่ผู้ประกันตนดังกล่าว รายละ 15,000 บาท

       นายประจักษ์ บุญยัง ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน เปิดเผยว่า สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการดำเนินโครงการมาตรการชดเชยรายได้แก่ลูกจ้างของสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID - 19) ซึ่งยังไม่ได้รับการช่วยเหลือเยียวยา เนื่องจากเป็นการใช้จ่ายจากเงินกู้และมีความเร่งด่วนในการดำเนินการ ประกอบกับนโยบายการตรวจเงินแผ่นดินประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ให้ความสำคัญกับการตรวจสอบการใช้จ่ายเงินกู้เพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จึงเลือกตรวจสอบผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพการดำเนินงานโครงการดังกล่าว โดยจากการตรวจสอบตั้งแต่เริ่มดำเนินโครงการจนถึงสิ้นสุดการดำเนินโครงการ วันที่ 31 ตุลาคม 2563 มีข้อตรวจพบ

       ดังนี้ ผลการดำเนินโครงการบางส่วนไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด จากการตรวจสอบผลการจ่ายเงินให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินเยียวยาตามโครงการฯ จำนวน 13,930 ราย พบว่า มีผู้ได้รับเงินเยียวยาไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด จำนวน 289 ราย คิดเป็นเงิน 4,425,000 บาท โดยมีทั้งกรณีผู้ได้รับเงินเยียวยามีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามเงื่อนไขของโครงการ เช่น ผู้ประกันตนที่ไม่มีสัญชาติไทย หรือได้รับเงินเยียวยาจากมาตรการของหน่วยงานอื่น ฯลฯ และกรณีผู้ได้รับเงินเยียวยาบางรายได้รับเงินมากกว่า 15,000 บาท ทำให้มีการจ่ายเงินไปโดยไม่สมควร จำนวน 4,425,000 บาท และภาครัฐเสียโอกาสในการนำเงินจำนวนดังกล่าวไปใช้ในการดำเนินโครงการตามที่พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา และฟื้นฟู เยียวยา เศรษฐกิจและสังคมฯ

  1.       ผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้รับเงินเยียวยาตามโครงการบางส่วนไม่ได้รับเงินเยียวยา จากการตรวจสอบพบว่า มีผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้รับเงินเยียวยาตามโครงการไม่ได้รับเงินเยียวยา จำนวน 1,199 ราย โดยมีทั้งกรณีผู้ประกันตนที่มีปัญหาเกี่ยวกับบัญชีเงินฝากธนาคาร เช่น ผู้ประกันตนที่ข้อมูลเลขที่บัญชีเงินฝากธนาคารไม่ถูกต้องหรือบัญชีเงินฝากธนาคารปิด และกรณีที่มีการโอนเงินเยียวยาของผู้มีสิทธิได้รับเงินตามโครงการเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของบุคคลอื่น ส่งผลให้ผู้ประกันตนซึ่งได้รับผลกระทบจากการว่างงานอันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ไม่ได้รับการบรรเทาความเดือดร้อนและเกิดความไม่เป็นธรรมในการได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐ

      “สาเหตุสำคัญที่ทำให้ผลการดำเนินโครงการบางส่วนไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด และผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้รับเงินเยียวยาตามโครงการบางส่วนไม่ได้รับเงินเยียวยามีหลายประการ อาทิ การตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ประกันตนเพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่โครงการกำหนดยังขาดความละเอียด รอบคอบ และรัดกุม ไม่มีกระบวนการสอบทานความถูกต้องของข้อมูลผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้รับเงินเยียวยาตามโครงการทั้งก่อนและหลังการโอนเงินเยียวยา การติดตามข้อมูลเลขที่บัญชีเงินฝากธนาคารของผู้ประกันตนที่มีปัญหาเกี่ยวกับบัญชีเงินฝากธนาคารไม่ครบถ้วนทุกราย ฯลฯ” รายงานการตรวจสอบของ สตง. ระบุ

     จากผลการตรวจสอบข้างต้น สตง. จึงมีข้อเสนอแนะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีที่เกิดขึ้นและดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งศึกษาและพัฒนาระบบสารสนเทศที่ใช้ในการจ่ายประโยชน์ทดแทนให้มีศักยภาพการบันทึกข้อมูลและการประมวลผลการจ่ายประโยชน์ทดแทนของกองทุนประกันสังคม

      หรือการจ่ายเงินช่วยเหลือเยียวยาโครงการอื่นตามนโยบาย ข้อสั่งการของรัฐบาลให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อให้สามารถรองรับการให้บริการผู้ประกันตนทั้งในสถานการณ์ปกติและสถานการณ์ที่มีผู้ประกันตนมาใช้บริการจำนวนมากพร้อมกันได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ตลอดจนในการดำเนินโครงการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกันตนที่มีลักษณะเดียวกันในอนาคตควรกำหนดให้มีกระบวนการสอบทานความถูกต้องของการดำเนินโครงการในขั้นตอนต่าง ๆ ทั้งก่อนและหลังจ่ายเงินช่วยเหลือเยียวยาให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินเยียวยาตามโครงการ เป็นต้น

 

 Click Donate Support Web  

 

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!