- Details
- Category: CHINA
- Published: Sunday, 07 July 2024 09:24
- Hits: 7659
เอกอัครราชทูตหาน จื้อเฉียง เข้าร่วมงานสัมมนารายงานผลการศึกษาเรื่อง ‘ประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันจีน-ไทยและผลกระทบต่อความสัมพันธ์จีน-ไทย’ และกล่าวสุนทรพจน์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม เอกอัครราชทูตหาน จื้อเฉียง เข้าร่วมงานสัมมนารายงานผลการศึกษาเรื่อง 'ประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันจีน-ไทยและผลกระทบต่อความสัมพันธ์จีน-ไทย' โดยศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเทศไทย และ กล่าวสุนทรพจน์เรื่อง ‘การสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันจีน-ไทยที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนมากขึ้น’
โดยมีศาสตราจารย์พิเศษ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตรองนายกรัฐมนตรีของไทยและ ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร รักษาการอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและบุคคลจากหน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา แวดวงธุรกิจ และสื่อมวลชนทั้งจีนและไทยกว่า 100 คนเข้าร่วมงาน
เอกอัครราชทูตหาน กล่าวในสุนทรพจน์ว่า เมื่อเร็วๆ นี้รัฐบาลจีนได้จัดการประชุมในกรุงปักกิ่งเพื่อรำลึกถึงวาระครบรอบ 70 ปีของการแถลงหลัก 5 ประการแห่งการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ซึ่งในที่ประชุมประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ชี้ให้เห็นว่าเมื่อ 70 ปีที่แล้ว
ผู้นำจีนเสนอหลัก 5 ประการแห่งการอยู่ร่วมกันอย่างสันติอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก และกำหนดเป็นบรรทัดฐานพื้นฐานในการดดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ วันนี้ 70 ปีภายหลัง เมื่อเผชิญกับประเด็นสำคัญคือ "เราควรจะสร้างโลกแบบไหนที่และจะสร้างได้อย่างไร" จีนได้ให้คำตอบการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันสำหรับมนุษยชาติแก่ชาวโลกในยุคนี้
เอกอัครราชทูตหาน กล่าวว่า แนวคิดในการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมวลมนุษยชาติและหลัก 5 ประการแห่งการอยู่ร่วมกันอย่างสันติมีความสอดคล้องกันมีต้นกำเนิดที่เดียวกันที่มีรากฐานมาจากวัฒนธรรมจีนอันเป็นเลิศที่เน้นความเมตตากรุณาและความเป็นมิตรที่ดี ความน่าเชื่อถือ
และมีไมตรีจิต และความปรองดองกับทุกชาติ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นอย่างแน่วแน่ของจีนที่จะยึดมั่นในแนวทางการพัฒนาอย่างสันติ ในปี พ.ศ. 2565 จีนและไทยบรรลุฉันทามติที่สำคัญในการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันจีน-ไทยที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนมากขึ้น
ทำให้ความสัมพันธ์แบบดั้งเดิมที่ว่า "จีนไทย ใช่อื่นไกล พี่น้องกัน"มีความหมายใหม่ตามยุคสมัยและทำให้ความสัมพันธ์จีน-ไทยเข้าสู่ยุคใหม่แห่งการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันจีน-ไทย ที่ความสัมพันธ์จีน-ไทยก้าวมาถึงระดับสูงเช่นนี้
โดยหลักแล้วเป็นเพราะทั้งสองประเทศเป็นเพื่อนบ้านที่ดีที่เชื่อมต่อกันด้วยภูเขาและแม่น้ำ เป็นญาติที่ดีที่เชื่อมโยงกันด้วยสายเลือด และเป็นหุ้นส่วนที่ดีสำหรับความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน ในอนาคต การสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันจีน-ไทยจะมีโอกาสที่กว้างขวาง ทั้งสองฝ่ายควรเสริมสร้างความไว้วางใจทางการเมืองมากยิ่งขึ้นเพื่อบรรลุความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน ควรกระชับความสัมพันธ์แห่งมิตรภาพให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้นและร่วมกันพิทักษ์การพัฒนาอย่างสันติในระดับนานาชาติและระดับภูมิภาค
ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตรองนายกรัฐมนตรีของไทยกล่าวว่าความริเริ่มว่าการพัฒนาของโลก ความริเริ่มว่าด้วยความมั่นคงของโลก และความริเริ่มว่าด้วยอารยธรรมของโลกที่เสนอโดยประธานาธิบดีสี จิ้นผิง จะเป็นแนวทางที่เป็นรูปธรรมสำหรับการส่งเสริมการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันสำหรับมนุษยชาติ
ประเทศไทยก็สนับสนุนแนวคิดความหลากหลาย ยอมรับความแตกต่างและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ไทยและจีนควรยึดมั่นในความไว้วางใจซึ่งกันและกันและความร่วมมือที่ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ร่วมกันหาแนวทางแก้ไขปัญหาระดับโลก และร่วมกันส่งเสริมการพัฒนาความสัมพันธ์ทวิภาคีอย่างมั่นคง
อาจารย์ ดร.อาร์ม ตั้งนิรันดร ผู้อำนวยการศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย รายงานผลการศึกษาเรื่อง’ประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันจีน-ไทยและผลกระทบต่อความสัมพันธ์จีน-ไทย’ โดยอิงจากเรื่องราวการแลกเปลี่ยนจีน-ไทย 3 เรื่อง โดยการทบทวนประวัติศาสตร์การพัฒนาความสัมพันธ์จีน-ไทย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลสำเร็จของการส่งเสริมการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันจีน-ไทย และเรียกร้องให้กระชับความสัมพันธ์ทวิภาคีให้มีความแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้นต่อไปในวาระที่ทั้งสองประเทศกำลังเตรียมการเฉลิมฉลองครบรอบ 50 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต
https://www.facebook.com/ChineseEmbassyinBangkok/