- Details
- Category: CHINA
- Published: Sunday, 21 July 2024 19:37
- Hits: 9757
การแข่งขันประกวดสุนทรพจน์และความรู้ภาษาจีน ระดับอุดมศึกษา'สะพานสู่ภาษาจีน'รอบชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 23 สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
การแข่งขันประกวดสุนทรพจน์และความรู้ภาษาจีน ระดับอุดมศึกษา 'สะพานสู่ภาษาจีน' แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 23 ได้ปิดฉากลงที่มหาวิทยาลัยรังสิต คุณสวี หลาน อุปทูตที่ปรึกษาด้านการศึกษา สถานทูตจีนประจำประเทศไทย นางสาวลักษมณ สมานสินธุ์ ผู้อำนวยการกองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
และดร.อรรถวิท อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต ได้เข้าร่วมพิธีเปิดและกล่าวเปิดงาน มีผู้เข้าร่วมงานและชมการแข่งขันกว่า 500 คน ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิและอาจารย์สอนภาษาจีนจากสถาบันอุดมศึกษาของไทย ผู้อำนวยการสถาบันขงจื่อ ผู้เข้าแข่งขัน และสื่อมวลชนทั้งจีนและไทย
คุณสวี หลาน กล่าวเปิดงานในฐานะผู้แทนนายหาน จื้อเฉียง เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย โดยกล่าวไว้ว่า จีนและไทยเป็นเพื่อนบ้านที่มีภูมิประเทศติดกัน เป็นญาติที่มีสายเลือดผสมผสานกัน และเป็นหุ้นส่วนที่ดำเนินความร่วมมือไปอย่างฉันมิตร คำกล่าว 'จีน-ไทยใช่อื่นไกลพี่น้องกัน'สอดคล้องกับหัวข้อแข่งขัน'สะพานสู่ภาษาจีน' ที่ว่า 'โลกคือครอบครัวเดียวกัน'
คุณสวี หลานฝากไว้ว่า การแข่งขัน 'สะพานสู่ภาษาจีน' จะเป็นสะพานเชื่อมการแลกเปลี่ยนทางอารยธรรมและความเข้าใจระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ เปิดหน้าต่างบานใหม่ให้นักศึกษาไทยได้เข้าถึงวัฒนธรรมจีนและเป็นประจักษ์พยานต่อพัฒนาการของประเทศจีน และหวังว่าจะมีนักศึกษาไทยจำนวนมากขึ้นที่จะเรียนภาษาจีนให้ดี เพื่อเป็นทูตแห่งมิตรภาพและการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างสองประเทศ
นางสาวลักษมณ สมานสินธุ์ กล่าวในงานว่า กิจกรรมการแข่งขันการประกวดสุนทรพจน์และความรู้ภาษาจีนระดับอุดมศึกษา 'สะพานสู่ภาษาจีน' ถือเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนด้านภาษาจีน ระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมและศูนย์แลกเปลี่ยนและส่งเสริมความร่วมมือด้านภาษาจีนระหว่างประเทศ หรือ CLEC
โดยเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ทำหน้าที่เสมือนสะพานแห่งวัฒนธรรมในการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีนให้คงอยู่อย่างแน่นแฟ้น นอกจากนี้ ยังเป็นการเสริมสร้างเวทีแห่งโอกาสให้นักศึกษาไทยได้แสดงศักยภาพด้านภาษาและวัฒนธรรมจีนให้เป็นที่ประจักษ์ในระดับชาติและระดับนานาชาติอีกด้วย
ส่วน ดร.อรรถวิท อุไรรัตน์ กล่าวในงานว่า ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยรังสิตได้ทุ่มเทในการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมจีน-ไทยและการศึกษาภาษาจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2566 ศูนย์แลกเปลี่ยนและส่งเสริมความร่วมมือด้านภาษาจีนระหว่างประเทศและภาควิชาภาษาจีนของมหาวิทยาลัยรังสิตได้ร่วมกันก่อตั้งห้องเรียนดนตรีภาษาจีนแห่งแรกในประเทศไทยภายใต้แนวคิด'ภาษาจีน+วิชาชีพ'
มาตรการนี้ไม่เพียงแต่เป็นการสร้างแพลตฟอร์มใหม่สำหรับนักศึกษาไทยในการเรียนภาษาจีน แต่ยังช่วยให้พวกเขาสามารถสัมผัสและเข้าใจวัฒนธรรมจีนได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นผ่านดนตรีซึ่งเป็นภาษาสากล ทั้งนี้ การก่อตั้งห้องเรียนดนตรีภาษาจีนเป็นก้าวสำคัญในการปฏิบัติตามแนวคิดการศึกษา 'ภาษาจีน+วิชาชีพ' และยังเป็นการจัดเตรียมพื้นฐานทางวัฒนธรรมและทรัพยากรทางการศึกษาที่พร้อมใช้งานสำหรับการจัดการแข่งขัน “สะพานสู่ภาษาจีน”
ในการแข่งขันฯ รอบชิงชนะเลิศ ผู้เข้าแข่งขัน 30 คนได้เข้าร่วมการแข่งขัน 2 รอบ คือ รอบการกล่าวสุนทรพจน์และรอบการแสดงความสามารถพิเศษ หัวข้อแข่งขัน'สะพานสู่ภาษาจีน' คือ 'โลก คือครอบครัวเดียวกัน' โดยผู้เข้าแข่งขันได้กล่าวสุนทรพจน์ในหัวข้อ 5 หัวข้อ ได้แก่'เนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่าง ฉันอยากจะบอกว่า...' 'ร่วมสร้าง 'หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง' และก้าวสู่อนาคตที่ดีกว่า' 'ภาษาจีนและการวางแผนอาชีพของฉัน'
“ยุคฟรีวีซ่าได้ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างประชาชนจีนและไทย AI (ปัญญาประดิษฐ์) ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในชีวิตของเรา”ผู้เข้าแข่งขันได้กล่าวสุนทรพจน์สุนทรพจน์ โดยมีแนวคิดที่แปลกใหม่ เนื้อหาที่หลากหลาย พูดภาษาจีนได้อย่างคล่องแคล่ว ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความหมายอันลึกซึ้งของการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและการเรียนรู้ ซึ่งกันระหว่างไทย-จีน
ในขั้นตอนการตอบคำถามจากคณะกรรมการตัดสิน ผู้เข้าแข่งขันได้ตอบอย่างตรงประเด็น ส่วนในการแข่งขันฯ รอบการแสดงความสามารถพิเศษ มีผู้เข้าแข่งขันได้แสดงอุปรากรจีน เช่น งิ้วปักกิ่ง งิ้ว“หวงเหมยซี่” เป็นต้น โดยออกเสียงอย่างชัดถ้อยชัดคำ มีการร่ายรำสวยงาม และยังมีผู้เข้าแข่งขันได้แสดงความสามารถพิเศษแบบจีนที่ชำนาญ ได้แก่ ไท่เก๊ก การเขียนพู่กัน กู่เจิง เป็นต้น
หลังจากการแข่งขันอันดุเดือด นางสาวนาวะ จะชี (Ms.Nawa Jachi) จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ได้รับรางวัลชนะเลิศแห่งประเทศไทย และเป็นตัวแทนประเทศไทยที่จะเดินทางไปประเทศจีนในเดือนสิงหาคม เพื่อเข้าร่วมการแข่งขันประกวดสุนทรพจน์และความรู้ภาษาจีน ระดับอุดมศึกษา 'สะพานสู่ภาษาจีน' ระดับโลก ส่วนนายธีรวงศ์ แซ่เกา (Mr.Terawong Saegao) จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ จะมีโอกาสเดินทางไปประเทศจีนเพื่อเข้าชมการแข่งขันฯ ระดับโลก
การแข่งขันฯ ครั้งนี้ จัดขึ้นโดยสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยมีสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ศูนย์แลกเปลี่ยนและส่งเสริมความร่วมมือด้านภาษาจีนระหว่างประเทศ สำนักงานกรุงเทพฯ
และมหาวิทยาลัยรังสิตเป็นหน่วยงานร่วมดำเนินการ การแข่งขันประกวดสุนทรพจน์และความรู้ภาษาจีน ระดับอุดมศึกษา 'สะพานสู่ภาษาจีน' รอบชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทยนี้ มีนักศึกษารวม 105 คน จาก 25 สถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยได้สมัครเข้าร่วมการแข่งขัน คณะกรรมการได้แสดงความเห็นหลังการแข่งขันว่า ความรู้ความสามารถด้านภาษาจีนของผู้เข้าแข่งขันในปีนี้โดยรวมแล้วดีกว่าปีก่อนๆ อย่างมาก
#จีน #ไทย #ภาษาจีน #สะพานสู่ภาษาจีน #cctv #cgtn #cmg