- Details
- Category: สภาพัฒน์ฯ สศช.
- Published: Tuesday, 29 August 2023 13:12
- Hits: 10152
สศช. หนี้สินครัวเรือน (ไตรมาสหนึ่ง ปี 2566) ขยายตัวเพิ่มขึ้น และคุณภาพสินเชื่อปรับตัวลดลงเล็กน้อย
ภาวะสังคมไทยไตรมาสสอง ปี 2566
การนำเสนอภาวะสังคมไทยไตรมาสสอง ปี 2566 พบความเคลื่อนไหวสำคัญ ได้แก่การจ้างงานปรับตัวดีขึ้น และการว่างงานที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องที่ร้อยละ 1.06 หนี้สินครัวเรือน (ไตรมาสหนึ่ง ปี 2566) ขยายตัวเพิ่มขึ้น และคุณภาพสินเชื่อปรับตัวลดลงเล็กน้อย คดีอาญาโดยรวมและผู้ประสบภัยจากอุบัติเหตุจราจรทางบกลดลง
ขณะที่การเจ็บป่วยด้วยโรคเฝ้าระวังเพิ่มขึ้น ด้านคดีเกี่ยวกับชีวิตร่างกายและเพศ และคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์เพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ และการร้องเรียนของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ยังมีการน าเสนอสถานการณ์ทางสังคมที่น่าสนใจ 3 เรื่อง ได้แก่ (1) การย้ายถิ่นของประชากรช่วง COVID-19 ความท้าทายของตลาดแรงงาน (2) จัดการซากรถยนต์อย่างไร เมื่อรถ EV มาแทนที่ และ (3) LGBTQ+ : หลากหลายที่ไม่แตกต่าง เพื่อเปิดกว้างสู่ความเสมอภาคทางเพศ รวมทั้งเสนอบทความเรื่อง หนี้สินคนไทย : ภาพสะท้อนจากข้อมูลเครดิตบูโร
สถานการณ์ด้านแรงงานปรับตัวดีขึ้นจากการขยายตัวในสาขานอกภาคเกษตรกรรม ขณะที่ภาคเกษตรกรรมได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง อย่างไรก็ตาม ชั่วโมงการทำงาน ค่าจ้างแรงงาน และอัตรา
การว่างงานยังคงปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง
การจ้างงาน ผู้มีงานท ามีจ านวนทั้งสิ้น 39.7 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 1.7 จากการขยายตัวของการจ้างงานสาขานอกภาคเกษตรกรรมที่ร้อยละ 2.5 โดยสาขาโรงแรมและภัตตาคารยังขยายตัวได้ดีต่อเนื่องที่ร้อยละ 11.7 จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศและการเข้ามาอย่างต่อเนื่องของนักท่องเที่ยวต่างชาติ เช่นเดียวกับสาขาก่อสร้างที่มีการจ้างงานเพิ่มมากขึ้นร้อยละ 6.0 และสาขาการผลิต การค้าส่งและค้าปลีก และการขนส่งและเก็บสินค้า เพิ่มขึ้นเช่นกันที่ร้อยละ 0.3 0.5 และ 1.1 ตามลำดับ
ขณะที่ภาคเกษตรกรรม การจ้างงานหดตัวลงเล็กน้อยจากปี 2565 ที่ร้อยละ 0.2 ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากปัญหาภัยแล้ง ชั่วโมงการทำงานปรับตัวดีขึ้น โดยชั่วโมงการทำงานภาพรวมและเอกชนเพิ่มขึ้นจากปีก่อนมาอยู่ที่ 42.7 และ 46.7 ตามลำดับ
สำหรับ ค่าจ้างแรงงาน ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเช่นกัน โดยค่าจ้างเฉลี่ยในภาพรวมและภาคเอกชนอยู่ที่ 15,412 และ14,032 บาทต่อคนต่อเดือน อัตราการว่างงานมีแนวโน้มดีขึ้น ลดลงจากปีก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 1.06 หรือมีผู้ว่างงานจ านวน 4.3 แสนคน
สำหรับ ประเด็นที่ต้องติดตามในระยะถัดไป 1) การขาดแคลนแรงงานที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งหากพิจารณาตำแหน่งงานว่างและจำนวนแรงงานที่ได้บรรจุงานในช่วงเดือนธันวาคม ปี 2565 ถึงเดือนมิถุนายน ปี 2566 จะพบว่า ผู้สมัครงาน 1 คนมีตำแหน่งงานรองรับถึง 5 ตำแหน่ง 2) การเตรียมความพร้อม เพื่อรับมือการเกษียณอายุของแรงงานทักษะต่ำ
โดยไตรมาสสองปี 2566 มีแรงงานทักษะต่าในภาคเอกชนที่กำลังจะเกษียณอายุกว่า 1.3 ล้านคน ขณะที่แรงงานที่จะเข้ามาทดแทนมีแนวโน้มลดลง และ 3) ผลกระทบต่อการจ้างงานและรายได้ของเกษตรกรจากภัยแล้งที่มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น โดยปริมาณฝนสะสมในปัจจุบัน มีค่าน้อยกว่าค่าปกติในทุกภูมิภาค ซึ่งการลดลงของปริมาณน้ำจะส่งผลกระทบต่อการทำการเกษตร
หนี้สินครัวเรือน (ไตรมาสหนึ่ง ปี 2566)