WORLD7

BANPU2024

powertime 950x100pxsmed MTI 720x100

 

5830 TDCX 01

TDCX เผยผลสำรวจ เอสเอ็มอีไทยเลือกใช้ผู้ให้บริการเทคโนโลยีภายนอกองค์กร

          ● 80 เปอร์เซ็นต์ของกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยวางแผนสร้างสรรค์นวัตกรรมผลิตภัณฑ์หรือบริการของตน โดยใช้ประโยชน์จากเครื่องมือดิจิทัล เช่น การวิเคราะห์ข้อมูล ในอีก 2 ปีข้างหน้า

          ● กลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในอาเซียน เห็นคุณค่าในการทำงานร่วมกับผู้ให้บริการเทคโนโลยีภายนอกเพื่อสนับสนุนการเติบโตทางธุรกิจ

 

          TDCX’s (NYSE: TDCX) เผยผลสำรวจล่าสุด ระบุกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอี (SMEs) ในประเทศไทยตั้งเป้าในการเลือกใช้งานผู้ให้บริการเทคโนโลยีนอกองค์กร เพื่อสนับสนุนความมุ่งมั่นในการเข้าสู่ดิจิทัลให้เร็วยิ่งขึ้น โดยธุรกิจเหล่านี้กำลังมองหาผู้ให้บริการเทคโนโลยี เช่น ผู้ให้บริการระบบคลาวด์ ซิสเต็มส์อินทิเกรเตอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ รวมถึงแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ผู้เชี่ยวชาญต้องการเพื่อสร้างการเติบโตทางธุรกิจ

          รายงานผลสำรวจของ TDCX ในหัวข้อ “กลุ่มเอสเอ็มอีในอาเซียน: ธุรกิจขนาดเล็ก กับโอกาสทองของผู้ให้บริการเทคโนโลยี” (ASEAN SMEs: Small Business, Big Opportunity for Tech Providers) มีเป้าหมายเพื่อช่วยให้ผู้ให้บริการเทคโนโลยีทั่วโลกเข้าใจถึงแนวทางการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทั่วอาเซียน รวมถึงประเทศไทย ซึ่งกลุ่มผู้ประกอบการมีการเติบโตในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล และความคาดหวังของกลุ่มเอสเอ็มอีที่มีต่อผู้ให้บริการเทคโนโลยี 

          อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาพบว่า 69 เปอร์เซ็นต์ของ กลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยเพิ่งเริ่มต้นเส้นทางสู่ดิจิทัลหรือเปลี่ยนฟังก์ชันในธุรกิจให้เป็นดิจิทัลเพียงบางส่วนเท่านั้น ซึ่งใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยของอาเซียนที่ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์

          กลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยตระหนักถึงความจำเป็นในการทำระบบดิจิทัล และกำลังดำเนินการเพื่อลดช่องว่างนั้น ผลการศึกษาพบว่า สิ่งที่ธุรกิจเหล่านี้ให้ความสำคัญสูงสุดในระยะ 2 ปีข้างหน้า คือ การเพิ่มขีดความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลและนวัตกรรม และเพื่อที่จะสนับสนุนการผลักดันสู่ระบบดิจิทัล กลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยกำลังมองหาการทำงานร่วมกับผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีที่มีทักษะด้านเทคนิคที่แข็งแกร่ง (75 เปอร์เซ็นต์) มีความรู้ในอุตสาหกรรม (62 เปอร์เซ็นต์) และมีระยะเวลาตอบสนองที่รวดเร็ว (57 เปอร์เซ็นต์)

 

5830 TDCX 04

 

          มิสเตอร์ ลอเรนท์ จูนิค ซีอีโอของ TDCX กล่าวว่า “หลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 กลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากการก้าวไปสู่ดิจิทัล สิ่งที่เคยเป็นของ ‘น่ามี’ ตอนนี้กลายเป็นสิ่งที่ ‘ต้องมี’ และ กลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอี กำลังชดเชยเวลาที่เสียไปด้วยการใช้ประโยชน์จากความเชี่ยวชาญของผู้ให้บริการเทคโนโลยี ดังนั้น ถึงเวลาแล้วที่ผู้ให้บริการเทคโนโลยีจะมีส่วนร่วมกับ กลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงสู่ระบบดิจิทัล”

 

          ข้อบ่งชี้สำคัญในตลาดอาเซียน :

          1. กลุ่มเอสเอ็มอีในอาเซียนมุ่งลงทุนครั้งใหญ่ด้านดิจิทัล

          กลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ต้องการปรับปรุงความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลและนวัตกรรม และยังให้ความสำคัญกับการดำเนินงานด้านดิจิทัล เช่น การขายและการตลาด ระบบบริหารการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ (72 เปอร์เซ็นต์) และเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจแบบดั้งเดิมสู่อีคอมเมิร์ซ (64 เปอร์เซ็นต์) ภายในอีก 2 ปีข้างหน้า

 

5830 TDCX 02

 

          อย่างไรก็ตาม ธุรกิจเหล่านี้ยังคงต่อสู้กับความท้าทายอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นด้านการให้คำแนะนำและให้การปรึกษาเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีไปใช้งานจริง (69 เปอร์เซ็นต์) โครงการฝึกอบรมเพื่อทบทวนทักษะหรือเพิ่มทักษะให้กับพนักงาน (68 เปอร์เซ็นต์) การเข้าถึงความรู้และความเชี่ยวชาญ (62 เปอร์เซ็นต์) ตลอดจนการมีสายสัมพันธ์กับผู้ให้บริการที่เหมาะสม (57 เปอร์เซ็นต์)

 

5830 TDCX 03

 

          2. สร้างการเติบโตไปด้วยกัน

          ในขณะที่กลุ่มเอสเอ็มอีที่แข็งแรงได้มีการพัฒนาระบบดิจิทัลไประดับหนึ่งแล้ว แต่ก็ยังต้องเผชิญกับความซับซ้อนและการจัดการที่ยากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในอาเซียนเปิดรับผู้ให้บริการเทคโนโลยีจากภายนอกมากขึ้น เพื่อช่วยจัดการงานบางอย่างให้บรรลุเป้าหมายได้รวดเร็วยิ่งขึ้น จากการสำรวจ 5 ประเทศในอาเซียนพบว่า กลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอี มากกว่า 84 เปอร์เซ็นต์ เห็นคุณค่าในการทำงานร่วมกับผู้ให้บริการเทคโนโลยีภายนอก

          สองอันดับแรกที่กลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในอาเซียนใช้ประโยชน์จากการสนับสนุนจากภายนอก คือ ความต้องการด้านการตลาดดิจิทัล และการฝึกอบรมพนักงาน จุดนี้ชี้ให้เห็นว่า กลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีของอาเซียนกำลังให้ความสำคัญกับการสร้างรายได้ และสร้างความมั่นใจว่าพนักงานมีทักษะที่เหมาะสมในการปรับตัวเข้าสู่ระบบดิจิทัลในอนาคต

          ในด้านการดำเนินงาน ยังคงมีโอกาสอีกมากสำหรับกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีอาเซียน ที่จะขอให้ผู้ให้บริการเทคโนโลยีช่วยเพิ่มขีดความสามารถของพนักงาน ตัวอย่างเช่น ในด้านการชำระเงินและการเรียกเก็บเงิน มีกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เพียงหนึ่งในสี่ของอาเซียน (25 เปอร์เซ็นต์) ที่ใช้ประโยชน์จากโซลูชันภายนอกเพื่อให้บริการดังกล่าว

          3. เอสเอ็มอีในอาเซียน แสวงหาผู้ให้บริการเทคโนโลยี ตอบโจทย์ธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น

          ในการให้บริการธุรกิจเอสเอ็มอีในอาเซียน ผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีจำเป็นต้องติดตามสิ่งที่กลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีต้องการ มีความข้าใจประเด็นปัญหาและจุดอ่อนของธุรกิจของเอสเอ็มอี ตามรายงานของ TDCX พบว่ามากกว่า 4 ใน 5 (หรือ 82 เปอร์เซ็นต์) ของกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีอาเซียนที่ทำแบบสำรวจ แสดงให้เห็นถึงความเปิดกว้างต่อการเปลี่ยนผู้ให้บริการ โดยปัจจัย 3 อันดับแรก ที่ผลักดันการเปิดรับผู้ให้บริการรายใหม่นี้ ได้แก่ เทคโนโลยีที่ดีกว่า (71 เปอร์เซ็นต์) ตอบสนองการดูแลลูกค้าได้มากกว่า (68 เปอร์เซ็นต์) และการกำหนดราคาที่ดีกว่า (45 เปอร์เซ็นต์) 

 

5830 TDCX 05

 

          ความจำเป็นในการสนับสนุนลูกค้าที่ดีขึ้นได้รับการเน้นย้ำโดยกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอี อาเซียนซึ่งจากการสำรวจยังพบอีกว่า ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ของลูกค้าเป็นสาเหตุหลักสองประการที่อยู่เบื้องหลังความไม่พอใจต่อผู้ให้บริการเทคโนโลยีรายเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความเร็วในการตอบกลับลูกค้า (74 เปอร์เซ็นต์) และมีเจ้าหน้าที่ในการให้บริการ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์ของลูกค้า (64 เปอร์เซ็นต์)

 

          ระเบียบวิธีวิจัย

          รายงาน “กลุ่มเอสเอ็มอีในอาเซียน: ธุรกิจขนาดเล็ก กับโอกาสทองของผู้ให้บริการเทคโนโลยี” (ASEAN SMEs: Small Business, Big Opportunity for Tech Providers) ของ TDCX จัดทำโดย Intuit Research ในช่วงระหว่างเดือนกันยายน ถึงธันวาคม 2565 เพื่อทำความเข้าใจความคิดของ กลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ต่อการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิทัล สัมภาษณ์ผู้ประกอบการ กลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอี รวม 750 ราย ใน 5 ประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม และไทย โดยแต่ละประเทศมีจำนวนผู้เข้าร่วมเท่าๆ กัน

 

ดาวน์โหลดรายงานได้ที่นี่

 

 

A5830

Click Donate Support Web  

kasat 720x100

MTL 720x100

TU 720 x 109

sme 720x100

ธกส 720x100

SPALAI 720x100

PF 720x100

TOA 720x100

กรมโยธาธิการและผังเมือง สั่งห้ามใช้อาคาร 52 แห่ง...
กลุ่มธุรกิจอีฟิน ผนึก เอเบิล แอนด์ พริมพ์ตัน ลงน...
CIBA DPU จับมือ ออมสิน เปิดโครงการ ‘ออมสินยุวพัฒ...
การประชุมเจรจาความตกลงการค้าเสรีระหว่างสหภาพยุโร...
SET Note ฉบับที่ 3/2568 ‘ส่องพฤติกรรมการถือครองห...

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!

กรมโยธาธิการและผังเมือง สั่งห้ามใช้อาคาร 52 แห่ง จากการตรวจสอบทั้งหมด 6,276 แห่งทั่วประเทศ หลังพบโครงสร้างเสียหายหนักเหตุแผ่นดินไหว ต้องระงับการใช้งาน
กรมโยธาธิการและผังเมือง สั่งห้ามใช้อาคาร 52 แห่ง จากการตรวจสอบทั้งหมด 6,276 แห่งทั่วประเทศ หลังพบโครงสร้างเสียหายหนักเหตุแผ่นดินไหว ต้องระงับการใช้ง...

Read more

MAXBIT ขอใบอนุญาตขยายธุรกิจเพิ่ม เพิ่มทุน 300 ล้านเป็น 500 ล้านบาท
MAXBIT ขอใบอนุญาตขยายธุรกิจเพิ่ม เพิ่มทุน 300 ล้านเป็น 500 ล้านบาท ชูกลยุทธ์ปี 68 ประกาศเพิ่มทุนจาก 300 ล้านบาท เป็น 500 ล้านบาท เพื่อขอใบอนุญาติข...

Read more

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองไทยโดน Reciprocal Tariff ที่ 37% สร้างความเสี่ยง GDP หายไป 1.0% ทำส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ และเกษตรหดตัว แต่ยังขึ้นกับผลการเจรจากับสหรัฐฯ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองไทยโดน Reciprocal Tariff ที่ 37% สร้างความเสี่ยง GDP หายไป 1.0% ทำส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ และเกษตรหดตัว แต่ยังขึ้นก...

Read more

กลุ่มธุรกิจอีฟิน ผนึก เอเบิล แอนด์ พริมพ์ตัน ลงนาม MOU ยกระดับบริการ IR และ Legal Advisory แบบครบวงจรสู่บริษัทจดทะเบียนไทย
กลุ่มธุรกิจอีฟิน ผนึก เอเบิล แอนด์ พริมพ์ตัน ลงนาม MOU ยกระดับบริการ IR และ Legal Advisory แบบครบวงจรสู่บริษัทจดทะเบียนไทย       &nb...

Read more

CIBA DPU จับมือ ออมสิน เปิดโครงการ ‘ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น 2568’ ปีที่ 7 หนุนนักศึกษาลงพื้นที่ นนทบุรี-นครปฐม พลิกโฉมผลิตภัณฑ์ชุมชน สร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจฐานราก
CIBA DPU จับมือ ออมสิน เปิดโครงการ ‘ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น 2568’ ปีที่ 7 หนุนนักศึกษาลงพื้นที่ นนทบุรี-นครปฐม พลิกโฉมผลิตภัณฑ์ชุมชน สร้างความยั่งยื...

Read more