- Details
- Category: วิเคราะห์-เศรษฐกิจ
- Published: Tuesday, 27 December 2022 18:38
- Hits: 9803
อิทธิพลของ คลาวด์ และ Embedded Finance รวมถึงการชำระเงินแบบทันทีที่เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อการบริการทางการเงินในประเทศไทยปี 2566
• ผลการรายงานจาก Mambu แพลตฟอร์มธนาคารบนคลาวด์ ได้เผย 7 แนวโน้มทางการเงินสำคัญที่คาดการณ์ไว้ว่าจะเกิดขึ้นในปี 2566 ที่จะถึงนี้
• ผู้นำด้าน Fintech และผู้นำการให้บริการทางด้านการเงินต่างๆ เช่น AWS, Google Cloud, Backbase, Deloitte และอีกมากมาย ได้ทำการเผยถึงการคาดการณ์เช่นกัน
Mambu แพลตฟอร์มธนาคารบนคลาวด์ SaaS ชั้นนำ ได้มีการเผยการคาดการณ์ของคู่ค้าประจำปี ซึ่งแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มทางการเงินชั้นนำที่คาดว่าจะมีอิทธิพลต่ออุตสาหกรรมในปี 2566 เนื่องจากธุรกิจต่างๆ ได้ทำการเตรียมการพัฒนา และทำให้กิจการเติบโต ในสถานการณ์ของเศรษฐกิจที่ผันผวน
จากการรายงานเผยให้เห็นถึงข้อคิดเห็นเชิงลึก จากผู้นำในอุตสาหกรรมทางการเงิน และ Fintech รวมถึงข้อคิดเห็นจากผู้บริหารจาก AWS, Backbase, Deloitte, Google Cloud และอีกมากมาย ได้ทำการแชร์ข้อมูลเชิงลึกที่เป็นประเด็นสำคัญ พร้อมทั้งกำหนดทิศทางของอุตสาหกรรมทางการเงิน ในปีหน้า
ผลกระทบของการแพร่ระบาดนั้น ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในทุกอุตสาหกรรม รวมถึงอุตสาหกรรมทางการเงิน โดยเป็นส่วนนึงที่ทำให้ธนาคารดิจิทัลทั่วประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เติบโตอย่างรวดเร็ว และนำเทคโนโลยีคลาวด์มาใช้ในด้านการบริการทางการเงิน
สำหรับปีหน้าธนาคารส่วนใหญ่ ให้ความสำคัญในเรื่องของการจัดการค่าใช้จ่าย หรือการชำระเงินต่างๆ โดยจะเน้นที่การสร้างอินเทอร์เฟซของตนเองมากยิ่งขึ้น เพื่อทำให้เข้าถึงผู้ใช้บริการที่มีส่วนร่วมง่ายขึ้น และยังเป็นอีกช่องทางที่เพิ่มโอกาสให้ผู้ใช้บริการ รักและชื่นชอบต่อแบรนด์ มากกว่าการร่วมบริการ หรือสินค้าของตนเองเข้ากับแพลตฟอร์มอื่นๆ
คุณแดน โจนส์ หุ้นส่วนของ Oliver Wyman Digital กล่าวในผลการรายงานว่า “ระบบ Super-app ส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วย ระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ของตัวเอง เช่น WeChat และ AliPay ในประเทศจีน หรือ Grab และ GoTo ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์นับว่าเป็นเรื่องปกติมากกว่าการทำธุรกรรมการเงินด้วยบัตรเครดิตอยู่แล้ว และใช้การตั้งค่า POS ทั้งหมด ในปัจจุบันกว่า 72% ของประเทศต่างๆ มีรูปแบบการชำระเงินแบบเรียลไทม์ (RTP) ของตัวเองเช่นกัน สำหรับในปี 2566 เราคาดหวังว่ารูปแบบนี้จะได้ขยายข้ามพรมแดน ซึ่งการชำระเงินข้ามพรมแดนแบบเรียลไทม์ในปัจจุบันนั้นหาได้ค่อนข้างยาก เช่น การเชื่อมโยงผ่านทวิภาคี ของ PayNow ของสิงคโปร์และแต่ละแห่งของไทย มาเลเซีย อินเดีย และฟิลิปปินส์ อย่างไรก็ตาม ข้อตกลงแบบพหุภาคีนั้นกำลังจะเกิดขึ้น ซึ่งผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียนได้มีการลงนามในข้อตกลงสำหรับการใช้ระบบแบบข้ามพรมแดนที่แท้จริงผ่านการระบบอย่าง QR code”
คุณ Pham Quang Minh ผู้จัดการทั่วไปของ Mambu ประเทศไทย กล่าวว่า “ในปี 2566 จะเป็นปีที่สดใสต่ออนาคตทางการเงินของประเทศไทยอย่างแน่นอน จากการคาดการณ์บางอย่างของ Mambu เมื่อปีที่แล้ว เช่น การเงินแบบแยกส่วนได้ (Composable banking) หรือการชำระเงินแบบดิจิทัล จะยังคงได้รับความสนใจจากเรา สำหรับปีนี้เราได้ให้ความสนใจในเรื่องของธนาคารดิจิทัล ที่คาดว่าจะได้รับใบอนุญาตเต็มรูปแบบ และสามารถเริ่มดำเนินการได้ในปี 2566 เราขอเป็นส่วนนึง ที่จะนำนวัตกรรมมาใช้ในด้านการเงิน เพื่อให้ผู้ใช้บริการใช้งานได้ง่ายขึ้น ครอบคลุม และเข้าถึงได้สำหรับทุกคน”
แนวโน้มและประเด็นอื่นๆ ที่คาดว่าอาจจะเป็นผลกระทบอย่างมากต่อภาคบริการทางการเงินในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้แก่:
• Low code/no code: วิธีการนี้จะช่วยทำให้ระบบ และการบริการทางธนาคารดิจิทัลใหม่ๆ สามารถเข้าสู่ท้องตลาดได้เร็วยิ่งขึ้น ธุรกิจต่างๆ สามารถ สร้างต้นแบบ prototype ของตนเองได้อย่างง่ายดาย และเป็นโอกาสที่จะให้การเปิดตัวเป็นไปอย่างอย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องใช้กระบวนการพัฒนาแบบที่ซับซ้อนและใช้ชุดทักษะการเขียนโค้ดเฉพาะ
• เทคโนโลยีขนาดใหญ่ในการธนาคาร: บริษัทเทคโนโลยีขนาดยักใหญ่หลายแห่ง ได้มีการย้ายเข้าสู่การธนาคารในเอเชีย โดยมีบริษัท เช่น Grab, AEON และ SEA Group ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มบริษัทที่มีใบอนุญาตธนาคารดิจิทัล การเปลี่ยนแปลงของกลุ่มเทคโนโลยีขนาดใหญ่นี้ เป็นปัจจัยนึงที่ทำให้ทางธนาคารต้องมีการปรับรูปแบบทางดิจิทัลให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ด้วยสาเหตุนี้ ทำให้ลูกค้ามีความคาดหวังที่สูงขึ้น สำหรับประสบการณ์ดิจิทัลที่จะได้รับ ดังนั้นการธนาคารแบบเดิม จึงจำเป็นต้องร่วมมือกับผู้ให้บริการเทคโนโลยี เพื่อนำเสนอการบริการด้านธนาคารที่โดดเด่นและมีประสิทธิภาพในการแข่งขันที่สูงขึ้น
• ESG และการเงินที่ส่งผลกระทบทางจริยธรรม: เราจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของ ESG ทั่วเอเชียแปซิฟิก ซึ่งไม่เพียงขับเคลื่อนธนาคารแบบเดิม แต่ยังให้บริการทางการเงินแบบแยกส่วนได้ที่ครอบคลุมมากขึ้น และยังคงคำนึงถึงความยั่งยืน มั่นคง เพื่อผลประโยชน์ของผู้ใช้บริการ สำหรับเอเชีย จัดว่าเป็นอีกช่องทางสำหรับธนาคารอิสลาม ที่จะสามารถเห็นถึงความสนใจจากลูกค้าที่นับถือศาสนาอื่นนอกเหนือจากศาสนาอิสลามที่เพิ่มขึ้น ในด้านการบริการการเงินอย่างมีจริยธรรม
• การเติบโตของการปลดล็อกข้อมูล: กว่า 90% ของข้อมูลทั้งหมดที่จัดทำโดยธนาคารนั้นจะสามารถดำเนินการได้แบบเรียลไทม์โดยใช้ Machine learning ภายในสิ้นปี 2568 อ้างอิงจาก Google Cloud สถาบันการเงินจะแปลงโฉมตนเองเป็น “บริษัทข้อมูลที่มีใบอนุญาตการธนาคาร” เพื่อเข้าถึงโอกาสทางนวัตกรรมที่ถูกล็อกไว้ก่อนหน้านี้ เช่น การขอสินเชื่อบ้านภายในหนึ่งชั่วโมง หรือผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
คุณ Fernando Zandona ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี และ สินค้าของ Mambu ได้มีการพูดถึงข้อสรุปว่า “สถานการณ์ทางการเงินได้มีผลกระทบค่อนข้างมากในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจ บริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการทางการเงิน บริษัท Fintech ต้องการยืดหยุ่นที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ธนาคารต้องการปรับโฉมตัวเอง และแน่นอนว่ามันจะมีสิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม สุดท้ายผู้ใช้บริการจะเป็นผู้ตัดสินว่า ผู้ให้บริการรายใดมีความโดดเด่นมากที่สุด และเติบโตอย่างต่อเนื่องในตลาด ซึ่งผู้ใช้บริการเหล่านี้มักจะชื่นชอบผู้ให้บริการที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เสมอ การใช้เทคโนโลยีจะเป็นหนึ่งในวิธีแรกที่อุตสาหกรรมทางด้านบริการทางการเงินต้องการ เพื่อความอยู่รอดและการพัฒนา”
ในส่วนของข่าวสารต่างๆ รวมถึงผลการรายงานแนวโน้มการคาดการณ์ปี 2023 ทั้งหมด สามารถอ่านเพิ่มเติม และดาวน์โหลดได้จาก เว็บไซต์ของ Mambu ที่: https://mambu.com/insights/articles/trend-alert-the-forces-shaping-finance-in-2023
A121061