WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1jula

เศรษฐศาสตร์ จุฬา มองเศรษฐกิจปี 66 ท่องเที่ยวเด่น ส่งออกเหนื่อย

ในงานเสวนาออนไลน์ Chula Econ Forum โดยคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชวนคลัง สภาพัฒน์ และแบงก์ชาติ ถกหัวข้อ เศรษฐกิจไทย 2566 มองไปข้างหน้า หลังวิกฤตโควิด-19 ประสานเสียงเศรษฐกิจฟื้นตัวชัดเจน ท่องเที่ยวเด่น ส่งออกเหนื่อย ถึงเวลาปรับนโยบายการเงินการคลังสู่ภาวะปกติ มุ่งดูแลเงินเฟ้อและเสถียรภาพระยะยาว

ดร.อานันท์ชนก สกนธวัฒน์ ผู้เชี่ยวชาญแบบจำลองเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระบุว่า ตัวเลขของสภาพัฒน์ที่แถลงเมื่อเดือนพฤศจิกายน ประเมินเศรษฐกิจไทยปี 2565 โตได้ 3.2% ส่วนปี 2566 คาดว่าอยู่ในกรอบ 3-4% โดยมีตัวขับเคลื่อนหลักจากจากการบริโภคภายในประเทศและการลงทุนภาคเอกชน ส่วนการส่งออกอาจโตได้เพียง 1% ถือว่าชะลอตัวลง จากเศรษฐกิจโลกโดยรวมยังย่ำแย่ ยังมีความเสี่ยงที่เศรษฐกิจหลักของโลกอย่างสหรัฐและประเทศในยุโรปจะเกิดสภาวะเศรษฐกิจถดถอยจากเงินเฟ้อพุ่งสูง แนะภาครัฐต้องช่วยขับเคลื่อนการส่งออกสินค้าไปยังตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ เช่น เอเชีย และตะวันออกกลาง

“เศรษฐกิจไทยฟื้นได้ตัวชัดเจนมากจากไตรมาส 4/64 พระเอกคืออุปสงค์ภายในประเทศ โดยตัวเลขไตรมาส 3/65 การอุปโภคบริโภคภายในประเทศขยายตัว 9% และการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวถึง 11% ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่สูงมากแบบที่แทบไม่เคยเห็นมาก่อน ส่วนนางเอกคือภาคการท่องเที่ยว สภาพัฒน์ประเมินปีหน้าจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาอีก 23.5 ล้านคน”

ขณะที่กระทรวงการคลังยังมั่นใจการเบิกจ่ายงบประมาณไม่สะดุดแม้จะมีการเลือกตั้งในปีหน้า โดย ดร. พิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค กระทรวงการคลัง กล่าวว่าได้มีการคาดการณ์เรื่องการเบิกจ่ายงบลงทุนที่ล่าช้าไว้อยู่แล้ว งบประมาณปี 2566 จึงได้วางไว้แบบขาดดุลที่ 6.9 แสนล้านบาท เป็นการขาดดุลต่อเนื่องเพื่อช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจ สัดส่วนหนี้สาธารณะในปัจจุบันอยู่ที่ 60% ของ GDP เนื่องจากรัฐกู้เงินพิเศษมาดูแลสถานการณ์โควิด ในปี 63 กู้ 1 ล้านล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 97% ส่วนปี 64 กู้ 5 แสนล้าน เบิกจ่ายแล้ว 93% โดยหนี้ส่วนใหญ่เป็นหนี้สกุลเงินบาทและเป็นหนี้ระยะยาว ซึ่งยังอยู่ในกรอบวินัยการเงินการคลังไม่เกิน 70% ของจีดีพี สะท้อนว่าฐานะทางการคลังยังอยู่ในเกณฑ์ดี

“หลังวิกฤตโควิด-19 เราต้องกลับมาพูดถึง Policy Normalization หรือ นโยบายต้องปรับเข้าสู่ภาวะปกติ ด้วยการใช้เงินผ่านงบประมาณแบบขาดดุลตามปกติ และมุ่งดูแลตามกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น ไม่มีการกู้นอกงบประมาณแล้ว ต้องคำนึงถึงความยั่งยืนทางการคลังเป็นหลัก นโยบายระยะปานกลางจึงควรเน้นการสร้างเศรษฐกิจดิจิทัลในอนาคต รวมถึงส่งเสริมการท่องเที่ยว ที่จะเป็นเครื่องยนต์หลักขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยต่อจากนี้”

ดร.พิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า แรงกระตุ้นภาครัฐจะเริ่มจำกัดหลังการอัดฉีดเพื่อดูแลสถานการณ์โควิดในช่วง 2 ปีก่อนหน้า แต่กระทรวงการคลังยังคาดว่า GDP ไทยปี 2566 จะขยายตัวได้ 3.8% ด้วยตัวแปรสำคัญคือ การท่องเที่ยวมาช่วยชดเชยการส่งออกสินค้า นับเป็นเพียงไม่กี่ประเทศในโลกที่เศรษฐกิจปีหน้าจะโตได้กว่าปีนี้ อีกทั้งสถาบันจัดอันดับเรตติ้งชั้นนำของโลก ยังคงจัดอันดับประเทศไทยอยู่ในระดับ Investment grade สะท้อนว่านักลงทุนต่างชาติมองฐานะทางเศรษฐกิจไทยยังดีอยู่

ด้านปัญหาหนี้ครัวเรือนจากภาระต้นทุนดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น คุณบัณณรี ปัณณราช ผู้อำนวยการฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุ แบงก์ชาติประเมินแล้วว่าเศรษฐกิจกำลังเป็นขาขึ้น รายได้ของประชาชนเริ่มดีขึ้นตามไปด้วย

การปรับขึ้นดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไปมีความจำเป็น เพื่อดูแลเงินเฟ้อในระยะข้างหน้าให้ไม่สูงมากนัก เพราะหากเงินเฟ้อพุ่งสูงเกินไป จะเป็นภาระต่อการใช้จ่ายภาคครัวเรือนที่หนักมากกว่าปัญหาภาระหนี้หลายเท่า

ส่วนแนวโน้มการปรับขึ้นค่าจ้างในอนาคต ไม่น่ากระทบกับเสถียรภาพทางเงินเฟ้อมากนัก เนื่องจากต้นทุนค่าแรงคิดเป็นประมาณ 15% ของต้นทุนการผลิตทั้งหมด นอกจากนี้ สัดส่วนแรงงานที่ได้รับค่าจ้างในระบบอยู่ที่ 44% ของแรงงานทั้งหมด อีกมากกว่าครึ่งไม่ได้รับผลตอบแทนในรูปของค่าจ้างแรงงาน เช่น กลุ่มเกษตรกร หรือผู้ประกอบการอิสระ หากใช้วิธีการคำนวณทางเศรษฐมิติ จะพบว่าค่าจ้างที่ขึ้น 1% อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะปรับขึ้นเพียง 0.04%

“ประเทศไทยมีวัฏจักรเศรษฐกิจที่ไม่เหมือนเศรษฐกิจอื่นของโลก เรามีสัดส่วนรายได้จากการท่องเที่ยวที่สูงมาก ค่าจ้างภาคบริการฟื้นตัวต่อเนื่อง แต่รายได้ของแรงงานบางส่วนในอุตสาหกรรมอื่นยังไม่กลับไปเหมือนช่วงก่อนโควิด โดยเฉพาะแรงงานนอกภาคการเกษตรและผู้มีอาชีพอิสระ เกิดการขยายตัวที่ไม่ทั่วถึงกันทุกพื้นที่ ธปท.จึงต้องมีโครงการปรับโครงสร้างหนี้ร่วมกับสถาบันการเงิน ซึ่งจะมียาวต่อเนื่องตลอดปี 2566”

 

 

Click Donate Support Web  

 

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100ais 720x100BANPU 720x100TU720x100sme 720x100

QIC 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!