WORLD7

BANPU2024

powertime 950x100pxsmed MTI 720x100

 

 1677 KT Compass

กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง สู่ร้อยละ 1.50 ต่อปี ประเมินเศรษฐกิจมีแนวโน้มดีขึ้น

โดย ฉมาดนัย มากนวล

ชนม์นิธิศ ไชยสิงห์ทอง

Krungthai COMPASS

 

Key Highlights

          • กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปี สู่ระดับร้อยละ 1.50 ต่อปี โดยมองว่าเศรษฐกิจไทยขยายตัวต่อเนื่องและมีแนวโน้มที่ดีขึ้น โดยการกลับมาของนักท่องเที่ยวจีนจะสนับสนุนภาคการท่องเที่ยวให้ฟื้นตัวเร็วขึ้น และจะส่งผลดีต่อเนื่องไปยังการบริโภคภาคเอกชน ขณะที่การส่งออกสินค้ามีแนวโน้มชะลอลง ด้านอัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มลดลง แต่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีแนวโน้มทรงตัวในระดับสูง และมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากแรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปสงค์ตามเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว

          • Krungthai COMPASS คาด กนง. มีแนวโน้มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่องในการประชุมครั้งถัดไป โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากที่ กนง. ประเมินว่าเศรษฐกิจมีแนวโน้มเติบโตได้ต่อเนื่องจากแรงขับเคลื่อนของภาคการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวดี ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มอยู่ในระดับสูงโดยเฉพาะช่วงครึ่งปีแรก และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีความเสี่ยงที่อยู่ในระดับสูงนานกว่าคาดจากแรงกดดันด้านอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้น

 

          กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปี สู่ระดับร้อยละ 1.50 ต่อปี

          กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปี จากร้อยละ 1.25 เป็นร้อยละ 1.50 ต่อปี ในการประชุมครั้งที่ 1/2566 โดยมีสาระสำคัญดังนี้

          • เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชน ภาคการท่องเที่ยวจะฟื้นตัวเร็วขึ้นโดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการกลับมาของนักท่องเที่ยวจีน ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการจ้างงานและการกระจายรายได้ของลูกจ้างในภาคบริการและผู้ประกอบอาชีพอิสระ และจะส่งผลดีต่อเนื่องไปยังการบริโภคภาคเอกชน ขณะที่การส่งออกสินค้ามีแนวโน้มชะลอลงในปีนี้ แต่จะฟื้นตัวในปี 2567 ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกที่คาดว่าจะผ่านจุดต่ำสุดในปี 2566 

          • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มลดลง แต่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังทรงตัวในระดับสูง โดยแรงกดดันเงินเฟ้อจากด้านอุปทานทยอยคลี่คลายตามราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์โลกที่ปรับลดลง อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีแนวโน้มทรงตัวในระดับสูงอีกระยะหนึ่งก่อนจะทยอยปรับลดลง แต่มีความเสี่ยงที่จะอยู่ในระดับสูงนานกว่าคาดจากการส่งผ่านต้นทุนที่อาจเพิ่มขึ้นท่ามกลางภาวะต้นทุนที่สูงต่อเนื่อง และจากแรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปสงค์ตามการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว ส่วนอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ในระยะปานกลางยังยึดเหนี่ยวอยู่ในกรอบเป้าหมาย

          • มาตรการปรับโครงสร้างหนี้ควรดำเนินการอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเห็นความสำคัญของการมีมาตรการเฉพาะจุดและแนวทางแก้ปัญหาหนี้อย่างยั่งยืนสำหรับกลุ่มเปราะบาง แม้ว่าความสามารถในการชำระหนี้ของภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนมีแนวโน้มปรับดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ แต่ฐานะการเงินของผู้ประกอบการ SMEs และครัวเรือนบางส่วนยังเปราะบางและอ่อนไหวต่อค่าครองชีพและภาระหนี้ที่สูงขึ้น ขณะที่ธนาคารพาณิชย์มีระดับเงินกองทุนและเงินสำรองที่เข้มแข็ง 

          • ภาวะการเงินโดยรวมผ่อนคลายลดลง ต้นทุนการกู้ยืมของภาคเอกชนปรับสูงขึ้นสอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายและการสิ้นสุดมาตรการปรับลดอัตราเงินนำส่งกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF fee) แต่ปริมาณสินเชื่อและการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ยังขยายตัว ขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบ ดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่าขึ้น ตามการคาดการณ์การดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่อาจผ่อนคลายลง และการผ่อนคลายมาตรการเดินทางของจีนที่จะส่งผลดีต่อการท่องเที่ยวไทย

 

Implication:

          • Krungthai COMPASS ประเมินว่า กนง. มีแนวโน้มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่องในการประชุมครั้งถัดไป โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวดีและอัตราเงินเฟ้อที่คาดว่าจะอยู่สูงกว่ากรอบเป้าหมายโดยเฉพาะในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ โดยเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มกลับเข้าสู่ระดับ Pre-COVID แล้ว และคาดว่าจะเติบโตได้ต่อเนื่องจากแรงขับเคลื่อนของภาคการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวดี โดย กนง. คาดจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็น 25.5 ล้านคนในปีนี้ (จากเดิมคาดไว้ที่ 22 ล้านคน) ตามการกลับมาของนักท่องเที่ยวจีนเป็นสำคัญ ซึ่งคาดว่าจะสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะภาคบริการให้ฟื้นตัวต่อเนื่อง และจะช่วยให้การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวได้ดีขึ้น ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มอยู่ในระดับสูงโดยเฉพาะช่วงครึ่งปีแรกจากราคาพลังงานเป็นสำคัญ และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ทรงตัวในระดับสูงมีความเสี่ยงที่อาจเพิ่มขึ้นได้จากการส่งผ่านต้นทุนของผู้ประกอบการท่ามกลางภาวะต้นทุนที่สูงรอบด้าน ซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ กนง. มีแนวโน้มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งถัดไปเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ สอดคล้องกับที่ กนง. ประเมินว่า อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีความเสี่ยงที่อยู่ในระดับสูงนานกว่าคาดจากการส่งผ่านต้นทุนที่อาจเพิ่มขึ้น อีกทั้งการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวจะส่งผลให้แรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปสงค์เพิ่มขึ้น

 

1677 KT Compass p01

 
 
A1677

Click Donate Support Web  

BANPU 720x100TU720x100EXIM One 720x90 C Jsme 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100pxPF 720x100

 

ตลาดหลักทรัพย์ฯ รับจดทะเบียน DR หุ้นเทคจีน BABA,...
มูลนิธิเอสซีจี จับมือ อินสครู เปิดโลกกว้างให้คุณ...
สลช.เร่งทำหลักสูตรการเอาตัวรอดจาก ‘อุบัติเหตุ-อุ...
ธุรกิจในสหรัฐฯ ยื่นฟ้องเพื่อระงับภาษีศุลกากรของทรั...
ตลาดหลักทรัพย์ฯ จัดให้มีมาตรการใหม่เพิ่มเติมในกา...

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!

ตลาดหลักทรัพย์ฯ รับจดทะเบียน DR หุ้นเทคจีน BABA, TENCENT, XIAOMI ออกโดย KGI เริ่มซื้อขาย 17 เม.ย. นี้
ตลาดหลักทรัพย์ฯ รับจดทะเบียน DR หุ้นเทคจีน BABA, TENCENT, XIAOMI ออกโดย KGI เริ่มซื้อขาย 17 เม.ย. นี้           ตลาดหลักทร...

Read more

มูลนิธิเอสซีจี จับมือ อินสครู เปิดโลกกว้างให้คุณครูได้เรียนรู้และเข้าใจทักษะอาชีพใหม่ๆ ในโลกปัจจุบัน
มูลนิธิเอสซีจี จับมือ อินสครู เปิดโลกกว้างให้คุณครูได้เรียนรู้และเข้าใจทักษะอาชีพใหม่ๆ ในโลกปัจจุบัน           มูลนิธิเอสซ...

Read more

สลช.เร่งทำหลักสูตรการเอาตัวรอดจาก ‘อุบัติเหตุ-อุบัติภัย’ ให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้
สลช.เร่งทำหลักสูตรการเอาตัวรอดจาก ‘อุบัติเหตุ-อุบัติภัย’ ให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้           ดร.วรัท พฤกษาทวีกุล รองปลัด...

Read more

U.S. businesses sue to block Trump tariffs, say trade deficits are not an emergency
ธุรกิจในสหรัฐฯ ยื่นฟ้องเพื่อระงับภาษีศุลกากรของทรัมป์ ระบุการขาดดุลการค้าไม่ใช่สถานการณ์ฉุกเฉิน  CNBC USA POLITICS : Dan Mangan @_DanMangan &nb...

Read more

ตลาดหลักทรัพย์ฯ จัดให้มีมาตรการใหม่เพิ่มเติมในการดูแลการซื้อขายหลักทรัพย์ หลังสิ้นสุดมาตรการชั่วคราว เพื่อสร้างเสถียรภาพตลาดหุ้นไทยต่อเนื่อง
ตลาดหลักทรัพย์ฯ จัดให้มีมาตรการใหม่เพิ่มเติมในการดูแลการซื้อขายหลักทรัพย์ หลังสิ้นสุดมาตรการชั่วคราว เพื่อสร้างเสถียรภาพตลาดหุ้นไทยต่อเนื่อง  ...

Read more