WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

 

 

MTI 720x100

 

5313 WGC GoldBar

ดีมานด์ทองคำแท่งและเหรียญทองคำในไทยโตขึ้น 15% ในไตรมาส 1 ของปี 2566 เมื่อเทียบเป็นรายปี

          รายงาน Gold Demand Trends ฉบับล่าสุดจากสภาทองคำโลก (World Gold Council) เผยแม้ความต้องการทองคำทั่วโลก (ไม่รวมการซื้อขายนอกตลาดหลักทรัพย์) ลดลง 13% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา การฟื้นตัวของการซื้อขายนอกตลาดหลักทรัพย์ทำให้ดีมานด์ทองคำโดยรวมเพิ่มเป็น 1,174 ตัน กล่าวคือ เพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ 1% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปี 2565 

          ในประเทศไทย ความต้องการทองคำของผู้บริโภคประจำไตรมาสที่ 1/2566 เพิ่มขึ้น 3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา อยู่ที่ 3.9 ตัน จาก 3.8 ตันในไตรมาสที่ 1/2565 เนื่องจากความต้องการทองคำแท่งและเหรียญทองคำในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น 15% มาอยู่ที่ 1.9 ตัน จาก 1.6 ตัน ในไตรมาสที่ 1/2565 แม้ว่าความต้องการอัญมณีในประเทศจะลดลง 6% ไปอยู่ที่ 2.1 ตัน จาก 2.2 ตันในไตรมาสที่ 1/2565 ก็ตาม

WGC Shaokai Fan          Mr. Shaokai Fan หัวหน้าภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ไม่รวมประเทศจีน) และหัวหน้าฝ่ายธนาคารกลางระดับโลกของสภาทองคำโลก กล่าวว่า “ราคาทองคำที่พุ่งสูงขึ้นและแรงกดดันจากค่าครองชีพเป็นตัวฉุดให้ดีมานด์อัญมณีของไทยลดลง 6% ในไตรมาสที่ 1 เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยราคาทองคำที่สูงขึ้นส่งผลให้ผู้บริโภคตัดสินใจขายเครื่องประดับทองคำที่มีอยู่”

          ภาพรวมของทองคำในไตรมาสที่ 1 ชี้ให้เห็นถึงความต้องการทองคำจากแหล่งผู้ซื้อที่หลากหลายทั่วโลก ส่งผลให้ราคาทองคำในไตรมาสนี้ขึ้นสูงถึง 1,890 ดอลลาร์/ออนซ์ ซึ่งนับว่าเกือบสูงสุดเป็นประวัติการณ์

          นอกจากนี้ธนาคารกลางยังหนุนดีมานด์ด้วยการเพิ่มทองคำ 228 ตัน ในทุนสำรองทั่วโลก ถือเป็นสถิติสูงสุดของไตรมาสที่ 1 ในช่วงเวลานี้ การซื้อทองคำจำนวนมากอย่างต่อเนื่องของภาครัฐเน้นย้ำถึงบทบาททองคำในพอร์ตทุนสำรอง ระหว่างประเทศในช่วงที่ตลาดมีความผันผวนและกำลังเผชิญกับความเสี่ยงสูง

          ในทางตรงกันข้าม อัญมณีค่อนข้างทรงตัวในไตรมาสแรก โดยอยู่ที่ 478 ตัน ด้วยความต้องการของจีนฟื้นคืนสู่ระดับเดิม โดยแตะ 198 ตัน ในไตรมาสแรกจากพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคที่เติบโตและมีอิสระมากขึ้นนับตั้งแต่มีการยกเลิกมาตรการล็อกดาวน์ ซึ่งช่วยชดเชยความต้องการในอินเดียที่การซื้อทองคำลดลง 17% ไปอยู่ที่ 78 ตัน ในไตรมาสที่ 1/2566 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ราคาทองคำในประเทศที่พุ่งตัวขึ้นอย่างรวดเร็วนี้เป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการซื้อ

          ดีมานด์การลงทุนมีความขึ้นลงในช่วงไตรมาสแรก การไหลเข้าของเงินทุนรอบใหม่ในกองทุน ETF ที่หนุนโดยทองคำในเดือนมีนาคม ซึ่งได้รับแรงขับหลักจากความเสี่ยงในลักษณะลูกโซ่ของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ได้สวนทางกับการไหลออกของเงินทุนในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์บางส่วน และช่วยให้การไหลออกของกองทุนรายไตรมาสลดลงเหลือ 29 ตัน

          ในทางกลับกัน การลงทุนในทองคำแท่งและเหรียญทองคำแข็งแกร่งขึ้น 5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยไปอยู่ที่ 302 ตัน แม้ว่าจะเกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดในตลาดสำคัญๆ ดีมานด์ทองคำแท่งและเหรียญทองคำในสหรัฐแตะ 32 ตัน ในช่วงไตรมาสที่ 1 ซึ่งนับเป็นระดับสูงสุดรายไตรมาสเทียบกับตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมา และมีสาเหตุสำคัญมาจากความกังวลถึงภาวะเศรษฐกิจถดถอย และการแสวงหาความปลอดภัยท่ามกลางความผันผวนของธุรกิจธนาคาร ซึ่งการเพิ่มขึ้นดังกล่าวช่วยพยุงดีมานด์ในยุโรป โดยเฉพาะประเทศเยอรมนีที่ดีมานด์ลดลง 73% อันเป็นผลจากอัตราดอกเบี้ยแท้จริงที่สูงขึ้น และราคาทองคำยูโรที่เพิ่มขึ้น ซึ่งกระตุ้นให้เกิดการเทขายเพื่อทำกำไร

          ในด้านอุปทานพบว่า ภาพรวมในไตรมาสที่ 1 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ 1,174 ตัน ทั้งมีการผลิตเหมืองเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ 1% และการรีไซเคิลเพิ่มขึ้น 5% เพราะมาจากปัจจัยราคาทองคำที่สูงขึ้น

          Ms. Louise Street นักวิเคราะห์การตลาดอาวุโสประจำสภาทองคำโลก ให้ความเห็นว่า “ภาพรวมของไตรมาสที่ 1 ชี้ให้เห็นว่าความต้องการทองคำจากแหล่งที่หลากหลายจะช่วยหนุนบทบาทและการทำกำไรของทองคำในฐานะสินทรัพย์ระดับโลกได้อย่างไร ดีมานด์ที่โตขึ้นในบางภูมิภาคชดเชยจุดอ่อนในภูมิภาคอื่นๆ ที่ไม่เติบโต เนื่องจากปัจจัยทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกันและปัจจัยที่ขับเคลื่อนดีมานด์มีบทบาทในตลาดทองคำทั่วโลกสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันก็คือนักลงทุนประเภทต่างๆ มองว่าทองคำเป็นสินทรัพย์ที่เก็บรักษามูลค่าได้ในช่วงที่ไม่มีความแน่นอน” 

          “ท่ามกลางความผันผวนของภาคส่วนธนาคาร ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ และสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่มีความท้าทาย ทำให้บทบาทของทองคำเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัยได้อย่างชัดเจน ด้วยสถานการณ์ดังกล่าว ความต้องการลงทุนจึงมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นในปีนี้ โดยเฉพาะเมื่อแรงต้านเศรษฐกิจลดลงจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งตัวและการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ย ความต้องการในกองทุนทองคำ ETF จะยังคงเป็นไปในเชิงบวกในไตรมาสที่ 2 และผลจากภาวะถดถอยของตลาดที่พัฒนาแล้วอาจเป็นตัวกระตุ้นให้มีเงินทุนไหลเข้าเร็วขึ้นในช่วงปลายปีนี้ การซื้อทองคำของธนาคารกลางยังคงมีแนวโน้มที่จะแข็งแกร่งและเป็นตัวหนุนที่สำคัญของอุปทานตลอดปี 2566 แม้ว่าจะอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าที่เคยขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์เมื่อปีที่ผ่านมา”

          “แม้เศรษฐกิจในหลายประเทศมีความไม่มั่นคงและเกือบเข้าสู่ภาวะถดถอย ทองคำยังคงเป็นสินทรัพย์ทางกลยุทธ์ในระยะยาวที่ได้รับความสนใจ เนื่องจากมีประวัติในการสร้างผลตอบแทนที่ดีแม้ในช่วงที่เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยถึง 5 ครั้ง จากทั้งหมด 7 ครั้ง”

 

สามารถอ่านรายงาน Gold Demand Trends ไตรมาสที่ 1/2566 รวมถึงข้อมูลที่ครอบคลุมจาก Metals Focus ได้ที่นี่ 

สภาทองคำโลกฉลองครบรอบ 30 ปี ในการเป็นผู้รวบรวมข้อมูลรายงาน Gold Demand Trends อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่ 

 

 

A5313

Click Donate Support Web  

MTL 720x100

kasat 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100ais 720x100 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!