WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

 

 

MTI 720x100

 

9995 KT Compass

Krungthai COMPASS ชี้ส่งออกเดือนส.ค.ขยายตัว 2.6% กลับมาขยายตัวในรอบ 11 เดือน

โดย ชนม์นิธิศ ไชยสิงห์ทอง

Krungthai COMPASS

 

Key Highlights

          ● ส่งออกเดือน ส.ค. ขยายตัว 2.6%YoY เป็นการกลับมาขยายตัวครั้งแรกในรอบ 11 เดือน ตามการส่งออกสินค้าเกษตร และสินค้าอุตสาหกรรมที่กลับมาขยายตัว ขณะที่สินค้าอุตสาหกรรมเกษตรยังหดตัวต่อเนื่อง สำหรับการนำเข้าหดตัวที่ -12.8% ส่งผลให้ดุลการค้าในเดือน ส.ค. กลับมาเกินดุล 359.9 ล้านดอลลาร์ฯ 

          ● Krungthai COMPASS ประเมินว่าผู้ส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมยังมีความเสี่ยงท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่อ่อนแอ โดยการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเฉลี่ย 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 3 กลับมาขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนที่ 0.9%QoQ อย่างไรก็ตาม ยังมีสินค้าที่หดตัว เช่น ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องใช้ไฟฟ้า อัญมณีและเครื่องประดับ สิ่งทอ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ และเคมีภัณฑ์ เป็นต้น อีกทั้งภาคการผลิตของประเทศตลาดหลักยังหดตัวต่อเนื่อง ทำให้ผู้ส่งออกสินค้า

 

          มูลค่าส่งออกเดือนสิงหาคม 2566 ขยายตัว 2.6%

          มูลค่าส่งออกเดือน ส.ค. อยู่ที่ 24,279.6 ล้านดอลลาร์ฯ กลับมาขยายตัวครั้งแรกในรอบ 11 เดือนที่ 2.6%YoY ดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าจะหดตัว -4.0% จากการส่งออกสินค้าเกษตร และสินค้าอุตสาหกรรมที่กลับมาขยายตัวได้ อย่างไรก็ตาม การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรยังหดตัวต่อเนื่อง สำหรับการส่งออกทองคำเดือนนี้หดตัว 50.3% ทำให้เมื่อหักทองคำแล้ว มูลค่าส่งออกเดือนนี้ขยายตัว 3.6%YoY ทั้งนี้การส่งออก 8 เดือนแรกหดตัว 4.5% 

 

          ด้านการส่งออกรายสินค้าบางส่วนกลับมาขยายตัว

          ● การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมกลับมาขยายตัวในรอบ 3 เดือน ที่ 2.5%YoY จากเดือนก่อนที่หดตัว -3.4%YoY ตามการขยายตัวของรถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ (+5.2%) แผงวงจรไฟฟ้า (+39.8%) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ (+6.4%) เครื่องโทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (+36.9%) อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด (+74.5%) และหม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ (+59.1%) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ (-26.9%) ผลิตภัณฑ์ยาง (-4.7%) อัญมณีและเครื่องประดับ ไม่รวมทองคำ (-10.4%) และเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ (-23.4%) เป็นต้น 

          ● การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ที่ -1.5%YoY จากเดือนก่อนที่หดตัว -9.6%YoY จากสินค้าหมวดอุตสาหกรรมเกษตรที่หดตัวต่อเนื่อง -7.6%YoY ขณะที่สินค้าหมวดเกษตรกลับมาขยายตัว 4.2%YoY โดยสินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ ยางพารา (-32.9%) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง (-12.8%) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป (-9.7%) และน้ำตาลทราย (-23.1%) เป็นต้น สำหรับสินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ผลไม้สด/แช่เย็น/แช่แข็ง/แห้ง (+99.8%) ข้าว (+10.8%) สิ่งปรุงรสอาหาร (+28.6%) ผักกระป๋องและแปรรูป (+26.5%) นมและผลิตภัณฑ์นม (+13.2%) และผักสด/แช่เย็น/แช่แข็ง/แห้ง (+22.8%) เป็นต้น

 

9995 KT Compass01

 

          ด้านการส่งออกรายตลาดสำคัญส่วนใหญ่กลับมาขยายตัว 

          ● สหรัฐฯ : ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ที่ 21.7%YoY โดยสินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ และส่วนประกอบ และหม้อแปลงไฟฟ้า ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ คอมพิวเตอร์ อัญมณีและเครื่องประดับ และเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เป็นต้น (ส่งออก 8 เดือนแรกขยายตัว 0.1%) 

          ● จีน : กลับมาขยายตัวที่ 1.9%YoY โดยสินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ผลไม้สด/แช่เย็น/แช่แข็ง/แห้ง อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด และเครื่องยนต์สันดาปภายใน เป็นต้น ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยาง และคอมพิวเตอร์ เป็นต้น (ส่งออก 8 เดือนแรกหดตัว 3.0%) 

          ● ญี่ปุ่น : กลับมาขยายตัวที่ 15.7%YoY โดยสินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์พลาสติก และรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เป็นต้น ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ คอมพิวเตอร์ ไก่แปรรูป และเม็ดพลาสติก เป็นต้น (ส่งออก 8 เดือนแรกขยายตัว 0.8%) 

          ● EU27 : หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ที่ -11.6%YoY โดยสินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ คอมพิวเตอร์ เครื่องปรับอากาศ และรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เป็นต้น ส่วนสินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ และแผงวงจรไฟฟ้า เป็นต้น (ส่งออก 8 เดือนแรกหดตัว 4.1%) 

          ● ASEAN5 : หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ที่ -1.5%YoY โดยสินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ น้ำตาลทราย คอมพิวเตอร์ และเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เป็นต้น ส่วนสินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป ข้าว และรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เป็นต้น (ส่งออก 8 เดือนแรกหดตัว 8.2%) 

          มูลค่าการนำเข้าเดือน ส.ค. อยู่ที่ 23,919.7 ล้านดอลลาร์ฯ หดตัว 12.8%YoY หดตัวมากขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนที่หดตัว 11.0%YoY ตามการหดตัวต่อเนื่องของสินค้าเชื้อเพลิง (-35.1%YoY) และสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (-14.4%YoY) ขณะที่สินค้าทุน (-0.7%YoY) กลับมาหดตัว สำหรับการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค (+1.8%YoY) และยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง (+9.0%YoY) ขยายตัวได้ในอัตราที่ชะลอลง ด้านดุลการค้าเดือน ส.ค. กลับมาเกินดุล 359.9 ล้านดอลลาร์ฯ สำหรับดุลการค้า 8 เดือนแรกขาดดุลสะสม 7,925.4 ล้านดอลลาร์ฯ

 

9995 KT Compass02

 

Implication:

          ● การส่งออกสินค้ากลุ่มอุตสาหกรรมยังมีความเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเฉลี่ย 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 3 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ 0.9%QoQ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า หลังจากที่หดตัวในไตรมาสที่ 2 มากถึง -2.9%QoQ โดยสินค้าที่กลับมาขยายตัวได้ในไตรมาสที่ 3 เช่น รถยนต์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์พลาสติก เครื่องจักรกล และเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น อย่างไรก็ตามยังมีสินค้าอุตสาหกรรมที่ยังหดตัวต่อเนื่อง เช่น ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องใช้ไฟฟ้า และอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น ขณะที่สิ่งทอ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ และเคมีภัณฑ์ กลับมาหดตัวในไตรมาสที่ 3 สะท้อนถึงการส่งออกสินค้าบางประเภทยังไม่ฟื้นตัว และมีความเสี่ยงที่อาจได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ยังอ่อนแอ โดยภาคการผลิตของประเทศเศรษฐกิจหลักยังมีแนวโน้มหดตัวต่อเนื่องจากผลกระทบของอัตราดอกเบี้ยที่สูงและแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ สะท้อนจากเครื่องชี้ Flash Manufacturing PMI เดือน ก.ย. ที่หดตัวต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งจากยอดคำสั่งซื้อใหม่ที่ปรับลดลงและการปรับลดระดับสินค้าคงคลังลง Krungthai COMPASS ประเมินว่า ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่ยังมีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่องจะทำให้ผู้ส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมยังมีความเสี่ยงจากอุปสงค์โลกที่ไม่แน่นอน

 

9995 KT Compass03

 

9995 KT Compass04

 

 

A9995

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kasat 720x100TOA 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

iconmotor

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!