WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

7782 UOB

ความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจโลกในระยะข้างหน้า

หากอดีตประธานาธิบดีทรัมป์ได้ดำรงตำแหน่งสมัยที่สองมีแนวโน้มที่จะนำไปสู่ความไม่แน่นอนทางนโยบายที่สูงขึ้น ท่ามกลางอัตราเงินเฟ้อทั่วโลกเริ่มชะลอลง แต่ยังคงทรงตัวในระดับสูงกว่าเป้าหมายของทางการ และการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของจีนที่ยังคงไม่สม่ำเสมอ

โดย นาย Heng Koon How หัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์การตลาด เศรษฐศาสตร์โลกและการวิจัย กลุ่มธนาคารยูโอบี

 

            การเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐฯ ที่กำลังจะเกิดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2567 นี้ ได้รับความสนใจอย่างมาก ภายหลังหลังพัฒนาทางการเมืองล่าสุด ผลการสำรวจความนิยมของอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์นั้นเพิ่มขึ้นหลังจากการประชุมใหญ่ของพรรครีพับลิกันที่ผ่านมาเมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งเกิดขึ้นไม่กี่วันหลังจากที่ทรัมป์รอดชีวิตจากการพยายามลอบสังหาร

            ขณะที่พรรคเดโมแครตจำเป็นต้องหาผู้สมัครใหม่อย่างรวดเร็ว หลังจากที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ถอนตัวจากการแข่งขันในการเป็นตัวแทนพรรคในการลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดี และหันมาให้การสนับสนุนรองประธานาธิบดี คามาลา แฮร์ริสเป็นตัวแทนพรรคลงชิงตำแหน่งแทน มองไปข้างหน้า หากอดีตประธานาธิบดีทรัมป์ชนะการเลือกตั้ง สมัยที่ 2 จะก่อให้เกิดความเสี่ยงเชิงนโยบายมากขึ้น ความเป็นไปได้ที่ทรัมป์จะได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง และผลต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่จะเกิดขึ้นตามมา ถือเป็นความเสี่ยงที่ใหญ่ที่สุดที่เศรษฐกิจโลกต้องเผชิญในช่วงที่เหลือของปีนี้และในปี 2568

            ความเสี่ยงที่สำคัญอีกสองประการ ได้แก่ อัตราเงินเฟ้อที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูงกว่าเป้าหมายของธนาคารกลางที่ระดับร้อยละ 2 และการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของจีนที่ไม่สม่ำเสมอ ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากสถานการณ์และนโยบายของสหรัฐฯ นอกจากนี้ ความเสี่ยงอื่นๆ อาจจะปรับแย่ลงด้วย หากทรัมป์ได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่สอง

 

            การดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยที่สองของทรัมป์

            ข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงนโยบายภาษี นโยบายการค้า และนโยบายตรวจคนเข้าเมืองที่เข้มข้นขึ้นของอดีตประธานาธิบดีทรัมป์นั้น จะมีส่วนสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม นโยบายเหล่านี้อาจจะส่งผลต่อการกดดันเงินเฟ้อให้มีมากขึ้น ซึ่งจะสร้างความวิตกกังวลเพิ่มเติมในภาวะที่เงินเฟ้อในสหรัฐฯ ทรงตัวอยู่ในระดับสูงและปรับลดลงช้ากว่าในอดีต (เหนือระดับร้อยละ 2 ต่อปี ซึ่งเป็นเป้าหมายของธนาคารกลางสหรัฐฯ)

            นโยบายเดิมของอดีตประธานาธิบดีทรัมป์ เช่น นโยบายภาษีที่เพิ่มการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีนิติบุคคลที่ประกาศใช้ในช่วงวาระแรก จะหมดอายุลงในปี 2568 หากเขาชนะตำแหน่งอีกครั้ง ก็มีแนวโน้มสูงที่จะต่ออายุนโยบายเหล่านี้ ซึ่งจะกระตุ้นการจับจ่ายบริโภคของชาวอเมริกันและกิจกรรมของภาคธุรกิจให้มีมากขึ้น

            อดีตประธานาธิบดีทรัมป์ได้เสนอมาตรการต่างๆ เพื่อจำกัดคนเข้าเมือง และยังเสนอให้ส่งผู้อพยพผิดกฎหมายกลับประเทศเดิมอีกด้วย เนื่องจากประเด็นการอพยพเข้าเมืองผิดกฎหมายเป็นประเด็นอ่อนไหวสำหรับผู้มีสิทธิ์ออกเสียงชาวอเมริกัน ซึ่งน่าจะเรียกคะแนนนิยมเพิ่มเติมให้กับเขาได้ อย่างไรก็ดี นโยบายนี้อาจนำไปสู่ปัญหาขาดแคลนแรงงาน และส่งผลต่อเนื่องให้แรงกดดันต่อเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น 

            ความโดดเด่นของการบริหารงานในวาระแรกของอดีตประธานาธิบดีทรัมป์คือ การทำสงครามการค้ากับจีน และหากเขากลับมาเป็นประธานาธิบดีอีกครั้ง ทรัมป์ได้ประกาศชัดเจนแล้วว่า จะขึ้นภาษีการค้ากับจีนสูงถึงร้อยละ 60 นอกจากนี้ คู่ค้าของอเมริกาทุกประเทศก็ตกอยู่ในความเสี่ยงด้วยเช่นกัน เนื่องจาก ทรัมป์ยังได้เสนอมาตรการที่จะเรียกเก็บภาษีนำเข้าร้อยละ 10 สำหรับสินค้านำเข้าทุกชนิดจากต่างประเทศ

            นอกจากนี้ ทรัมป์ยังเสนอให้เปลี่ยนแหล่งรายได้จากภาษีเงินได้เป็นภาษีจากการค้า ซึ่งหมายความว่ารัฐบาลสหรัฐฯ จะต้องพึ่งพาการเก็บภาษีศุลกากรเป็นแหล่งรายได้หลักแทนภาษีเงินได้บุคคลชาวอเมริกัน อนึ่ง ไม่ว่าทรัมป์จะเลือกดำเนินมาตรการใดก็ตาม จะส่งผลทำให้กดดันให้เงินเฟ้อปรับสูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากจะทำให้ต้นทุนของสินค้าและบริการที่นำเข้าจากต่างประเทศปรับเพิ่มขึ้นอย่างมาก

            กลุ่มนักเศรษฐศาสตร์ผู้ชนะรางวัลโนเบลซึ่งนำโดยอดีตหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารโลก โจเซฟ สติกลิทซ์ ได้ออกมาเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อจากนโยบายของทรัมป์ ขณะที่แลร์รี ซัมเมอร์ส อดีตรัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐฯ เตือนว่านโยบายของทรัมป์ที่จะเปลี่ยนรายได้จากภาษีเงินได้บุคคล เป็นรายได้จากภาษีศุลกากรเป็นสำคัญ เป็นแนวความคิดที่แย่มาก และเตือนว่านโยบายของทรัมป์มีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดภาวะเงินเฟ้อและชะลอการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ รวมถึงอาจส่งผลให้เกิดภาวะเศรษฐกิจชะงักงันในเวลาเดียวกัน

 

            อัตราเงินที่ทรงตัวอยู่ในระดับสูงกว่าเป้าหมายของธนาคารกลางที่ร้อยละ 2 ต่อปี 

            อัตราเงินเฟ้อที่มีความหนืด หรือปรับลดลงช้ากว่าที่ผ่านมาในดีตยังคงเป็นสิ่งที่ต้องจับตามองไม่เพียงแต่ในสหรัฐฯ เท่านั้น แต่ยังรวมถึงในประเทศอื่นๆ ด้วย ราคาน้ำมันดิบปรับเพิ่มขึ้นและทรงตัวอยู่เหนือระดับ 85 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล จากความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ในตะวันออกกลาง ในขณะที่อัตราค่าขนส่งสินค้าทางเรือปรับตัวกลับมาปรับเพิ่มขึ้นอีกครั้ง เนื่องจากเส้นทางเดินเรือผ่านคลองสุเอซยังคงหยุดชะงัก

            นอกจากนี้ ราคาทองแดงและเหล็กอื่นๆ ที่ใช้ในอุตสาหกรรม ได้กลับขึ้นมาสู่ระดับสูงสุดอีกครั้งจากปี 2564 ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่เพิ่มสูงขึ้นอีกนั้น มีความเสี่ยงที่จะยิ่งทำให้อัตราเงินเฟ้อโลกที่ยังคงทรงอยู่ในระดับสูงนั้น ปรับลดลงช้ามากขึ้นไปอีก เพิ่มเติมจากปัจจัยด้านค่าที่พักและค่าเช่าบ้านที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อปัจจุบันในสหรัฐฯ และออสเตรเลียทรงตัวอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง 

            สำหรับภูมิภาคอาเซียน มีสัญญาณของความหนืดของเงินเฟ้อในหมวดบริการ โดยเฉพาะกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางท่องเที่ยวในสิงคโปร์ และในประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น มาเลเซีย ไทย อินโดนีเซีย และเวียดนาม ด้วย ทำให้ ธนาคารกลางของแต่ละประเทศยังติดตามพัฒนาการและแนวโน้มของเงินเฟ้อก่อน จึงทำให้ยังจะไม่มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้

            ปัจจัยที่น่ากังวลก็คือ ภาวะที่อัตราเงินเฟ้อทรงตัวอยู่ในระดับสูงกว่าเป้าหมายของธนาคารกลาง หรือมีความหนืด อาจส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบาย “ถูกตรึงไว้ในระดับสูงขึ้นนานกว่าที่เคยดาดไว้ต่อไป” และทำให้การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ถูกเลื่อนให้ช้าออกไป 

 

            การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของจีนที่ยังคงไม่สม่ำเสมอ

            การกำหนดนโยบายโดยพุ่งเป้าไปที่การนำเข้าสินค้าจากจีนของอดีตประธานาธิบดีทรัมป์ จะส่งผลกระทบอย่างมากต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน ซึ่งที่ไม่สม่ำเสมอและกระจุกตัวในเพียงบางภาคเศรษฐกิจ 

            ภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีนกำลังเผชิญกับการปรับโครงสร้างหนี้ เนื่องจากทั้งยอดขายและราคาบ้านยังคงปรับลดลง ตัวชี้วัดการผลิตที่สำคัญ เช่น ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) และการผลิตภาคอุตสาหกรรม ยังไม่บ่งชี้การฟื้นตัว ส่งผลให้การเติบโตของ GDP ของจีนในไตรมาสที่สองอ่อนแอกว่าที่คาดไว้ โดยเติบโตได้เพียงร้อยละ 4.7 (ต่ำกว่าเป้าหมายของทางการจีนที่ร้อยละ 5) ดังนั้น เราจึงปรับลดการคาดการณ์ GDP ของจีนในปีนี้ลงเหลือร้อยละ 4.9 จากการคาดการณ์เดิมที่ร้อยละ 5.1

            อย่างไรก็ตาม จีนเผชิญกับปัญหาอัตราเงินเฟ้อต่ำต่อเนื่อง ซึ่งต่างจากประเทศอื่นๆ ที่ต้องจัดการกับปัญหาเงินเฟ้อสูง ซึ่งภาวะดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการสินเชื่อที่ลดลงและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่อ่อนแอ 

            อย่างไรก็ดี ทางการจีนได้ประกาศและบังคับใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจใหม่ๆ เพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจ โดยเฉพาะภาคอสังหาริมทรัพย์ โดยในไตรมาสที่สอง ทางการจีนได้ประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหลายชุดเพื่อรับมือกับอุปสงค์ที่อ่อนแอและบรรเทาปัญหาอุปทานส่วนเกิน มีการผ่อนปรนข้อจำกัดการชำระเงินดาวน์ในเมืองสำคัญๆ และมีการนำโครงการปล่อยสินเชื่อใหม่มาใช้เพื่อรองรับยูนิตที่ขายไม่ออก นอกจากนี้ การประชุมใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์ครั้งที่สาม ที่เพิ่งเสร็จสิ้นไปเมื่อเร็วๆ นี้ ย้ำถึงความมุ่งมั่นของทางการที่จะดำเนิน “การปฏิรูปรอบด้านอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น”

 

            สถานการณ์ไม่ได้เลวร้ายไปเสียทั้งหมด: ธนาคารกลางสหรัฐฯ น่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายได้ในปลายปีนี้

            แม้ว่าอาจจะมีความเสี่ยงในระยะข้างหน้า แต่ก็ยังมีความหวัง เราประเมินว่ามาตรการทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของจีนจะทำให้เศรษฐกิจมีเสถียรภาพในที่สุด และช่วยให้บรรลุเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจของทางการที่ร้อยละ 5 ได้ในปีนี้ 

            สำหรับสหรัฐฯ การที่ตลาดแรงงานอ่อนแอลงในระยะที่ผ่านมา และการที่อัตราเงินเฟ้อค่อยๆ ลดลงอย่างต่อเนื่อง มีแนวโน้มว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะมีความมั่นใจเพียงพอที่จะเริ่มการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างค่อยเป็นค่อยไปได้ในช่วงปลายปีนี้ และในปี 2568 ซึ่งจะสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เรายังคงคาดการณ์การเริ่มลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนกันยายน 2567

            ห่วงโซ่อุปทานและการค้าทั่วโลกได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีความยืดหยุ่นด้านภาษีตั้งแต่สมัยที่ทรัมป์ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยแรก ในขณะที่เศรษฐกิจโลกปรับตัวได้ดี ท่ามกลางภาวะที่อัตราดอกเบี้ยปรับเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงสามปีที่ผ่านมา 

            ปัจจัยเหล่านี้ทำให้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) มีความเชื่อมั่นในการคาดการณ์การเติบโตที่ “ไม่เปลี่ยนแปลงในวงกว้าง” สำหรับเศรษฐกิจโลก และยังคงคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของโลกในปีนี้ที่ร้อยละ 3.2 และร้อยละ 3.3 ในปีหน้า

            อย่างไรก็ตาม นักลงทุนจำเป็นต้องตระหนักถึงความเสี่ยงทางนโยบายที่อาจเกิดขึ้นจากความเป็นไปได้ในการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยที่สองของทรัมป์ อัตราเงินเฟ้อโลกที่ทรงตัวอยู่ในระดับสูง และการฟื้นตัวอย่างไม่สม่ำเสมอของเศรษฐกิจจีน ในมุมมองของเรา ทองคำจะเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยที่ดีในช่วงเวลาที่ความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์และความไม่แน่นอนของนโยบายที่สูงขึ้น สิ่งสำคัญยิ่งกว่าที่เคยคือ การรักษาการบริหารความเสี่ยงที่แข็งแกร่ง ความรอบคอบในการตัดสินใจลงทุน และการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนอย่างเหมาะสม

 

 

7782

Click Donate Support Web 

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

SME720x100 2024

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

QIC 720x100

TOA 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

AXA 720 x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!