WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

โดยใช้เงินกู้วงเงินรวม 40,000 ล้านบาท แยกเป็นกรมทางหลวง 25,000 ล้านบาท และกรมทางหลวงชนบท (ทช.) 15,000 ล้านบาท โดยนอกจากจุดประสงค์เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจแล้ว ยังต้องการสร้างเส้นทางคมนาคมเชื่อมโยงการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

    นายดรุณ ฉายแสง อธิบดีกรมทาง หลวงชนบท กล่าวถึงแนวทางการใช้งบจำนวนดังกล่าวว่า วงเงิน 15,000 ล้านบาทนั้น เป็นงบที่รัฐบาลต้องการให้ใช้เพื่อเชื่อมโยงในพื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ท่องเที่ยว พื้นที่เขตเมืองเล็ก เมืองใหญ่ และพื้นที่เชื่อมไปยังเขตเศรษฐกิจชายแดน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในเรื่องเดินรถและความปลอดภัย โดยเป็นโครงการขนาดเล็กเพื่อให้บริษัทที่มีขนาดเล็กเข้าร่วมงานได้ และเป็นการกระจายเงินสู่ท้องถิ่น ขับเคลื่อนให้เกิดการสร้างงานในพื้นที่ ระยะเวลาดำเนินงานประมาณ 8-10 เดือน ซึ่งในต้นเดือนเมษายนจะเริ่มดำเนินงานได้และแล้วเสร็จภายในปี 2558

วงเงิน 15,000 ล้านบาทนั้นทำอะไรบ้าง

     นโยบายวงเงิน 15,000 ล้านบาทนั้น มีจุดประสงค์หลักคือการกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างถนนดีทั่วไทย สะดวกและปลอดภัย ซึ่งกรมได้จัดงบประมาณในส่วนนี้ไว้ในหลายกิจ กรรม โดยรวมแล้วมีการดำเนินโครงการทั้ง หมด 2,124 โครงการ โดยจัดสรรวงเงินให้โครง การละ 1.5-30 ล้านบาท

     สำหรับ การดำเนินงานตามงบประมาณดังกล่าวนั้น แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มกิจกรรม กิจกรรมที่ 1 คือการเชื่อมโยงพื้นที่เกษตรและ แหล่งท่องเที่ยว ซึ่งมีกิจกรรมย่อย ได้แก่ ก่อ สร้างถนนลูกรังเป็นลาดยาง การซ่อมแซมถนนให้มีสภาพดี การติดตั้งป้ายจราจรกับถนนการท่องเที่ยว ทางจักรยานตามนโยบายของท่านนายกฯ นอกจากนี้ยังมีการปรับปรุงถนนเข้าสู่แหล่งท่องเที่ยวต่างๆ โดยใช้งบดำเนินงานทั้งสิ้น 11,2819 ล้านบาท

    สำหรับ กลุ่มที่ 2 คือ เรื่องการพัฒนาสิ่งอำนวยความปลอดภัยด้านการขนส่งทางถนน เช่น การก่อสร้างปรับปรังจุดตัดทางรถไฟให้ปลอดภัย โดยติดตั้งสัญญาณไฟกะพริบ เสริมผิวจราจร ตีเส้น ติดป้ายเตือนต่างๆ นั่นคือการแก้ไขปัญหาจุดตัดทางรถไฟ, การติดตั้งแสงสว่างตามแยกและย่านชุมชน ในเขตชนบท เพื่อ ให้เดินทางด้วยความปลอดภัย ปรับปรุงความปลอดภัยหน้าโรงเรียน ซึ่งมีเยาวชนและผู้ปก ครองใช้สัญจรตลอด นอกจากนี้คือการเพิ่มพื้น ที่จอดรถ ติดตั้งป้ายเตือน และทำทางม้าลาย การปรับปรุงจุดเสี่ยงต่างๆ ซึ่งที่ผ่านมาแม้จะ ทำไปเป็นจำนวนมากแล้ว แต่ก็มีเหลืออยู่จำ นวนมาก ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 2,401.96 ล้านบาท

    กลุ่มที่ 3 คือ กลุ่มการปรับปรุงถนนเชื่อมโยง ด่านศุลกากรและเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยจะก่อสร้างถนนลูกรังให้เป็นลาดยาง และซ่อมแซมถนนที่มีอยู่เดิมในเขตเศรษฐกิจพิเศษ เป็นต้น ใช้งบประมาณ 271.77 ล้านบาท

    "งบประมาณทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งในส่วนของกรมทางหลวงชนบทเห็นว่าโครงงานนั้นจะทำได้เร็วและไว เพราะเป็นโครงการขนาดเล็กทำ ได้ไว ประชาชนได้ประโยชน์ เช่น เรื่องป้ายบอกทาง สำหรับงบประมาณนี้ได้รับอนุมัติมาตั้งแต่ปลายเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา แต่ของกรมสามารถดำเนินการได้เลย เพราะเตรียมพร้อมโครงการไว้อยู่ตลอดเวลา ทำให้มีความพร้อมสามารถทำได้ทุกเวลา อย่างไรก็ตาม สำหรับงบกระตุ้นเศรษฐกิจภายในเดือน ธ.ค. นี้จะต้องเบิกจ่ายให้หมด 100%"

     อย่างไรก็ตาม โครงการทั้งหมดนั้นจะ เริ่มดำเนินการก่อสร้างภายในปลายเดือน พ.ค.นี้ ส่วนเดือน เม.ย. นี้จะดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง ฯลฯ เข้ามาร่วมในการเพิ่มประสิทธิ ภาพในการทำงาน สนับสนุนและตรวจสอบขั้นตอนการดำเนินงานให้ครบถ้วน เพื่อลดความเสี่ยงในด้านการทำงาน เพื่อให้ประชาชนเกิดความมั่นใจในการใช้เงินอย่างคุ้มค่า

ถ้าตามงบประมาณปกติปี 2558 มีโครงการอะไรบ้าง

      ภารกิจของกรมทางหลวงชนบทคือการพัฒนาเส้นทางถนนสายรองและโครงข่ายถนนทั่วประเทศ เพื่อประโยชน์ด้านการเดินทางและการขนส่งโลจิสติกส์ของประเทศ ว่า กรมทางหลวงชนบทได้มีการจัดทำโครงการเพื่อรองรับการที่ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่ประชา คมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ภายในปลายปี 2558 นี้ ซึ่งตามนโยบายของรัฐบาลต้องการให้พัฒนาเส้นทางถนน การให้ข้อมูลเกี่ยวกับเส้นทางให้นักท่องเที่ยวที่มาจากประเทศเพื่อนบ้านมีข้อมูลและสามารถตรวจสอบเส้นทางได้อย่างถูกต้อง

     อย่างไรก็ตาม ตามแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของกรมทางหลวงชนบทที่จะเริ่มต้นตั้งแต่ปีงบประมาน 2558-2559 จนถึงปี 2562 หรือใน 5 ปีข้างหน้า โครงข่ายถนนที่อยู่ในแนวเส้นทางแนวเหนือใต้ (North-South) และเส้นแนวตะวันออกและตะวันตก (East-West) ซึ่งเส้นทางถนนเหล่านี้จะมีผลสำคัญในการเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านในเออีซี โดยโครงข่ายถนนหลักและเส้นทางสายรอง ระยะห่างจากทางสายหลัก 30 กม. จะมีการจัดทำป้าย 2 ภาษา คือ ภาษาอังกฤษ เหมือนป้ายบอกทางในปัจจุบัน และจะมีภาษาท้องถิ่นของประเทศเพื่อนบ้านประกอบ เช่น เส้นทางถนนในพื้นที่ภาคใต้ที่มีชายแดนเชื่อมต่อประเทศมาเลเซีย ก็จะมีป้ายบอกทางภาษายาวีและภาษาอังกฤษ ส่วนเส้นทางถนนที่อยู่ใกล้ชายแดนประเทศกัมพูชาก็จะมีป้ายบอกทางที่เป็นภาษาเขมรร่วมกับภาษาอังกฤษ ซึ่งก็จะช่วยให้นักท่องเที่ยวจากประเทศเพื่อนบ้านเหล่านี้ได้รับความสะดวก และมีข้อมูลการเดินทางที่ชัดเจน

   สำหรับ งบประมาณที่จะใช้ในการจัดทำป้ายบอกเส้นทางจะมีการจัดสรรงบประมานเพิ่มแทรกอยู่ในโครงการก่อสร้างและซ่อมแซมถนนที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย วงเงินเบื้องต้น 264 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นวงเงินลงทุนที่อยู่ในงบประมาน 62,000 ล้านบาท ที่จะมีการดำเนินการใน 5 ปีข้างหน้าด้วย

     นอกจากนี้ ทช.ยังมีแผนการพัฒนาเส้นทางถนน เพื่อประโยชน์ด้านโลจิสติกส์ การเชื่อมต่อกับพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น โครงการก่อสร้างโครงข่ายและสะพานใน กทม.และปริมณฑล หรือถนนเชื่อมต่อถนนราชพฤกษ์ กับถนนกาญจนาภิเษกแนวเหนือใต้ ซึ่งใช้งบผูกพันตั้งแต่ปี 2559-2562 วงเงินประมาณ 12,000 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างการเตรียมแผนงานเพื่อเสนอของบประมาณกับรัฐบาล ซึ่งตามแผนจะแล้วเสร็จในปี 2562

    โครงการก่อสร้างทางหลวงเพื่อแก้ไขปัญหาจราจรของเมืองใหญ่ในภูมิภาค เริ่มจากการขยายถนนกัลปพฤกษ์ ขยายเป็น 6 ช่องจราจร จากปัจจุบันมี 4 ช่องจราจร ลงทุน 828 ล้านบาท แล้วเสร็จปี 61

    นอกจากนี้ ยังมีโครงการแก้ไขปัญหาการจราจรบริเวณ ท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งถือว่าเป็นโครงการเร่งด่วน เนื่องจากในปัจจุบันมีตู้คอนเทนเนอร์ผ่านเข้า-ออกอยู่ที่ 5 ล้านตู้ และใน

     อนาคตมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเป็น 10.8 ล้านตู้ต่อปี ดังนั้นในช่วงชั่วโมงเร่งด่วนมักจะเกิดปัญหาการจราจรติดขัด ประกอบกับถนนที่เข้าสู่แหลมฉบังนั้นจะแจ่มกับกลุ่มรถยนต์ส่วนบุคคล

    ดังนั้น ทช.จึงมาช่วยสร้างถนนเข้าท่าเทียบเรืออีกเส้นหนึ่ง ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนสำรวจอสังหาริมทรัพย์ และที่ผ่านมานั้นได้ออกกฤษฎีกาเวนคืนแล้ว เมื่อสำรวจเสร็จในปี 2559 ก็จะจ่ายเงินพร้อมเริ่มก่อสร้าง คาดว่าต้นปี 2561 จะแล้วเสร็จ ซึ่งตามแผนเดิมจะเสร็จปี 2562 แต่นโยบายของกระทรวงต้องการจะให้เสร็จเร็วขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรในบริเวณดังกล่าว สำหรับโครงการนี้คาดว่าจะใช้งบประมาณ 2,000 ล้านบาท

     อีกเส้นคือโครงการก่อสร้างทางหลวงชนบทสนับสนุนท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ อาทิ ถนนสาย นย.3001 แยก ทล.305 - บ้านบางน้ำเปรียว เป็นเส้นทางลัดการขนส่งสินค้าและวัตถุดิบจากอุตสาหกรรมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อส่งไปผลิตต่อที่นิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก หรือส่งออกไปต่างประเทศโดยผ่านท่าเรือแหลมฉบังและท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งปัจจุบันถนนสายดังกล่าวมีปริมาณการจราจรที่คับคั่ง ส่งผลให้เกิดการจราจรติดขัดในชั่วโมงเร่งด่วนและมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ดังนั้นจึงจะขยายจาก 2 ช่องจราจร เป็น 4 ช่องจราจร โดยคาดว่าจะใช้งบประมาณ 2,100 ล้านบาท

การพัฒนาถนนเพื่อเชื่อมโยงเขตเศรษฐ กิจพิเศษตามนโยบายภาครัฐเป็นอย่างไร

     สำหรับ การเบิกจ่ายงบประมาณปี 2558 ได้ดำเนินงานไปแล้วประมาณ 90% ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด มีโครงการที่สำคัญ เช่น การก่อสร้างถนนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งได้แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ระยะ 17 โครงการ วงเงิน 8,700 ล้านบาท ประกอบด้วยระยะที่ 1 จำนวน 11 โครงการ วงเงิน 3,300 ล้านบาท, ระยะที่ 2 จำนวน 6 โครงการ วงเงิน 5,500 ล้านบาท

    อย่างไรก็ตาม ในปี 2558 นี้รัฐบาลมีนโยบายนำร่องการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษใน 6 พื้นที่ ประกอบด้วย จังหวัดตาก สระแก้ว ตราด มุกดาหาร สงขลา และหนองคาย ดังนั้นจึงต้องพัฒนาและปรับปรุงถนนเดิมเพื่อรองรับการจราจรที่คับคั่งหน้าด่านชายแดนให้สะดวกยิ่งขึ้น

ด้านความพร้อมของบุคลากรได้เตรียม ไว้อย่างไร

     กรมได้ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ทางวิชาการ (เอ็มโอยู) กับคณะกรรมการการ อาชีวศึกษาและมหาวิทยาลัยของรัฐทั้ง 8 แห่ง ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, มหา วิทยาลัยขอนแก่น, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยนเรศวร และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อเปิดโอกาสผลิตบุคลากรด้านวิศวกรรมโยธาให้มีศักยภาพและคุณภาพมากขึ้น รวมถึงเป็นการเตรียมความพร้อมบุคลากรด้านงานทางและวิศวกรที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงานรองรับระบบโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมในอนาคต

   "กรมทางหลวงชนบทนั้นมีหน้าที่กำกับดูแลด้านโครงสร้างทางถนน การซ่อมทาง และการบำรุงรักษาสะพาน จึงจำเป็นจะต้องมีบุคลากรที่มีศักยภาพด้านงานวิศวกรโยธา ช่างซ่อม และงานด้านโยธาต่างๆ ที่จะต้องมีความต่อเนื่อง อีกทั้งยังต้องการความรู้ทางวิชาการ ข้อเสนอแนะในการเชื่อมโครงข่ายที่จะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนและบรรลุวัตถุประสงค์ ดังนั้นการทำเอ็มโอยูครั้งนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ทรัพยากรบุคคลที่มีอยู่ในองค์กรเกิดการพัฒนาและมีประสิทธิภาพ เพื่อยกระดับงานวิศวกรรมโยธาของโครงการพัฒนาระบบขนส่งทางบกระยะเร่งด่วนของกรมทางหลวงชนบท ก่อให้เกิดความคุ้มค่าในการคมนาคมขนส่ง เติมต่อการเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมทั่วทุกภูมิภาคของประเทศให้สมบูรณ์  เข้าถึงระบบขนส่งหลักได้อย่างสะดวกรวดเร็ว.

      "งบประมาณทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของการ กระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งในส่วนของกรมทางหลวงชนบทเห็นว่าโครงงานนั้นจะทำได้เร็วและไว เพราะเป็นโครงการขนาดเล็กทำได้ไว ประชาชนได้ประโยชน์ เช่น เรื่องป้ายบอกทาง สำหรับงบประมาณนี้ได้รับอนุมัติมาตั้งแต่ปลายเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา แต่ของกรมสามารถดำเนินการได้เลย เพราะเตรียมพร้อมโครงการไว้อยู่ตลอดเวลา ทำให้มีความพร้อมสามารถทำได้ทุกเวลา อย่างไรก็ตาม สำหรับงบกระตุ้นเศรษฐกิจภายในเดือน ธ.ค.นี้จะต้องเบิกจ่ายให้หมด 100%"

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!