WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Bankห่วงศก.ไทยซ้ำรอย'ต้มยำกุ้ง'เหตุ'รบ.-เอกชน-อสังหาฯ'หนี้บวม เคแบงก์จี้รัฐออกมาตรการประคอง

    กสิกรไทยออกผลวิเคราะห์ 18 ปีลอยตัวค่าบาท เตือนสถานการณ์เศรษฐกิจไทยสุ่มเสี่ยงเกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง รุมเร้าทั้งรัฐและเอกชนก่อหนี้เพิ่ม ยอดกู้อสังหาพุ่ง 31.1% ใกล้เคียงวิกฤตปี"40 เผยลูกค้ารายเล็กประสบปัญหาขายของไม่ได้ แนะรัฐออกมาตรการกระตุ้นการบริโภค

    นายธีรนันท์ ศรีหงส์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้ลูกค้าขนาดเล็กของธนาคาร โดยเฉพาะผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการเกษตร ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีฐานลูกค้าอยู่ในต่างจังหวัด ประสบปัญหารายได้จากยอดขายลดลงอย่างเห็นได้ชัด เพราะประชาชนในต่างจังหวัดจับจ่ายลดลง ไม่มีเงินสดซื้อของได้เหมือนก่อน เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ระดับหนี้ครัวเรือนสูง ประชาชนมีรายได้ไม่พอใช้จ่าย แม้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ได้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงถึง 2 ครั้ง สามารถลดต้นทุนการดำเนินงานของผู้ประกอบการได้ส่วนหนึ่ง ขณะที่ภาครัฐเร่งเบิกจ่ายงบประมาณอย่างเต็มที่ รวมทั้งเร่งลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสร้างความเชื่อมั่น แต่กำลังซื้อและการบริโภคโดยรวมยังไม่ดีขึ้น

    นายธีรนันท์กล่าวว่า มองว่าถึงเวลาที่รัฐบาลควรใช้มาตรการการคลังกระตุ้นการใช้จ่ายและการบริโภคภายในประเทศ ผ่านการออกมาตรการต่างๆ เช่น ขยายระยะเวลาและเพิ่มวงเงินใบเสร็จที่ใช้ในการท่องเที่ยวมาลดภาษีบุคคลธรรมดา เพราะคนที่ต้องเสียภาษีประเภทนี้ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อและมีรายได้ดี นอกจากนี้ยังเสนอให้ภาครัฐออกนโยบายให้ประชาชนที่ซ่อมแซมบ้านเรือนหรือคอนโดฯ นำค่าใช้จ่ายมาลดภาษี เพราะนอกจากจะทำให้สินค้ากลุ่มวัสดุก่อสร้างมีรายได้มากขึ้น ยังทำให้กลุ่มผู้ใช้แรงงาน ผู้ผลิตอุปกรณ์เพื่อการก่อสร้างมีรายได้ดีขึ้น

  "ขณะนี้คนไม่ค่อยซื้อของ ขณะที่ผ่านมามาตรการตรงๆ ของภาครัฐที่จะกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยยังมีไม่มากนัก อยากเสนอให้รัฐมองมาตรการเดิมที่มีอยู่หรือเพิ่มมาตรการใหม่ ช่วงนี้แม้ธนาคารยังปล่อยสินเชื่อในระดับปกติ แต่การเบิกใช้สินเชื่อของผู้ประกอบการขนาดต่างๆ ลดลง เพราะลูกค้าเข้าใจเศรษฐกิจดี" นายธีรนันท์กล่าว และว่า ธนาคารยังคงเป้าหมายสินเชื่อปี 2558 เติบโตที่ 6% เพราะเชื่อว่าเศรษฐกิจโดยรวมของไทยในปี 2558 จะเติบโต 3% และตั้งเป้ารักษาระดับหนี้เสีย (เอ็นพีแอล) ไม่เกิน 2.5% ส่วนสถานการณ์กรีซนั้นคาดว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อไทย

  ศูนย์วิจัยกสิกรไทยทำบทวิเคราะห์โดยระบุว่า วันที่ 2 กรกฎาคม 2558 นี้ จะครบรอบ 18 ปี เหตุการณ์ลอยตัวค่าเงินบาทของไทยเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 หากเทียบภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน พบว่าการก่อหนี้ของภาคเอกชนและรัฐมีทิศทางเพิ่มขึ้น แต่ระดับการออมของประเทศลดต่ำลง ขณะที่ผลรวมของการกู้ยืมทั้งฝั่งผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์และลูกค้าสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย มีสัดส่วนสินเชื่อต่อจีดีพีขยับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจนมาอยู่ที่ 31.1% ในปี 2557 อันเข้าใกล้ระดับก่อนวิกฤตเศรษฐกิจ (ต้มยำกุ้ง) ในปี 2540 ซึ่งอยู่ที่ 32.8% มากขึ้น ทำให้ต้องติดตามความเคลื่อนไหวของเศรษฐกิจในภาคส่วนนี้อย่างใกล้ชิด

มติชนออนไลน์ : วันที่ 01 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

             

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!