WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Cพรศลป พชรนตนกลเอกชนชงรัฐแก้ปัญหาโครงสร้าง ศก. มองปรับครม.ไม่ช่วยให้เกิดปาฏิหาริย์ แนะต้องแก้ปัญหาโครงสร้าง

    บ้านเมือง : นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล ที่ปรึกษาสภาหอการค้าไทย เปิดเผยว่า การปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) ไม่น่าจะใช่ทางออกของสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่ง ครม.ชุดนี้ที่ทำอยู่ทั้งสั้นและยาวดีแล้ว แต่อยากให้มองไปที่ระยะยาว จะต้องมองไป 5 ปี 10 ปี 20 ปี ดูทีละ Section ทีละส่วนจะต้องวางแผนเชิงโครงสร้าง 1.ปัญหาเชิงโครงสร้างใช่หรือไม่ 2.ปัญหาเรื่องความสะดวกทางการค้า เรื่องการจัดระเบียบทางการค้า ซึ่งยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ในหลายๆ รัฐบาลที่ผ่านมา ทั้งประมง แรงงาน รวมทั้งเกษตรระยะยาวจะเป็นอย่างไร เกษตรจะเป็นอย่างไรจะต้องวางแผนพื้นที่โซนนิ่ง ซึ่งตอนนี้ยังไม่ชัดเจน แต่บังเอิญมีปัญหาระยะสั้นเข้ามาทำให้ปวดหัว ทั้งเรื่องน้ำ เรื่องสต๊อกสินค้าเกษตร ข้าว ยาง ซึ่งค้างคามาจากของเดิม และพยายามแก้ด้วยระบบที่ตรงกันข้ามกันเลย

   สำหรับ นโยบายบาทอ่อน ทำให้การแข่งขันดีขึ้นก็จริง แต่ว่าตัวเงินรายได้เข้าผู้ประกอบการอาจจะไม่ได้อย่างที่คิด เช่น เวลานี้ 1 ดอลลาร์เท่ากับ 35 บาท เราทำให้เป็น 36 บาท ทำให้เราลดราคาลงเพื่อให้แข่งขันกับเวียดนามได้ แต่เราก็ไม่ได้กำไรเพิ่มขึ้นแค่แข่งขันได้ดีขึ้น แต่อย่าลืมถ้าเราลดเวียดนามก็ลดได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นนโยบายบาทอ่อนไม่ได้ทำให้การส่งออกกระโดดขึ้น ภาคส่งออกเป็นปัญหาที่โครงสร้าง ถ้าสินค้าเกษตรของเราไม่แก้เรื่องโครงสร้างอีกหน่อยเศรษฐกิจทั่วโลกดีขึ้นเราก็ยังส่งออกตก

    ขณะที่ปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ มองว่าวันหนึ่งรัฐต้องมีมาตรการช่วยเหลือเรื่องรายได้ เรื่องนี้เป็นอะไรที่รัฐต้องคำนึงถึงเพราะเป็นความบริหารผิดพลาดในอดีต วิธีแก้ก็เช่นสร้างงาน ลดต้นทุน เรื่องของ SMEs มีปัญหาเงินไม่หมุน ก็ต้องแก้ที่ปรับโครงสร้างการลงทุนเพราะวันนี้บ้านเราการลงทุนยังน้อยไป ปีหน้ารถไฟ 3 แสนล้านจะเป็นตัวผลักดันการลงทุนจะเกิดขึ้น ถึงเวลานั้น SMEs ควรจะดูว่าตัวเองติดขัดอะไรควรจะลงทุนอะไรเพิ่ม ซึ่งการลงทุนนี้ไม่ใช่การเพิ่มค่าใช้จ่าย แต่เป็นการเตรียมความพร้อมล่วงหน้า

    อย่างไรก็ตาม สรุปรวมๆ มองว่ารัฐบาลแก้ปัญหาได้ระดับหนึ่งและกำลังจะไปสู่ระยะยาว คิดว่ากำลังวางแผนกันอยู่ และระบบเศรษฐกิจวันนี้เปลี่ยนไปมาก เป็นเชิงโครงสร้างจริงๆ ซึ่งขณะนี้เอกชนยังไม่ตื่น เช่น พรุ่งนี้จะประกาศว่าประเทศไทยจะหลุดจากการทำธุรกิจโดยบังคับใช้แรงงานข้ามชาติ หรือ Tier3 ซึ่งต้องทำความเข้าใจว่า เป็นเรื่องของกฎหมายที่สหรัฐฯบังคับใช้ เราต้องยอมรับระบบโลกและรัฐบาลเราก็แก้ระยะสั้นได้สำเร็จเพื่อเชื่อมไปสู่ระยะยาว เป็นระเบียบรัฐที่ถูกกำหนดมาโดยระเบียบรัฐอีกประเทศหนึ่ง นี่คือเชิงโครงสร้าง ส่วนที่ 2 คือเอกชนของสหรัฐอาจจะใช้มาตรการเข้มข้นกว่ารัฐมาบังคับกดดันเอกชนด้วยกัน จึงต้องถามว่าเอกชนไทยตื่นหรือยัง ทุกวันนี้เรายังอาศัยรัฐอยู่เสมอ ยังเกาะรัฐอยู่เสมอ รัฐมีพลังอยู่ระดับหนึ่ง การจะเอื้อมมือไปแข่งขันกับโลกเราต้องช่วยเหลือตัวเองด้วย

พรศิลป์ มองปรับครม.ไม่ช่วยให้เกิดปาฏิหาริย์ แนะต้องแก้ปัญหาโครงสร้าง

    นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล ที่ปรึกษาสภาหอการค้าไทย มองการปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) ไม่น่าจะใช่ทางออกของสถานการณ์ปัจจุบัน

    "มาถึงตรงนี้ผมคิดว่าไม่ต้องปรับเปลี่ยน ครม.หรอก ผมไม่คิดว่ามีปาฏิหาริย์ เปลี่ยนชุดใหม่ก็ไม่มีปาฏิหาริย์ อาจจะเปลี่ยนสไตล์นิดหน่อย...เปลี่ยนชุดใหม่ก็ไม่มีปาฏิหาริย์ เพราะโครงสร้างไม่ดี เปลี่ยนแล้วส่งออกจะกระโดดไป 3เท่า 5เท่าหรือเปล่า ถ้าทำได้วันนี้ก็คงทำไปแล้ว ถ้าอีกท่านนึงมาทำได้แล้วทำไมท่านปัจจุบันทำไม่ได้ ในเมื่ออีกท่าน(สมคิด จาตุศรีพิทักษ์) ปัจจุบันท่านก็เป็นที่ปรึกษารมว.พาณิชย์อยู่""นายพรศิลป์ กล่าวผ่านรายการโทรทัศน์

    นายพรศิลป์ กล่าวต่อว่า ครม.ชุดนี้ที่ทำอยู่ทั้งสั้นและยาวดีแล้ว แต่อยากให้มองไปที่ระยะยาวดีกว่า จะต้องมองไป 5ปี 10ปี 20ปี ดูทีละ Section ทีละส่วนจะต้องวางแผนเชิงโครงสร้าง 1.ปัญหาเชิงโครงสร้างใช่หรือไม่ 2.ปัญหาเรื่องความสะดวกทางการค้า เรื่องการจัดระเบียบทางการค้า ซึ่งยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ในหลายๆรัฐบาลที่ผ่านมา ทั้งประมง แรงงาน รวมทั้งเกษตรระยะยาวจะเป็นอย่างไร เกษตรจะเป็นอย่างไรจะต้องวางแผนพื้นที่โซนนิ่ง ซึ่งตอนนี้ยังไม่ชัดเจน แต่บังเอิญมีปัญหาระยะสั้นเข้ามาทำให้ปวดหัว ทั้งเรื่องน้ำ เรื่องสต็อกสินค้าเกษตร ข้าว ยาง ซึ่งค้างคามาจากของเดิม และพยายามแก้ด้วยระบบที่ตรงกันข้ามกันเลย

   สำหรับ นโยบายบาทอ่อน ทำให้การแข่งขันดีขึ้นก็จริง แต่ว่าตัวเงินรายได้เข้าผู้ประกอบการอาจจะไม่ได้อย่างที่คิด เช่น เวลานี้ 1 ดอลลาร์เท่ากับ 35 บาท เราทำให้เป็น 36 บาท ทำให้เราลดราคาลงเพื่อให้แข่งขันกับเวียดนามได้ แต่เราก็ไม่ได้กำไรเพิ่มขึ้นแค่แข่งขันได้ดีขึ้น แต่อย่าลืมถ้าเราลดเวียดนามก็ลดได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นนโยบายบาทอ่อนไม่ได้ทำให้การส่งออกกระโดดขึ้น ภาคส่งออกเป็นปัญหาที่โครงสร้าง ถ้าสินค้าเกษตรของเราไม่แก้เรื่องโครงสร้างอีกหน่อยเศรษฐกิจทั่วโลกดีขึ้นเราก็ยังส่งออกตก

    ขณะที่ปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ มองว่า วันหนึ่งรัฐต้องมีมาตรการช่วยเหลือเรื่องรายได้ เรื่องนี้เป็นอะไรที่รัฐต้องคำนึงถึงเพราะเป็นความบริหารผิดพลาดในอดีต วิธีแก้ก็เช่น สร้างงาน ลดต้นทุน เรื่องของ SMEs มีปัญหาเงินไม่หมุน ก็ต้องแก้ที่ปรับโครงสร้าง การลงทุนเพราะวันนี้บ้านเราการลงทุนยังน้อยไป ปีหน้ารถไฟ 3 แสนล้านจะเป็นตัวผลักดันการลงทุนจะเกิดขึ้น ถึงเวลานั้น SMEs ควรจะดูว่าตัวเองติดขัดอะไรควรจะลงทุนอะไรเพิ่ม ซึ่งการลงทุนนี้ไม่ใช่การเพิ่มค่าใช้จ่าย แต่เป็นการเตรียมความพร้อมล่วงหน้า

    นายพรศิลป์ กล่าวต่อว่า สรุปรวมๆ มองว่ารัฐบาลแก้ปัญหาได้ระดับหนึ่งและกำลังจะไปสู่ระยะยาว คิดว่ากำลังวางแผนกันอยู่ และระบบเศรษฐกิจวันนี้เปลี่ยนไปมาก เป็นเชิงโครงสร้างจริงๆ แล้วขณะนี้เอกชนยังไม่ตื่น เช่น พรุ่งนี้จะประกาศว่าประเทศไทยจะหลุดจากการทำธุรกิจโดยบังคับใช้แรงงานข้ามชาติ หรือ Tier3 ซึ่งต้องทำความเข้าใจว่า เป็นเรื่องของกฎหมายที่สหรัฐฯบังคับใช้ เราต้องยอมรับระบบโลกและรัฐบาลเราก็แก้ระยะสั้นได้สำเร็จเพื่อเชื่อมไปสู่ระยะยาว เป็นระเบียบรัฐที่ถูกกำหนดมาโดยระเบียบรัฐอีกประเทศหนึ่ง นี่คือเชิงโครงสร้าง ส่วนที่ 2 คือเอกชนของสหรัฐฯอาจจะใช้มาตรการเข้มข้นกว่ารัฐมาบังคับกดดันเอกชนด้วยกัน จึงต้องถามว่าเอกชนไทยตื่นหรือยัง ทุกวันนี้เรายังอาศัยรัฐอยู่เสมอ ยังเกาะรัฐอยู่เสมอ รัฐมีพลังอยู่ระดับหนึ่ง การจะเอื้อมมือไปแข่งขันกับโลกเราต้องช่วยเหลือตัวเองด้วย

    "ที่ผ่านมา เราโอเคกับระบบหนึ่งที่ทำให้เกิดแรงจูงใจในการผลิตมากมายก่ายกอง ซึ่งไม่ได้คำนึงถึงตลาด และไม่คำนึงถึงทรัพยากรธรรมชาติ ผมว่าตรงนี้มีปัญหา เราก็ต้องแก้ไปก่อน ส่วนฐานะการเงินการคลัง ดอกเบี้ยทุกอย่าง ผมคิดว่าที่ผ่านมาก็ผ่านนะ ไม่ได้มีปัญหาอะไรเลย สำหรับตัวบุคคล ชัดเจนมาก เป็นมืออาชีพ จริงๆช่วงนี้เราไม่ได้ต้องการนักการเมือง เราต้องการมืออาชีพ เราเหมือนรถเสียและต้องการคนซ่อม เราต้องการคนที่เข้ามาทำงานไม่ใช่เข้ามาเพื่อมีวิธีคิดแบบอื่น""นายพรศิลป์ กล่าว

       อินโฟเควสท์ 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!