WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

2559สงออกไทย

ปีลิง 2559 ส่งออกไทย ยังวอกแวก ลางร้ายรุมเร้า.... ฤาดับฝันเป้า 5%

- ตัวเลขส่งออกปี 59 ยังไม่ฟันธง

มติชนออนไลน์ :


นพพร เทพสิทธา, สุพันธุ์ มงคลสุธี, ธนวรรธน์ พลวิชัย

     ทุกปีที่ผ่านมา การคาดการณ์ต่อการเติบโตของการส่งออก มักจะสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา ปี 2559 ก็เช่นกัน ทุกภาคส่วน ทั้งจากเอกชน นักวิชาการ และกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะแม่งานหลักในการผลักดันการส่งออก มองภาพเป็นบวก แต่ตัวเลขปี 2559 จะเติบโตเท่าไหร่ การคาดการณ์ยังค่อนข้างกระจัดกระจายกว่าทุกปี 

    เพราะก่อนขึ้นปีใหม่ กระทรวงพาณิชย์รับนโยบายผลักดันการส่งออกโต 5% แม้ครั้งแรกก่อนเข้าประชุมคณะกรรมการพัฒนาการค้าระหว่างประเทศ (พกค.) ปลายปีที่ผ่านมา เสนอตัวเลขไว้แค่ 2.5-3% แต่นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี สั่งการให้ทำแผนเชิงรุกและมอบเป้าทำงานต้องโต 5% 

      ขณะที่เวลานั้น ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประกาศมุมมองต่อการขยายตัวของจีดีพีปี 2559 โต 3.7% บนสมมุติฐานส่งออกโต 1.2% ซึ่งต้องยอมรับว่าปีที่ผ่านมา ธปท.ประเมินตัวเลขส่งออกได้ใกล้เคียงความจริงมากสุด คือประเมินติดลบ 5% ซึ่งก็มีแนวโน้มที่ตัวเลขอย่างเป็นทางการ ส่งออกทั้งปี 2558 จะติดลบ 5.5% 

     ด้านภาคเอกชน อย่างสภาผู้ส่งออกทางเรือแห่งประเทศ คาดการณ์โต 2% หอการค้าไทย คาดการณ์ไว้ 2.5% ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ประเมินว่าโอกาส 80% แค่ 4% 

    ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยแพร่บทความ "เศรษฐกิจไทยปี 2559 ? ความหวังการฟื้นตัวอยู่ที่การลงทุนของภาครัฐ" ระบุว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยปี 2559 จะอยู่ที่ 3% แกนหลักขับเคลื่อนเศรษฐกิจคือการลงทุนของภาครัฐ น่าจะเติบโต 7.9% และการลงทุนของภาคเอกชน ฟื้นขึ้นโตได้ 3.9% หลังหดตัวมาตลอด 3 ปี 2556-2558 การบริโภคในประเทศน่าจะแค่ประคองตัวโตเท่าปี 2558 ที่โตเพียง 2.1% แต่มุมมองต่อส่งออกว่าอาจฟื้นตัวค่อนข้างต่ำ 0.5-3.5% 

       โดยทุกหน่วยงานประเมินบนปัจจัยเสี่้ยง คือการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้าส่งออกสำคัญ ยังไม่ดีนัก ความผันผวนยังสูงในด้านราคาน้ำมัน ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ราคาสินค้าเกษตร อัตราแลกเปลี่ยน รวมถึงเหตุการณ์ขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศ และในไทยเองก็ยังไม่ชัดเจนเรื่องการเลือกตั้ง ซึ่งเชื่อว่า "ความไม่แน่นอนจะสูง" ตั้งแต่ไตรมาสแรก ลากไปตลอดครึ่งแรกของปี 2559 

- พณ.จัดทำ7ยุทธศาสตร์ดันส่งออกโต5%

        แล้วทำไม รัฐบาลและกระทรวงพาณิชย์ ยืนยันตัวเลขส่งออกไทยโตได้ 5% ! (เน้นตัวหนาค่ะ) 

นางมาลี โชคล้ำเลิศ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ แถลงไว้ว่า "เป้าหมายการส่งออกปี 2559 โต 5% องค์ประกอบสำคัญ คือ กระทรวงพาณิชย์ ได้จัดทำยุทธศาสตร์การค้าระหว่างประเทศ เชิงรุก 5 ปี ที่จะเริ่มใช้ตั้งแต่ 2559-2564 

      ซึ่งประกอบด้วย 1.การเปิดประตูการค้า และขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจ รวมทั้งการเจรจาการค้าในกรอบเอฟทีเอเพิ่มขึ้น มีการแยกแผนเจาะรายตลาด ตั้งแต่ตลาดอาเซียน ประเทศที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจประเทศพัฒนาแล้ว การเจรจาระดับพหุภาคี เพื่อการใช้ประโยชน์และทำแผนรองรับผลกระทบด้วย 2.การเร่งรัดขยายตลาดส่งออกเชิงรุก 3.การส่งเสริม การค้าชายแดน เชื่อมโยงประเทศในซีแอลเอ็มวี (กัมพูชา-ลาว-พม่า-เวียดนาม) ถึงจีน และอินเดีย 3.การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย เพื่อเพิ่มมูลค่าการค้าชายแดนและผ่านแดน การเสริมสร้างขีดความสามารถของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการค้าชายแดน การส่งเสริมการลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน เร่งรัดการแก้ไขปัญหาและใช้ประโยชน์จากความร่วมมือในอนุภูมิภาค 4.การประกอบธุรกิจและการลงทุนในต่างประเทศ 5.การปรับโครงสร้างการค้า สู่ภาคบริการ 6.การเพิ่มบทบาทของเอสเอ็มอีในการผลักดันการค้าและสร้างนักรบ เศรษฐกิจใหม่ที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรม 7.การสร้างมูลค่าเพิ่มในอุตสาหกรรมส่งออก ทั้งด้านการออกแบบ นวัตกรรม การวิจัยและพัฒนา การสร้างแบรนด์ 

- รุกภาคบริการหนุนตัวเลขไม่ติดลบ

      โดยเฉพาะการรุกเข้าภาคบริการ เบื้องต้นผลักดันในอุตสาหกรรมด้านบริการสุขภาพและสปา อุตสาหกรรมด้านขนส่งโลจิสติกส์ อุตสาหกรรมการรักษาและโรงพยาบาล อุตสาหกรรมด้านบันเทิงและภาพยนตร์ อุตสาหกรรมด้านการศึกษา และธุรกิจการให้คำแนะนำหรือที่ปรึกษา เช่น อสังหาริมทรัพย์ การออกแบบตกแต่ง เป็นต้น แม้ขณะนี้จะยังไม่มีตัวเลขอย่างเป็นทางการ ว่าค่าบริการของไทยในต่างประเทศเป็นเท่าไหร่ แต่ปีนี้กระทรวงพาณิชย์จะคัดกรองแยกจากส่งออกสินค้า ก็จะชัดเจนขึ้นว่ามูลค่าการส่งออกต่อปีของไทยประมาณ 2.1-2.2 แสนล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อรวมค้าบริการจะเป็นเท่าไหร่ และเป็นตัวแปรสำคัญต่อการลบตัวเลขส่งออกสินค้าที่มีโอกาสติดลบได้อีกในอนาคต 

      อีกทั้ง ประเมินบนปัจจัยว่าเศรษฐกิจโลกโต 3.6% การค้าโลกโต 2.4% รัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นช่วยเหลือเอสเอ็มอีด้านการเงินและส่งเสริมให้มีนวัตกรรม รวมถึงนโยบายพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษในรูปแบบคลัสเตอร์ กำหนดเป้าหมายไว้ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย และการเปิดเสรีการค้าไทยกับประเทศคู่ค้า โดยเฉพาะการเกิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมที่ผ่านมา ที่ประเมินกันว่าจะช่วยเพิ่มค้าชายแดนให้บรรลุ 2 ล้านล้านบาท ภายใน 1-2 ปีข้างหน้า จากปัจจุบันกว่า 1.3 ล้านล้านบาท 

      ที่สำคัญ ได้ปรับโครงสร้างสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ มีการโยกทูตพาณิชย์ ฝีมือดี เชี่ยวชาญสูงสุด มาประจำในประเทศอาเซียน และประเทศเอเชีย พันธมิตรที่ไทยเปิดเสรีการค้าด้วย เช่น จีน อินเดีย โดยจัดเตรียมกิจกรรมโรดโชว์ ให้ผู้บริหารเดินทางเยือนต่างประเทศ อาทิ ช่วงเดือนมกราคม-มิถุนายน ในอาเซียน เริ่มที่กัมพูชา วันที่ 9-10 มกราคม ต่อด้วยพม่า วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 25 มีนาคม ที่เวียดนาม และลาว วันที่ 29 มิถุนายน ขณะที่ตลาดหลักและตลาดศักยภาพจะเดินทางในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ได้แก่ สเปน โอมาน/บาห์เรน อินเดีย และเกาหลีใต้ 

- ย้อนดูส่งออก11เดือนปีแพะเสี่ยงสูงติดลบ5.5%

       ย้อนหลังดูตัวเลขการส่งออกอย่างเป็นทางการเดือนพฤศจิกายน 2558 มีมูลค่า 17,166.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 7.42% ติดลบลดลงจากเดือนตุลาคมที่ติดลบ 8.11% แต่เป็นการติดลบต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี 2558 รวม 11 เดือน ขณะที่การนำเข้า มีมูลค่า 16,868.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 9.53% เกินดุลการค้า 298.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้การส่งออกช่วง 11 เดือน มีมูลค่า 197,275 ล้านเหรียญสหรัฐ ติดลบ 5.51% การนำเข้ามีมูลค่า 187,041.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ติดลบ 11.16% และหากส่งออกเดือนธันวาคมที่ผ่านมาทำได้ 1.7 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ก็คงเป็นที่แน่นอนว่าทั้งปีติดลบ 5.5% ติดลบเป็นปีที่ 3 

      หากพิจารณาดุลการค้า 11 เดือน ที่มีมูลค่า 10,233.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ถือว่าเกินดุลการค้าอยู่มาก ก็ทำให้วิตกอีกว่า หากนำเข้าลดลง สะท้อนได้ว่าเอกชนชะลอลงทุนในไทย หันลงทุนต่างประเทศ ดังนั้น จะกระทบต่อการส่งออกในอนาคตที่ลดลงอีก ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ยืนยันมาตลอดว่า การติดลบปีนี้สาเหตุหลักคือผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลง โดยทำให้การส่งออกสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันปรับตัวลดลงตามไปด้วย ซึ่งกลุ่มนี้มีสัดส่วนประมาณ 10% ของการส่งออก และกระทบต่อการส่งออกได้ถึง 3% และเมื่อรายได้ประเทศส่งออกน้ำมันลด การนำเข้าก็ลดลงตาม โดยยอมรับว่าแนวโน้มราคาน้ำมันคงลงต่อ หากลดลงต่อเนื่องต่ำกว่าระดับ 30 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ก็จะยิ่งกระทบต่อการส่งออก ที่จะทำให้สินค้าที่เกี่ยวกับน้ำมันลดลงอีก และยังกระทบต่อเนื่องถึงเศรษฐกิจของประเทศที่ส่งออกน้ำมัน และต่อเนื่องถึงเศรษฐกิจโลกได้ 

       อย่างนี้แล้ว คงต้องติดตามว่าการส่งออกปีวอก 2559 จะซ้ำรอยปีแพะที่เพิ่งผ่านพ้นไปหรือไม่ จากปัจจัยที่รุมเร้ายังสูง แม้ข้อได้เปรียบคือ ฐานมูลค่าส่งออกปี 2558 ค่อนข้างต่ำมาก เฉลี่ยมูลค่าส่งออกเพียง 1.7 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ 

- เอกชนให้กำลังใจรัฐบาล มีโอกาสเห็น 5% 

นพพร เทพสิทธา 

ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย 

      สภาผู้ส่งออกฯ มองปี 2559 ส่งออกไทยน่าจะขยายตัวได้ 2% ที่รัฐบาลตั้งเป้าไว้ 5% มองว่ายังมีโอกาส แต่หากรัฐบาลยังไม่ทำอะไรเลย หรือทำแบบเดิม ส่งออกเต็มน่าจะได้แค่ 2% เพราะยังเป็นห่วง ด้านปัจจัยลบยังมาก โอกาสมากสุดเมื่อดูจากการยุทธศาสตร์การค้าระหว่างประเทศของรัฐ คือโตได้ 3% อย่างไรก็ตามเป้าส่งออก 5% ถือเป็นพันธกรณีที่รัฐและเอกชน จะทำร่วมกันให้ได้มากที่สุดและดีที่สุด 

       ปัจจัยลบที่เห็นได้อย่างชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ คือ เศรษฐกิจสหรัฐใช่ว่าจะเข้มแข็ง แต่ที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จำเป็นต้องปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย เพราะคงที่มานาน 9 ปีแล้ว หากยังปล่อยต่อไป ยิ่งเสียหายมากกว่า แม้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ 100% ยุโรปอยู่ระหว่างการปฏิรูป ผ่านการใช้มาตรการผ่อนคลายทางการเงิน (คิวอี) ก็ยังไม่เพียงพอ ต้องใส่คิวอีรอบสอง ญี่ปุ่นก็เช่นกันคิวอี ที่เคยใส่เข้าไปยังไม่เพียงพอ อาจมีรอบสอง สะท้อนเศรษฐกิจยังไม่ขยายตัวนัก เศรษฐกิจจีน ก็ยังไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้น จะเห็นว่าแต่ละประเทศมีปัญหาเศรษฐกิจของตัวเอง การนำเข้าก็จะน้อย การส่งออกไทยอาจไม่ดี 

     อีกปัจจัย คือ ค่าเงินผันผวน เมื่อสหรัฐปรับขึ้นดอกเบี้ย ยุโรป ญี่ปุ่นจะออกคิวอีรอบสอง ทำให้เกิดสงครามค่าเงินเข้มข้นขึ้น อีกปัจจัยเสี่ยงคือการเมือง ของความขัดแย้งสหรัฐ รัสเซีย ตุรกี และซีเรีย ยังมีความตึงเครียดอยู่ ภัยธรรมชาติ และภัยแล้ง เริ่มเห็นตั้งแต่ต้นปี 2559 ล้วนน่าเป็นห่วงหากรุนแรงขึ้น การปฏิรูปของประเทศต่างๆ ในภาวะเศรษฐกิจขาลง หากปรับไม่ได้หรือปรับตัวช้าเศรษฐกิจโลกก็จะไม่ขยายตัวอย่างที่ไอเอ็มเอฟคาดการณ์ไว้ที่ 3.6% 

        ส่วนปัจจัยบวก คือรัฐบาลจะต้องสร้างความสัมพันธ์กับต่างประเทศ สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับประเทศ ทั้งเรื่องปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม (ไอยูยู) และเทียร์ 3 ให้ทั่วโลก ยอมรับว่าเราสามารถแก้ไขปัญหาได้ และจะต้องเดินสายไปสหรัฐ จีน ยุโรป อินเดีย คล้ายกับที่ประเทศอื่นทำที่ผู้นำประเทศเดินสายไปพบผู้นำประเทศต่างๆ และควรปิดจุดอ่อนภายในเรื่องต้นทุนการทำธุรกิจ ความยากง่ายในการทำธุรกิจ การอำนวยความสะดวกทางการค้า และทำการตลาดเชิงรุก โดยเข้าไปบุกแต่ละเมือง คล้ายตั้งฐานทัพไว้ในแต่ละตลาด ไม่ใช่แค่ไปเยี่ยมเยือน หากทำอย่างนี้จะมีโอกาสขยายการส่งออกได้มาก นี่คือปัจจัยบวกภายใน 

     ส่วนปัจจัยบวกภายนอก คือ ตลาดสหรัฐ และตลาดกัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม (ซีแอลเอ็มวี) ก็น่าจะขยายตัวตามเศรษฐกิจ ก็ควรจะบุกตลาดเหล่านี้ สิ่งที่รัฐพยายามทำโดยผลักดันเป็นคลัสเตอร์ถูกต้องแล้ว

       มี 3 กลุ่มสินค้าหลักต้องผลักดันอยู่แล้วในปี 2559 เพราะเป็นกลุ่มใหญ่ของการส่งออกไทย ได้แก่ กลุ่มรถยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า วัสดุก่อสร้างก็น่าจะยังผลักดันได้ สินค้าต้นน้ำ เช่น เม็ดพลาสติก แม้ว่าราคาจะตกลง แต่ปริมาณน่าจะผลักดันได้ รัฐบาลกำลังผลักดันส่งออกกลุ่มอัญมณี ตรงนี้ก็เห็นด้วยเพราะยังมีโอกาส" 

สุพันธุ์ มงคลสุธี

ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)

     ส่งออกปี 2559 อย่างไรก็เป็นบวก ปัจจัยบวกมาจากการลงทุนของภาครัฐในปี 2559 การท่องเที่ยวฟื้นตัวต่อเนื่อง ส่วนปัจจัยลบที่น่ากังวล คือ ปัญหาภัยแล้ง ปัญหาการเมืองของโลก และเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ดีขึ้นนัก สำหรับการส่งออกยานยนต์ก็ยังมีแนวโน้มสดใสอยู่ และน่าจะเป็นตัวหลักตัวหนึ่งในการส่งออกของไทย

ธนวรรธน์ พลวิชัย 

ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย 

        ส่งออกโต 5% น่าจะมีโอกาส เพราะฐานตัวเลขปีก่อนต่ำ แต่ขึ้นอยู่กับไม่มีปัญหาก่อการร้าย และการเมืองนิ่ง ทั้งในประเทศและทั่วโลก เพราะไม่กระทบต่อจิตวิทยาการบริโภค แต่เชื่อว่าเศรษฐกิจโลก สหรัฐและยุโรปจะฟื้นตัวชัดเจน และประโยชน์จากเออีซี น่าจะเห็นชัดเจนปี 2560 โอกาสน่าจะโต 4% ยอมรับว่าปีนี้ ภาพไม่ชัดเจนยากจะพยากรณ์ เพราะไม่เห็นปัจจัยหนุนและปัจจัยเสี่ยงที่ชัดเจน แต่โอกาสเศรษฐกิจไทยโต 3.5-4% ได้หากการเมืองนิ่ง เศรษฐกิจโลกไม่แย่กว่านี้ และรัฐบาลเบิกจ่าย ลงทุนได้ตามเป้าหมาย 

      ที่อยากเตือนถึงธุรกิจ คือยังต้องระมัดระวังต่อการลงทุนและทำธุรกิจ ดังนั้นควรใช้เวลาช่วงนี้ ปรับปรุงเครื่องจักร องค์กร หรือ ลงทุนซื้อที่ดิน อสังหาริมทรัพย์ จากดอกเบี้ยถูก เพื่อขยายตัวเต็มที่ในปี 2560-61 เชื่อว่าฟื้นตัวชัดเจน

กูรู ผ่ามาตรการรัฐ 'เศรษฐกิจปีวอก' สดใส จริงหรือ​?...

     ก้าวเข้าสู่ปี 2559 กันเป็นที่เรียบร้อย ใครหลายคนคงเริ่มวางแผนที่จะทำสิ่งต่างๆ ในปีนี้ โดยมีเรื่องราวต่างๆ จากปีที่ผ่านมา ซึ่งอาจมีบางเรื่องที่ยังคงส่งผลต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน และ 1 ในนั้น คือเรื่องของ'เศรษฐกิจ' ที่ต้องยอมรับว่า เป็นตัวชี้วัดคุณภาพชีวิต และปากท้องของคนในชาติ

      ในปี 58 ที่ผ่านมา คนไทยไม่ว่าฐานะใด ล้วนต้องผ่านช่วงเวลาที่เรียกว่า 'วิกฤติเศรษฐกิจ' กันมาทั้งสิ้น ทั้งจากวิกฤติฟองสบู่จีน หนี้กรีซ เหตุการณ์ก่อการร้ายกรุงปารีส หรือแม้แต่เหตุระเบิดราชประสงค์ ที่ทำให้การท่องเที่ยวไทย เศรษฐกิจ กระทบไปตามๆ กัน แต่รัฐบาลก็ไม่ยอมแพ้ ต่างชูนโยบายต่างๆ มาผลักดัน และกระตุ้นเศรษฐกิจไทยกันอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการเร่งเบิกจ่ายเงินโครงการขนาดเล็กไม่เกิน 1 ล้านบาท การจัดสรรเงินให้เปล่าตำบลละ 5 ล้านบาท และการปล่อยกู้กองทุนหมู่บ้าน การยกเว้นภาษีให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก หรือแม้แต่มาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้ ก็เพื่อเป็นการเรียกฟื้นความเชื่อมั่นให้กลับมาอีกครั้ง

รัฐบาลไม่นิ่งเฉย ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อเนื่อง ในปี 2558ธุรกิจการก่อสร้าง ภาคอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย

     แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อจากนี้ ก็คงทำให้เกิดคำถามขึ้นในใจของใครหลายคน ว่าในปี 59 นี้ เศรษฐกิจของประเทศไทยจะเป็นไปอย่างไร? มีปัจจัยเรื่องใดบ้างที่จะมาช่วยส่งเสริมและกระตุ้นเศรษฐกิจให้กลับมาคึกคักยิ่งกว่า วันนี้ 'ไทยรัฐออนไลน์' มีคำตอบ...

นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย

       นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวถึงปัจจัยที่จะมากระตุ้นเศรษฐกิจไทยในปี 2559 ไว้อย่างน่าสนใจ ว่า ปัจจัยแรก คือ การที่รัฐบาลมุ่งเน้นการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าระบบมากขึ้น ทั้งจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน การลงทุนด้านเมกะโปรเจกต์ การขอความร่วมมือจากต่างประเทศ การทำพีพีพี ตลอดจนไทยแลนด์ ฟิวเจอร์ ฟันด์ ซึ่งจะเป็นลักษณะของการเตรียมเม็ดเงินลงทุน ฉะนั้น การที่รัฐบาลเร่งในเรื่องนี้ จะช่วยส่งเสริมภาคการก่อสร้าง วัสดุก่อสร้าง การจ้างงาน และยังทำให้เกิดอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ พัฒนาพื้นที่ทางธุรกิจต่างๆ

     ปัจจัยต่อมา คือ การใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อเนื่อง ในเรื่องกองทุนหมู่บ้าน งบตำบล และงบของเอสเอ็มอี รวมทั้งการลดค่าธรรมเนียมการโอนต่างๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ จะคาบเกี่ยวไปจนถึงไตรมาสที่ 1 ในปี 59 โดยเม็ดเงินจะเข้าไปช่วยพยุงเศรษฐกิจ เพราะช่วยพยุงรายได้ของคนทั้งประเทศนั่นเอง ทั้งนี้ ในการประมูล 4 จี ที่ผ่านมา ทั้ง 2 คลื่น เม็ดเงินที่ได้จากประมูลจะทำให้ธุรกิจเหล่านั้นเร่งขยับขยาย 4 จี ต่อเนื่อง เพื่อดึงดูดให้ลูกค้าใช้บริการ 4 จี มากขึ้น ทั้งการติดตั้งเสาหรืออุปกรณ์เพิ่ม การทำแอพพลิเคชั่นรองรับ 4 จี ซึ่งจะช่วยเพิ่มความคึกคักของธุรกิจ และส่งเสริมอีคอมเมิร์ซ ที่ช่วยให้การอัพโหลดข้อมูลทำได้เร็วขึ้น ส่งเสริมกิจกรรมออนไลน์ ซึ่งเป็นฐานที่ไทยจะหารายได้จากการขายทั้งจากภายในประเทศและต่างประเทศ

เหล่าผู้ประกอบการ ต่างทำแอพพลิเคชั่นเพื่อรองรับ 4G ส่งผลให้ธุรกิจนี้มีความคึกคักไม่ถูกเอียซ่าปรับลดมาตรฐานการบิน ส่งผลให้ไทยไม่มีปัจจัยลบด้านการท่องเที่ยว

     สำหรับ ด้านการท่องเที่ยวนั้น นายธนวรรธน์ กล่าวว่า หลังจากไม่ถูกเอียซ่าปรับลดมาตรฐานการบิน จึงส่งผลให้ไทยไม่มีปัจจัยลบด้านการท่องเที่ยว ภาพการท่องเที่ยวไทยสดใสขึ้น ส่วนปัจจัยต่อมาที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจปีหน้าได้นั้น คือ เรื่องของราคาน้ำมันที่ทรงตัวระดับต่ำ เพราะทำให้ไทยนำเข้าน้ำมันถูกลง ต้นทุนการเดินทาง ค่าครองชีพ การผลิตก็จะถูกลงไปด้วย นั่นหมายความว่า ราคาสินค้าก็จะไม่แพง ประชาชนจับจ่ายใช้สอยได้ง่ายขึ้น และอีกปัจจัยส่งท้าย คือ ภาวะของเศรษฐกิจโลก ที่มีทิศทางฟื้นตัวขึ้น ซึ่งน่าจะเป็นผลดีต่อการส่งออกของไทยว่าจะค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจไทยเป็นไปตามเศรษฐกิจโลกนั่นเอง

ผศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ม.รังสิต

      ด้าน ผศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผยว่า ในปี 2559 เศรษฐกิจมีแนวโน้มปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น จากปัจจัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐ การก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนแบบเต็มรูปแบบ เพราะมีการปรับลดภาษี 0% ซึ่งจะเกิดขึ้นในกลุ่ม CLMV โดยจะทำให้สินค้าไทยส่งออกไป CLMV เพิ่มมากขึ้นอย่างมาก รวมถึงการฟื้นตัวของการลงทุนของภาคเอกชน การขยายตัวของการก่อสร้างเมืองใหม่ เขตเศรษฐกิจพิเศษ ส่วนปัจจัยทางด้านเสถียรภาพทางการเมือง ก็จะส่งผลให้เศรษฐกิจดีขึ้นแน่นอน หากการร่างรัฐธรรมนูญเป็นประชาธิปไตย หรือมีความคืบหน้าในการกลับคืนสู่ประชาธิปไตยในปี 2560

การบริโภคและการลงทุนปี พ.ศ. 2559 มีแนวโน้มกระเตื้องขึ้นต่อเนื่อง

      คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าววิเคราะห์ด้วยว่า สำหรับภาคการบริโภคและภาคการลงทุนในปี พ.ศ. 2559 ปีหน้าจะกระเตื้องขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะการลงทุนโครงสร้างภาครัฐ งบประมาณปี พ.ศ. 2559 วงเงิน 2.72 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 8% จากปีงบประมาณที่ผ่านมา และงบรายจ่ายลงทุนเพิ่มขึ้น 20% และ กระแสการไหลเข้ามาลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษหากไม่มีปัญหาเสถียรภาพทางการเมือง

      ส่วนการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่องจากช่วงครึ่งหลังของปี พ.ศ. 2558 แต่เป็นลักษณะค่อยๆ ฟื้นตัวเนื่องจากอัตราการใช้กำลังการผลิตโดยรวมยังอยู่ในระดับต่ำ มีเพียงบางอุตสาหกรรมเท่านั้นที่อยู่ในระดับสูงและอาจมีการลงทุนใหม่ในระยะต่อไป ด้านการลงทุน SMEs น่าจะเพิ่มขึ้นจากมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ การลดภาษีนิติบุคคล แต่ความท้าทายของการลงทุนภาคเอกชนในปีหน้าเป็นเรื่อง ความผันผวนทางการเงิน เงินบาทอ่อน ต้นทุนทางการเงินที่อาจเพิ่มขึ้นในอนาคตและปัญหาเสถียรภาพทางการเมือง รวมทั้งความต่อเนื่องและความคงเส้นคงวาของนโยบายภาครัฐ

       ภาพรวมการท่องเที่ยวและการส่งออก มีแนวโน้มเติบโตดีขึ้น ซึ่งเป็นผลจากการขยายตัวของตลาดอาเซียนและสหรัฐอเมริกา โดยในปีหน้า คาดว่า เศรษฐกิจอาเซียน 5 ประเทศหลัก จะมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยเฉลี่ย 5% และตลาดอาเซียนคิดเป็นสัดส่วนถึง 1 ใน 4 หรือ 25% ของมูลค่าส่งออกของไทย

ภาพรวมเศรษฐกิจของไทยจะอยู่ในสภาวะเริ่มฟื้นตัวในทิศทางที่ดีขึ้น แต่ยังต้องจับตาดูในปีต่อไป ว่าจะเป็นไปในทิศทางใด ...

      ท้ายที่สุดแล้ว ปัจจัยต่างๆ จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยในปี 2559 ให้ปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น ดังที่ทุกคนคาดหวังไว้หรือไม่? เรายังคงต้องติดตามกันต่อไป.

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!