WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

G กอบศกด ภตระกลรัฐ-เอกชนมองตลาดทุน-ตลาดเงินไทยกระทบแค่ช่วงสั้นทรัมป์นั่ง ปธน.สหรัฐเชื่อส่งผลดีต่อศก.ระยะยาว

      นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยในงานสัมมนา "ทิศทางตลาดทุนและเศรษฐกิจไทย...หลังเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ" ว่า น่าจะเกิดผลกระทบต่อตลาดในระยะสั้น หรือราว 1 สัปดาห์ทั้งตลาดการเงินและตลาดทุน โดยการที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ก้าวขึ้นมาเป็นว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐ คงมีเรื่องที่ต้องการดำเนินการ 2 เรื่อง คือ การยกเลิกข้อตกลงทั้งการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA) และ ข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (TPP)  ซึ่งน่าจะส่งผลกระทบในระยะยาวต่อประเทศเม็กซิโก และประเทศที่ได้เปรียบและเอาเปรียบสหรัฐฯอย่างต่อเนื่อง เช่น จีน ,เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น

     นอกจากนั้น ยังมีเรื่องของการลงทุนในประเทศใกล้เคียงที่อาจมีการขึ้นภาษีนำเข้า รวมถึงเรื่องภาษีที่เกี่ยวกับการค้าการลงทุนต่างๆ แต่ประเทศไทยน่าจะได้รับผลกระทบค่อนข้างน้อย เนื่องด้วยบริษัทสหรัฐฯมาลงทุนในไทยเพื่อขายของในเอเชีย ไม่ได้นำเข้าสินค้ากลับไปยังสหรัฐ อีกทั้งเห็นว่าการดำเนินนโยบายทุกอย่างที่ นายบารัก โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐ สั่งการไว้ก็คงจะยกเลิกทั้งหมด เนื่องจากทรัมป์ คิดว่านโยบายที่เกิดขึ้นคือสิ่งที่เป็นภาระของภาคธุรกิจ

    "การที่ทรัมป์มาอาจจะไม่แย่ก็ได้ เหมือนกับ Brexit ซึ่งอาจจะเป็นจุดเริ่มต้นของการเจริญในประเทศของเขา แต่ในตอนแรกอาจจะวุ่นวายเล็กน้อย ซึ่งเชื่อว่าแม้ทรัมป์อาจจะไม่เก่งการเมืองมากนัก แต่คนที่อยู่รอบข้างเขาถือว่าเป็นคนเก่ง และทรัปม์เป็นคนฉลาด น่าจะนำพาประเทศให้ไปสู่ความเจริญได้ และไทยน่าจะได้รับผลดีตามไปด้วย"นายกอบศักดิ์ กล่าว

    อย่างไรก็ตาม โอกาสการลงทุนของโลกจะอยู่ที่ไทย ซึ่งมองว่าความสัมพันธ์ทางการค้าของอาเซียนจะเริ่มเป็นปึกแผ่นมากขึ้นหลัง สหรัฐฯมีการยกเลิกข้อตกลง TPP และไทยน่าจะเป็นจุดสนใจของต่างชาติจากการที่ประเทศที่อุดมสมบูรณ์ รวมถึงการดำเนินนโยบายของสหรัฐฯก็อาจมีบางอย่างที่นำไปใช้ไม่ได้จริง จากฐานะทางการคลังที่ไม่ได้ดีนัก

     ด้านนายไพบูลย์ นลินทรางกูร นายกสมาคมนักวิเคราะห์การลงทุน กล่าวว่า นโยบายของทรัมป์ที่น่าจะดำเนินการอย่างแน่นอน คือ การปรับปรุงระบบภาษี จากการสนับสนุนของพรรคริพับลิกัน และมองว่าน่าการลดภาษีเงินได้นิติบุคคลจะเป็นนโยบายแรกที่ทรัมป์จะดำเนินการและน่าจะเป็นตัวช่วยให้เศรษฐกิจสหรัฐฯดีขึ้น เนื่องด้วยบริษัทจดทะเบียนจะมีกำไรมากขึ้น สามารถนำเงินมาลงทุนและจ้างงานได้มากขึ้น และน่าจะทำให้ประชาชนมีรายได้มากขึ้น

     ขณะที่นโยบายการยกเลิกข้อตกลง NAFTA และ TPP ก็น่าจะได้รับแรงสนับสนุนจากพรรคเช่นกัน และน่าจะเป็นผลบวกต่อไทย เพราะไทยไม่ได้เป็นสมาชิกทั้งสองข้อตกลง รวมถึงการปรับเปลี่ยนนโยบาย"โอบามาแคร์" หรือการประกันสุขภาพ ซึ่งมองว่าโครงการดังกล่าวคงถูกยกเลิก หรือปรับเปลี่ยนวิธี เนื่องด้วยประชาชนส่วนใหญ่มีค่าใช้จ่ายที่มาก และยังมีคนบางคนที่ไม่ได้อยู่ในประกันสุขภาพ

      "ขณะนี้ตลาดทุนตอบรับดี และตลาดทุนเชื่อว่าทรัมป์น่าจะมีวิธีของเขาที่จะสามารถตอบกับประชาชนได้ว่าเรื่องไหนที่ทำไม่ได้ เพราะว่าสภาไม่เอาด้วย ฉะนั้นผมคิดว่าทรัมป์เข้ามา ข้อดีในเรื่องของธุรกิจน่าจะดีขึ้น"นายไพบูลย์ กล่าว

      ขณะที่นายสุรงค์ บูลกุล นายกสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย กล่าวว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯจะกลับไปเหมือนปี ค.ศ.1970 ซึ่งเป็นการเติบโตจากภายในเพียงอย่างเดียว ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯมีขนาดใหญ่มาก ขณะที่มองประเทศไทยอาจไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการดำเนินนโยบายของนายทรัมป์ ในเรื่องของการกีดกันทางการค้า แต่น่าจะมีผลกระทบจากการที่สหรัฐฯจะมีการปิดประเทศมากขึ้น ที่น่าจะส่งผลต่อโอกาสที่จะเกิดขึ้นกับประเทศไทย โดยผู้ประกอบการจะต้องมีการปรับตัว เร่งดำเนินโนบายประเทศไทย 4.0 และทำให้เศรษฐกิจภายในประเทศมีความเข้มแข็งมากขึ้น หรือมีภูมิคุ้มกันมากขึ้น

     นอกจากนี้ มองโอกาสการลงทุนระยะสั้น เรื่องของพลังงานถ่านหิน น่าจะได้รับผลดี โดยสหรัฐฯน่าจะกลับมาใช้พลังงานชนิดเดิมๆ ขณะที่ราคาน้ำมันก็น่าจะอยู่ในระดับทรงตัว จากซัพพลายที่มีอยู่มากเกินดีมานต์โลก ถ่านหิน น่าจะมีราคาสูงขึ้น รวมถึงโลจิสติกส์ น่าจะได้รับผลกระทบจากการกีดกันการนำเข้าสินค้า

      นายเบญจรงค์ สุวรรณคีรี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่และหัวหน้านักวิเคราะห์ ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี กล่าวว่า ประชาชนสหรัฐฯเรียกร้องให้เกิดการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก โดยนโยบายของประธานาธิบดีคนที่ 45 นี้ จะเน้นไปเรื่องของภาษี คือลดภาษีทั้งนิติบุคคลและบุคคลธรรมดา รวมถึงนโยบายเรื่องของการกำหนดขอบเขตการจ้างงานแรงงานต่างด้าว และการค้า ซึ่งจะเห็นได้ว่านโยบายของทรัมป์จะเป็นการแก้ไขปัญหาของคนอเมริกาก่อน ส่วนเศรษฐกิจโลกจะเอาไว้ทีหลัง

    อย่างไรก็ตาม จากนี้ไปการดำเนินนโยบายของทรัมป์ ก็อาจจะมีการปรับเปลี่ยน โดยให้จับตาดูการแถลงต่อสภาคองเกรส ซึ่งจะเป็นการสื่อข้อความถึงนโยบายของประธานาธิบดีที่จะมีการดำเนินการ มองว่าทรัมป์น่าจะดำเนินการได้พอสมควร จากการสนับสนุนของพรรคริพับลิกัน

      ขณะเดียวกัน ได้ประเมินผลกระทบหลังจากทราบผลการเลือกตั้ง ที่จะมีต่อตลาดทุนไทย คาดว่าจะเกิดความผันผวนในระยะสั้น หรือราว 1 เดือน เนื่องด้วยจากนี้ไปทรัมป์ จะไม่มีการให้สัมภาณ์ออกสื่อหรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับนโยบาย จนกว่าจะเข้ารับตำแหน่งในเดือนม.ค.60

    "แนะนักลงทุนอย่างเพิ่งวิตกกังวลต่อนโยบายของทรัมป์ ซึ่งตัวทรัมป์เองไม่ได้ยึดติดตรงนั้นเลย ขณะที่เขาเองก็เป็นนักธุรกิจก็น่าจะมีการปรับตัวค่อนข้างสูง ซึ่งหลายๆอย่างตอนหาเสียง เมื่อนำไปสู่นโนบายอาจจะไม่เป็นอย่างตอนหาเสียง 100% ให้รอดูความชัดเจนนโยบายของเขาอีกที"

     ส่วนมุมมองการค้าในภูมิภาค น่าจะกลับมาในอาเซียน +6 ค่อนข้างมาก โดยในแง่ของการลงทุนที่ไทยอาจจะได้รับผลกระทบ คือ เงินเฟ้อ จากปัจจุบันเงินเฟ้อในสหรัฐฯมีราว 1.5% และน่าจะมีแนวโน้มที่สูงขึ้น จากปัจจัยความเสี่ยงของนโยบายหลายๆอย่าง และน่าจะส่งผลให้สหรัฐฯต้องกลับมาพิจารณาในเรื่องของดอกเบี้ย

รมว.พาณิชย์ คาด'ทรัมป์'ชนะเลือกตั้งยังไม่กระทบไทยระยะสั้น คงเป้าส่งออกไปสหรัฐฯปีนี้-ปีหน้า รอแถลงนโยบายก่อน

   นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า การขึ้นเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯของนายโดนัลด์ ทรัมป์ จะไม่มีผลกระทบต่อการส่งออกของไทยในระยะสั้น ซึ่งจากการที่กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ได้หารือกับผู้ส่งออกของไทยไปสหรัฐฯ พบว่า ในกลุ่มอาหาร ทั้งกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง ทูน่ากระป๋อง ยังส่งออกได้เช่นเดิม หรืออาจจะเพิ่มขึ้น เพราะโรงงานทูน่าในสหรัฐฯเพิ่งปิดตัวไป 2 แห่ง ขณะเดียวกัน สหรัฐฯเพิ่งประกาศคงการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) สินค้าไทยเช่นเดิม ซึ่งจะทำให้สินค้ามีศักยภาพด้านการแข่งขันในตลาดสหรัฐฯ

    "ขณะนี้ คงไม่สามารถประเมินอะไรได้มากไปกว่านี้ เพราะต้องรอดูการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาก่อน จึงจะประเมินสถานการณ์ที่ชัดเจนได้ แต่ได้มอบหมายให้ ทูตพาณิชย์ ติดตามการเปลี่ยนแปลงนโยบายการค้าของสหรัฐฯ อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับไทย แต่ผู้ส่งออกไทยได้กระจายความเสี่ยงจากการส่งออกไปยังตลาดใหม่ๆ อยู่แล้ว ทั้งแอฟริกา เอเชีย อาเซียน อิหร่าน อินเดีย รัสเซีย รวมถึงได้ประกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนไว้แล้วด้วย”

   รมว.พาณิชย์ กล่าวว่า กระทรวงฯ ยังคงยืนยันเป้าหมายมูลค่าการส่งออกของไทยไปตลาดสหรัฐฯ ในปีนี้เท่าเดิมที่ขยายตัว 1% ส่วนปี 60 ตั้งเป้าหมายขยายตัวที่ 3%

     สำหรับข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิก (TPP) นั้น รมว.พาณิชย์ กล่าวว่า ขณะนี้ไทยยังไม่ได้ตัดสินใจเข้าร่วมการเจรจา ถือเป็นโอกาสดีที่จะมีเวลาศึกษาข้อดี-ข้อเสียมากขึ้น ส่วนนโยบายการหาเสียงของนายทรัมป์ที่เน้นการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐฯ และอาจมีผลต่อการเลื่อนสถานะของไทย ภายใต้กฎหมายการค้าสหรัฐฯ มาตรา 301 พิเศษ ที่ปัจจุบันไทยอยู่ในบัญชีประเทศที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษด้านทรัพย์สินทางปัญญา (PWL) หรือไม่นั้น ไม่น่าจะมีผลกระทบต่อไทย เพราะที่ผ่านมา ไทยปราบปราม และป้องกันการละเมิดอย่างเต็มที่อยู่แล้ว

     ด้านนางมาลี โชคล้ำเลิศ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า จากการที่กรมฯ ได้วิเคราะห์นโยบายการหาเสียงของนายทรัมป์ พบว่า นโยบายบางอย่างจะเป็นประโยชน์กับการส่งออก และการลงทุนของไทย เช่น นโยบายการลดภาษีภาคธุรกิจ ซึ่งจะทำให้ภาคธุรกิจมีเงินเหลือมากขึ้น และซื้อสินค้าเพิ่มขึ้นได้ เช่นเดียวกับการผลักดันให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศขยายตัวได้ 3.5% จะส่งผลให้มีความต้องการซื้อสินค้าเพิ่มขึ้นด้วย ส่วนนโยบายดึงการลงทุนของสหรัฐฯในต่างประเทศกลับเข้าสู่ประเทศนั้น จะส่งผลดีต่อการลงทุนของไทยในสหรัฐฯ ด้วย

    ขณะที่นโยบายที่อาจกระทบกับไทย เช่น การให้ความสำคัญกับทรัพย์สินทางปัญญา แต่ไทยได้กำหนดยุทธศาสตร์ทรัพย์สินทางปัญญาทั้งระบบ เพื่อป้องกันการละเมิด ส่งเสริมให้คนไทยสร้างสรรค์ผลงานทรัพย์สินทางปัญญา และใช้ประโยชน์ให้มากขึ้นแล้ว จึงไม่น่าได้รับผลกระทบมากนัก

-อินโฟเควสท์ 

เชื่อ 'ทรัมป์' ไม่กั้นการค้า พาณิชย์แนะเอกชนปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลง

    บ้านเมือง : พาณิชย์แนะผู้ประกอบการปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงการค้าโลก หลังผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ เชื่อพรรครีพับลิกันไม่ออกมาตรการกีดกันการค้ามากเกินไป ขณะที่ EU ปรับปรุงกฎระเบียบอาหารใหม่ Novel Foods เริ่มมีผล 1 ม.ค.61

    นายวินิจฉัย แจ่มแจ้ง ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า แม้ว่าหลายฝ่ายจะมีความวิตกกังวล กับการส่งออกไทยที่จะได้รับผลกระทบจากนโยบายการค้าที่เปลี่ยนแปลงของสหรัฐ แต่ยังเชื่อว่าหากดูย้อนหลังพรรครีพับลิกันจะได้รับการสนับสนุนจากภาคธุรกิจและเอกชน จึงไม่น่าจะออกมาตรการกีดกันทางการค้าเพิ่มขึ้น และทำให้การค้ามีความคล่องตัวมากขึ้น นอกจากนี้ ทั่วโลกมีกฎระเบียบขององค์การการค้าโลก (ดับเบิลยูทีโอ) และการค้าระดับภูมิภาค ซึ่งทุกประเทศต้องรักษากฎระเบียบที่มีอยู่เพื่อไม่เพิ่มมาตรการกีดกันทางการค้า

    อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมเอเปกได้มีการหารือเกี่ยวกับมาตรการกีดกันทางการค้าจากหลายประเทศ และขอความร่วมมือให้ลดมาตรการกีดกันทางการค้าจะช่วยให้การค้าของโลกดีขึ้น โดยปี 2560 เศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวและส่งผลดีต่อภาคธุรกิจ จากเดิมเศรษฐกิจโลกมีอัตราการขยายตัวเพียงประมาณ 2% แต่ผู้ส่งออกของไทยจะต้องปรับตัวรองรับกับความผันผวนและความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นด้วย ซึ่งการปรับตัวของผู้ประกอบการโดยเฉพาะเอสเอ็มอีจะต้องมีการเปิดรับข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น รวมทั้งเพิ่มช่องทางการรับรู้ผ่านระบบออนไลน์ตามพฤติกรรมของผู้บริโภคขณะนี้ที่เริ่มหันมาซื้อขายและทำการค้าผ่านระบบออนไลน์มากขึ้น

     นอกจากนี้ ยังจะต้องเน้นการผลิตสินค้าด้วยความสร้างสรรค์และปรับตัวให้เป็นไปตามความต้องการของตลาด ตลอดจนยกระดับสู่มาตรฐานสากลโดยเฉพาะเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม เพราะแนวโน้มของโลกจะแข่งขันด้านคุณค่าของสังคมมากขึ้นตลอดจนจะต้องมีเครือข่ายพันธมิตรในการทำการค้าและเน้นการค้าไปยังกลุ่มประเทศซีแอลเอ็มวี เพื่อให้เอสเอ็มอีสามารถเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในห่วงโซ่อุปทานของโลก

     นางดวงพร รอดพยาธิ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า สหภาพยุโรป (EU) ได้ปรับปรุงกฎระเบียบอาหารใหม่ (Novel Foods) แทนกฎระเบียบเดิมที่บังคับใช้มาตั้งแต่ปี 2540 (ค.ศ.1997) เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหาร ซึ่งกฎหมายฉบับใหม่จะประกาศบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.61 เป็นต้นไป

      โดยสาระสำคัญของการปรับปรุงกฎระเบียบฯ ครั้งนี้ คือ 1.ลดขั้นตอนกระบวนการขออนุญาตโดยให้คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปมีอำนาจดำเนินกระบวนการเกี่ยวกับคำร้องขออนุญาตและพิจารณาอนุญาตทั้งหมด 2.กำหนดให้หน่วยงานความปลอดภัยด้านอาหารแห่งสหภาพยุโรปเป็นผู้รับผิดชอบประเมินผลความปลอดภัยอาหารใหม่ 3.กำหนดให้ขึ้นบัญชีรายชื่ออาหารใหม่ไว้กับคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปก่อน จึงจะสามารถวางจำหน่ายใน EU ได้ 4.กำหนดช่วงระยะเวลาการประเมินความปลอดภัยอาหารใหม่ที่ชัดเจนมากขึ้น

     5.อำนวยความสะดวกในการประเมินผลความปลอดภัยที่รวดเร็วสำหรับอาหารแบบดั้งเดิมที่มีการบริโภคนอก EU ที่มีประวัติว่าสามารถบริโภคได้อย่างปลอดภัย 6.ให้การคุ้มครองและรักษาความลับของข้อมูลแก่อาหารใหม่ที่ผลิตจากเทคโนโลยีใหม่ที่ส่งเสริมความมั่นคงทางอาหารและเกิดประโยชน์ต่อผู้บริโภค 7.ดำเนินการค้นหารายชื่ออาหารใหม่ที่ได้รับอนุญาตได้โดยง่ายในเว็บไซต์ของคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป และ 8.กำหนดให้ฉลากอาหารใหม่อยู่ภายใต้ข้อบังคับของกฎระเบียบ EU เลขที่ 1169/ 2011 ซึ่งกำหนดกฎระเบียบเกี่ยวกับฉลากทั่วไป

    บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด รายงานว่าดัชนี ภาวะเศรษฐกิจครัวเรือนเดือน ต.ค.59 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 42.9 จากระดับ 44.2 ในเดือน ก.ย.59 โดยครัวเรือนมีความกังวลเพิ่มขึ้นในสถานการณ์ราคาสินค้า หลังราคาสินค้าอุปโภค-บริโภคปรับตัวสูงขึ้นในเดือนตุลาคม ซึ่งส่งผลต่อเนื่องให้ครัวเรือนเป็นกังวลต่อประเด็นเรื่องค่าใช้จ่าย (ไม่รวมหนี้) มากขึ้นตามไปด้วย ขณะที่ดัชนีสะท้อนมุมมองคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า ยังคงทรงตัวอยู่ในระดับเดิมที่ 44.4 ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 สะท้อนให้เห็นว่าครัวเรือนยังไม่เปลี่ยนแปลงความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้า ซึ่งก็น่าจะส่งผลให้การบริโภคของภาคเอกชนในช่วงระยะเวลาที่เหลือของปี 59 ประคองตัวไปได้

ชี้ผลกระทบหลัง'ทรัมป์'ชนะทั้งการค้า-ค่าเงินเอเชียไทยไม่หวั่นพร้อมรับมือ

     แนวหน้า : 'จิมมี่ โค'หัวหน้าคณะนักเศรษฐศาสตร์ ยูโอบี ระบุการก้าวสู่ตำแหน่งของ'ทรัมป์'มีนัยเชิงลบต่อเอเชียในสามช่องทางได้แก่ การค้า ค่าเงิน และภูมิศาสตร์การเมืองในภูมิภาค ด้านรมว.คลัง เตรียมแผนรองรับ ยกทุนสำรอง พร้อม แถมเคยผ่านวิกฤติมาหลายครั้ง น่ารับมือได้ "พาณิชย์" ย้ำไม่กระทบส่งออก

    นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง กล่าวถึง ผลกระทบหลัง โดนัลด์ ทรัมป์ รับตำแหน่งประธานาธิบดี สหรัฐอเมริกา ว่า ขณะนี้ไทยมีมาตรการรองรับความผันผวนที่จะเกิดขึ้นหลังจากผ่านการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐแล้ว โดยจะต้องพิจารณาและได้เตรียมความพร้อมมานานแล้ว ทั้งฐานะการเงินมีความเข้มแข็ง เพราะได้ผ่านวิกฤติต่างๆ ในอดีตมาหลายเรื่อง ซึ่งเชื่อว่าจะไม่มีผลกระทบ หากสหรัฐมีการเปลี่ยนแปลง โดยจะต้องเน้นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงตามนโยบายที่หาเสียงเลือกตั้ง ซึ่งต้องรอดูความชัดเจนอีกครั้งสำหรับการ ส่งออกของไทยไปสหรัฐเพียงร้อยละ 10 ของการส่งออกทั้งหมด จึงไม่น่ากังวล ขณะที่ กระทรวงการคลังเคยมีประสบการณ์แก้ปัญหาผ่านวิกฤติหลายเรื่องมาแล้ว โดยสามารถแก้ปัญหาผ่านไปได้

     "กระทรวงการคลังเตรียมแผนรองรับ และน่าจะรองรับได้ เพราะไทยมีพื้นฐานเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง แต่ก็ไม่ประมาท เตรียมความเข้มแข็งทางการเงินการคลัง เพื่อดูแลเงินไหลเข้าไหลออก ซึ่งไทย มีทุนสำรอง 1.8 แสนล้านเหรียญสหรัฐ สูงถึง 3-4 เท่าของหนี้ ระยะสั้นต่างประเทศของไทย และสัดส่วนหนี้สาธารณะของไทยยังอยู่ในระดับต่ำกว่ากรอบทำให้ยังมีช่องทางในการกู้เงินได้อีกมาก ส่วน ผลกระทบด้านการส่งออกไปสหรัฐมีเพียง 10% เท่านั้น จึงไม่มี ผลกระทบมาก" รมว.คลัง กล่าว

              ด้าน นายวินิจฉัย แจ่มแจ้ง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า แม้ว่าหลายฝ่ายจะมีความวิตกกังวล กับการส่งออกไทยที่จะได้รับผลกระทบจากนโยบายการค้าที่เปลี่ยนแปลงของสหรัฐ แต่ยังเชื่อว่าหากดูย้อนหลังพรรครีพับลิกันจะได้รับการสนับสนุนจากภาคธุรกิจและเอกชน จึงไม่น่าจะออกมาตรการกีดกันทางการค้าเพิ่มขึ้น และทำให้การค้ามีความคล่องตัวมากขึ้น นอกจากนี้ ทั่วโลกมีกฎระเบียบขององค์การการค้าโลก (ดับเบิลยูทีโอ) และการค้าระดับภูมิภาค ซึ่งทุกประเทศต้องรักษากฎระเบียบที่มีอยู่เพื่อไม่เพิ่มมาตรการกีดกันทางการค้า

              ด้าน นายจิมมี่ โค หัวหน้าคณะนักเศรษฐศาสตร์ กลุ่มธนาคารยูโอบี ระบุว่าการก้าวเข้าสู่ตำแหน่งประธานาธิบดี ของนายทรัมป์ จะมีนัยเชิงลบต่อเอเชียในสามช่องทางได้แก่ การค้า ค่าเงิน และภูมิศาสตร์การเมืองในภูมิภาค

              ยูโอบี คาดว่า ส่งผลกระทบด้านลบต่อการค้าระหว่างสหรัฐและเอเชีย หากสหรัฐกลายเป็นประเทศที่มีการกีดกั้นทางการค้ามากขึ้น มีการตั้งกำแพงภาษีหรือล้มเลิกการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (ทีพีพี) และข้อตกลงทางการค้าอื่น พัฒนาการทางการค้ากับสหรัฐในทิศทางลบอาจผลักดันให้ประเทศเอเชียพึ่งพาการรวมกลุ่มกันเองในภูมิภาคและกับประเทศจีนมากขึ้น

              ค่าเงินน่าจะมีความผันผวนมากขึ้นในระยะต่อไป อัตราดอกเบี้ย สหรัฐที่จะปรับขึ้นและเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นจากการใช้แรงกระตุ้นทางการคลังที่สูงขึ้นของประธานาธิบดีทรัมป์ และการย้ายเงินเข้าสู่สินทรัพย์สกุลเงินดอลลาร์สรอ.ของธุรกิจขนาดใหญ่จะกดดันให้เงินสกุลเอเชียอ่อนค่าลง

              ส่วนภูมิศาสตร์การเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคอาจมีความตึงเครียดมากขึ้นภายใต้การเป็นประธานาธิบดีของนายทรัมป์เนื่องจากจากประกาศระหว่างการหาเสียงเลือกตั้งว่าต้องการสกัดการหาผลประโยชน์ของประเทศจีนในบริเวณทะเลจีนใต้

              "เราต้องการความชัดเจนมากกว่านี้ในการประเมินผลกระทบ ของนโยบายนายทรัมป์ให้แม่นยำ ในขณะนี้ยังไม่มีใครบอกได้ว่านายทรัมป์จะใช้นโยบายอะไร" หัวหน้าคณะนักเศรษฐศาสตร์ กลุ่มธนาคารยูโอบี กล่าว

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!