WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ดีลอยท์ แนะไทยใช้จุดแข็งต่อยอดเศรษฐกิจดึงดูดเม็ดเงินลงทุน หวังก้าวสู่ผู้นำบนเวทีอาเซียน ยกระดับสู่ประเทศที่มีรายได้สูง

       'ดีลอยท์'มองเศรษฐกิจโลกปีหน้าโตต่อเนื่อง 4.0%ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตามใกล้ชิด'อาเซียน'แนวโน้มเติบโตดีตามเศรษฐกิจโลก-รับเปิดเออีซีแนะไทยใช้จุดแข็งต่อยอดใน 4 ด้านสำคัญศูนย์กลางธุรกิจ-เพิ่มความสะดวกในการทำธุรกิจ-ลงทุนสู่ศูนย์กลางขนส่งอาเซียน-เป็นฐานลงทุนสู่ประเทศอื่นช่วยเพิ่มขีดความสามารถแข่งขันของประเทศดึงดูดเม็ดเงินต่างชาติหวังดันไทยขยับสู่ประเทศเศรษฐกิจที่มีรายได้สูงก้าวเป็นผู้นำในเวทีอาเซียน

    Deloitteสภศกดนายสุภศักดิ์ กฤษณามระ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดีลอยท์ (ประเทศไทย)เปิดเผยว่า ปี 2558 นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกมีโอกาสเติบโต 4.0% จากในปี 2557 ที่คาดว่าจะโตประมาณ 3.0%โดยเศรษฐกิจหลักของโลกยังมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องไม่ว่า จะเป็นสหรัฐยุโรป ญี่ปุ่น รวมถึงการ ขยายตัวอย่างต่อเนื่องในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกแต่ก็เป็นการเติบโตท่ามกลางความเสี่ยงที่ยังต้องเฝ้าจับตาดูใกล้ชิดไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศเช่น รัสเซียกับยุโรป หรือจีนกับสหรัฐ เป็นต้นภาวะโลกร้อนที่จะส่งผลต่อผลผลิตการเกษตรและการใช้พลังงานโลกความผันผวนของราคาสินค้าโภคภัณฑ์รวมถึงการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจซ้ำซ้อนของประเทศในสภาพยุโรปเนื่องจากภาวะหนี้สินภาคเอกชนและรัฐบาลที่อยู่ในระดับสูงและอัตราการว่างงานที่สูงในหลายประเทศ

    อย่างไรก็ตาม ภาพรวมของอาเซียนยังมีแนวโน้มเติบโตที่ดีตามการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกโดยในปีหน้าโดยคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัว 5.6% จากปี 2557 ที่ 4.8%โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่อยู่ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ประกอบด้วย ไทยกัมพูชา เมียนม่าร์ ลาว เวียดนาม และจีนตอนใต้จะลงทุนเพื่อพัฒนาโครงข่ายการขนส่งระหว่างประเทศและลดต้นทุนด้านการขนส่งลงเพื่อเข้าสู่การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) ในช่วงปลายปี 2558นี้

    “จากการสำรวจของ World Economic Forum 2557-2558ขีดความสามารถในการแข่งขันของ 144 ประเทศนั้น ไทยอยู่อันดับที่ 31และหากเทียบกับกลุ่ม ASEAN-5 แล้วไทยอยู่ตรงกลางโดยตามหลังสิงคโปร์(อันดับ 2) และมาเลเซีย (อันดับ 20)

   แต่นำหน้าอินโดนีเซีย (อันดับ 34) และฟิลิปปินส์ (อันดับ 52)ซึ่งหากไทยไม่ปรับปรุงและต่อยอดเพื่อให้ไทยหลุดออกจากกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูงอาจจะถูกอินโดนีเซียที่กำลังเร่งพัฒนาแซงหน้าขึ้นไปในอนาคตอันใกล้ได้เช่นกัน”

  นายสุภศักดิ์ ยังกล่าวอีกว่าการที่ประเทศไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันที่ดีจะดึงดูดเงินลงทุนจากต่างชาติทำให้เศรษฐกิจเจริญเติบโตต่อเนื่องและยกระดับความเป็นอยู่ของคนไทยให้ดีขึ้นโดยไทยสามารถดึงเอาศักยภาพของทรัพยากรมาใช้ประโยชน์และต่อยอดได้ใน4ด้านที่สำคัญ ได้แก่ 1) การเป็นศูนย์กลางของหลายธุรกิจ เช่น ยานยนต์การท่องเที่ยว การบิน นอกจากการที่ AECร่วมมือกับประเทศเศรษฐกิจชั้นนำในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกต่อเนื่องไปในอนาคตได้แก่ จีน อินเดีย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และ นิวซีแลนด์ (AEC+6)จะช่วยทำให้การค้าและการลงทุนขยายตัวอย่างต่อเนื่องอีกมาก2) การเพิ่มความสะดวกสบายในการลงทุนทำธุรกิจปัจจุบันไทยถูกจัดให้อยู่ในลำดับที่ 18 จากทั้งหมด 189 ประเทศที่ WorldBank Group ได้ทำการสำรวจ หากเปรียบเทียบกับกลุ่ม ASEAN แล้ว

    อันดับของไทยตามหลังเพียงสิงคโปร์ (อันดับ 1) และมาเลเซีย (อันดับ 6)โดยด้านที่ควรปรับปรุงจากการ สำรวจ ได้แก่ การแก้ไขปัญหากรณีล้มละลายการเสียภาษี การขอสินเชื่อ และการจดทะเบียนตั้งกิจการ3) การลงทุนในระบบขนส่งเพื่อเชื่อมโยงการคมนาคมและขนส่งในภูมิภาคอาเซียนและเป็นศูนย์กลาง ของอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงเพราะที่ตั้งของไทยมีความได้เปรียบเชิงภูมิศาสตร์อยู่แล้วทั้งการขนส่งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศถือเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญของประเทศไทยเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและเกื้อหนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว และ4) การใช้ไทยเป็นฐานเพื่อการลงทุนขยายธุรกิจไปยังกลุ่ม CLMV ซึ่งประกอบด้วยกัมพูชา ลาว เมียนม่าร์ และเวียดนาม

   “บริษัทข้ามชาติหลายแห่งที่ใช้บริการของดีลอยท์ได้ใช้ประเทศไทยเป็นฐานเพื่อต่อยอดธุรกิจไปยังกลุ่ม CLMV ที่มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียนเนื่องจากรัฐบาลไทยมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนที่ให้ผลประโยชน์ทั้งในด้านภาษีและด้านอื่นๆอาทิ มาตรการสนับสนุนการจัดตั้งสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค (RegionalOperating Headquarter : ROH)เป็นต้น”

    นายสุภศักดิ์ กล่าวเสริมว่านอกจากด้านของโอกาสแล้วในด้านของอุปสรรคที่จะมากระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทยก็มีเช่นกัน ที่สำคัญได้แก่ การกีดกันทางการค้า (Trade Barriers)แม้ว่าสมาชิกอาเซียนจะทยอยปรับลดภาษีศุลกากรจนเหลือ 0-5%ตามแผนการรวมตัวเป็น AEC ก็ตามแต่สมาชิกทุกประเทศยังคงใช้มาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี(Non-Tariff Barriers- NTBs)กับสินค้าที่ส่งออกมาจากประเทศสมาชิกเพื่อปกป้องผู้ประกอบการภายในประเทศของตัวเองไม่เพียงเท่านี้ยังมีการแข่งขันจากต่างประเทศที่รุนแรงมากขึ้น เช่นเกาหลีใต้ จีน และอินเดีย เป็นต้นทั้งในอุตสาหกรรมการผลิตและบริการจนบางอุตสาหกรรม เช่นสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม อาหารผู้ประกอบการไทยต้องย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่ต้นทุนถูกกว่าหรือมีตลาดผู้บริโภคขนาดใหญ่ดึงดูดใจให้ลงทุน

   “อีกอุปสรรคที่สำคัญ คือ ระดับความแตกต่างของปัจจัยพื้นฐานด้านเศรษฐกิจและสังคมของสมาชิก AEC อาทิ อัตราการรู้หนังสือ รายได้ต่อหัวประชากรอัตราการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตของประชากร และอื่นๆสิ่งเหล่านี้อาจเป็นอุปสรรคสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อความสำเร็จในการรวมกลุ่มAEC”

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!