WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

CIMBT ปรับลดคาดการณ์จีดีพีปี 58 เหลือ 3.3% จากเดิม 4.5% หลังเศรษฐกิจฟื้นตัวช้า-หนี้ครัวเรือนสูง

    CIMBT ปรับลดคาดการณ์จีดีพีปี 58 เหลือ 3.3% จากเดิม 4.5% หลังเศรษฐกิจฟื้นตัวช้า-หนี้ครัวเรือนสูง  เผยไทยเสี่ยงเป็นเหยื่อสงครามค่าเงิน หลังเผชิญกับการส่งออกหดตัวเป็นเวลานาน มองค่าบาทปลายปี 58 แตะ 34-36 บาทต่อดอลล์

    นายอมรเทพ จาวะลา ผู้อำนวยการ สำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน)หรือ CIMBT เปิดเผยว่า ธนาคารปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพีไทยปี 2558 ลงเหลือ 3.3% จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวได้ 4.5%เนื่องจากเศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัวช้าแบบค่อยเป็นค่อยไป ขณะที่การบริโภคยังเผชิญปัญหาหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูงและราคาสินค้าเกษตรที่ตกต่ำ การส่งออกที่ยังชะลอตัว  

    นอกจากนี้  ไทยยังกำลังเผชิญกับความท้าทายที่สำคัญจากต่างประเทศ คือ สงครามค่าเงินในภูมิภาคเอเชีย วิกฤติรัสเซีย และการปรับลดของราคาน้ำมัน ซึ่งไทยจะได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะทั้งจากทางด้านความผันผวนทางเศรษฐกิจ ตลาดเงิน และตลาดทุน ดังนั้น ไทยจะต้องเตีรยมความพร้อมเพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต  

 "ความเสี่ยงในประเทศหลักๆ คือความรวดเร็วในการเบิกจ่ายงบลงทุนภาครัฐ หากทำได้ก็จะช่วยฟื้นเศรษฐกิจำทยได้ แต่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะแม้จะมีในเรื่องของการลงทุนจากภาครัฐและเอกชน การลงทุนในปีหน้ายังเร่งตัวได้ไม่มากนัก จากขั้นตอนการเบิกจ่ายงบ และจากสภาพคล่องในตลาดการเงินที่จะเริ่มตึงตัวมากขึ้นตามการเร่งตัวของสินเชื่อเมื่อเศรษฐกิจฟื้น"นายอมรเทพ กล่าว  

    นายอมรเทพ กล่าวว่า สำหรับปัจจัยเสี่ยงต่างประเทศที่ถือเป็นประเด็นใหม่ คือ วิกฤตืรัสเซียมีแนวโน้มจะเข้าสู่ภาวะถดถอยในปีหน้า หลังจากที่สหภาพยุโรปใช้มาตรการคว่ำบาตร อีกทั้งราคาน้ำมันที่ลดลงต่อเนื่อง ทำให้รัฐบาลรัสเซียสูญเสียรายได้หลัก ค่าเงินรัสเซียอ่อนค่าไปเกือบครึ่ง จากภาวะเงินไหลออกส่งผลให้เกิดวิกฤติค่าเงิน แม้ทางธนาคารกลางรัสเซียจะขึ้นดอกเบี้ยมาถึง 17%

    อย่างไรก็ตาม รัสเซียไม่ได้เชื่อมโยงกับตลาดการเงินโลกมากเท่ากับอีกหลายประเทศ จึงยังไม่น่าห่วงว่าวิกฤตืการเงินในรัสเซียจะลามไปฝั่งยุโรป  ส่วนผลกระทบต่อไทยจะมี 3 ด้าน คือ ด้านตลาดการเงิน การส่งออกและการท่องเที่ยว แม้รัสเซียจะไม่ใช่ตลาดพันธบัตรและตลาดส่งออกหลักก็ตาม  แต่ต้องส่งผลทางอ้อมหากยุโรปซึ่งเป็นคู่ค้าหลักของรัสเซียชะลอตัวทำให้การส่งออกของไทยไปยุโรป ลดลง การส่งออกรถยนต์และชิ้นส่วนไปรัสเซียอาจได้รับผลกระทบต่อเนื่องจากปีนี้ แต่สินค้าเกษตรที่เติบโตได้ดียังน่าจะเติบโตได้ในปีหน้า  

    สำหรับ สถานการณ์ราคาน้ำมันที่ลดลงต่อเนื่อง ประเทศไทยซึ่งนำเข้าสุทธิน้ำมันราว 10% ของจีดีพี และอาศัยแหล่งพลังงานอื่นไม่มากนัก ดังนั้นราคาน้ำมันจะลดลง แต่ไทยต้องเร่งปรับปรุงโครงสร้างพลังงานต่อไป โดยในช่วงที่ราคาน้ำมันตกต่ำ กลุ่มที่ได้ประโยชน์คืออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวและขนส่ง อุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตรพวกยางและปาล์มจะได้ประโยชน์จากต้นทุนที่ต่ำลง ส่วนกลุ่มที่ได้รับผลกระทบ คือ การขุดเจาะน้ำมันและแก๊ซธรรมชาติ รวมทั้งราคาสินค้าเกษตร เช่น ยาง ปาล์ม อ้อย และข้าวอาจลดลงตามราคาน้ำมัน ซึ่งจะส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้ต่ำต่อไป 

 นอกจากนี้  ในปี 2558 ไทยมีความเสี่ยงที่จะตกเป็นเหยื่อสงครามค่าเงิน เนื่องจากไทยเผชิญปัญหาการส่งออกหดตัวเป็นเวลานาน  โดยมีปัจจัยหลักจากปัญหาโครงสร้างที่พึ่งพาสินค้าเทคโนโลยีต่ำและสินค้าเกษตรที่ตลาดโลกเปลี่ยนความต้องการ และในระยะสั้นการส่งออกดูจะมีปัญหาหนักอีกชั้น หลังจากที่ค่าเงินในภูมิภาคอ่อนแรงแต่ค่าเงินบาทกลับอยู่นิ่งๆ ส่งผลให้ค่าเงินบาทไม่ได้ช่วยให้ภาคการส่งออกเกิดความสามารถในการแข่งขัน  

 สำหรับ ที่ผ่านมา เงินเยนอ่อนค่าแรงจนส่งผลให้ประเทศที่ส่งออกสินค้าคล้ายกับญี่ปุ่น เสียความสามารถในการส่งออกจึงต้องปล่อยให้เงินอ่อนค่า ซึ่งมีเกาหลีใต้ ไต้หวัน สิงคโปร์ ต่อมาราคาน้ำมันลดรวดเร็ว การส่งออกของมาเลเซียและอินโดนีเซียก็ถูกกระทบ ทำให้ค่าเงินทั้ง 2 ประเทศนี้อ่อนค่าลง  ขณะที่ค่าเงินบาทไม่ได้อ่อนค่าตามภูมิภาคและกระทบกับการส่งออก   

     ขณะเดียวกัน ไทยก็มีโอกาสจะเป็นชนวนสงครามค่าเงินเสียเอง กรณีที่หากในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง.ในครั้งต่อไปมีการประกาศลดอัตราดอกเบี้ย เพื่อลดความน่าสนใจของสินทรัพย์ไทย ลดการไหลเข้าของเงินทุนต่างประเทศ ซึ่งจะทำให้บาทอ่อนค่าเพื่อช่วยผู้ส่งออกนั้น จะเป็นการประกาศสงครามค่าเงินในภูมิภาค

     ทั้งนี้ มองว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)น่าจะใช้วิธีผ่อนปรนมาตรการเงินไหลออกไปต่างประเทศให้มากขึ้นแทน  ส่วนแนวโน้มค่าเงินบาทนั้น มองว่า ในช่วงปลายปี 2558 มีโอกาสที่ค่าเงินบาทจะอ่อนค่าไปแตะที่ระดับ 34.00บาทต่อดอลลาร์ หากสหรัฐฯมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย อีกทั้งการที่ทางการญี่ปุ่นผ่อนคลายมาตรการทางการเงินมากขึ้น จะเป็นปัจจัยให้เงินบาทอ่อนค่า แต่กรณีที่ กนง.ปรับลดอัตราดอกเบี้ย เพื่อเดินเกมความน่าสนใจของสินทรัพย์ไทย ซึ่งเท่ากับว่าเราประกาศสงครามค่าเงินในภูมิภาคนั้น อาจได้เห็นค่าเงินบาทแตะที่ระดับ 36.00 บาทต่อดอลลาร์ได้ 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!