WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

2599 finbiz CBAM01

finbiz by ttb แนะ CBAM และ Thailand Taxonomy กลไกสีเขียว รู้ก่อน ปรับตัวไว สร้างโอกาสให้ธุรกิจ

          การนำพาธุรกิจสู่โลกแห่งความยั่งยืน และต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ผู้ประกอบการจำเป็นต้องเรียนรู้เรื่องราวใหม่ๆ มากมาย วันนี้ finbiz by ttb จะพาไปรู้จักกับ CBAM และ Thailand Taxonomy ว่ามีผลกระทบอย่างไรต่อธุรกิจ เพื่อให้ผู้ประกอบการปรับเข็มทิศธุรกิจ เตรียมรับมือความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงตลาดใหม่ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นได้ก่อนใคร 

 

          มาตรการ CBAM : การปล่อยก๊าซเรือนกระจกมี “ราคา” ที่ต้องจ่าย 

          ปัจจุบันประเทศต่างๆ ทั่วโลกตั้งเป้าหมายบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero GHG Emission) ในปี 2050 หรือ 2065 ส่งผลให้ในแต่ละปี สินค้าหรือบริการต้องแทบจะไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือ เหลือไม่เกิน 10% ซึ่งที่ผ่านมามีการใช้กลไกการกำหนดราคาคาร์บอน เช่น ทุกธุรกิจในสหภาพยุโรปที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก จะมี “ราคา” ที่ต้องจ่าย นำมาซึ่ง “ต้นทุน” ที่เพิ่มขึ้น ในรูปของภาษีคาร์บอน (Carbon Taxes) และระบบซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น รัฐบาลให้สิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โควตา 1 ใบ เท่ากับ 1 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ในปีนั้น หากปล่อยก๊าซเรือนกระจกเกินก็จะต้องซื้อใบสิทธิเพิ่ม

          CBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism) คือ มาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน ที่กำหนดให้ผู้ประกอบการการค้าระหว่างประเทศที่นำสินค้าประเภทที่กำหนดเข้ามาขายในสหภาพยุโรป เพื่อป้องกันการนำเข้าสินค้าที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงเข้ามา โดยมาตรการ CBAM เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2023 กับสินค้า 6 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ เหล็ก อลูมิเนียม ซีเมนต์ ปุ๋ย ไฟฟ้า และไฮโดรเจน ทำให้ทุกประเทศจะมี “ต้นทุนคาร์บอน” เกิดขึ้น เพราะ CBAM จะบีบบังคับให้ประเทศคู่ค้าเริ่มมีกลไกราคาคาร์บอนเป็นของตนเอง เช่น ถ้าผู้ประกอบการไทยส่งออกสินค้าไปยังประเทศในสหภาพยุโรป ก็ต้องจ่ายภาษีคาร์บอนข้ามแดน อาจกล่าวได้ว่า CBAM เป็นหนึ่งในส่วนประกอบสำคัญที่ช่วยเร่งระบบเศรษฐกิจ Net Zero ให้ไปได้เร็วขึ้น

          นอกจากนี้ การที่ภาครัฐออกกฎหมายที่มากระทบโดยตรง ทำให้ธุรกิจต้องหาทางปรับตัวด้วยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในทุกวิถีทาง เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงสินเชื่อหรือเงินกู้สีเขียวจากธนาคาร ขณะเดียวกันผู้บริโภคก็ต้องการสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น หากผู้ประกอบการบรรลุโอกาสเหล่านี้ได้ ก็จะสามารถเข้าถึงตลาดที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ดังนั้น เรื่อง Climate Change ทุกธุรกิจจะทยอยได้รับผลกระทบเป็นระลอก เพราะในอนาคตทุกตันคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมา ต้องจ่ายเป็นเงินทั้งหมด หากไม่ทำอะไร รายได้ย่อมลด กำไรหาย ส่งผลต่อการอยู่รอดของธุรกิจแน่นอน หลายบริษัทจึงเริ่มปรับตัวโดยผนวก Climate Change เข้าไปเป็นหัวใจของการทำธุรกิจ

 

          ความจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อลดความเสี่ยงทางธุรกิจ

          มาตรการ CBAM เริ่มใช้กับ 6 กลุ่มสินค้าหลัก แต่สหภาพยุโรปเตรียมขยายไปยังกลุ่มสินค้าอื่นๆ อีก แม้ว่าประเทศไทยจะไม่ใช่ผู้ส่งออกรายใหญ่ของสหภาพยุโรป จึงอาจไม่ได้รับผลกระทบมากนัก แต่ CBAM จะเป็นตัวเร่งสำคัญที่ทำให้กลไกราคาคาร์บอนกระจายไปทั่วโลกอย่างรวดเร็วในอนาคต ไม่ว่าจะนำเข้า-ส่งออกไปที่ประเทศใดล้วนมีต้นทุนคาร์บอนที่ต้องจ่ายแน่นอน และมีผลกระทบต่อความสามารถทางการแข่งขัน ผู้ประกอบการการค้าระหว่างประเทศจึงต้องมีการปรับตัวและเตรียมความพร้อมที่ดี ซึ่งมาตรการ CBAM แบ่งออกเป็น 2 เฟส 

          ● เฟสที่ 1 Transitional Period หรือช่วงเปลี่ยนผ่าน เริ่มตั้งแต่ 1 ตุลาคม ปี 2023 ที่ผ่านมา

          ● เฟสที่ 2 Definitive Period หรือช่วงบังคับใช้ โดยแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ปี 2026-2033 และปี 2034 เป็นต้นไป

 

2599 finbiz CBAM02

 

          สำหรับผู้ประกอบการที่กำลังหาแนวทางในการเริ่มต้น แนะนำให้เริ่มจากการวัดปริมาณการปล่อยคาร์บอนในระดับองค์กร ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคมของปีนั้นๆ คล้ายกับการทำงบการเงิน ซึ่งสิ่งนี้จะเรียกว่า “คาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร” รวมทั้งวัดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากสินค้าแต่ละหน่วย ตลอดวัฏจักรชีวิตของสินค้า เรียกว่า “คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์” เก็บเป็นข้อมูลเพื่อจัดทำรายงาน 

          Climate Change ไม่ใช่เรื่องสิ่งแวดล้อม แต่เป็นความเสี่ยงทางธุรกิจ การจะเข้าถึงเส้นชัยได้ ผู้ประกอบการต้องรู้ข้อมูล วัดข้อมูลก่อนว่าองค์กรปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่าไร แล้วค่อยลงมือเปลี่ยนผ่านธุรกิจหรือองค์กร เพื่อไปให้ถึง Net Zero ทำให้องค์กรแข็งแรงขึ้นเรื่อยๆ และพร้อมคว้าโอกาสต่างๆ ที่รออยู่ในโลกอนาคต

 

          Taxonomy มาตรฐานใหม่สู่ความยั่งยืน

          Taxonomy เป็นเครื่องมือที่สำคัญอีกตัวในการส่งเสริมเศรษฐกิจที่ยั่งยืนของประเทศ เพราะความท้าทายที่ต้องตั้งรับวิกฤตด้านสภาพภูมิอากาศ จึงจำเป็นต้องเพิ่มการระดมทุนจากแหล่งต่างๆ เพื่อมาส่งเสริมเป้าหมายด้านความยั่งยืน ส่งผลให้ตลาดการเงินเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Finance) เติบโตมากในระดับโลก ผ่านเครื่องมือต่างๆ เช่น Green Bond, Green Loan โดยปี 2022 เติบโตอยู่ที่ 858.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนตลาดอาเซียนอยู่ที่ 36 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยประเทศไทยเป็นตลาดการเงินเพื่อความยั่งยืนที่เติบโตเป็นอันดับ 2 ของอาเซียน ดังนั้น ประเทศต่างๆ จึงต่างมองหาเครื่องมือมาสนับสนุนการสร้างความน่าเชื่อถือ ตอบโจทย์การลงทุนสีเขียว (Green Finance) 

          Taxonomy เป็นคำนิยามที่ใช้จำแนกและจัดกลุ่มกิจกรรม สินทรัพย์ และส่วนรายได้ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือสอดคล้องกับเป้าหมายความยั่งยืน ภาคธุรกิจอาจใช้ Taxonomy เป็นคู่มืออ้างอิงในการจัดพอร์ตโฟลิโอกิจกรรม เก็บและเปิดเผยข้อมูลด้านการดำเนินงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นเอกสารที่มีการอัปเดตเสมอ ซึ่งช่วยสร้างความชัดเจนและความโปรงใสเรื่องการลงทุนสีเขียว และป้องกันการกล่าวอ้างเกินจริง หรือการฟอกเขียว (Green Washing) อีกทั้งยังดึงดูดเงินลงทุนจากต่างประเทศที่มุ่งลงทุนในกิจกรรมเพื่อความยั่งยืนต่างๆ ที่อ้างอิงกับคำนิยามสากล 

          สำหรับประเทศไทยได้พัฒนาขึ้นมาเป็น Thailand Taxonomy มีเป้าหมายเพื่อลดก๊าซเรือนกระจก และลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดย Thailand Taxonomy ระยะที่ 1 ครอบคลุมภาคพลังงานและการขนส่ง มีเกณฑ์การประเมินจากกิจกรรม 3 ระดับ ได้แก่ 

          สีเขียว คือ กิจกรรมที่มีการดำเนินงานเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็น Net Zero แล้ว หรือใกล้เคียงแล้วในปัจจุบัน เช่น การผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ไฟฟ้าพลังงานลม ฯลฯ มักใช้กับกิจกรรม สินทรัพย์หรือเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น ยานยนต์พลังงานไฟฟ้าในภาคการขนส่ง 

          สีเหลือง คือ กิจกรรมที่มีศักยภาพสามารถไปสู่ความเป็น Net Zero ได้ โดยมีแผนการเปลี่ยนผ่านตามเส้นทางการลดคาร์บอนและกรอบเวลาที่น่าเชื่อถือ ส่วนใหญ่ใช้กับการปรับปรุงเทคโนโลยีที่มีอยู่เดิมให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เช่น โรงไฟฟ้าชีวภาพที่มีแผนปรับปรุงเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงในระยะสั้น 

          สีแดง คือ กิจกรรมที่ไม่สามารถพิจารณาได้ว่าสนับสนุนเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และที่สำคัญคือ อยู่นอกเหนือขอบเขตการเปลี่ยนผ่านที่น่าเชื่อถือ เช่น โรงไฟฟ้าถ่านหิน ฯลฯ และสมควรที่จะลด หรือยุติการใช้ให้เร็วที่สุด 

          ผู้ประกอบการสามารถลองนำ Taxonomy มาใช้กับพอร์ตโฟลิโอได้ โดยแยกบริษัทออกเป็น “กิจกรรมย่อย” แล้วพิจารณาดูว่าแต่ละกิจกรรมอยู่ในระดับสีอะไร มีสีเขียว สีเหลืองกี่เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ กิจกรรมสีเขียวและสีเหลืองต้องไม่สร้างผลกระทบเชิงลบอย่างมีนัยสำคัญต่อการให้บรรลุวัตถุประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อมอื่นๆ และคำนึงถึงผลกระทบด้านสังคมไปพร้อมๆ กัน 

          Taxonomy ถือเป็นเทรนด์ของโลก การที่ประเทศไทยพัฒนา Taxonomy ขึ้นมาใช้ ก็เหมือนมี “ตะแกรง” ที่สร้างความชัดเจนและสร้างโอกาสให้กับธุรกิจของประเทศไทย แม้ Taxonomy จะยังเป็นเครื่องมือที่ใช้อ้างอิงตามความสมัครใจ ยังไม่ได้ออกเป็นกฎหมาย แต่ผู้ประกอบการสามารถใช้ Taxonomy เป็นเข็มทิศในการลงทุน เพื่อเตรียมตัวสร้างพอร์ตโฟลิโอของการลงทุนสีเขียว ซึ่ง Thailand Taxonomy ระยะที่ 2 จะมีการขยายไปถึงภาคเศรษฐกิจอื่นๆ เพิ่มขึ้น เช่น ภาคการผลิต ภาคการเกษตร 

 

ที่มา : งานสัมมนา Sustainable Growth - The Way to Business of the Future โดย ttb

 

 

2599

Click Donate Support Web 

SME 720x100 66

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

EXIM One 720x90 C J

MTL 720x100

QIC 720x100

AXA 720 x100aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

SME 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

gen 720x100

TOA 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!