WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Kbankจงรก รตนเพยรกสิกรไทย ชี้การควบรวมและซื้อกิจการมาแรง ธุรกิจไทยกว้านซื้อกิจการในอาเซียนเกือบ 200,000 ล้านบาท

   บริษัทไทย-เทศแห่ซื้อกิจการหวังขยายธุรกิจแบบก้าวกระโดดรองรับเออีซี กสิกรไทยเผยแนวโน้มการควบรวมและซื้อกิจการสำหรับธุรกิจรายใหญ่มีสถิติการเติบโตต่อเนื่อง ช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันและเพิ่มประสิทธิภาพการสร้างเครือข่ายให้แข็งแกร่ง ทำให้ปริมาณธุรกรรมมีมูลค่าและทิศทางในการขยายการลงทุนสู่ตลาดที่มีศักยภาพใหม่ๆ มากขึ้น

  นายจงรัก รัตนเพียรรองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ปัจจุบันการควบรวมและซื้อกิจการ (Merger and Acquisition: M&A) เป็นช่องทางการขยายธุรกิจที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ทั้งในรูปแบบธุรกรรมที่บริษัทไทยไปซื้อกิจการบริษัทในต่างประเทศ บริษัทต่างชาติเข้ามาซื้อกิจการของบริษัทคนไทย และบริษัทไทยซื้อกิจการในประเทศไทย

   ทั้งนี้ นักลงทุนไทยสนใจที่จะขยายการลงทุนในรูปแบบการซื้อหรือควบรวมกิจการในต่างประเทศ (Outbound M&A) เพื่อเพิ่มศักยภาพของธุรกิจไปยังตลาดต่างประเทศ โดยกลุ่มเอเชียแปซิฟิกเป็นภูมิภาคอันดับ 1 ที่นักลงทุนไทยสนใจเข้าไปลงทุนจากปัจจัยที่ตั้งและวัฒนธรรมที่ใกล้เคียง อีกทั้งเอเซียแปซิฟิคยังเป็นภูมิภาคที่ร้อนแรงของธุรกรรม M&A จากทั่วโลก เนื่องจากเป็นตลาดใหญ่ที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะตลาดอาเซียนที่มีประชากรกว่า 620 ล้านคนดันให้ธุรกรรม Outbound M&A ของไทยเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยในปี 2556 ที่ตัวเลข Outbound M&A จากไทย พบว่ามีมูลค่าเพิ่มจากราว 0.15% ของจีดีพีในช่วงปี 2552-2554 มาอยู่ที่1.3% ของจีดีพีหรือกว่า 175,000 ล้านบาทระหว่างปี 2555-2558 ซึ่งอยู่ในระดับเดียวกับประเทศพัฒนาแล้วอย่างสิงคโปร์

    นอกจากนี้ อาเซียนยังมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่คาดว่าใน 3 ปีข้างหน้าจะอยู่ที่ 4.6-4.9%โดยเฉพาะกลุ่มประเทศ CLMV ที่มีอัตราการขยายตัวราว 7% เทียบกับประเทศไทยที่อาจโตได้เพียง 3.2-3.6%เท่านั้น โดยคาดว่ากลุ่ม CLMV จะมีกำลังซื้อในเขตเมืองเพิ่มขึ้นจาก 6.3 ล้านล้านบาท ในปี 2556 เป็น8.05 ล้านล้านบาทในปี 2563 หรือโตถึง 4% ต่อปี CLMV จึงยังเป็นกลุ่มประเทศหลักของ Outbound M&A ของธุรกิจไทยต่อไป โดยอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ธุรกิจไทยให้ความสนใจการเข้าซื้อกิจการ ได้แก่ อุตสาหกรรมกลุ่มสินค้าบริโภคอุปโภคและอุตสาหกรรมบริการ โดยคาดว่ากลุ่มบริการจะมีจำนวนดีลสูงที่สุดขณะที่การควบรวมและซื้อกิจการของบริษัทต่างชาติที่มีต่อกิจการในประเทศไทย (Cross-Border M&A) ขยายตัวเพราะต้องการใช้ไทยเป็นฐานการลงทุนเพื่อต่อยอดไปยังตลาด AEC เนื่องจากไทยเป็นศูนย์กลางในภูมิภาค

     ส่วนการควบรวมและซื้อกิจการระหว่างธุรกิจไทยกับไทย (Domestic M&A) ส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ อาหารและเครื่องดื่ม เคมีภัณฑ์ และธุรกิจด้านสุขภาพ โดยคาดว่ากลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จะยังมีโอกาสขยายตัวต่อเนื่องจากกระแสการขยายตัวของเขตเมือง (Urbanization) และแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ทั่วประเทศ รวมถึงแผนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษเช่นเดียวกับอุตสาหกรรมเกี่ยวกับสุขภาพที่มีแนวโน้มการขยายตัวของประชากรที่ใส่ใจต่อสุขภาพมากขึ้น

    นายจงรัก กล่าวเพิ่มเติมว่า ธุรกิจไทยที่มีความแข็งแกร่งทั้งในด้านตราสินค้าและการดำเนินงาน และยังมีเงินสดสัดส่วนเกินสะสมสูง ควรเริ่มหาบริษัทเป้าหมายที่มีศักยภาพร่วมเป็นพันธมิตร โดยเน้นการเสริมความแข็งแกร่งของแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักในระดับภูมิภาค โดยเฉพาะในอาเซียนมากยิ่งขึ้นหรือหาพันธมิตรที่มีความแข็งแกร่งทางด้านแบรนด์อยู่แล้วในตลาดเป้าหมาย เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจสู่ตลาดที่กว้างและใหญ่ขึ้นอย่างตลาดอาเซียนที่เอื้อทั้งศักยภาพการเติบโตและประชากรจำนวนมหาศาล หรือการเข้าสู่ตลาดศักยภาพสูงในภูมิภาคอื่นๆ ทั่วโลก ซึ่งธนาคารกสิกรไทย พร้อมในการให้บริการและคำปรึกษาแก่ลูกค้าในทำธุรกรรมการควบรวมและซื้อกิจการทั้งในและต่างประเทศ โดยมีทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่มีความเข้าใจและติดตามสภาวการณ์ของอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างใกล้ชิด

KBank reports outbound M&As by Thai companies in ASEAN totaling almost 200 billion Baht

    KASIKORNBANK sees bright prospects for mergers and acquisitions (M&As) as major companies pursue inorganic growth ahead of the ASEAN Economic Community (AEC) inception. With M&As, businesses can strengthen their competitiveness and network efficiency, thereby adding value to their transactions and expanding to new high-growth potential markets.

    According to Mr. Chongrak Rattanapian, KBank Executive Vice President, M&A deals are booming, with Thai companies acquiring businesses at home and abroad, and foreign firms buying Thai businesses.

    As for outbound M&As, Asia Pacific is the top target region among Thai acquirers that wish to extend their business potential in overseas, due mainly to its location and culture that is similar to Thailand’s; the region is also one of the world’s most popular M&A destinations given its large, high-quality market. Moreover, Thailand’s outbound M&As in ASEAN, home to 620 million consumers, have jumped rapidly from 0.15 percent of GDP during 2009-2011 to 1.3 percent, or 175 billion Baht, during 2012-2015 - a level close to that of developed nations like Singapore. The growth was outstanding during 2013 in particular.

    Over the next three years, ASEAN economic growth is expected to average 4.6-4.9 percent, with strong growth momentum clustering in the CLMV group at an average expansion rate of 7 percent, while Thai economy is likely to register around 3.2-3.6 percent growth over the same period. In addition, CLMV consumers will see spending power in their urban areas jumping from 6.3 trillion Baht in 2013 to 8.05 trillion Baht in 2020, or an average annual growth rate of 4 percent, therefore maintaining this economic group as Thailand’s major investment target.  As for industries, Thai firms are eyeing consumer products, as well as service businesses, the areas which are expected to see the most M&A deals. Cross-border M&As by foreign businesses in the Thai market – perceived as the regional hub – are also expected to flourish as they wish to build a production base here to tap the AEC market.

    Meanwhile, the domestic M&As conducted by Thai companies are focused mostly on the sectors of property, food and beverages, chemical products and healthcare. Bright prospects are expected for the property sector where growth will remain healthy, given urbanization, implementation of many infrastructure projects nationwide, and special economic zone development. The healthcare industry tends to soar as well, due mainly to increasingly health-conscious consumers.

   To build presence in ASEAN, a fast-growing, large-sized market, major Thai firms with strong brands, established operations and high cash surplus are recommended to explore regional partnerships towards brand building across ASEAN, or to seek partners with solid regional brands. With this strategy, Mr. Chongrak added, Thai operators’ business opportunities in ASEAN or other high-growth potential markets will increase significantly. With experts that fully grasp and stay up-to-date on the overall industrial situations, KBank stands ready to offer services and advice in M&A transactions, in both the domestic and international markets.

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!