WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

บทสรุปการวิเคราะห์มุมมองเศรษฐกิจไทย (Outlook) ไตรมาสที่ 3 ปี 2557

     อีไอซี ประเมินเศรษฐกิจไทยในปี 2557 ขยายตัว 1.6% โดยเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังจะได้รับแรงสนับสนุนจากอุปสงค์ในประเทศชดเชยการส่งออกที่มีแนวโน้มการขยายตัวต่ำกว่าที่คาดไว้เดิม ปัจจัยบวกต่อแนวโน้มเศรษฐกิจได้แก่ 1) สถานการณ์การเมืองที่มีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้นภายหลังคณะกรรมการรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (คสช.) เข้ามาบริหารประเทศ ซึ่งเสถียรภาพการเมืองนี้ส่งผลอย่างชัดเจนต่อความเชื่อมั่นภาคเอกชน 2) การเร่งเบิกจ่ายงบประมาณลงทุนภาครัฐ รวมไปถึงการให้ความสำคัญต่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานหลายโครงการ และ 3) การช่วยเหลือเกษตรกรผ่านการจ่ายคืนค่าจำนำข้าวให้แก่เกษตรกรและแนวคิดการช่วยเหลือธุรกิจ SMEs ผ่านการให้สินเชื่อต่างๆ อย่างไรก็ตามปัจจัยลบต่ออุปสงค์ภายในประเทศยังคงมีอยู่เช่นกันทั้งจากแนวโน้มการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปของการบริโภคภาคเอกชนเนื่องจากแรงกดดันด้านรายได้ และภาระหนี้ครัวเรือน รวมไปถึงการตรวจสอบการใช้จ่ายภาครัฐจากคณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.) และคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ (ซูเปอร์บอร์ด) ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีในด้านความโปร่งใส แต่อาจส่งผลให้การลงทุนภาครัฐในบางส่วนมีความล่าช้า

     อีไอซี คาดการส่งออกไทยปีนี้ขยายตัวในระดับ 1% ซึ่งต่ำกว่าการคาดการณ์เดิมค่อนข้างมาก เป็นผลจาก 4 ปัจจัยหลัก ได้แก่ 1) การลดลงอย่างต่อเนื่องของราคาสินค้าโภคภัณฑ์เกษตร 2) การชะลอตัวของอุปสงค์จากประเทศตลาดเกิดใหม่ซึ่งกระทบชัดเจนต่อสินค้าในหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้า และรถยนต์ 3) การปรับเปลี่ยนโครงสร้างการส่งออกรถยนต์ โดยมีการเพิ่มขึ้นของสัดส่วนรถอีโคคาร์ที่มีราคาต่อหน่วยต่ำกว่ารถประเภทอื่นๆ และ 4) การสูญเสียความนิยมของสินค้าอิเลกทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งสินค้าเทคโนโลยีล้าสมัยมีสัดส่วนอย่างน้อย 7% ของการส่งออกไทยทั้งหมด ทั้งนี้ อีไอซีประเมินการส่งออกของไทยมีแนวโน้มเร่งตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงครึ่งหลังของปี 2557 และจะขยายตัวได้ในระดับ 1%

      อีไอซี ประเมินค่าเงินบาทในช่วงครึ่งหลังของปีมีแนวโน้มอ่อนค่าลงเป็น 33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ถึงแม้ว่าค่าเงินบาทจะมีการแข็งค่าขึ้นในระยะที่ผ่านมาจากเสถียรภาพการเมืองภายในประเทศที่ดีขึ้น แต่อีไอซีประเมินว่าค่าเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าลงในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ เนื่องจาก 1) ภาวะเงินทุนไหลออกจากประเทศตลาดเกิดใหม่ ซึ่งเป็นผลจากแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯที่เร็วกว่าการคาดการณ์เดิม 2) อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยที่มีแนวโน้มคงอยู่ที่ 2% ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ และเป็นระดับต่ำกว่าประเทศอื่นในภูมิภาคพอสมควร และ 3) การส่งออกที่คาดว่าจะฟื้นตัวได้เพียงเล็กน้อย และไม่ช่วยดุลการค้ามากนัก

Summary of EIC’s Economic Outlook Briefing (Quarter 3/2014)

     Thailand's domestic demand recovery to support 1.6% GDP growth in 2014. In its third-quarter economic forecast, Siam Commercial Bank’s Economic Intelligence Center (EIC) maintains its projection that Thailand's GDP will grow by 1.6% in 2014, as recovering domestic demand compensates for lackluster growth in exports. Positive factors in Thailand's domestic economic outlook are:

      1) Greater political stability following the coup in late May, which has clearly lifted private sentiment from its long slump, 2) The government's acceleration of capital spending and prioritization of infrastructure investment plans, and

      3) Government support to farmers via payments due under the rice mortgage scheme and to SMEs by encouraging commercial banks to increase lending. Yet the ongoing domestic demand recovery faces two partial constraints:

      1) Any increase in private consumption will be slowed by high levels of household indebtedness coupled with income growth that lags rising costs, and 2) Possible delays in some government disbursements resulting from extra scrutiny by the junta-installed panel that will monitor the state budget and by the "superboard" monitoring state enterprises, although these committees will improve transparency.

      EIC estimates Thai exports will grow by just around 1%, a much lower rate than previously forecast. This is due to 1) Lower world prices for farm goods and commodities, 2) Slower demand from emerging markets, which has eroded exports of electronics, electrical appliances and cars, 3) A structural change in the value of car exports related to the increasing proportion of low-priced eco cars, and 4) Growing outmodedness of computer parts and certain consumer electronics that account for at least 7% of total Thai exports. EIC forecasts that Thailand's exports will speed up in the second half of 2014, growing by approximately 1% this year.

     EIC expects that the Thai baht will weaken to 33 baht per dollar by year-end, even though the currency has appreciated recently due to increased political stability. The factors depreciating the Thai currency in the second half of this year are: 1) Capital outflows from emerging markets due to the likelihood that the U.S. Federal Reserve Bank will hike its key interest rate sooner than anticipated, 2) Potential that the Bank of Thailand's policy rate will be held steady at 2% throughout the year's second half which is significantly lower than others countries in the region, and 3) The pace of export recovery remaining too slow to boost the trade account. 

สื่อสารองค์กร ธนาคารไทยพาณิชย์จำกัด (มหาชน)

ดวงพร หุตะเสวี (แก้ว) โทร. 02-544-4503 , 081-6377367 Email: dongprnh@scb.co.th

กุณฑลี  โพธิ์แก้ว (ผึ้ง) โทร. 02-544-4501 , 086-1308560 Email: koontalee.pokaew@scb.co.th

พิชญ์มน เกตุปมา (ปูเป้) โทร. 02-544-1902  Email: pichamon.ketupama@scb.co.th

ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ คงเป้าจีดีพีปีนี้โต 1.6% ประเมินส่งออกปีนี้โตแค่ 1%

     ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ คงเป้าจีดีพีปีนี้โต 1.6% หลังการเมืองนิ่ง ดันศก.ฟื้น ประเมินส่งออกปีนี้โตแค่ 1% ต่ำกว่าคาด เหตุอุปสงค์จากตลาดเกิดใหม่ชะลอ คาดเงินบาทครึ่งปีหลังอยู่ที่ 33 บาทต่อดอลล์ หลังมองเงินทุนไหลออก-สหรัฐขึ้นดอกเบี้ย พร้อมมอง กนง.จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 2% จนถึงสิ้นปี

  น.ส.สุทธาภา อมรวิวัฒน์ Chief Economist และผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่อาวุโส ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจ และธุรกิจ  ธนาคารไทยพาณิชย์(EIC) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในปีนี้จะเติบโตได้ 1.6% ซึ่งเป็นเป้าหมายเดิมที่ตั้งไว้ โดยมีแรงสนับสนุนจากอุปสงค์ในประเทศที่จะช่วยชดเชยภาคการส่งออกที่มีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าประมาณการไว้ โดยปัจจัยบวกที่สำคัญต่อเศรษฐกิจไทย คือ 1.สถานการณืการเมืองที่มีเสถียรภาพมากขึ้น ภายหลังคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. เข้ามาบริหารประเทศ ส่งผลให้การเมืองมีความชัดเจน สร้างความเชื่อมั่นต่อภาคเอกชน

   2.การเร่งเบิกจ่ายงบประมาณการลงทุนภาครัฐ รวมไปถึงการให้ความสำคัญต่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานในประเทศ3.การช่วยเหลือภาคเกษตรกรผ่านการจ่ายคืนค่าจำนำข้าวให้กับเกษตรกรและแนวทางในการช่วยเหลือ SME ผ่านการให้สินเชื่อต่างๆ

    นอกจากนี้ ได้ประเมินภาคการส่งออกไทยปีนี้จะขยายตัวได้ 1% ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ค่อนข้างมาก ซึ่งเป็นผลจาก การลดลงอย่างต่อเนื่องของราคาสินค้าโภคภัณฑ์เกษตร การชะลอตัวของอุปสงค์จากประเทศตลาดเกิดใหม่ซึ่งกระทบชัดเจนต่อสินค้าในหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้า และรถยนต์ การปรับเปลี่ยนโครงสร้างการส่งออกรถยนต์ โดยมีการเพิ่มขึ้นของสัดส่วนรถอีโคคาร์ที่มีราคาต่อหน่วยต่ำกว่ารถประเภทอื่นๆ และการสูญเสียความนิยมของสินค้าอิเลกทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม EIC ประเมินว่าการส่งออของไทยจะเริ่มกลับมาฟื้นตัวและมีบทบาทในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2557และขยายตัวได้ในระดับ 1% 

  "ในช่วง 5 เดือนแรกที่ผ่านมาการส่งออกติดลบ 1.2% ส่วนครึ่งปีหลังแม้จะฟื้น แต่น่าจะฟื้นตัวได้เพียง 1% เท่านั้น จากราคาเกษตรที่ตกต่ำเป็นเวลาหลายปี และสินค้ากลุ่มเทคโนโลยีที่มีความล้าสมัย เพราะเราไม่ได้มีการพัฒนามนส่วนของสมาร์ทโฟนอย่างต่อเนื่อง รวมถึงสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ล้าสมัยด้วย โดยไม่ได้มีการคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาทดแทน" น.ส.สุทธาภา กล่าว

  ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่ต้องจับตามองปีนี้  คือ การบริโภคที่จะฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากยังมีแรงกดดันด้านรายได้ และภาระหนี้ภาคครัวเรือน รวมถึงการตรวจสอบการใช้จ่ายภาครัฐจากคณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ หรือ คตร.และคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ (ซูเปอร์บอร์ด) ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีในด้านความโปร่งใส แต่อาจส่งผลให้การลงทุนภาครัฐในบางส่วนมีความล่าช้า 

 ศูนย์วิจัยฯ มองแนวโน้มค่าเงินบาทในช่วงครึ่งปีหลัง อ่อนค่าลงมาอยู่ที่ 33 บาทต่อดอลลาร์ ถึงแม้ว่าค่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นในช่วงที่ผ่านมาจากการที่การเมืองในประเทศมีเสถียรภาพดีขึ้น แต่ EIC ประเมินว่า ค่าเงินบาทจะมีแนวโน้มอ่อนค่าลงในช่วงครึ่งปีหลัง จากเงินทุนไหลออกจากประเทศเกิดใหม่ ซึ่งเป็นผลจากแนวโน้มการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ หรือ FED ที่เร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยที่มีแนวโน้มคงที่ที่ 2% ในช่วงครึ่งปีหลัง และเป็นระดับที่ต่ำกว่าประเทศอื่นในภูมิภาคพอสมควร และจากการที่ส่งออกที่คาดว่าจะฟื้นตัวได้เพียงเล็กน้อย และไม่ช่วยดุลการค้ามากนัก

 นอกจากนี้ คาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง.จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 2% จนถึงสิ้นปีนี้ เนื่องจากความเชื่อมั่นของภาคเอกชนเริ่มปรับตัวดีขึ้น จากสถานการณ์การทางการเมืองเริ่มคลี่คลาย รวมถึงการชะลอตัวของความต้องการใช้จ่ายผู้บริโภค และภาคธุรกิจ เพื่อรอประเมินสถานการณ์การลงทุนภาคเอกชนที่คาดว่าจะเริ่มกลับมาดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง

    ขณะที่ความเสี่ยงด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจเพิ่มสูงขึ้น จากอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น และความเสี่ยงด้านเงินทุนเคลื่อนย้ายที่เกิดจากอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำกว่าประเทศอื่นในภูมิภาค ส่งผลให้ กนง.มีแนวโน้มคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ก่อน เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ 

    “เชื่อว่า กนง.จะคงดอกเบี้ยถึงสิ้นปีนี้ เพราะตอนนี้มาตรการทางด้านการคลังสามารถเดินหน้าได้ปกติแล้ว หลังจากที่ชะลอไปในช่วงก่อนหน้า ขณะที่ความเชื่อมั่นเริ่มกลับมาดีขึ้น นโยบายการเงินมีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงยังไม่จำเป็นที่จะต้องขยับขึ้นในตอนนี้” น.ส.สุทธาภา กล่าว

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!